ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-อันตรายต่อมนุษย์-อย่างไร.jpg

“ไวรัส” คืออะไร ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร

ไวรัส (Virus) เป็นเชื้อก่อโรคขนาดเล็กมาก ต้องขยายนับแสนเท่าจึงจะมองเห็น มีโครงสร้างหลักเพียงสายพันธุกรรม DNA หรือ RNA หุ้มด้วยโปรตีน ลักษณะสำคัญคือ ไวรัสไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง การมีชีวิตและเพิ่มจำนวนของไวรัส จะเป็นลักษณะของการรุกรานเข้าไปภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น แล้วควบคุม ปรับเปลี่ยนกลไกต่าง ๆ ให้เซลล์นั้น ทำหน้าที่ช่วยให้ไวรัสแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแบบทวีคูณ ต่อมาเซลล์ดังกล่าวค่อย ๆ ตายลง ไวรัสจะเคลื่อนย้ายเข้าไปยึดครองเซลล์ที่อยู่ข้างเคียง ถ้าเซลล์ของอวัยวะนั้น ๆ ถูกทำลายไปจำนวนมาก จากเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส รวมทั้งปฏิกิริยาหรือภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิตที่ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อด้วย จะก่อให้เกิดโรคขึ้น

สำหรับเชื้อก่อโรคชนิดอื่น ๆ นอกจากไวรัส ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว พยาธิ เป็นต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งเซลล์ในการแบ่งตัวแบบไวรัส

“ไวรัส” เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้อย่างไร ทำให้เกิดโรคอะไรบ้าง

ไวรัสเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางผิวหนังและเยื่อบุ ทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไวรัสจะเข้าไปในเซลล์ได้ต้องอาศัย “กุญแจจำเพาะที่จะไขเปิดประตูแต่ละบาน” ของเซลล์ได้  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไวรัสแต่ละแบบ แต่ละสายพันธุ์ ส่งผลให้ไวรัสเจริญเติบโตได้ดีในอวัยวะที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดการก่อโรคในอวัยวะหรือในระบบที่แตกต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น ไวรัสในโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก โรคซาร์ส (SARS) และโรคเมอร์ส (MERS) เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ไวรัสยังทำให้เกิดกาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เลือดออก โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส โรคพิษสุนัขบ้า ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

 

โรคติดเชื้อไวรัสรักษาอย่างไร เหมือนหรือต่างจากโรคติดเชื้ออื่น ๆ หรือไม่

จากข้อก่อนหน้า ไวรัสจะรุกราน อาศัยและเพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น คล้ายกับเป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเอง จึงเป็นการยากในการค้นคว้าหายาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโดยไม่กระทบเซลล์ปกติ ขณะเดียวกันไวรัสชนิด RNA ยังกลายพันธุ์เก่งเพื่อเอาตัวรอดจากยาได้ดีอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การก่อโรคของไวรัสหลายชนิดค่อนข้างช้า จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตื่นตัวและสร้างแอนติบอดีและภูมิคุ้มกันชนิดต่าง ๆ มาทำลายเชื้อและเซลล์ติดเชื้อ ทำให้โรคติดเชื้อไวรัสส่วนใหญ่หายได้เอง

การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสในปัจจุบัน จึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการในโรคที่หายได้เอง เช่น การให้ยาลดไข้ ลดน้ำมูก ลดการไอ ลดการอักเสบ เป็นต้น ส่วนการใช้ยาต้านเชื้อไวรัส ซึ่งมีใช้อยู่ในบางโรคที่ก่อโรครุนแรง เช่น ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ยาต้านไวรัสเอดส์ ยาต้านไวรัสตับอักเสบ B และ C ยาต้านไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการทำลายเชื้อหรือยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อในเซลล์  ทำให้เชื้อลดจำนวนลงและหายจากโรคได้ ทั้งนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา จะช่วยกำจัดเชื้อไวรัสที่รุกรานร่างกายโดยตรงได้ด้วย  แต่เชื้อไวรัสบางชนิดก็ยังกบดานหลบซ่อนอยู่ในเซลล์ได้ เช่น ไวรัสเอดส์ ไวรัสตับอักเสบ ไวรัสเริ่ม เป็นต้น ทำให้เชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นมาก่อโรคได้อีกเมื่อไม่ได้กินยาต้านไวรัส

 

ภูมิคุ้มกันของร่างกายคืออะไร ทำไมถึงจัดการกับไวรัสได้

ระบบภูมิคุ้มกันเป็นหนึ่งในระบบหลัก ๆ ของร่างกาย ทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดไม่ให้สิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดโรค ประกอบด้วย 2 ระบบย่อยทำงานประสานกันคือ ระบบภูมิคุ้มกันทั่วไปและภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ โดยการกำจัดไวรัสแบบจำเพาะนั้น ร่างกายต้องใช้เวลาระหว่าง 1 – 7 วัน เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเร่งผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) เพื่อสร้างแอนติบอดี ที่มีความสามารถในการเข้ากำจัดเชื้อไวรัสชนิดที่รุกรานเซลล์โดยตรง และมีการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์เพื่อไปทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ รวมทั้งการสร้างเซลล์ความจำให้จำไวรัสได้และพร้อมที่จะผลิตภูมิคุ้มกันชนิดต่าง ๆ ออกมาต่อต้านเชื้อไวรัสตัวเดิมเมื่อถูกรุกรานอีก อย่างไรก็ตาม การสร้างภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะจะทำได้ดีและมีประสิทธิภาพเมื่อร่างกายของผู้รับเชื้อมีความแข็งแรงเพียงพอด้วย

 

วัคซีนต้านไวรัส (Antiviral vaccines) สำคัญและมีบทบาทอย่างไรในการป้องกันโรคจากไวรัส

จากการที่ภูมิต้านทานของร่างกายแบบจำเพาะ ต้องรอให้ไวรัสรุกราน และอาศัยระยะเวลาหนึ่ง ถึงจะทำการสร้างภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับที่จัดการกับเชื้อไวรัสได้ ในระหว่างนั้นผู้ติดเชื้ออาจเสี่ยงหรือเป็นโรคไปแล้ว

วัคซีนจึงเข้ามามีบทบาทในการทำหน้าที่ เสมือนไวรัสเทียมที่รุกรานเข้ามาในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายคุ้นเคยกับเชื้อไวรัสหรือตำแหน่งตรงผิวไวรัสที่เป็น “กุญแจจำเพาะ” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจงต่อตำแหน่งที่ผิวไวรัสชนิดนั้น ๆ ขึ้นมา ก่อนที่ร่างกายจะติดเชื้อจริง เมื่อมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันหรือการฉีดครบโดส ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่รุกรานจะขึ้นสูงพอที่จะต่อสู้กับไวรัสตัวจริงที่อาจรุกรานร่างกายในอนาคต

ทั้งนี้วัคซีนบางชนิด อาจมีการแนะนำให้ฉีดทุกปี เพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกันให้สูงพอ และเพื่อให้มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อที่ระบาดในปีนั้น ๆ

 

ยาต้านไวรัส (Antiviral drugs) มีบทบาทอย่างไร

ปัจจุบันยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรงเป็นยาที่ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสทั้งในเซลล์และห้ามเชื้อมิให้หลุดออกมาจากเซลล์หรือเข้าไปในเซลล์ได้ใหม่ ยาต้านไวรัสชนิดต่าง ๆ จึงถูกพัฒนาเพื่อควบคุมการเพิ่มจำนวนของไวรัสในร่างกาย ทำให้อวัยวะที่ติดเชื้อไม่ถูกทำลายต่อไปและหยุดยั้งการดำเนินโรคหรือปฏิกิริยาที่รุนแรงมากกว่าปกติจากภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านการติดเชื้อ ทำให้มีเวลาเพียงพอที่จะสร้างภูมิต้านทานแบบจำเพาะต่อไวรัสที่รุกรานและโรคไม่กำเริบได้ การมียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูงจะเป็นอีกทางเลือกในการที่แพทย์จะนำมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากไวรัส และป้องกันการติดเชื้อในคนปกติ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสได้
.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : 
ศ.เกียรติคุณ นพ. อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

 

 


-2019-เรื่องต้องรู้-หากจะรับมือให้ได้.jpg

ไวรัสโคโรน่า และไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2019 มีที่มาที่ไป การแพร่ระบาด และการเข้าสู่ร่างกายอย่างไร 

ไวรัสโคโรนา (Coronavirus, CoV) เป็นไวรัสที่ก่อโรคทั้งในสัตว์และคน โดยในคนมักทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ ความรุนแรงแตกต่างตามสายพันธุ์ ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคปอดติดเชื้อ และอักเสบรุนแรงจนเสียชีวิต เช่น โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) ที่มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 600 คน โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) ที่มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 900 คน

ไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus disease 2019, COVID-19) ที่กำลังระบาดและก่อให้เกิดโรคโควิด 19 คาดกันว่า มีศูนย์กลางการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาลุกลามไปยังประเทศต่าง ๆ กลายเป็นโรคระบาดไปทั่วโลกข้อมูลจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อสะสมประมาณ 164 ล้านราย ผู้เสียชีวิต 3.4 ล้านราย (วิกิพีเดีย 18/5/2021)

ปัจจุบันพบเชื้อไวรัสโควิด 19 แพร่ติดต่อในลักษณะหยดละออง (droplet) จากการพูด ตะโกน ไอ จามของผู้ติดเชื้อ เข้าสู่ร่างกายผู้ใกล้ชิดในระยะ 1 – 2 เมตร และละอองฝอย (aerosol) ลอยในอากาศไปได้ไกล 8 – 10 เมตร ในสถานที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ผ่านทางจมูก ทางเดินหายใจ ลงปอด และการสัมผัสสารคัดหลั่งจากหยดละอองที่ติดตามพื้นผิวสัมผัสในบริเวณใกล้เคียง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู สิ่งของที่ใช้ร่วมกัน โดยผู้สัมผัสนำมาแคะจมูก ขยี้ตา ซึ่งเป็นบริเวณที่เนื้อเยื่ออ่อน ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้

 

เมื่อเชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าไปสู่ร่างกายแล้ว มีการดำเนินของโรคอย่างไร แพร่เชื้อได้ตอนไหน เมื่อไรจะหาย

เชื้อไวรัสโควิด 19 หลังจากเข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาในการเพิ่มจำนวนขึ้นมาระดับหนึ่ง เรียก ระยะฟักตัว ระหว่าง 2 – 14 วัน  โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5 วัน แล้วจึงเริ่มมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไข้ ไอ จาม น้ำมูก ต่อมาเชื้ออาจลุกลามเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างที่เรียกว่า “โควิดลงปอด” จะมีอาการไอถี่ หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงเสมหะในปอด เสมหะมีเลือดปน ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนหน้าวันมีอาการ ระหว่าง 1 – 3 วัน ดังนั้น หากผู้ติดเชื้อมีอาการ 10 วัน ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้ใกล้ชิดได้มากกว่า 10 วัน

สำหรับระยะเวลาการรักษาตัว ผู้ที่ภูมิต้านทางแข็งแรง และมีอาการน้อย ร่างกายจะกำจัดเชื้อหรือหายได้เองประมาณ 2 สัปดาห์ กรณีที่เชื้อลงปอดและมีอาการรุนแรง ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8 สัปดาห์ กรณีอาการรุนแรงมาก ต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องไอซียู ต้องใช้เวลานานเป็นหลาย ๆ เดือนในการรักษาให้หายกลับมา

 

จะรู้แน่ ๆ ได้อย่างไรว่า เชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าสู่ร่างกายแล้ว

การตรวจหาเชื้อโควิด หากตรวจเจอหรือผลตรวจเป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อจริง หากตรวจไม่เจอหรือผลตรวจเป็นลบแสดงว่า ตรวจไม่พบเชื้อ ต้องมีการตรวจซ้ำหลังจากตรวจครั้งแรก 5 – 7 วัน เนื่องจากมีบางสาเหตุที่อาจทำให้ตรวจไม่เจอเชื้อ เช่น เพิ่งรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ตำแหน่งที่เก็บเชื้อ เชื้ออยู่ในระยะฟักตัว เป็นต้น

 

เชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าสู่ร่างกายแล้ว มีอาการอย่างไร อาการรุนแรงมากน้อยอย่างไร

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ทั่วโลก 80% ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย 20%  มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล (WHO, Q&A on COVID-19) 5% อาการรุนแรงมาก ต้องรักษาห้อง ICU และ 2.0% เสียชีวิต โดยอาการที่พบส่วนใหญ่จะเป็น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และอาจหายได้เอง ในรายที่ไม่หายจะมีอาการ “โควิดลงปอด” เช่น หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ในรายที่เป็นรุนแรงหรือรุนแรงมาก จะมีอาการปอดอักเสบ ระบบหายใจล้มเหลว อาจมีภาวะแทรกซ้อน จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ไม่มีอาการใด ๆ เลยและหายได้เอง สามารถแพร่เชื้อได้ไหม

ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ไม่มีอาการใด ๆ ทั้งก่อนและหลังการตรวจพบเชื้อ สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้ใกล้ชิดได้ เช่นเดียวกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่มีอาการ เรื่องนี้สำคัญมากเนื่องจากอาจมีคนจำนวนมากที่ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการ ยังไม่ได้กักตัว (Quarantine) ยังไม่ได้ตรวจหาเชื้อ ยังไม่ได้แยกตัว (Isolation) โดยใช้ชีวิตปกติ และแพร่เชื้อไปยังผู้ใกล้ชิดจำนวนมาก

ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และเสียชีวิต ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มไหน

ผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ/หรือมีโรคประจำตัวหลัก ๆ คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคอ้วน โรคมะเร็ง
.

การรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ทำอย่างไร

การรักษาโรคติดเชื้อโควิด 19 หลัก ๆ จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อฟื้นฟูอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สร้างภูมิต้านทานขึ้นมากำจัดเชื้อได้ทันเวลา ในเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

หากตรวจพบผู้ติดเชื้อจะมีมาตรการแยกตัว (Isolation) ไปรพ.สนามหรือ Hospitel

  • กรณีที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จะมีการสังเกตอาการ วัดอุณหภูมิ วัดความดัน ให้ยาบรรเทาอาการในบางราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 14 วัน
  • กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น จะถูกส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาล แพทย์จะพิจารณาให้ยาและรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ยาต้านการอักเสบคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) การเอกซเรย์ปอด การวัดค่าออกซิเจนในเลือด เป็นต้น
  • หากรุนแรงกว่านั้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาและสารน้ำทางหลอดเลือด ให้ออกซิเจน ให้การรักษาด้านอื่น ๆ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน รวมทั้งพิจารณาย้ายผู้ป่วยเข้าห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) ในกรณีอาการยังไม่ดีขึ้น

 

ไวรัสโควิด 19 มีสายพันธุ์ย่อยหรือมีการกลายพันธุ์ไหม มีผลต่อการรักษาอย่างไร

ปัจจุบันพบไวรัสโควิด 19 หลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ S และ L เริ่มที่จีน โดยสายพันธุ์ S มาระบาดรอบแรกในไทย สายพันธุ์ L ระบาดในยุโรป แล้วพัฒนาเป็นสายพันธุ์ G และ V โดยสายพันธุ์ G แพร่ระบาดไปทั่วโลก และพัฒนาเป็น GH และ GR พบสายพันธุ์ G (GH) มาระบาดที่ประเทศไทยด้วย ส่วนที่ยุโรปจะเป็น สายพันธุ์ GR เป็นส่วนใหญ่ โดยมีที่กลายพันธุ์ คือ B.1.1.7(GR,G) พบที่อังกฤษ สายพันธุ์ B.1.351(GH,G) พบที่แอฟริกาใต้ สายพันธุ์ P.1(GR) พบที่บราซิล สายพันธุ์ B.1.617.2 พบที่อินเดีย ทั้งนี้บางสายพันธุ์ แพร่ได้เร็วกว่าสายพันธ์ุอื่น ส่งผลให้ควบคุมได้ยาก บางสายพันธุ์เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วลุกลามได้เร็ว อาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ง่าย ทำให้แพทย์ต้องติดตามการรักษาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีโอกาสที่ผู้ป่วยอาจติดเชื้อคนละสายพันธุ์ (ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ)

 

กรณีติดเชื้อแล้วหายเป็นปกติแล้ว ร่างกายโดยเฉพาะการทำงานของปอดจะเหมือนเดิมไหม

ผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ และอาการน้อย น่าจะหายได้โดยไม่มีผลในระยะยาว ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีแนวโน้มที่ปอดจะเสียหาย หากดูจากโรคซาร์ส (SARS) โรคเมอร์ส (MERS) และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีอาการรุนแรง อาจต้องมีการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย (ECMO) และอาจจะต้องใช้เวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี ๆ ในการฟื้นสภาพการทำงานของปอดให้กลับมาใกล้เคียงปกติอีกครั้ง

สามารถอ่านอัพเดทสถานการณ์ โรคโควิด 19 ได้ที่ www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : นพ. มนูญ ลีเชวงวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-19.jpg

โรคโควิด 19 : แนวทางจัดการ

โรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อ ที่มีแนวทางการจัดการเน้นที่ 1) การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่ม โดยลดการสัมผัสเชื้อ หรือหากสัมผัสแล้วมีภูมิต้านทานที่จะลดการเจ็บป่วย และ 2) การควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด

การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เพิ่ม มี 2 ข้อหลัก คือ

  • การลดการสัมผัสเชื้อ โดยสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับบุคคลอื่น การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ การเว้นระยะห่างกับผู้อื่น และมีมาตรการทางสังคมเพิ่มเติมตามสถานการณ์ เช่น ห้ามรวมกลุ่ม ห้ามเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ทำงานจากที่บ้าน เป็นต้น
    .
    .
  • การฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (SARS-CoV-2) โดยฉีดวัคซีน การฉีดตั้งแต่ 70% ขึ้นไป ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) เป็นประโยชน์กับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดอีกด้วย
    .

การควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยตรวจคัดกรองแยก ผู้ติดเชื้อ ผู้เสี่ยงติดเชื้อสูง ผู้เสี่ยงติดเชื้อต่ำ แล้วมีมาตรการรองรับแต่ละกลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิดสูง ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด ถ้าพบว่าติดเชื้อต้องแยกตัว (Isolation) และรับการรักษาที่เหมาะสม โดยผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักต้อง ไปยังโรงพยาบาล ในห้องที่มีการควบคุมการระบาด ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง จะถูกส่งไปโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ซึ่งมีระบบดูแลป้องกันการแพร่ของเชื้อ
    .
    สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจเชื้อโควิด ได้แก่ 1) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด 2) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และอาการหนักขึ้น เช่น เหนื่อยหอบ หายใจไม่เต็มอิ่ม โดยไม่จำเป็นต้องมีปัจจัยเสี่ยง 3) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีอายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว
    .
    .
    ทั้งนี้ผู้ที่เข้ารับการตรวจ ก่อน/ระหว่างรอผล/หลังทราบผลเป็นลบ ต้องใช้มาตรการกักตัวเช่นเดียวกับกลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อ โดยผลการตรวจเป็นลบหมายถึง ตรวจไม่พบเชื้อยังคงต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน และอาจต้องมีการตรวจซ้ำ
    .
    ปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่ควรพิจารณารับการตรวจ เมื่อ
    .การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย จนถึงขั้นเสี่ยงสูง ต้องไปตรวจโควิดทันที มีเกณฑ์ดังนี้

      • เจอกับผู้ติดเชื้อโดยตรง ในพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท เกิน 15 นาที
      • เจอและพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ในระยะไม่เกิน 1 เมตร นานมากกว่า 5 นาที
      • อยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อในระยะไม่เกิน 1 เมตร โดยต่างคนต่างไม่ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
      • ไอ หรือจามใส่กัน โดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ
      • รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มจากภาชนะเดียวกัน อุปกรณ์รับประทานอาหารชิ้นเดียวกัน
      • อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ติดเชื้อ หรืออยู่ในสถานที่เดียวกันกับที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

การเดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาดพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ระบาด การเคลื่อนย้ายต้องมีการกักตัวสามารถติดตามได้จาก คลิก www.moicovid.com.

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด ต้องเฝ้าระวังโดยวิธีการกักตัว (Quarantine) เพื่อสังเกตอาการเป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งสามารถกักตัวได้ที่บ้าน (Home Quarantine) หรือสถานที่กักตัวทางเลือกอื่น หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ต้องพบแพทย์และรับการตรวจเชื้อโควิดทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องกักตัว ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด
    .
  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อต่ำ ใช้วิธีสังเกตอาการ โดยหากอาการไม่หายภายใน 3 – 4 วัน หรืออาการรุนแรงขึ้นต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องสังเกตอาการ ได้แก่ ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด.

หมายเหตุ เป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นเท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม เบอร์ 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1668 กรมการแพทย์ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-19-ต้องทำอย่างไรบ้าง.jpg

เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในละอองฝอย และตามพื้นผิววัสดุต่าง ๆ  สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก ปาก ตา ช่องทางหลักที่เชื้อเข้าสู่ปอด วิธีการป้องกันมีดังนี้

 

การลดการสัมผัสเชื้อโดยเคร่งครัด 3 ประการ คือ

  • สวมหน้ากากอนามัย
    เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำลาย น้ำมูก เสมหะจากการไอ จาม ของผู้สวมใส่แพร่กระจายสู่อากาศภายนอก ทำให้ผู้ใกล้ชิดติดเชื้อได้ และช่วยป้องกันไม่ให้ละอองฝอยจากผู้ที่ไอหรือจามเข้าสู่ร่างกายผู้สวมใส่ด้วย โดยเลือกประเภทหน้ากากอนามัย การใส่ ทำความสะอาดและทิ้งอย่างถูกต้อง

    .
    สวมหน้ากากอนามัย.
    ประเภทหน้ากากอนามัยที่เหมาะสม

    • กรณีมีอาการทางเดินหายใจ ให้ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่มีชั้นกรองตรงกลางเท่านั้น และควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน มีข้อมูลว่าการสวมหน้ากากอนามัย แล้วสวมทับด้วยหน้ากากผ้า ทำให้การป้องกันดียิ่งขึ้น
    • กรณีไม่มีอาการ เลือกใช้หน้ากากที่สามารถป้องกันละอองฝอยทะลุผ่านได้ เช่น หน้ากากอนามัยทั่วไป หน้ากากอนามัยกันฝุ่น กันกลิ่น หน้ากากผ้า เป็นต้น สำหรับหน้ากากผ้าต้องซักทุกวัน ด้วยน้ำอุณหภูมิสูง 60 – 80 องศา ตากแดดจัดก่อนนำมาใช้ใหม่
  • หลักการสวมใส่: ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่ ใส่และถอดโดยจับที่สายคล้อง คล้องสายที่หูโดยไม่จับที่ตัวหน้ากาก ระหว่างการใช้งานไม่จับที่ตัวหน้ากากเช่นเดียวกัน
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ
    หากมีเชื้อโควิดที่มือ เชื้อสามารถผ่านเข้าร่างกายจากการแคะจมูก ขยี้ตา หยิบอาหารด้วยมือเปล่า เป็นต้น
    • วิธีการล้างมือให้ถูกต้อง ให้ใช้น้ำสะอาด ล้างโดยฟอกด้วยสบู่หรือแชมพูล้างมือ (ไม่จำเป็นต้องผสมสารฆ่าเชื้อ) จนขึ้นฟอง ไม่ต่ำกว่า 20 วินาที โดยถูให้ทั่วทั้งหน้าและหลังมือ รวมถึงซอกนิ้ว ซอกเล็บต่าง ๆ ก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด
      .
      วิธีล้างมือ.
    • กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ใช้แอลกอฮอล์เข้มข้น 60 – 70% ในรูปเจลหรือสเปรย์ ทาให้ทั่วมือที่ไม่เปียก แล้วปล่อยให้แห้งเอง (ถ้ามือเปียก แอลกอฮอล์จะเจือจางจนฆ่าเชื้อไม่ได้) ห้ามล้างหน้าหรือใช้มือล้างอย่างอื่นต่อ เพราะน้ำอาจล้างแอลกอฮอล์ออกหมด
    • หากมือมีคราบสกปรก ควรหาน้ำล้างคราบสกปรกออกก่อน เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เกาะอยู่ที่คราบเปื้อนได้
      .
  • เว้นระยะห่างกับผู้อื่นให้เพียงพอ
    การเว้นระยะห่างในทางปฏิบัติ ทำได้โดย

    • การเว้นระยะห่างจากผู้อื่นขั้นต่ำ 1 เมตร และห่างจากคนที่มีอาการไอหรือจาม 2 เมตร
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องสื่อสารใกล้ชิด เว้นระยะห่างการสื่อสารให้เหมาะสม
    • ไม่หันหน้าเผชิญผู้ติดต่อ ผู้สนทนาในระยะที่ไอ จามใส่กันได้
    • แยกทานอาหารคนเดียว ไม่ทานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
    • หลีกเลี่ยงการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน การไปในที่มีคนหนาแน่น รีบกลับให้เร็วที่สุด
    • หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ กรณีที่ใช้ให้หันหน้าเข้าผนังหรือตามที่มีสัญลักษณ์ตำแหน่งยืนในลิฟต์
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของสาธารณะ เช่น ราวบันไดเลื่อน ประตูเปิดปิดร้านสะดวกซื้อ โต๊ะสาธารณะ เป็นต้น เมื่อเจอสถานการณ์ที่ต้องสัมผัสบ่อย ๆ ให้ล้างมือทันที
      .
      การเว้นระยะห่าง.
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
    การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก ล้างมือให้บ่อย และการเว้นและรักษาระยะห่าง ทั้งนี้มีการศึกษาที่ว่า การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดโอกาสในการติด ลดความรุนแรง และลดโอกาสเสียชีวิตหากติดหลังฉีดลงได้ ผู้ที่สนใจฉีดสามารถจองคิวฉีดวัคซีนได้ทาง “Line OA หมอพร้อม”, รพ.ใกล้บ้านที่มีประวัติการรักษา, อสม.หรือ รพ. สต. ในพื้นที่

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

 


.jpg

การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง

มาตรการหนึ่งในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด 19 มีการตรวจหาเชื้อ แยกผู้ติดเชื้อ (Isolation) กักกัน (Quarantine) ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อสูง สังเกตอาการผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อต่ำ และมีมาตรการรองรับแต่ละกลุ่ม โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

 

วิธีตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด 19 ที่นิยมทำในปัจจุบัน

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อสูง ได้สิทธิตรวจหาเชื้อโควิดฟรี ตรวจสอบสถานที่ตรวจได้ที่ www.service.dmsc.moph.go.th/labscovid19 กรณีที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงอาจมีค่าบริการ สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
.
สำหรับวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สรุปได้ดังนี้

  • Real-time RT PCR เป็นการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัส ซึ่งเป็นวิธีการตรวจมาตรฐานที่แนะนำในปัจจุบัน โดยการป้ายเอาเมือกและเยื่อบุในคอ หรือโพรงจมูก หรือนำเสมหะที่อยู่ในปอดไปตรวจ เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ มีความไว มีความจำเพาะสูง ทราบผลภายใน 3 – 5 ชั่วโมง และสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อย ๆ ได้ ทั้งนี้ผลตรวจเป็นบวกสามารถยืนยันการติดเชื้อโควิด 19 ได้ หากผลตรวจเป็นลบเป็นการตรวจไม่พบเชื้อ ซึ่งอาจต้องมีการตรวจซ้ำหลังจากนั้น สำหรับสาเหตุที่ตรวจไม่พบอาจมาจากเชื้ออยู่ในระยะฟักตัว ยังมีจำนวนน้อย และสาเหตุทางด้านเทคนิคอื่น ๆ
  • Antibody test การเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาภูมิคุ้มกัน โดยการใช้ชุดทดสอบแบบรวดเร็ว ทราบผลได้ใน 15 นาที การตรวจวิธีนี้จะทำได้หลังมีอาการป่วย 5 – 7 วัน หรือได้รับเชื้อมาแล้ว 10 – 14 วัน ร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต้านเชื้อโรค วิธีนี้มีราคาถูกกว่า แต่หากเพิ่งได้รับเชื้อ ยังไม่มีอาการ ผลการตรวจอาจขึ้นเป็นลบ เหมือนว่าผู้ป่วยไม่ได้รับเชื้อโควิด 19 ปัจจุบันยังไม่แนะนำมาใช้เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยหลัก

 

กลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยง

กลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยง เช่น สมาชิกในครอบครัว ญาติ และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะที่มีอาการป่วยที่ต้องกักตัว (Quarantine) ต้องทำอย่างไรบ้าง
.

การกักตัวสามารถทำที่บ้าน (Home Quarantine) สิ่งที่ต้องปฏิบัติตลอด 14 วัน

  • ผู้กักตัวควรหยุดเรียน หยุดงาน พักอยู่บ้าน ไม่ออกไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะ
  • ผู้กักตัวควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ในขณะที่ผู้อื่นต้องใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้กักตัวด้วย
  • จัดห้องพักแยกต่างหาก เลือกที่อากาศถ่ายเท ไม่ใช้พื้นที่ร่วมกันโดยไม่จำเป็น แม้แต่ห้องน้ำ
  • กรณีต้องใช้พื้นที่ร่วมกัน นอกเหนือจากทุกคนใส่หน้ากากอนามัยแล้ว ผู้กักตัวควรรักษาระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1 เมตร ไม่ควรอยู่ใกล้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังหรือเด็กเล็ก
  • เลี่ยงการใช้สิ่งของและเลี่ยงทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เลี่ยงการกินอาหารร่วมกัน เลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกัน
  • ทำความสะอาดพื้นที่ เครื่องใช้ ห้อง พื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ ด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อเป็นประจำ เช่น ห้องน้ำ หากมีการใช้ร่วมกันก็ควรทำความสะอาดทุกวันด้วยเช่นกัน
  • การซักผ้าควรใช้น้ำร้อน 60 – 90 องศาเซลเซียส ร่วมกับน้ำยาซักผ้าปกติในการซักผ้า และเครื่องนอนของผู้ที่ต้องกักตัว และอย่าให้เสื้อผ้า เครื่องนอนที่ใช้แล้วของผู้กักตัวสัมผัสกับผ้าอื่นๆ ที่สะอาด
  • ควรสวมถุงมือทุกครั้งในการทำความสะอาด และล้างมือทั้งก่อนและหลังทำความสะอาด ถ้าเลือกได้แนะนำถุงมือประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • ถ้าต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ควรปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกดน้ำชำระ
  • ถ้าไอหรือจาม แม้แต่ไอแห้งเบา ๆ ก็ควรสวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือแขนเสื้อปิดปาก หลังไอจามเสร็จควรล้างมือทุกครั้ง
  • แยกขยะ เช่น ถุงมือ กระดาษชำระ หน้ากากอนามัย และทำเครื่องหมายติดป้ายไว้ว่าขยะติดเชื้อ และแม้ตอนนี้ตามท้องถนนจะยังไม่มีถังขยะแยกสำหรับขยะติดเชื้อเหล่านี้โดยเฉพาะ แต่ก็เป็นการดีกว่าที่เราจะได้บอกเจ้าหน้าที่เก็บขยะให้เพิ่มความระมัดระวัง
  • เก็บสิ่งส่งตรวจ เพื่อตรวจหาเชื้อ วิธี Real-time RT PCR จำนวน 2 ครั้ง เก็บตัวอย่างครั้งแรกโดยเร็วเมื่อเจ้าหน้าที่ระบุผู้สัมผัสได้ และเก็บตัวอย่างครั้งที่สอง 7 วัน หลังจากตรวจครั้งแรก หรือ 13 วัน หลังจากวันสัมผัสผู้ป่วยยืนยันครั้งสุดท้ายแล้วแต่ว่าวันใดถึงก่อน

 

กลุ่มเสี่ยงต่ำที่ต้องสังเกตอาการต้องทำอย่างไรบ้าง

ผู้สังเกตอาการ ไม่ต้องทำแบบการกักตัว แต่เน้นมาตรการป้องกันหลัก ๆ คือ การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมืออย่างถูกต้องบ่อย ๆ เว้นระยะห่างกับผู้อื่นให้เพียงพอ โดยหากอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูก เจ็บคอ ไม่หายภายใน 3 – 4 วัน หรืออาการรุนแรงขึ้นต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : นพ. วีรวัฒน์ มโนสุทธิ
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-ข้อสงสัย-การควบคุม.jpg

ไม่มีอาการป่วย ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ช่วยอะไรได้บ้าง

ช่วยด้านการป้องกัน ใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่าง เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน ปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐในแต่ละพื้นที่

 

ไม่มีอาการ แต่มีตัวอย่าง 5 กรณีนี้ ควรทำอย่างไร

1) ไปเที่ยวกลางคืน ภายหลังสถานที่ดังกล่าว พบผู้ติดเชื้อในวันและเวลาใกล้เคียงกัน  2) เพื่อนที่ทำงานนั่งใกล้ ๆ กันติดเชื้อ  3) คนในบริษัทเดียวกันติดเชื้อ ไม่รู้จักส่วนตัว  4) คนในคอนโดที่พักติดเชื้อ ไม่รู้จักส่วนตัว  5) ไปห้างสรรพสินค้าที่มีข่าวคนติดเชื้อ ไม่ได้ไปที่ร้านเดียวกัน  6) คุณลุงที่บ้านอยู่ด้วยกัน ติดเชื้อ

  • กรณีที่ 1 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ไม่มีอาการ แต่มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ให้ใช้มาตรการกักตัว 14 วัน หากมีอาการป่วยไปพบแพทย์และตรวจหาเชื้อทันที
  • กรณีที่ 2 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง เพราะสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทุกวัน ให้ไปตรวจหาเชื้อโควิด ระหว่างรอผลให้ใช้มาตรการกักตัว หากมีอาการป่วยไปพบแพทย์ทันที
  • กรณีที่ 3 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ โอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อน้อย ให้สังเกตอาการตนเอง 14 วัน ใช้มาตรการป้องกัน หากมีอาการป่วยให้ไปพบแพทย์และตรวจหาเชื้อทันที
  • กรณีที่ 4 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ โอกาสสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อน้อย ให้สังเกตอาการตนเอง 14 วัน ใช้มาตรการป้องกัน หากมีอาการป่วยให้ไปพบแพทย์และตรวจหาเชื้อทันที
  • กรณีที่ 5 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ โอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อน้อย ให้สังเกตอาการตนเอง 14 วัน ใช้มาตรการป้องกัน หากมีอาการป่วยให้ไปพบแพทย์และตรวจหาเชื้อทันที
  • กรณีที่ 6 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง เพราะสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทุกวัน ให้ไปตรวจหาเชื้อโควิด ระหว่างรอผลให้ใช้มาตรการกักตัว หากมีอาการป่วยไปพบแพทย์ทันที

*เป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นเท่านั้น ในสถานการณ์จริงให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เบอร์ 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1668 กรมการแพทย์ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

 

ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ อยากรู้ว่าใช่โควิดหรือเปล่าต้องทำอย่างไร

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ให้ดูว่ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือเข้าออกพื้นที่เสี่ยงไหม กรณีมีปัจจัยเสี่ยงให้ติดต่อเพื่อตรวจโควิดทันที กรณีไม่มีปัจจัยเสี่ยงให้สังเกตอาการ หากต้องการตรวจสามารถติดต่อขอตรวจโดยออกค่าใช้จ่ายเองจากหลายสถานบริการ

 

ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง รอสังเกตอาการ เมื่อไหร่ควรไปหาหมอหรือตรวจโควิด

หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 – 4 วัน หรืออาการรุนแรงขึ้นระหว่างสังเกตอาการ เช่น ไข้สูงขึ้น หอบเหนื่อย ให้พบแพทย์และตรวจโควิดทันที

 

ผู้ติดเชื้อโควิดแล้วมีอาการ แบบไหนอาการเล็กน้อยไม่รุนแรง แบบไหนอาการรุนแรง

ผู้ติดเชื้อโควิด ในช่วง 1 – 5 วันแรก อาการจะไม่รุนแรง เป็นอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนบน มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย จมูกไม่ได้กลิ่น ระยะต่อมาประมาณ 6 – 15 วันหลัง เชื้อลุกลามเข้าสู่หลอดลมและปอด เป็นระยะโควิดลงปอด อาการจะรุนแรงขึ้น มีอาการไอถี่ขึ้น ไข้สูง หนาวสั่น หอบเหนื่อย หายใจไม่เต็มอิ่ม ออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง ระบบหายใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และอาจเสียชีวิตได้

 

การตรวจหาเชื้อโควิด 19 มีโอกาสที่ผู้ติดเชื้อ ตรวจได้ผลเป็นลบหรือไม่

มีโอกาส สาเหตุเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดพลาดจากการเก็บเชื้อของผู้ทำการตรวจ ตำแหน่งที่เก็บเชื้ออาจเข้าไปในช่องทางเดินหายใจไม่ลึกพอ หรืออยู่ในระยะฟักตัวของเชื้อ ทำให้เชื้อมีน้อยตรวจไม่เจอ ดังนั้น ถ้าผลการตรวจเป็นบวก คือ ติดเชื้อโควิด ถ้าผลเป็นลบ คือ ตรวจหาเชื้อไม่เจอ อาจต้องมีการตรวจซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาถัดไป

 

เมื่อผลตรวจหาเชื้อโควิด 19 ได้ผลเป็นลบ สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เลยไหม

ไม่ได้ กลุ่มเสี่ยงยังต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน ในบางกรณีอาจต้องมีการตรวจซ้ำ

  

เมื่อผลตรวจหาเชื้อโควิด 19 ได้ผลเป็นบวก ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

เข้าสู่มาตรการแยกตัว (Isolation) ซึ่งทางภาครัฐจัดไว้ กรณีไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยจะพักที่รพ.สนาม หรือ Hospitel กรณีมีอาการรุนแรงต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล

 

ผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้าน (Home Quarantine) เป็นใครได้บ้าง แล้วต้องปฏิบัติอย่างไร

กลุ่มเสี่ยง เป็นผู้ที่ไม่มีอาการ แต่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกพื้นที่มีการระบาด กับกลุ่มเสี่ยงสูงทั้งหมดในระหว่างที่รอรับการตรวจ รอผลการตรวจ โดยให้ปฏิบัติดังนี้

  1. ผู้ถูกกักกันต้องไม่ออกจากที่พักอาศัยเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน
  2. รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น โดยใช้ภาชนะ ช้อนส้อม และแก้วน้ำส่วนตัว ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
  3. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
  4. สวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่น ๆ ในบ้านประมาณ 1 – 2 เมตร
  5. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด พูดคุยกับบุคคลอื่นในบ้าน
  6. ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม แล้วทิ้งทิชชูลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง
  7. ทำความสะอาดบริเวณที่ผู้เดินทางพัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบ ๆ ตัว รวมถึงห้องน้ำ ด้วยน้ำยาฟอกขาว
  8. ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 70 – 90 °C

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : น.ท.หญิง พญ. ศิริพร ผ่องจิตสิริ

ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-ข้อสงสัย-การป้องกัน.jpg

ถามตอบ หน้ากากอนามัย

หน้ากากอนามัยที่ ใช้ในช่วงนี้ ต้องเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไหม

สำหรับผู้ที่มีอาการ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่สู่ผู้อื่น สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง สามารถใช้หน้ากากอนามัยทั่วไป เช่น หน้ากากผ้า หน้ากากกันฝุ่น หน้ากากกันกลิ่น โดยใส่ให้ถูกต้อง ควบคู่ไปกับการล้างมือบ่อย ๆ และการรักษาระยะห่าง

การใช้หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น กันกลิ่น ช่วยป้องกันเชื้อได้ แต่ใส่นาน ๆ อาจทำให้รู้สึกอึดอัด อาจใส่ไม่ต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากต้องเปลี่ยนทุกวัน
.

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นอย่างไร หาซื้อได้ที่ไหน

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ที่เห็นเป็นสีเขียว สีฟ้า สีขาว มักทำจากโพลีโพไพลีน ในเบื้องต้นจะมี 3 ชั้น ชั้นนอกที่เป็นสี ป้องกันละอองฝอยซึมผ่านได้ สังเกตเอาน้ำหยด น้ำจะกลิ้งไม่ซึมเข้าไป ชั้นกลางต้องมีไส้กรองไว้การกรองอนุภาคเล็ก ๆ รวมถึงเชื้อโรคได้  ชั้นในเป็นวัสดุเดียวกับชั้นนอกแต่ความหนาต่างกัน หากไม่มีไส้กรองตรงกลาง หรือน้ำซึมเข้าด้านหน้าได้ ถือว่าไม่ได้มาตรฐานไม่ควรนำมาใช้ ในผู้ที่มีอาการ

ทั้งนี้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ทั่วไป ผู้ผลิตและนำเข้าต้องขออนุญาตคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนซื้อควรสังเกตที่บรรจุภัณฑ์มี แหล่งผลิต วันเดือนปีนำเข้า วันหมดอายุ หรือตรวจสอบหน้ากากอนามัย ขยี้ไม่มีละอองฟุ้ง ไม่มีกลิ่นสารเคมี ไม่มีกลิ่นพลาสติก และมีชั้นไส้กรอง เป็นต้น

หน้ากากผ้าที่มีขายทั่วไปหรือทำขึ้นเอง สามารถใช้ได้ไหม

ใช้ได้ เฉพาะผู้ที่ไม่มีอาการ โดยเลือกผ้าที่มีเส้นใย 2 ชั้นขึ้นไป และนอกจากหน้ากากผ้าแล้วยังสามารถใช้หน้ากากอนามัยแบบอื่นที่มีความละเอียด จนละอองฝอยจากการไอ จามไม่สามารถซึมผ่านได้

ใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ช่วยได้ไหม

ปัจจุบันมีข้อมูลว่า การใส่หน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ มีประโยชน์สามารถลดการแพร่เชื้อและป้องกันการรับเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ดีกว่าใส่หน้ากากชั้นเดียว เนื่องจากหน้ากากผ้าช่วยให้หน้ากากอนามัยที่อยู่ชั้นในแนบชิดกับใบหน้าได้มากกว่า

อยู่คนเดียวในบ้าน อยู่กับคนในครอบครัว มีคนภายนอกมาเยี่ยมบ้าน แบบไหนต้องใส่และไม่ต้องใส่

อยู่คนเดียว ผู้ที่ไม่มีอาการใด ๆ ไม่ต้องใส่ อยู่กับคนในครอบครัวหากอยู่ในพื้นที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทุกคนควรใส่หน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่าง หลีกเลี่ยงการไอ จามในระยะใกล้กว่า 2 เมตร

มีคนภายนอกมาเยี่ยมบ้าน ทุกคนต้องใส่หน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่างอย่างเคร่งครัด

หน้ากากอนามัยใส่ไว้ไม่นาน วันรุ่งขึ้นใส่ซ้ำได้ไหม

หน้ากากอนามัยทั่วไปไม่ควรใส่ซ้ำ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สำหรับการใช้หน้ากากผ้าในผู้ไม่มีอาการ ใช้ซ้ำได้แต่ต้องซักทุกวัน

หน้ากากอนามัยทำความสะอาดได้ไหม และกำจัดอย่างไร

หน้ากากอนามัยทั่วไป ใส่แล้วไม่ต้องทำความสะอาด ให้กำจัดโดยการม้วนเก็บด้านที่สัมผัสการไอ จามของผู้สวมใส่หรือด้านในไว้ รวมใส่ถุงพลาสติก เขียนหน้าถุงว่าหน้ากากอนามัยใช้แล้วให้ชัดเจน

กรณีหน้ากากผ้า ต้องซักทุกวันและใช้ซ้ำได้ไม่เกิน 8 – 10 ครั้ง ควรซักด้วยผงซักฟอกและตากแดดจัด หากซักด้วยน้ำร้อน 70 องศาจะยิ่งดี

 

ถามตอบ การล้างมือบ่อย ๆ

การล้างมือด้วยน้ำประปาอย่างเดียวได้หรือไม่

น้ำประปาอย่างเดียวไม่สามารถทำลายเชื้อได้ การล้างมือเพื่อกำจัดเชื้อโรค ต้องล้างด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมืออย่างน้อย 20 วินาที โดยถูมือให้ทั่วทั้งด้านหน้า ด้านหลังและซอกนิ้ว ล้างออกด้วยน้ำเปล่า และเช็ดมือด้วยผ้าสะอาด

การล้างมือต้องใช้สบู่หรือน้ำยาล้างแบบที่ผสมสารฆ่าเชื้อไหม

ไม่จำเป็น การใช้สบู่หรือน้ำยาล้างมือ ล้างให้ถูกต้อง เพียงพอในการกำจัดเชื้อแล้ว

ที่บอกว่าล้างมือบ่อย หมายถึงบ่อยแค่ไหน มีหลักคิดอย่างไร

การล้างมือด้วยสบู่อย่างถูกต้อง จะช่วยลดการติดเชื้อโควิด 19 ได้ ใช้หลักเบื้องต้น ดังนี้

  • ล้างทุกครั้ง หลังอาการไอหรือจาม
  • ล้างทุกครั้งที่มาถึงที่ทำงาน/กลับจากที่ทำงาน
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร/ก่อนเตรียมอาหาร/ปรุงอาหาร
  • ล้างมือก่อนจับต้องใบหน้า
  • ล้างทุกครั้ง เมื่อออกจากห้องน้ำ
  • ล้างทุกครั้งเมื่อจับกับสัตว์หรือสัตว์เลี้ยง
  • ล้างทุกครั้งเมื่อสัมผัสกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
  • ล้างทุกครั้งเมื่อคิดว่ามือสกปรก
  • ล้างมือทุกครั้งให้นานกว่า 20 วินาที

.
ในกรณีไม่มีน้ำหรือไม่มีสบู่ มีทางเลือกอย่างไร

ต้องกลับมาใช้เจลที่มีแอลกอฮฮอล์ขั้นต้น 70% ทาทำความสะอาดมือให้ทั่ว ถ้ามือสกปรกควรล้างมือขจัดคราบสกปรกออกก่อน เพื่อให้แอลกอฮอล์เข้าถึงเชื้อได้เต็มที่
.

การทำความสะอาดพื้นผิว ใช้วิธีการใด

โดยทั่วไปสามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาฟอกขาว ทำความสะอาดได้ ส่วนพื้นที่ที่คิดว่ามีโอกาสมีเชื้อโควิดสูง นอกจากใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไปแล้ว สามารถเช็ดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อเพิ่มความสบายใจได้

 

ถามตอบ การเว้นระยะห่าง

ต้องเว้นระยะห่างจากคนในครอบครัว หรือคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันไหม

ถ้าเว้นระยะห่างได้ควรเว้น นอกจากการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีโอกาสสัมผัสร่วมกันแล้ว การรักษาระยะห่างเป็นสิ่งจำเป็น เช่น การแยกกันทานอาหาร แยกกันดูทีวี (หากทำได้) การลดการสนทนาแบบใกล้ชิด การจัดห้องนอนแยกผู้สูงอายุออกจากสมาชิกที่มีความเสี่ยง การแยกกันใช้ห้องน้ำ เป็นต้น
.

ระหว่างเดินทาง เช่น บนรถ เรือ เว้นระยะห่างกันอย่างไร

นั่งเฉพาะตำแหน่งที่ทางรถหรือทางเรือเตรียมไว้ หากต้องยืนให้เว้นระยะห่างระหว่างกันให้มากที่สุด อย่างน้อย 30 ซม. หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าตรง ๆ ในลักษณะที่การไอ จาม พูดน้ำลายกระเด็นใส่กันได้ ควรล้างมือก่อนและหลังการเดินทาง เป็นต้น

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : น.ท.หญิง พญ.ศิริพร ผ่องจิตสิริ

ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19.jpg

ทำไมต้องฉีดวัคซีน ใครควรฉีดบ้าง

วัคซีนมีประสิทธิภาพ 3 ประการ ได้แก่ ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการเกิดโรค (ติดเชื้อได้ แต่ไม่เป็นโรค) ป้องกันความรุนแรงของโรค (เป็นโรคได้ ไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต) จึงเป็นการป้องกันผู้รับการฉีด และการป้องกันคนรอบข้างร่วมด้วย ถ้าทุกคนได้ฉีดวัคซีน โรคนี้ก็จะสงบลงไป ความเป็นอยู่ได้กลับมา เศรษฐกิจได้กลับมา (ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ, hfocus.org)

ทุกคนควรฉีด โดยกรมควบคุมโรคได้จัดลำดับการฉีดตามกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่ที่มีการระบาด ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก  www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia

 

ฉีดวัคซีนแล้ว มีผลข้างเคียงไหม รุนแรงหรือไม่

การฉีดวัคซีนทุกตัวอาจมีและไม่มีผลข้างเคียง แตกต่างกันไปตามผู้รับการฉีด ข้อมูลจาก BBC.NEWS (29 มี.ค. 21) พบผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ให้บริการทางสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด้านหน้าและกลุ่มเสี่ยง พบผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค เกิดผลข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด 20 – 30% และชนิดรุนแรง เช่น อาการทางสมอง อย่างอาการชัก 0.7% ขณะที่มีอาการแพ้รุนแรงน่ากังวลกว่า เช่น แน่นหน้าอก เหนื่อย ปวดท้อง อาเจียน ผื่นขึ้นตามตัว เป็นต้น

ทั้งนี้ข้อมูลจาก TECHSAUCE เขียนผลข้างเคียงของวัคซีนซิโนแวค ไว้ว่า ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร เจ็บคอ น้ำมุกไหล และวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ไว้ว่า ปวดศีรษะ เหนื่อยหอบ ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น ปวดบริเวณข้อ เป็นต้น

 

มีมาตรการรองรับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไหม ผู้ฉีดควรปฏิบัติอย่างไรภายหลังฉีด

ในเบื้องต้นผู้รับการฉีดต้องศึกษาข้อมูลทั้งการเตรียมตัวก่อนและหลังการฉีด โดยต้องอยู่รอดูอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที หลังจากนั้นหากมีอาการเล็กน้อย สามารถทานยาแก้อาการได้ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้คลื่นไส้ หากมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ไข้สูง ใจสั่น หนาวสั่น แน่นหน้าอก หากใจไม่ออก ปวดศีรษะรุนแรง หน้าเบี้ยวปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีจุดเลือดออกจำนวนมาก ผื่นขึ้นจำนวนมาก บวมทั่วร่างกาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง อาการใดอาการหนึ่งควรรีบแจ้งแพทย์ทันทีหรือโทร 1669

ทั้งนี้ภาครัฐได้ออกมาตรการ โดยให้สปสช.จ่ายเงินช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีน เช่น เจ็บป่วยต่อเนื่อง เสียอวัยวะ/พิการ ตาย/ทุพพลภาพถาวร

 

ฉีดวัคซีนแล้วยังมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ไหม และต้องป้องกันตัวอยู่อีกไหม

ยังมีโอกาสติดอยู่ มากน้อยแล้วแต่ชนิดของวัคซีน แต่การติดหลังจากได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ส่วนใหญ่อาการป่วยจะน้อย เหลือแค่ไข้หวัดธรรมดา ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ต้องนอนไอซียูหรือเสียชีวิต

ดังนั้น หลังได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ยังต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆและรักษาระยะห่างอยู่

 

คนที่เคยติดเชื้อโควิดและหายแล้ว ยังต้องฉีดวัคซีนอีกไหม

จากการศึกษาเมื่อเป็นโควิดหลัง 3 เดือน เมื่อตรวจภูมิต้านทานจำนวน 300 คน พบว่า 90% มีภูมิต้านทานอยู่ และจะค่อยๆลดลงไปหลัง 6 เดือน ดังนั้น เมื่อเป็นติดเชื้อโควิดแล้ว และอยากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ขอให้ไปฉีดหลังเป็นแล้วหลัง 6 เดือนขึ้นไป (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ, hfocus.org)

 

ถ้าฉีดแล้ว มีผลข้างเคียงและยังมีโอกาสติดเชื้ออยู่ ทำไมยังต้องฉีด

หากดูผลข้างเคียง โดยเฉพาะอาการที่รุนแรงจะพบว่ามีน้อยมาก แม้ว่าโอกาสติดเชื้อยังพอมีอยู่ แต่การฉีดวัคซีนจะทำให้ผู้ที่ติดเชื้อภายหลังได้รับวัคซีน มีอาการรุนแรงน้อยลงมาก และการฉีดวัคซีนยังเป็นการป้องกันให้คนที่อยู่ใกล้ชิดด้วย

 

ฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเวลาใกล้เคียงกัน ได้หรือไม่

วัคซีนโควิดเป็นวัคซีนใหม่ จึงไม่อยากให้ฉีดพร้อมกับวัคซีนตัวอื่น เนื่องจากหากมีอาการข้างเคียงจะไม่รู้ว่าเกิดจากวัคซีนชนิดไหน จึงขอให้ฉีดห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่น หากฉีดวัคซีนโควิดไปแล้ว แต่วันรุ่งขึ้นถูกสุนัขกัด และจำเป็นต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า มีความจำเป็นต้องชีวิต อันนี้ต้องฉีด (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ)

 

ฉีดเข็มแรกกับเข็มที่สอง ใช้วัคซีนคนละตัวกันได้ไหม และฉีดครบโดสแล้ว อยากฉีดซ้ำวัคซีนยี่ห้ออื่นได้ไหม

การฉีดเข็มแรกและเข็มที่สอง เป็นวัคซีนคนละตัว “น่าจะได้”  เนื่องจากการทำงานของวัคซีนโควิดคือ เข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันหรือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีเพื่อจัดการเชื้อโควิค 19 ถ้ารับโดสแรกไปแล้ว น่าจะมีภูมิคุ้มกันขึ้นมาระดับหนึ่ง เมื่อเว้นระยะประมาณ 1 เดือน ถ้าฉีดวัคซีนต่างยี่ห้อ ก็จะยิ่งเพิ่มภูมิคุ้มกันขึ้นไปอีก

การฉีดครบโดสแล้ว ฉีดซ้ำด้วยวัคซีนยี่ห้ออื่น “น่าจะได้”  เพราะยังไม่มีข้อบ่งชี้ถึงอันตรายหรือข้อห้ามออกมา แต่ว่าฉีดซ้ำแล้วช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้เพิ่มมากอีกเท่าไรนั้น คงต้องรอการพิสูจน์จากงานวิจัยหรือการวิเคราะห์ผลกลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบนี้อย่างรายละเอียด

(วัคซีนโควิด19 ฉีดซ้ำ 2 ยี่ห้อได้หรือไม่, เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต, 1 มี.ค. 2564)

 

คนไทยต้องฉีดวัคซีนโควิด 19 กี่คนจึงจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบหมู่

ภูมิคุ้มกันหมู่ที่เกิดจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 น่าจะอยู่ราว ๆ 70 – 75% แต่อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า หากจะขอเลือกเป็นคนที่ไม่ฉีดวัคซีนและอยู่ใน 30% ที่เหลือได้หรือไม่ คำตอบคือได้แต่คุณจะมีความเสี่ยงที่จะไม่มีภูมิคุ้มกันป้องกันตนเอง ในขณะที่คนอื่นมีภูมิคุ้มกัน ขอแนะนำให้คุณอยู่ในกลุ่ม 70% (ที่ได้รับวัคซีน) จะดีกว่า

 

ฉีดครบโดสในครั้งนี้ ปีหน้ายังต้องฉีดอีกไหม

กำลังมีการศึกษาเรื่องนี้อยู่ ต้องรอข้อมูลอีกสักระยะ แต่เป็นไปได้ที่จะต้องฉีดเนื่องจากเชื้อที่ระบาดหลัก ๆ ในแต่ละปีอาจแตกต่างกัน

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19

 

ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-Infectious-disease.jpg

โรคติดเชื้อ (Infectious disease) กิดจากเชื้อจุลชีพขนาดเล็กที่ผ่านการป้องกันโดยธรรมชาติของร่างกาย ซึ่งส่งผลทำให้เกิดผลหลายอย่างส่งผลให้เกิดอาการได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงเสียชีวิตได้ จนถึงปัจจุบันนี้แม้มีโรคติดเชื้อหลายโรคที่สามารถให้การรักษา หรือ การป้องกันได้ แต่มนุษย์ยังสามารถเกิดโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่ หรือ เป็นเชื้ออุบัติใหม่ที่ยังสามารถพบได้ในปัจจุบัน

 

เชื้อก่อโรค (Pathogen) สามารถเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราหรือปรสิต เชื้อทั้งนี้ยังมีจุลชีพจำนวนมากอาศัยอยู่ในร่างกายของเรา โดยไม่ก่อให้เกิดโรคและเป็นประโยชน์ เรียก จุลชีพไม่ก่อโรค (Non pathogen) แต่เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือในบางสภาวะ จุลชีพดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดโรคได้ เราเรียกการติดเชื้อในลักษณะนี้ว่าการติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic infection)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเชื้อก่อโรคนั้นสามารถพบได้ทั่วไป แต่เนื่องจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันของมนุษย์ทำให้ เชื้อก่อโรคไม่สามารถทำอันตรายเราได้ โดยเชื้อเหล่านี้มีหลากหลาย สามารถแบ่งออกได้เป็น

  1. แบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สามารถเห็นรูปร่าง และลักษณะได้โดยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเป็นเชื้อที่มีขนาดเล็กมาก ดังที่กล่าวมาแล้วว่าไม่ใช่แบคทีเรียทุกชนิดที่มีปัญหาและก่อโรคในร่างกาย แต่บางชนิดทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายได้อีกด้วย เช่น Lactobacillus acidophilus เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ทำหน้าที่ย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหารบางอย่างได้ดียิ่งขึ้น เชื้อก่อโรคจากแบคทีเรีย เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจ, การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือ การติดเชื้อวัณโรค เป็นต้น
  2. ไวรัส เป็นสิ่งมีชีวิตที่เล็กกว่าเซลโดยทั่วไป และต้องการเซลของสิ่งมีชีวิตในการแบ่งตัว ซึ่งที่รู้จักกันมีหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อ ไวรัสเอชไอวี, เริม, หัด, สุกใส, ไข้หวัดใหญ่เป็นต้น
  3. เชื้อรา ซึ่งมีสองประเภทใหญ่ ๆ หากแบ่งตามรูปร่างคือ ยีสต์ และ ราสายการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อรามักต้องการการเสื่อมหรือเสียหายของระบบป้องกันตัวทำให้เข้าสร้างความเสียหายกับร่างกายได้
  4. โปรโตซัว เป็นสัตว์เซลเดียวที่มีลักษณะการดำรงค์ชีวิตคล้ายสัตว์ การติดเชื้อโปรโตซัวมักเป็นการติดเชื้อผ่านอาหารที่ไม่สะอาด หรือ เป็นอาหารที่อยู่ในวงจรชีวิตของโปรโตซัวเหล่านั้น
  5. หนอนตัวกลม โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะกลายเป็นตัวเต็มไว และอาจเกิดโรคกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็น ลำไส้, ปอด, ตับ ผิวหนัง

โรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน (Zoonotic disease) หมายถึง โรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในมนุษย์ซึงได้รับมาจากสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าอาจจะทำให้สัตว์ที่มีเชื้อโรคนั้นแสดงหรือไม่แสดงอาการก็ได้ โดยมีทั้ง โรคอุบัติใหม่ (emerging disease) และโรคอุบัติซ้ำ (re-emergiing) ซึ่งจากข้อมูลปัจจุบันพบว่าโรคติดเชื้อส่วนใหญ่ที่พบในมนุษย์มีความสามารถในการถ่ายทอดระหว่างคนและสัตว์

โรคติดเชื้อสามารถส่งผ่านจากผู้ป่วยไปสู่คนปกติได้ในหลายช่องทาง เช่น การหายใจ การสัมผัส การกินอาหารปนเปื้อน ถูกสัตว์ที่เป็นพาหะกัด เป็นต้น จึงเรียกได้อีกชื่อว่า “โรคติดต่อ” (Transmissible disease หรือ Communicable disease)

 

อาการ

อาการที่พบบ่อย

โรคติดเชื้อแต่ละชนิดมีอาการและอาการแสดงเฉพาะเจาะจง โดยอาการที่พบบ่อย เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ  ไอ นอกนั้นจะเป็นอาการเฉพาะขึ้นกับว่าเป็นการติดเชื้อกับอวัยวะในระบบใด เช่น อาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ อาการท้องเสีย ปวดท้อง อาจมีอุจจาระเป็นเลือด เมื่อเป็นการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร อาการปัสสาวะแสบ ขัด บ่อย และอาจมีปัสสาวะเป็นเลือด เมื่อเป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ อาการตกขาวผิดปกติ หรือมีแผล หนอง ที่อวัยวะเพศ อาจเป็นการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์ 

การติดเชื้อที่ไม่รุนแรงอาจช่วยด้วยการพักผ่อนและการรักษาตามอาการอยู่กับบ้านได้ ในกรณีติดเชื้อรุนแรงหรือมีอาการดังนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที เช่น มีปัญหาในการหายใจ มีอาการไอนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ มีอาการปวดศีรษะรุนแรงมีไข้ พบผื่นหรือบวม มีไข้ที่หาสาเหตุไม่ได้เป็นเวลานาน มีปัญหาในการมองเห็นฉับพลัน

 

สาเหตุ

ประเภทของการติดเชื้อ

การติดเชื้อโดยภาพรวมสามารถแบ่งออกเป็นได้สองประเภท

  1. การติดเชื้อหลายระบบ หรือ การติดเชื้อที่ไม่มีตำแหน่งชัดเจน เช่น มาลาเรีย (malaria), การติดเชื้อเอชไอวี (HIV), การติดเชื้อไข้เหลือง (yellow fever) เป็นต้น
  2. การติดเชื้อที่มีตำแหน่งชัดเจน สามารถทำให้เกิดโรคในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง เช่น ไข้หวัด (ติดเชื้อเฉพาะทางเดินหายใจส่วนบน), การติดเชื้อในทางเดินอาหาร, การติดเชื้อในปอด และ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในตำแหน่งเหล่านี้สามารถกระจายเชื้อทางกระเสเลือดไปตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย และ ทำให้เกิดอาการหลากหลายได้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคหรืออาการที่รุนแรงได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสองอย่าง
    • การติดเชื้อเฉพาะที่ที่รุนแรงซึ่งเกิดจากตัวเชื้อ เช่น วัณโรค ซึ่งมีความสามารถในการทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทั่วโลกในปัจจุบันโดยเฉพาะประเทศไทย
    • การติดเชื้อเฉพาะที่ที่รุนแรงซึ่งเกิดจากตำแหน่งของการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อ ในหัวใจ หรือ ในสมอง

การติดต่อของจุลชีพก่อโรคหรือเชื้อโรค

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดโรคติดเชื้อหรือโรคติดต่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมหลายช่องทาง ได้แก่

  1. การสัมผัสเชื้อโรคทางตรง
    เป็นการติดต่อโดยส่วนใหญ่ของโรคติดเชื้อ ซึ่งเป็นการสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ติดโรค ซึ่งช่องทางของการติดเชื้อสามาถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่องทางใหญ่ ๆ ดังนี้

    • การติดต่อจากคนสู่คน เป็นวิธีการติดเชื้อที่พบได้บ่อย โดยเป็นการแพร่เชื้อ แบคทีเรีย, ไวรัส โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชื้อสามารถทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่เกี่ยวกับไวรัส เช่น โรคอีสุกอีใส โรคกลาก, การหายใจเอาเชื้อโรคในอากาศจากการไอ จาม ทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่เกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่, การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น สัมผัสเสมหะสามารถทำให้เกิดวัณโรค, การสัมผัสสารคัดหลั่งจากช่องคลอดหรือน้ำอสุจิสามารถทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการสัมผัสเลือดของผู้ติดเชื้อสามารถทำให้เกิดโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เป็นต้น
    • การติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น การกัดหรือข่วนโดยสัตว์ที่มีการติดเชื้อ ซึ่งอาจแพร่เชื้อมาสู่มนุษย์ได้ซึ่งการติดเชื้อบางอย่างอาจทำให้สามารถเสียชีวิตได้ นอกจากนี้สิ่งปฏิกูลของสัตว์ยังสามารถแพร่เชื้อได้อีกด้วย ตัวอย่างการแพร่เชื้อจากสัตว์ เช่น การได้รับเชื้อ ท็อกโซพลาสโมสิสจากการเก็บกวาดอุจจาระของแมว
    • การติดต่อผ่านแมลง เช่น ยุง, หมัด, เห็บ ซึ่งนำเชื้อจากสัตว์หรือมนุษย์ที่ติดเชื้อ ไปสู่มนุษย์รายอื่น ซึ่งเราเรียกแมลงเหล่านี้ว่าพาหะ เช่น ยุงลายที่นำเโรคไข้มาลาเรีย เป็นต้น
    • การติดต่อผ่านอาหารที่ปนเปื้อน ในอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนอาจทำให้มีเชื้อบางชนิดมีปริมาณมากเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นช่องทางของการติดเชื้อได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ทำไม่สุก
    • การติดต่อจากมารดาสู่ทารก ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถถ่ายทอดเชื้อก่อโรคบางชนิดได้ โดยผ่านทางรกโดยตรง หรือ ผ่านทางการคลอดทางช่องคลอด
  2. การสัมผัสเชื้อโรคทางอ้อม
    เนื่องจากเชื้อโรคบางชนิด สามารถอยู่ภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิตได้ในระยะเวลาหนึ่ง โดยอยู่ตามสภาพแวดล้อม เช่น ราวบันได ลูกบิด เสื้อผ้า ตุ๊กตา ผ้าห่ม รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ของผู้ติดเชื้อ ทำให้เมื่อคนไปสัมผัส เช่น มือไปโดนแล้วมาสัมผัสจมูก ปากหรือดวงตา จะสามารถรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้อีกทาง ดังนั้นการล้างมือ ก่อนสัมผัสใบหน้าของตนเองจึงเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่ดีอีกวิธ๊หนึ่ง

ปัจจัยเสี่ยง และผลของการติดเชื้อ

ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการเสมอ คือ 1. ตัวเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงของตัวเชื้อเอง หรือ จำนวนของเชื้อ 2. การตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกาย 3. ประสิทธิภาพในการรักษา

ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การติดเชื้อรุนแรงมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความไม่สะอาดของสภาพแวดล้อม โดยผู้ที่อาศัยในแหล่งชุมชนที่มีอาหาร น้ำดื่ม เครื่องอุปโภคบริโภคที่ไม่สะอาด มีการใช้ข้าวของเครื่องใช้ร่วมกับผู้อื่นจะมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ รวมถึง

ผู้มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งเป็นได้จากสามปัจจัย

  1. ปัจจัยจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยมะเร็งชนิดที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  2. ปัจจัยจากการรักษาโรคบางชนิด เช่น ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์ ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยากดภูมิในผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ
  3. ปัจจัยจากการติดเชื้อที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น การิตดเชื้อเอชไอวี

 

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยเบื้องต้นสามารถทำได้โดย การซักประวัติอาการ ประวัติทางการแพทย์ การตรวจดูรอยโรค โดยอาจมีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เนื่องจากโรคติดเชื้อหลายชนิดทำให้เกิดอาการและอาการแสดงหลากหลาย และมีความคล้ายคลึงกันในบางโรค ดังนั้นการนำตัวอย่างจากร่างกายผู้ป่วยไปตรวจ เช่น สารคัดหลั่งอาจทำให้พบตำแหน่งของการติดเชื้อ หรือชนิดของการติดเชื้อได้
    • การตรวจเลือด โดยแพทย์/พยาบาล/นักเทคนิคการแพทย์ จะทำการใช้เข็มแทงใต้ท้องแขนหรือตำแหน่งอื่น เพื่อดูดเลือดออก ซึ่งการสืบค้นทางเลือดนับเป็นวิธีการตรวจหาการติดเชื้อโดยส่วนใหญ่ที่สำคัญได้แก่ การนำเลือดไปเพาะเชื้อแบคทีเรีย หรือตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยวิธีพีซีอาร์ เป็นต้น
    • การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจโดยให้ปัสสาวะใส่ที่เก็บ เป็นวิธีการที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยต้องเจ็บ หรือปวด แต่ว่าวิธีการเก็บต้องถูกต้องเนื่องจากอาจทำให้ปนเปื้อนจนแปลผลคลาดเคลื่อนได้ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะทำการเก็บจะมีการอธิบายวิธีการเก็บก่อนเพื่อให้การแปลผลได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
    • การตรวจโดยการป้ายคอ โดยใช้ไม้ปราศจากเชื้อ กวาดที่บริเวณคอเพื่อทำการส่งตรวจ เช่น การส่งตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นต้น
    • การตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจอุจจาระของผู้ป่วยโดยจุดประสงค์หลักมักเป็นการตรวจเพื่อหา เชื้อปรสิต หรือ ไข่ที่ออกมาในทางเดินอุจจาระ
    • การตรวจน้ำไขสันหลัง เป็นการตรวจน้ำไขสันหลังของผู้ป่วย วิธีการตรวจโดยการใช้เข็มแทงทะลุผ่านช่องระหว่างกระดูกสันหลัง หลังจากที่ฉีดยาชาแล้วเพื่อเข้าไปในช่องไขสันหลังแล้วนำน้ำไขสันหลังออกมาตรวจซึ่งการตรวจวิธีนี้สามารถตรวจได้หลากหลายไม่เพียงเฉพาะโรคติดเชื้อเท่านั้น ซึ่งในระหว่างการตรวจอาจต้องมีการขอความร่วมมือจากผู้ป่วย เช่น การให้งอเข่าเข้าชิดอกเพื่อทำให้สามารถตรวจได้ง่ายขึ้น และผู้ป่วยเจ็บลดลง
  2. การตรวจภาพรังสี มีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็น การถ่ายเอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อหาตำแหน่งของอวัยวะที่สงสัยว่าติดเชื้อ
  3. การตัดชิ้นเนื้อ ในกรณีที่ตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ทราบผล หรือ ในบางโรคที่มีความจำเป็นต้องได้ผลชิ้นเนื้อเท่านั้นในการวินิจฉัย เช่น การติดเชื้อรา โดยส่วนใหญ่เป็นการตัดชิ้นเนื้อที่ใช้ปริมาณไม่มาก

 

การรักษา

โรคติดเชื้อชนิดไม่รุนแรง สามารถรักษาตามอาการได้ แต่ในกรณีที่เป็นโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงซึ่งอาจทำให้เสียชีวิต หรือผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ทันที สาเหตุและอุปสรรคของการรักษาโรคติดเชื้อในปัจจุบันได้แก่

  1. เชื้อจุลชีพหลายชนิดที่มีความสามารถก่อโรครุนแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา และ เชื้อปาราสิต มีการค้นพบใหม่ทุก ๆ ปี เช่น โรคเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นต้น
  2. เชื้อจุลชีพหลายชนิดที่เคยค้นพบมาก่อน ปัจจุบันเชื้อเหล่านี้มีความสามารถที่จะดื้อหรือมีความสามารถต้านการรักษาที่มี ไม่ว่าจะเป็นยาต้านจุลชีพ เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาหลายขนานเป็นต้น
  3. จำนวนประชากรที่มากขึ้นและอยู่กันหนาแน่น และการเดินทางสามารถทำได้ง่ายขึ้น ทำให้การระบาดของโรคติดเชื้อสามารถแพร่กระจายได้มากขึ้น

โดยภายหลังจากทราบถึงชนิดของเชื้อ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแล้ว แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยให้ยาเพื่อกำจัดหรือต้านเชื้อโรคในร่างกายเป็นหลัก เช่น

  1. ยาปฏิชีวนะในกรณีที่ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้แบคทีเรียและยาปฏิชีวนะมีหลากหลายชนิด โดยจะมีผลในการรักษาต่อเมื่อเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่สอดคล้องกับเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะจึงจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร การซื้อยาทานเอง อาจได้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ตรงกับเชื้อที่อยู่ในร่างกาย หรืออาจทานไม่ครบปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม ทำให้เกิดเชื้อดื้อยารักษายากขึ้นและอาการไม่ดีขึ้นได้ และที่สำคัญยาปฏิชีวนะนั้นสงวนไว้ใช้กับการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ดังนั้นการติดเชื้อไวรัสจะไม่มีผลแต่อย่างใด
  2. ยาต้านไวรัสในกรณีที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสชนิดที่มียาต้าน ทั้งนี้การรักษาโดยทั่วไป จะเป็นการรักษาตามอาการ เนื่องจากร่างกายจะสร้างภูมิต้านโรคขึ้นมากำจัดไวรัสได้เอง โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ยาต้านไวรัสในกรณีโรครุนแรง หรือเมื่อเป็นการติดเชื้อของผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ 
  3. ยาต้านเชื้อราในกรณีที่ร่างกายติดเชื้อรา มีทั้งชนิดที่เป็นยาภายนอก (Topical antifungal drug) เพื่อรักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนังหรือเล็บ ชนิดกินเพื่อรักษาการติดเชื้อราบางชนิดที่มีผลต่อปอดหรือเยื่อเมือก หรือชนิดฉีดเพื่อรักษาการติดเชื้อราอวัยวะภายใน โดยเฉพาะกับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  4. ยาต้านปรสิต ปรสิตบางชนิด เช่น โปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรีย จะมียาต้านเชื้อมาลาเรียอยู่หลายชนิด ทั้งนี้ แพทย์จะต้องพิจารณาถึงเรื่องการดื้อยา ในการพิจารณาใช้ยาให้เหมาะสมด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเชื้อจุลชีพบางชนิด หรือหลาย ๆ ชนิดมีความสามารถในการต้านฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นแพทย์ หรือผู้ป่วยควรใช้ยาต้านจุลชีพอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเป็นสาเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดเชื้อดื้อยาที่สำคัญ


เชื้อดื้อยา
โดยส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึงเชื้อดื้อยา มักหมายความถึงเชื้อแบคทีเรียที่มีความสามารถในการตื้อยาต้านจุลชีพได้หลายขนาน ซึ่งเชื้อดื้อยาเหล่านี้สามารถก่อโรคได้ไม่แตกต่างกับเชื้อทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปอดอักเสบ, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, การติดเชื้อในชั้นผิวหนัง

แบคทีเรียมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อเอาต้ัวรอดจากยาที่มนุษย์สร้างเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งมีผลทำให้การรักษานั้น ๆ ที่เคยเป็นการรักษามาตรฐาน อาจทำให้การรักษานั้นได้ผลลดลง หรืออาจไม่ได้ผลเลยในบางราย สิ่งที่ควรทราบ คือ วิธีการที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียกระจายเร็วขึ้น เช่น

  1. ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งปัจจัยข้อนี้เป็นข้อที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม ไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อมีการดื้อยาได้อย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น ใช้ยาอย่างเคร่งครัด ไม่นำยาปฏิชีวนะของผู้อื่นที่มีอาการคล้ายกับเรามารับประทานเป็นต้น
  2. การป้องการติดเชื้อไม่เหมาะสม เช่น ไม่ล้างมือเมื่อสััมผัสกับผู้ป่วย หรือ ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการป่วย
  3. อาศัยหรือทำงานในสถานที่ที่ผู้คนแออัดเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ
  4. การประกอบอาหาร หรือรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

 

ข้อแนะนำและการป้องกัน

  1. การฉีดวัคซีน
    ปัจจุบันวัคซีนเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ และอาจจะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมากที่สุดในปัจจุบัน (IDSA, 2019) โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ และมีความรุนแรงสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนหลายชนิดในปัจจุบัน โดยวัคซีนอาจแบ่งออกเป็น

    • วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดในผู้ป่วยทั่วไป เช่น วัคซีน คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก, วัคซีนป้องกันสุกใส, วัคซีนป้องกัน หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน, วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV, วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่, วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัส
    • วัคซีนที่แนะนำในผู้ป่วยพิเศษบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยตั้งครรภ์, ผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล, ผู้ป่วยโณคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง, ผู้ป่วยที่ตัดม้าม, ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีจำนวน CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/uL, ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ หรือ ปลูกถ่ายไขกระดูก
    • วัคซีนที่แนะนำในผู้ป่วยที่มีการเดินทาง เช่น วัคซีนไข้เหลือง วัคซีนอหิวาตกโรค วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอหรือบี วัคซีนไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น
  2. เสริมสร้างสุขาภิบาลในระดับชุมชน
    • สนับสนุนให้มีแหล่งน้ำสะอาด, มีการจัดการสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสม เช่น แหล่งน้ำเสีย หรือ การกำจัดขยะให้เหมาะสม
    • เน้นและสนับสนุนการล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะก่อนและหลังการเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังการใช้ห้องน้ำ อย่าแตะต้องตาจมูกหรือปากด้วยมือ เนื่องจากเป็นช่องทางหลักที่เชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกาย
    • ดูแลขั้นตอนในการเตรียมอาหารให้สะอาดและปลอดภัย เช่น อุปกรณ์ครัว ภาชนะบรรจะการเก็บอาหารทั้งก่อนและหลังทำเสร็จ รวมถึงการปรุงอาหารควรเป็นอาหารสุกอยู่เสมอขึ้นอยู่กับอาหารแต่ละชนิด
  3. การสืบค้นโรค
    โรคติดเชื้อบางชนิดจำเป็นต้องได้รับการสืบค้นในชุมชน เพื่อหาข้อมูลของการติดต่อโรคในชุมชน รวมไปถึงเฝ้าระวังการระบาดที่อาจเกิดขึ้นจากเชื้ออุบัติใหม่ หรือ โรคระบาดจากเชื้อเดิม เช่น การสืบค้นวัณโรคในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่แออัด เช่น ห้องขัง หรือ บริเวณที่มีผู้ติดเชื้อวัณโรคเป็นต้น
  4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
    • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องอุปโภคบริโภคร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน หวี มีดโกน แก้วน้ำ รวมถึงจานชามในกรณีที่ไม่มั่นใจในความสะอาด
    • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่แออัด เช่นเดียวกับบุตรหลานกรณีที่ป่วยควรอยู่กับบ้าน ไม่ควรไปโรงเรียน
    • หลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย เช่น ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  5. การล้างมือ
    การล้างมือนับเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ รวมไปถึงยังป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดีอีกด้วย ทุกครั้งที่เราสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว จะทำให้สะสมเชื้อที่อยู่ที่ต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ได้ ดังนั้นหากเรานำมือที่มีเชื้อไปสัมผัสตามตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายส่งผลให้สามารถแพร่เชื้อที่อยู่บนมือเข้าสู่ร่างกายของเราได้ ความจริงแล้วเราไม่อาจทำให้มือของเราปราศจากเชื้ออยู่เสมอตลอดเวลา แต่ว่าการล้างมือบ่อย ๆ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ปริมาณเชื้อที่อยู่บนมือนั้นลดลง เราควรล้างมือเมื่อ

    • ล้างมือเสมอก่อนทำสิ่งเหล่านี้
      • ก่อนรับประทานอาหาร หรือ ก่อนเตรียมอาหาร
      • ก่อนทำแผล หรือ ก่อนที่ให้การดูแลผู้ป่วย
      • ก่อนหรือหลังถอดคอนแทคเลนส์
    • ล้างมือเสมอหลังจากทำกิจกรรมเหล่านี้
      • หลังเตรียม หรือ ประกอบอาหาร
      • หลังใช้ห้องน้ำ หรือ เปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก/ผู้ใหญ่
      • หลังสัมผัสสัตว์ หรือ สิ่งปฏิกูลของสัตว์
      • หลังจามหรือไอหรือใช้มือปิดปาก
      • หลังทำแผล หรือ ดูแลผู้ป่วย
      • หลังทำการกำจัดขยะ
    • ล้างมือเสมอเมื่อเห็นสิ่งปนเปื้อนบนมือ

 

เอกสารอ้างอิง
  1. Infectious Diseases Society of America (2019), Fact about ID (online). Available: https://www.idsociety.org/public-health/facts-about-id/
  2. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่ และ ผู้สูงอายุ (Recommended Adult and Elderly Immunization Schedule) พ.ศ. 2561
  3. Whorld Health Organization (2019), Infectious diseases. Available: https://www.who.int/topics/infectious_diseases/en/
  4. Mayo Clinic (2019), Infectious diseases, Available: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infectious-diseases/symptoms-causes/syc-20351173
  5. James M. Steckelberg (2019), What are superbugs, and how can I protect myself from infection?, Available: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infectious-diseases/expert-answers/superbugs/faq-20129283
  6. Mayo Clinic Staff (2019), Germs: Understand and protect against baceria, viruses and infection, Available: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infectious-diseases/in-depth/germs/art-20045289

ภาพประกอบจาก : www.pixabay.com

 


.jpg

ปัจจุบันนี้ โรคเอดส์กำลังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งโรคนี้ยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ มีเพียงยาต้านไวรัสเท่านั้น ที่จะช่วยให้เชื้อไวรัสเอดส์ลดลง ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งข้อดี คือ ทำให้ไวรัสลดลง มีภูมิคุ้มกัน CD4 เพิ่มขึ้น แต่ข้อเสีย คือ มีผลทำให้เกิดภาวะผิดปกติ เช่น ตับอักเสบ ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคไต ปลายประสาทอักเสบ ปวดเมื่อยตามข้อตามตัว มีผื่นขึ้นตามตัว เกิดภาวะไขมันเคลื่อนย้าย แก้มตอบ แขนขาลีบ

 

แนวคิดในการรักษา

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แนวคิดในการรักษาเปลี่ยนไป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้วิธีรักษาแบบ 2 ทางที่เรียกว่า Complementary treatment หมายถึง การรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่ไปกับแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) โดยมีหลักการดังต่อไปนี้

  1. ใช้ต้านไวรัสเพื่อลดจำนวนเชื้อไวรัส จนไม่สามารถตรวจพบได้ ปริมาณไวรัสต่ำกว่า 50 ตัวต่อลบ.มม.
  2. ใช้วิธีป้องกันข้อเสียของยาต้านไวรัส โดยการซ่อมสร้างร่างกายที่เรียกกันว่าแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) เช่น การใช้ยาสมุนไพรแบบสกัด ที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ว่ามีฤทธิ์ในการปกป้อง ซ่อมสร้างร่างกาย เช่น ปกป้องตับ โดยการใช้เห็ดหลินจือ ชะเอมเทศ ฯลฯ ใช้มะระขี้นกซึ่งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ใช้น้ำมันปลาในกลุ่มโอเมก้า 3 ป้องกันไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น สามารถช่วยปกป้องผลข้างเคียงที่เกิดจากยาต้านไวรัสได้

 

สมุนไพรที่ใช้ในการเพิ่มภูมิต้านทานในผู้ติดเชื้อเอดส์

  1. ลูกใต้ใบ พบว่า สารสกัดจากลูกใต้ใบสามารถยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ของ HIV-1 ได้
  2. ฟ้าทะลายโจร พบว่า สาร dehydroandrographlide succinic acid monoester ซึ่งสังเคราะห์ได้จากสาร andrographolide จากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV-1 และมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อด้วย
  3. ขมิ้นชัน พบว่า มีสารสีเหลือง curcumin ในขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ protease ของ HIV-1 และ HIV-2 และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ integrase ของเชื้อ HIV-1 จึงได้มีการนำ curcumin ไปทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยเอดส์อยู่ในขณะนี้
  4. เห็ดหลินจือ พบว่า มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ HIV-1 ได้ผลดี โดยป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายในช่วงแบ่งตัวของไวรัส
    และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ และยังพบอีกว่ามีสาระสำคัญที่ช่วยในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และอาการภูมิแพ้ ตุ่มคันตามผิวหนัง
  5. มะระขี้นก พบว่า มีเมล็ดแก่ของมะระขี้นก มีโปรตีน TBG-P 29 ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV โดยการยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase  ผลอ่อนใช้เป็นยาเจริญอาหาร รักษาอาการเบื่ออาหารในผู้ป่วยเอดส์ได้ดี

 

ภาพประกอบจาก: www.th.wikipedia.org


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก