ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

.jpeg

แพทย์ไทยชี้ กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ในผู้หญิงไทยมีมาก ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง แนะปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ควบคู่การใช้ยา

 

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน เป็นอาการทางใจและกายที่เกิดในช่วง 5 วัน ก่อนมีประจำเดือนแต่อาการจะดีขึ้นและหายไปหลังจากประจำเดือนมาแล้ว ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แต่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนเพศในระหว่างรอบประจำเดือน โดยความรุนแรงของอาการแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ เช่น รูปแบบการใช้ชีวิต ความเครียดและกรรมพันธุ์

 

อาการก่อนมีประจำเดือน

  1. คัดตึงเต้านม มือหรือเท้าบวม เป็นตะคริว
  2. ปวดหัว ไมเกรน
  3. อยากอาหารมากกว่าปกติ ท้องอืด น้ำหนักขึ้น
  4. นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
  5. หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน เครียด

 

เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ลดอาการก่อนมีประจำเดือน

  1. ฝึกสมาธิเพื่อควบคุมอารมณ์และใจให้สงบ
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. พักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงความเครียดในชีวิตประจำวัน
  4. ลดการกินรสหวานจัด และเพิ่มปริมาณผักในแต่ละมื้อ
  5. กินวิตามิน หรือใช้ยารักษา

หากมีอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง จะต้องมีอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างน้อย 5 อาการ ร่วมกับอาการทางอารมณ์ที่รุนแรงขึ้น รู้สึกสิ้นหวัง ซึมเศร้าอย่างชัดเจน ก้าวร้าว ฉุนเฉียวง่าย ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและครอบครัว จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

ปัจจุบันมียาคุมกำเนิดสูตร 24/4 ที่มีสารดรอสไพริโนนซึ่งเป็นสารโปรเจสโตเจนสังเคราะห์ตัวใหม่ ลดระดับฮอร์โมนในยาลงจากยาคุมกำเนิดสูตร 21/7 และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกาว่าสามารถรักษาอาการทางอารมณ์และร่างกายของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรงได้ มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด 99.9% ปรับระดับฮอร์โมนให้สม่ำเสมอในช่วงมีประจำเดือน ลดอาการบวมน้ำ การอุดตันของรูขุมขน เป็นต้น

ทั้งนี้หญิงที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อตรวจและรักษาอย่างเหมาะสม เพราะถึงแม้การวินิจฉัยยังไม่พบว่ายาคุมกำเนิดสูตร 24/4 เป็นอันตรายและไม่กระทบประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้เลือดออกกะปริบกะปรอยหรือปวดศีรษะได้

 

ข้อห้ามใช้ยาคุมกำเนิดสูตร 24/4  

  1. หญิงอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากยายังมีปริมาณฮอร์โมนสูงเกินไปสำหรับวัยใกล้หมดประจำเดือน
  2. หญิงที่มีปัญหาโรคตับ หลอดเลือดดำอุดตัน เป็นเส้นเลือดขอดรุนแรง มะเร็วเต้านม
  3. มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือประจำเดือนมามากผิดปกติเพราะจะกระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิตยสาร มาเธอร์ แอนด์ แคร์.(2010).แก้อาการก่อนมีประจำเดือน.
แหล่งที่มา: http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/11/162/th
ภาพประกอบจาก: http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/11/162/th


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก