ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

เป็นโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ ใช้สมุนไพรอะไรรักษาได้บ้าง

เป็นโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ ใช้สมุนไพรอะไรรักษาได้บ้าง

โรคกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) หมายถึง แผลที่เกิดในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น มีอาการปวดแสบ ปวดเสียด หรือจุกแน่นตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) มักสัมพันธ์กับมื้ออาหาร สาเหตุหลักเกิดจากความเครียด มีอาการวิตกกังวล คิดมาก เคร่งเครียดกับการทำงาน หรือการเรียน และพฤติกรรมรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้

 

การปฏิบัติตัวเบื้องต้นในการรักษาโรคกระเพาะ คือ

  1. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และรับประทาน 3 มื้อเป็นปกติ (ถ้าปวดมากให้ทานอาหารที่ย่อยง่าย) อย่ากินอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
  2. งดเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และบุหรี่ เพราะจะทำให้โรคกำเริบ
  3. ห้ามทานยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ยาที่เข้าสเตียรอยด์ (ในรายที่จำเป็นต้องใช้รักษาโรคอื่นต้องปรึกษาแพทย์)
  4. คลายเครียดโดยการออกกำลังกาย หรือทำสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ

 

สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาการและลำไส้อักเสบ ได้แก่

  1. ขมิ้นชัน ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ เหง้าแห้ง
    วิธีใช้ คือ นำเหง้าแก่สดล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดด 1 – 2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งทำเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล (500 มก.) รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ถ้าบางคนกินแล้วแพ้ให้หยุดยาทันที
  2. กล้วย ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ ผลกล้วยดิบ หรือผลห่าม
    วิธีใช้ คือ นำกล้วยมาฝานเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง นำไปบดเป็นผง ใช้เป็นชาชงกับน้ำ หรือน้ำผึ้ง ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ดื่ม หรือทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน บางทีต้องระวังอาจมีอาการท้องอืด เฟ้อ ป้องกันด้วยสมุนไพรขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย
  3. สาหร่ายสไปรูลิน่า เป็นสมุนไพรที่มีคลอโรฟิลล์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะให้ผลดีในการรักษาการอักเสบของกระเพาะ ญี่ปุ่นได้ศึกษาวิจัยพบว่า สามารถช่วยเคลือบผนังกระเพาะอาหาร ลดการบวมของเนื้อเยื่อ และมีสาร mesafirine ซึ่งสามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
  4. เห็ดหลินจือ ก็มีการบันทึกถึงสรรพคุณทางยา ที่ช่วยในการรักษาโรคกระเพาะอักเสบ และลำไส้อักเสบ โดยมีกรรมวิธี คือ การนำเห็ดหลินจือแห้งและสะอาดใส่ลงในหม้อเคลือบ หรือหม้อดิน ต้มจนเดือด แล้วหรี่ไฟลงให้น้ำเดือดปุด ๆ ต่อไปประมาณ 15 – 20 นาที จึงยกลง และควรดื่มน้ำสกัดจากเห็ดที่มีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิร่างกาย ดื่มแทนน้ำทั้งวัน

ความรู้สมุนไพร

คู่มือพื้นฐานความรู้สุขภาพสุ่เศรษฐกิจพอเพียง | โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข | บรรณาธิการ : นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ | ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ดร.ทรงพรรณ สิงห์แก้ว • นางสาวนัยนา แสงวณิช • นางอัญชลี มุละดา | ผู้เรียบเรียง : แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ • นางสาววัชรีพร คงวิลาด • นางสาวศรีวรรณ์ สังขวิราม • นางสาวพิชาดา คำสุมาลี • นางสาวสุจิรัตน์ มาทองแดง • นางสาวทศพร อยู่ฤทธิ์ • นางสาวรัตติการ วิเคียน


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก