ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับสมอง (Brain)

เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับสมอง (Brain)

สมอง (Brain) เป็นอวัยวะในระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) มีน้ำหนัก 1,400 กรัม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด โดยสมองจะรับรู้โลกภายนอกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาเห็น หูได้ยิน จมูกรับกลิ่น ปากรับรส และผิวหนังรับสัมผัส โดยสมองจะดึงข้อมูลเดิมที่ถูกจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำ มาคิด วิเคราะห์รวมกับข้อมูลที่รับเข้าไปใหม่ แล้วแสดงออกมาผ่านการทำงานของอวัยวะในระบบร่างกาย เช่น การพูด การเคลื่อนไหว กริยาท่าทาง สอดคล้องกันจนเป็นพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งรวมถึงการตอบสนองต่อสถานการณ์เครียด เช่น การเจ็บป่วย การสูญเสีย โดยส่งผลถึงอัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจของเรา

 

ส่วนประกอบของสมอง

สมองส่วนหน้า (Forebrain) 

  1. ออลแฟกทอรีบัลบ์ (Olfactory bulb) สมองส่วนนี้อยู่ทางด้านหน้าสุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น โดยในคนจะมีการพัฒนาน้อยกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่น แต่จะดมกลิ่นได้ดี โดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
  2. ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือสมองใหญ่ เป็นส่วนของสมองที่อยู่หน้าสุด และมีขนาดโตที่สุด  มีผิวด้านนอกเป็นเนื้อสีเทา ส่วนด้านในเป็นเนื้อสีขาว ที่บริเวณผิวด้านนอกมีรอยหยักเป็นร่องมากมาย รอยหยักนี้ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของสมอง เพื่อให้สามารถใส่เซลล์ประสาทได้ในกะโหลกศีรษะ ในทางการแพทย์มีการศึกษาถึงตำแหน่งต่าง ๆ รวมถึงรอยหยักในสมอง เพื่อกำหนดขอบเขตการทำงานของสมองที่เฉพาะเจาะจงสมองส่วนซีรีบรัม ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความรู้ ความจำ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา และเป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ศูนย์ควบคุมการพูด การรับรู้ภาษา ศูนย์กลางการมองเห็น การรับรส การได้ยิน และการดมกลิ่นสมองซีรีบรัม แบ่งเป็นสองซีก (Cerebral hemisphere) และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พู
    • พูด้านหน้า (Frontal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์ โดยพูด้านซ้ายควบคุมการทำงานร่างกายซีกขวา พูด้านขวาจะควบคุมการทำงานร่างกายซีกซ้าย
    • พูกลาง (Parietal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกด้านสัมผัส เช่น ร้อน ปวด หนาว เป็นต้น
    • พูด้านข้าง (Temporal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น การเข้าใจภาษา เป็นต้น
    • พูด้านหลัง (Occipital lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
  3. ทาลามัส (Thalamus) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากสมองซีรีบรัมลงมา โดยอยู่ในตำแหน่งที่สามารถส่งกระแสประสาทออกไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของสมองได้ในทุกทิศทาง ทาลามัสทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการรับกระแสประสาทที่ถูกส่งจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ผ่านทางไขสันหลัง เข้าสู่ก้านสมอง (Brainstem) จนถึงทาลามัส หลังจากนั้นทาลามัสจะทำการแยกกระแสประสาทส่งไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้องในทางกลับกัน เมื่อสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการสั่งการ ทาลามัสจะรับคำสั่งพร้อมส่งคำสั่งดังกล่าว ผ่านก้านสมอง สู่ไขสันหลังและเส้นประสาทของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้อวัยวะดังกล่าวทำงานตามคำสั่งของสมอง
  4. ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของสมองทาลามัส และติดกับต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ (Central nervous system) และเชื่อมโยงการทำงานกับระบบต่อมไร้ท่อ โดยการสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ซึ่งมีบทบาทในเรื่องสมดุลของปริมาณน้ำ และสารละลายในเลือด รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึก ระบบนาฬิกาชีวภาพ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ

 

สมองส่วนกลาง (Midbrain)

เป็นสถานีรับส่งกระแสประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้า (Forebrain) กับสมองส่วนหลัง (Hindbrain) และสมองส่วนหน้ากับนัยน์ตา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้ และควบคุมการปิดเปิดของม่านตาในเวลาที่มีแสงสว่างเข้ามามากหรือน้อย

 

สมองส่วนหลัง (Hindbrain)

  1. ซีรีเบลลัม (Cerebellum) หรือสมองน้อย เป็นสมองส่วนท้าย มี 2 ซีก ซ้ายและขวา ด้านนอกเป็นเนื้อสีเทา ด้านในเป็นเนื้อสีขาว ผิวมีรอยหยัก เช่นเดียวกับซีรีบรัมแต่มีขนาดเล็กกว่า มีหน้าที่สำคัญ คือ ควบคุมและประสานงาน เพื่อให้การทรงตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปอย่างราบรื่นเป็นปกติ รวมถึงทำให้สามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความละเอียดได้ ในรอยโรคที่เกิดในซีรีเบลลัม จะทำให้เกิดความผิดปกติในการทรงตัว การเคลื่อนไหว และสมดุลของร่างกาย
  2. พอนส์ (Pons) มีตำแหน่งอยู่ทางด้านหน้าของซีรีเบลลัม และติดต่อกับสมองส่วนกลาง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างซีรีบรัมกับซีรีเบลลัม และระหว่างเซรีเบลลัมกับไขสันหลังมีหน้าที่สำคัญ คือ ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า ควบคุมการหายใจ
  3. เมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla oblongata) เป็นสมองส่วนที่อยู่ท้ายสุด โดยติดต่อกับสมองพอนส์ทางด้านบน และไขสันหลังทางด้านล่าง มีหน้าที่สำคัญ  คือ มีบทบาทในเรื่องการเต้นของหัวใจ การหายใจ การหมุนเวียนเลือด ความดันเลือด และเป็นศูนย์ปฏิกิริยาสะท้อนกลับบางชนิด เช่น การไอ การจาม การสะอึก เป็นต้น

 

ก้านสมอง (Brainstem)

ก้านสมองเป็นแกนกลางของสมอง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ สมองส่วนกลาง (Midbrain) สมองพอนส์ (Pons) และสมองส่วนเมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla of oblongata)

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.livescience.com  www.mayfieldclinic.com  amazingpeoplebrain.wordpress.com
ภาพประกอบจาก : www.shutterstock.com

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก