ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-รักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือ..jpg

หญ้าปักกิ่ง หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หญ้าเทวดา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murdannia loriformis (Hassk.) Rolla Rao et Kammathy จัดอยู่ในวงศ์ Commelinaceae ในด้านสรรพคุณทางยาจากข้อมูลยืนยันทางด้านวิทยาศาสตร์ พบว่า ในน้ำคั้นสดหญ้าปักกิ่งมีสารกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (จี1บี) ที่มีชื่อทางเคมีว่า 1B-O-D-glucopyranosy 1-2-(2,-hydroy-6,-ene-cosamide)-sphingosine (G1b) ซึ่งเมื่อนำไปทดลองทางห้องปฏิบัติการ จะแสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้เซลล์มะเร็งก่อกลายพันธุ์ และรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

 

นอกจากนี้ ยังต้านการก่อกลายพันธุ์ของยีน ที่เกิดจากสารก่อกลายพันธุ์ชนิดต่าง ๆ ได้ ซึ่งการออกฤทธิ์ดังกล่าวไม่แสดงถึงการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาด และเมื่อแพทย์แผนปัจจุบันได้นำมาร่วมกับการรักษาก็พบว่า มีผลในด้านของการลดความรุนแรงของโรค ลดอาการข้างเคียงจากการใช้รังสีบำบัด หรือเคมีบำบัด และการ กลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็ง นอกจากนั้น ในคนที่มีภาวะร่างกายปกติก็สามารถรับประทานเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ ในขณะสภาวะร่างกายอ่อนแอ เช่น เป็นไข้

 

การนำหญ้าปักกิ่งมาให้ประโยชน์ทางยา ควรมีข้อควรพึงระวัง คือ

  1. เราต้องรู้จักต้นของหญ้าปักกิ่งจริง ๆ เพราะหญ้าปักกิ่งเป็นพืชล้มลุก อาจเกิดร่วมกับหญ้าชนิดอื่น ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันได้ เช่น หญ้ามาเลเซีย ลักษณะทั่วไปที่สามารถสังเกตได้ คือ ใบจะอวบน้ำกว่า ใบนุ่ม หลังใบมีขนอ่อน ๆ โคนต้นทรงกระบอก สีออกขาว ดอกออกเป็นช่อที่ยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกสีฟ้า หรือสีม่วงอ่อน ส่วนที่เก็บมาปรุงเป็นยา คือ ทั้งต้น หรือส่วนเหนือดิน (ลำต้นและใบ)
  2. ระยะเวลาในการเก็บที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้ให้หญ้าปักกิ่งมีการสร้างสารจี1บีครบ คือ ถ้าปลูกด้วยการชำกิ่งต้องเก็บเมื่อหญ้าปักกิ่งมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป และถ้าปลูกด้วยเมล็ดต้องมีอายุ 5 เดือนขึ้นไป
  3. ก่อนนำมาคั้นเอาน้ำ ควรมีการล้างให้สะอาดปราศจากการเจือปนของดินและสารอื่น นอกจากนั้น การปลูกหญ้าปักกิ่งที่ถูกหลักจึงไม่ควรใช้สารเคมีอื่น ๆ เช่น การใช้ยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดวัชพืช
  4. ปริมาณในการดื่ม คือ ดื่มครั้งละ 30 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็นก่อนอาหาร ซึ่งขนาดที่แนะนำเหมาะสำหรับผู้ใหญ่น้ำหนักเฉลี่ย 60 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นเด็กก็ควรลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง
  5. ระยะเวลาของการรับประทาน ควรรับประทานเป็นรอบ โดยรับประทาน 7 วันแล้วหยุด 4 วัน สลับกันไปแล้วจึงรับประทานรอบใหม่ ระยะเวลาก็ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการใช้ยา คือ
    • กรณีเสริมภูมิต้านทานในผู้ป่วยร่างกายปกติไม่ได้เป็นมะเร็ง ไม่ควรเกิน 6 – 8 สัปดาห์
    • กรณีลดผลข้างเคียงจากรังสีบำบัด หรือเคมีบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง การรับประทานยาควรหยุดเป็นช่วง ๆ เพื่อให้ร่างกายปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน
    • กรณีป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และการกลับเป็นซ้ำ ควรทานติดต่อกันประมาณ 1 ปี พร้อมทั้งตรวจมะเร็งปีละ 2 ครั้ง

ข้อควรระวัง อย่าใช้เกินขนาดและติดต่อกันนานหลายปี เพราะจะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้

ภาพประกอบจาก: th.wikipedia.org


-บอกสุขภาพเรื่องอะไรได้บ้าง.jpg

หลาย ๆ คนอาจละเลยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลิ้นตัวเอง ทั้งที่จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงบางอย่างสามารถสื่อได้ถึงสุขภาพในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี เรามาลองดูกันว่าในเบื้องต้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจบอกถึงสภาวะทางด้านสุขภาพอะไรได้บ้าง

 

ทำความรู้จัก…ลิ้น

ลิ้น เป็นอวัยวะชิ้นเล็ก ๆ ในช่องปาก แต่มีภารกิจในการสร้างเสริมสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง ได้รับคุณประโยชน์ทางโภชนาการอย่างเต็มที่จากอาหารที่ทานเข้าไป เพราะทำหน้าที่เคี้ยว กลืนและรับรู้รสชาดอาหารว่าน่าทานหรือไม่เพียงไร ลิ้นที่มีสุขภาพดีต้องมีสีแดงอมชมพู ไม่ใช่สีแดงสด และผิวของลิ้นต้องขรุขระ เรามาดูว่าโรคบางโรค จะมีลักษณะของลิ้นเป็นอย่างไร

 

สุขภาพลิ้นบอกโรคอะไรบ้าง

  1. โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
    เชื้อราในช่องปาก (Oral thrush) คืออาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้  ทั้งนี้ “เชื้อรา” สามารถบอกถึงระบบภูมิคุ้มกันที่อาจอ่อนแอลง จนเกิดการติดเชื้อในช่องปากที่เรียกว่า  Oral candidiasis  โดยมีเชื้อราสะสมจนเห็นฝ้าสีขาวข้นเป็นเยื่อเมือกที่ลิ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวาน มักมีปัญหาปากแห้ง ส่งผลให้ลิ้นสูญเสียความสามารถบางอย่างไปได้
  2. โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
    ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ในรายที่การรักษายังทำได้ไม่ดี อาจมีอาการที่แสดงถึงการติดเชื้อ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง เช่น  การมีฝ้าขาว แผลแดงที่ปรากฏขึ้นบนลิ้น จุดต่างๆ ภายในปาก เป็นสัญญาณให้รู้ว่าคุณอาจติดเชื้อเอชไอวี
  3. โรคเซลิแอค (Celiac disease)
    โรคเซลิแอคหรือโรคที่จัดอยู่ในโรคภูมิแพ้ตัวเอง (Autoimmune disease) ต่อระบบทางเดินอาหาร จากตัวกระตุ้นคือ โปรตีนที่เรียกว่า กลูเตน ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ ท้องผูก อุจจาระร่วง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดกล้ามเนื้อ และลิ้นอักเสบ ผิวลิ้นเรียบ เจ็บ อาจมีภาวะลิ้นแห้ง ลิ้นพองรวมถึงการมีแผลร้อนในที่ลิ้น
  4. โรคปากแห้งตาแห้ง (Sjogren’s syndrome)
    “โจเกรน” เป็นกลุ่มอาการที่จัดอยู่ในโรคออโตอิมมูน (Autoimmune disease) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่นเดียวกันกับโรคเอสแอลอี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยมีลักษณะเด่นอยู่ 2 อย่างคือ ตาแห้งและปากแห้ง จากการที่ต่อมน้ำตาและต่อมน้ำลายถูกทำลายจากโรค จนไม่สามารถสร้างน้ำตาและน้ำลายได้เพียงพอ เป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องปาก ผู้ป่วยบางคนยังอาจมีอาการแสบร้อนในช่องปาก และลิ้นแตกอีกด้วย
  5. มะเร็ง (Cancer)
    หากคุณมีอาการลิ้นบวม เจ็บที่ลิ้นหรือบริเวณอื่น ๆ ในช่องปาก ต่อเนื่องกันนานกว่า 2 สัปดาห์ นั่นอาจเป็นสัญญาณถึงความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงก็เป็นได้ ควรรีบพบแพทย์เพราะมะเร็งในระบบศีรษะและลำคอ และช่องปากอาจมีอาการทำให้ลิ้นของคุณผิดปกติได้
  6. โรคขาดวิตามิน
    ลิ้นของคนสุขภาพดีจะมีสีแดงอมชมพู แต่ถ้าใครมีลิ้นสีแดงสด แสดงว่าร่างกายขาดกรดโฟลิก วิตามินบี 12 หรือธาตุเหล็ก ดังนั้นควรเร่งแก้ไขด้วยการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมทั้งปรับด้านโภชนาการเพื่อเติมส่วนที่ขาด  นอกจากนี้ ลิ้นสีแดงสดยังเป็นสัญญาณของอาการคออักเสบ หรือโรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) ได้อีกด้วย
  7. ความเครียด
    แผลร้อนใน เป็นอาการที่เกิดจากไวรัสและยังเป็นสัญญาณของโรคเครียด โดยอาจเกิดแผลร้อนในที่ลิ้น หรือส่วนอื่นๆ ภายในช่องปาก ถ้าพบอาการนี้ลองบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ เปลี่ยนมาทานอาหารนิ่ม ๆ เย็น ๆ เช่น โยเกิร์ต เป็นต้น

ในบางกกรณี อาการลิ้นบวมและลิ้นเจ็บ ก็อาจเกิดจากการขบฟันหรือกัดลิ้นตัวเอง ซึ่งวิธีผ่อนคลายความเครียดทำได้โดยการออกกำลังกาย เล่นโยคะ นั่งสมาธิ และการเคี้ยวอาหารช้า ๆ

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เข้าใจว่าหลาย ๆ คนคงหันกลับมาสังเกต ให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงของลิ้นและสุขภาพช่องปาก เพื่อหาความผิดปกติของร่างกายและวางแผนการรักษากันแต่เนิ่น ๆ คะ

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.health.com   www.honestdocs.co   www.haamor.com
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก