ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-Almond-ธัญพืชวิเศษ…เพื่อสุขภาพที่ดี.jpg

อัลมอนด์ เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบ (ROSACEAE) โดยเป็นพืชพื้นเมืองในตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ลำต้นสูงประมาณ 4 – 10 เมตร ใบเป็นขอบหยัก ดอกมี 5 กลีบ สีขาวหรือชมพูอ่อน ผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล มีเปลือกแข็งหุ้มเมล็ด นิยมทานเมล็ดอัลมอนด์ โดยมีขายทั้งแบบพร้อมเปลือกและแบบไม่มีเปลือก

 

อัลมอนด์มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จากข้อมูลของ USDA Nutrient Database ระบุว่าอัลมอนด์อุดมไปด้วยพลังงาน ไฟเบอร์ โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นมากมาย เช่น วิตามินบี โพแทสเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี ในการรับประทานอัลมอนด์ 30 กรัม หรือประมาณ 24 เมล็ด ให้พลังงานทั้งหมด 160 แคลอรี่ โดยมีกรดไขมันอิ่มตัว 1 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัว 13 กรัม และโปรตีน 6 กรัม ปัจจุบันอัลมอนด์ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน

 

ประโยชน์ดี ๆ ของอัลมอนด์

  • ช่วยลดน้ำหนัก จากการที่อัลมอนด์มีไขมันชนิดดี (HDL) ปริมาณมาก สามารถช่วยลดไขมันชนิดเลว (LDL) ลดคอเลสเตอรอลในเลือด โดยงานวิจัยจากสถาบันชั้นนำในอเมริกาและยุโรปพบว่า การรับประทานวันละ 1 หยิบมือจะช่วยลดระดับไขมันเลวได้ 4.4% ขณะที่การรับประทานวันละ 2 หยิบมือก็จะช่วยลดระดับไขมันเลวได้ 9.4% นอกจากนี้การมีโปรตีน ไฟเบอร์ วิตามิน ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้น การมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ โปรตีนสูง ใยอาหารสูง ทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มนาน ใครที่ต้องการลดน้ำหนัก เบิร์นไขมัน ลีนหุ่น การทานอัลมอนด์ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและการพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นทางเลือกที่ดี
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ในอัลมอนด์ มีไขมันชนิดดี (HDL) ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และมีวิตามินอี แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีอาร์จินีน แมกนีเซียม ทองแดง แมงกานีส แคลเซียมและโพแทสเซียม ช่วยให้ออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไหลเวียนในเลือดได้ดี ทำให้การรับประทานอัลมอนด์มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การรับประทานอัลมอนด์ มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล โดยจะชะลออัตราการปล่อยน้ำตาลกลูโคสออกสู่กระแสเลือดไม่ให้เร็วจนเกินไป จึงไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูง ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้อีกด้วย
  • บำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม ไรโบฟลาวินและแอลคานิทีน มีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้เหล็ก ทองแดง และวิตามิน ในอัลมอนด์ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมองไม่ขาดออกซิเจน
  • บำรุงผิวและลดริ้วรอย อัลมอนด์มีวิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยบำรุงผิวให้มีสุขภาพดี และลดการเกิดริ้วรอยได้ น้ำมันอัลมอนด์มีความอ่อนโยนและระคายเคืองน้อยมาก จึงสามารถใช้กับผิวทารกได้

นอกจากนี้แล้ว การทานอัลมอนด์พบว่ายังมีประโยชน์ในเรื่องการบำรุงสายตา กระตุ้นแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการอ่อนเพลียได้เร็ว

 

กินอัลมอนด์อย่างไร ให้เกิดประโยชน์

  • ควรรับประทานอัลมอนด์วันละประมาณ 1 กำมือ หรือ 24 เมล็ด โดยไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพื่อให้ได้รับพลังงาน ไขมันดี (HDL) เส้นใยอาหาร โปรตีนและวิตามินในปริมาณที่เหมาะสมและส่งผลดีต่อสุขภาพ
  • จัดอัลมอนด์เป็นอาหารว่าง แทนอาหารว่าง ของกินเล่นทั่วไปที่มีไขมัน น้ำตาลปริมาณสูง เช่น ขนมเค้ก มันฝรั่งทอดกรอบ อื่น ๆ โดยคุมปริมาณให้อยู่ในข้อก่อนหน้า ทั้งนี้อัลมอนด์มีจำนวนแคลอรี่และไขมันสูง หากรับประทานมากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงเกิดคอเลสเตอรอลสูงได้เช่นกัน
  • เลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมหรือทำจากอัลมอนด์ เช่น นมอัลมอนด์ โยเกิร์ตผสมอัลมอนด์ หรือการนำอัลมอนด์ผสมลงในอาหารมื้อหลัก เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสารอาหาร

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย : กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com
ข้อมูลจาก : www.honestdocs.co   www.pobpad.com   www.medthai.com

 

 

 


-MS-ด้วยการกินปลา-2.jpg

โรคปลอกประสาทอักเสบ หรือโรคเอ็มเอส (Multiple sclerosis : MS) เป็นโรคที่ทำให้การทำงานของระบบประสาท สมองและไขสันหลังมีปัญหา ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าปลอกประสาทที่ผิดปกติ เกิดขึ้นที่ส่วนใดของสมอง ล่าสุดมีงานวิจัยว่า ผู้ที่กินปลาเป็นประจำจะมีความเสี่ยงลดลงในการเป็นโรคนี้

โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis : MS) เป็นโรคของระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system : CNS) ที่ทำให้การสื่อสารระหว่างสมองกับส่วนอื่นๆของร่างกายมีปัญหา อาการแสดงที่สำคัญของโรคนี้จะพบการทำลายปลอกประสาท (Myelin sheath) จากการทำงานผิดพลาดของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) โดยเม็ดเลือดขาว เข้าไปโจมตีและทำลายปลอกประสาท โดยเข้าใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม

 

การกินปลาส่งผลอย่างไร

การศึกษาล่าสุด จัดทำในกลุ่มศึกษามากกว่า 1,100 คน จาก Southern California ซึ่งมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 36 ปี ครึ่งหนึ่งของกลุ่มศึกษานี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Early MS หรือไม่ก็เป็น Clinically isolated syndrome

ข้อมูลจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่กินปลาอย่างน้อย หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ หรือกินปลา 1-3 ครั้งต่อเดือน และทานอาหารเสริมน้ำมันปลาทุกวัน มีความเสี่ยงในการเป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ (MS) น้อยกว่า 45% เมื่อเทียบกับผู้ที่กินปลาน้อยกว่าเดือนละครั้ง และไม่ได้ทานอาหารเสริมน้ำมันปลา และในการศึกษานี้ยังพบด้วยว่ามีกลุ่มยีนของคนอยู่ 2 ใน 13 กลุ่มมีความเสี่ยงน้อยในการเป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ (MS) ไม่ว่าจะกินปลาเท่าไรก็ตาม

ดร. แอนเน็ตต์ แลงเกอร์ กูลด์ (Dr. Annette Langer-Gould) ผู้วิจัยกล่าวว่า การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึง ประโยชน์ที่เกิดจาการกินอาหารทะเล โดยการกินปลาเป็นประจำ มีส่วนลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ด้วย

 

ผลดีของกรดไขมันโอเมก้า 3

การบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 จากปลา ช่วยป้องกันการเกิดโรคปลอกประสาทอักเสบ (MS) ได้อย่างไร

“โอเมก้า 3 ช่วยบำรุงสมอง ความจำ และต้านการอักเสบ และมีแนวโน้มในการป้องกันการเป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ (MS) ได้”  ดร. แอนเน็ตต์ แลงเกอร์ กูลด์ (Dr. Annette Langer-Gould) กล่าว อย่างไรก็ตามจากการศึกษาไม่ได้แสดงให้เห็นถึงสาเหตุและผลลัพธ์ (Cause and Effect) ในเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้นิโคลัส ลารอคค่า (Nicholas LaRocca) จากสมาคมโรคปลอกประสาทอักเสบแห่งชาติ (National Multiple Sclerosis Society) ได้กล่าวว่า  “มีประโยชน์ทางสุขภาพอย่างมาก จากการกินปลาที่มีกรดไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในระดับของการพบความสัมพันธ์” โดยปัจจุบันกำลังมีความพยายามที่จะหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนปัจจัยแวดล้อม เช่น การควบคุมอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลอกประสาทอักเสบ (MS)

 

สำหรับผู้ที่เป็นโรคอยู่แล้ว

การศึกษานี้ไม่ได้เน้นไปที่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคในขั้นรุนแรง แต่จากการที่กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) ในขณะที่ผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ (MS) ซึ่งก็สามารถเป็นโรคในกลุ่ม CVD และมีแนวโน้มที่กลายเป็นคนพิการ ดังนั้นการกินปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

ดร. แอนเน็ตต์ แลงเกอร์ กูลด์ (Dr. Annette Langer-Gould) ยังชี้ให้เห็นว่าการได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 จากการกินปลาหรืออาหารทะเลโดยตรงนั้น ดีกว่าการได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 จากผลิตภัณฑ์เสริมน้ำมันปลา

การศึกษานี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก U.S. National Institute of Neurological Disorders and Stroke. โดยถูกนำเสนอในงานประชุมประจำปี American Academy of  Neurology ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-27 เมษายน ที่ Los Angeles งานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมนี้ ถือเป็นข้อมูลขั้นต้นก่อนที่จะมีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและตีพิมพ์ในวารสาร

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.webmd.com
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก