ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

.jpg

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นภาวะทางอารมณ์ที่มีความกลัวและกังวลเกินกว่าปกติ ในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เหตุการณ์ในอนาคต ตลอดจนการจินตนาการถึงสิ่งที่มองไม่เห็นและความตาย แม้บางครั้งอาจรู้ตัว แต่ก็ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และภาวะดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติได้

 

ปัจจุบันได้มีการแบ่งโรควิตกกังวลออกเป็น 7 ประเภท คือ ประเภทวิตกกังวลทั่วไป ประเภทแพนิคหวาดระแวง ประเภทกลัวอย่างจำเพาะเจาะจง ประเภทกลัวการเข้าสังคม ประเภทย้ำคิดย้ำทำ ประเภทผิดปกติทางจิตใจจากวินาศภัยและประเภทกังวลต่อการแยกจาก  ในบทความนี้จะเน้นถึงประเภทวิตกกังวลทั่วไป ซึ่งพบมากที่สุด

 

อาการ

ผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder, GAD) จะมีอาการทั้งทางจิตใจและทางร่างกาย โดยทางจิตใจจะมีอาการ ตื่นตระหนก กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ ขาดความมั่นใจไม่อยากเจอผู้คนและอื่น ๆ สำหรับทางร่างกายจะมีอาการ ปากแห้ง ใจสั่น ตัวสั่น เจ็บหน้าอก  หายใจตื้น คลื่นไส้ วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม ท้องไส้ปั่นป่วน รู้สึกเหมือนจะสูญเสียความควบคุม เป็นต้น อาการดังกล่าวอาจเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน จนผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติได้

 

เมื่อไหร่จึงควรไปพบแพทย์

เมื่อมีอาการวิตกกังวล และไม่สามารถควบคุมหรือจัดการให้ดีขึ้นได้ โดยมีอาการต่อเนื่องกันนานกว่า 6 เดือน หรือผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

 

ภาวะแทรกซ้อน

โรควิตกกังวลทั่วไป หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคทางใจและทางกาย ตามมาอีกหลายโรค เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคนอนไม่หลับ โรคทางกาย เช่น โรคหัวใจ ไข้หวัด โรคติดเชื้อจากภูมิต้านทานลดลง

 

สาเหตุ

  • ความผิดปกติในการทำงานของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ โดยโรควิตกกังวลบางชนิด มีความผิดปกติในการทำงานของสมอง ส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก
  • พันธุกรรม มีการศึกษาพบว่าหากพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวล จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่บุตรจะเป็นโรควิตกกังวลด้วย ทั้งแบบที่แสดงออกชัดเจน และแบบเก็บซ่อนอารมณ์
  • สภาพแวดล้อมในอดีตและปัจจุบัน เช่น การเคยถูกทำโทษหรือตำหนิอย่างรุนแรงในวัยเด็ก การถูกกดขี่ล้อเลียนด้วยเรื่องต่างๆจนกลัวการเข้าสังคม การประสบความล้มเหลวในชีวิตบางด้าน เช่น ชีวิตสมรส หน้าที่การงาน การทำงานที่มีความกดดันสูง ซับซ้อนทางเทคนิค ประสบปัญหาในการปรับตัว เจอสถานการณ์ที่ยากลำบาก เป็นหลายๆปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการวิตกกังวล

 

การวินิจฉัย

ในการวินิจฉัย แพทย์จะทำการซักประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว ยาที่รับประทาน และสอบถามอาการวิตกกังวล พร้อมกับการตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับฮอร์โมน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อแยกโรคอื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกันออก เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ โรคหืด ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น

หากไม่พบสาเหตุความผิดปกติจากโรคอื่น จะทำการส่งต่อให้จิตแพทย์พิจารณาใช้เครื่องมือทางจิตเวชในการประเมินภาวะโรคทางอารมณ์ เพื่อคัดแยกชนิดของโรควิตกกังวลและวางแผนการรักษาได้อย่างตรงสาเหตุที่สุด

 

การรักษา

แพทย์จะผสมผสานวิธีการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกัน เพื่อให้คนไข้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ดังนี้

  • การบำบัดด้วยการใช้ยา แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ยาหลายกลุ่ม ได้แก่ ยารักษาภาวะซึมเศร้า (Antidepressants) เช่น ยากลุ่ม SSRIs  ยาคลายภาวะวิตกกังวล (Anxiolytic drugs) เช่น ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ยาลดอาการตื่นตัวของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ยาเบต้าบล็อกเกอร์ และยารักษาโรคลมชักและกลุ่มยาระงับอาการทางจิตอื่น ๆ เป็นต้น
  • การทำจิตบำบัด (Psychotherapy) เป็นการพูดคุยเชิงปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อสร้างภูมิต้านทานทางจิตใจ ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาหรือสิ่งกระตุ้นของโรควิตกกังวลได้ดีขึ้น โดยมีหลักการ คือ การให้ผู้ป่วยเผชิญสิ่งกระตุ้นความกังวลระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับสูง แบบทีละขั้นตอน แล้วฝึกให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวได้ ไม่วิตกกังวลจนเกินไป
  • การเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-Behavioral Therapy) เป็นการปรับทัศนคติและเปลี่ยนวิธีการคิดที่มักมองสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ จนทำให้ภาวะโรควิตกกังวลที่รุนแรงขึ้น เป็นการมองสิ่งต่างๆแบบผ่อนคลาย มองเห็น “ทางออก” ของสถานการณ์ต่าง ๆ มากขึ้น
  • การทำสมาธิบำบัด (Mindfulness-based stress reduction) เป็นการใช้วิธีตามรู้ลมหายใจตามธรรมชาติ เพื่อลดความวิตกกังวลหรือกลัวล่วงหน้า รวมทั้งลดการตอบสนองต่อระบบประสาทอัตโนมัติที่มากผิดปกติได้

 

ข้อแนะนำและการป้องกัน โรควิตกกังวล

  1. พบแพทย์ตามนัด เพื่อการประเมินอาการ ปรับขนาดยา ปรับวิธีการบำบัดตามความเหมาะสม
  2. หลีกเลี่ยงหรืองดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต หรือเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อาจกระตุ้นให้อาการของโรควิตกกังวลแย่ลงได้
  3. ควรฝึกทำจิตใจให้ผ่อนคลายและรู้จักปล่อยวางด้วยการฝึกทำสมาธิ ซึ่งจะช่วยจิตใจสงบ

หากรู้ตัวว่าตนเองเริ่มมีความวิตกกังวลอยู่บ่อยครั้งโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ควรไปพบจิตแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาเพื่อขอความช่วยเหลือ ทำความเข้าใจ และหาวิธีแก้ไขต่อไป

 

แหล่งข้อมูล : www.pobpad.com  www.webmd.com 

ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก