ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

รู้จักค่า Glycemic Index และ Glycemic Load

ค่าไกลซีมิค อินเดค และค่าไกลซีมิค โหลด

อาหารบางชนิดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุเพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตในอาหาร ให้เป็นน้ำตาลกลูโคสได้อย่างง่าย ทำให้หลาย ๆ คนประสบปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้ว่าจะใช้ยาอินซูลินและยาเบาหวานก็ตาม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการกำหนดค่า Glycemic Index และ Glycemic Load ที่แสดงถึงความเร็วในการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลกลูโคส

 

ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index – GI)

ค่าดัชนีน้ำตาล หรือค่าไกลซีมิค เป็นค่าที่แสดงให้เห็นถึงความเร็วของร่างกายในการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตในอาหารนั้น ๆ ให้เป็นน้ำตาลกลูโคส โดยค่าดัชนีน้ำตาลที่น้อยหมายถึง อาหารนั้น ๆ เปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือดได้ช้า เมื่อเทียบกับอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ทั้งนี้ อาหารสองชนิดที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเท่ากัน สามารถมีดัชนีน้ำตาลแตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น ค่าดัชนีน้ำตาล 55 หรือน้อยกว่า = ต่ำ (ดี) ค่าดัชนีน้ำตาล 56 – 69 = ปานกลาง ค่าดัชนีน้ำตาล 70 หรือสูงกว่า = สูง (ไม่ดี)

สำหรับคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี เช่น ขนมปังขาว ขนมหวาน ลูกกวาด มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง กินแล้วระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเร็ว เมื่อเทียบกับคาร์โบไฮเดรตชนิดดี เช่น ข้าวและแป้งไม่ขัดสี ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว โฮลวีท ซึ่งมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า กินแล้วอิ่มนาน และมีสารอาหารมากกว่า

 

ค่าไกลซีมิค โหลด (Glycemic Load-GL)

การพิจารณาค่าดัชนีน้ำตาลอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ เนื่องจากอาหารบางชนิดมีค่าดังกล่าวสูง แต่กลับมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารน้อย หรือพูดง่าย ๆ คือ มีน้ำตาลสูงแต่คาร์โบไฮเดรตต่ำ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการทานอาหารนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก จึงมีการคิดค่าไกลซีมิค โหลด เพื่ออธิบายเรื่องดังกล่าว วิธีการคำนวณค่าไกลซีมิค โหลด คือ (ดัชนีน้ำตาล / 100) x ปริมาณคาร์โบไฮเดรต (หน่วยเป็นกรัม) ในหนึ่งหน่วยบริโภค ทั้งนี้ความหมาย ค่าไกลซีมิค โหลด  20 หรือมากกว่า ถือว่าสูง เป็นกลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ค่าไกลซีมิค โหลด ระหว่าง 11 – 19 ถือว่าปานกลาง สามารถทานได้บ้างในปริมาณเหมาะสม ค่าไกลซีมิคโหลด 10 หรือต่ำกว่า ถือว่าน้อย สามารถทานได้ (ในปริมาณเหมาะสมเช่นกัน)

ตัวอย่างเช่น เช่น แตงโมมีค่าดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 72 เป็นค่าที่สูงและไม่ดี แต่ในหนึ่งหน่วยบริโภคจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตอยู่เพียง 6 กรัม เมื่อคำนวณเป็นค่าไกลซีมิค โหลด เท่ากับ (72 / 100) x 6 = 4 ซึ่งมีค่าน้อย แตงโมจึงสามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.webmd.com   www.thaidietinfo.com
ภาพประกอบ: www.freepik.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก