โรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการที่หลอดลมมีความไวต่อการสนองตอบของสารภูมิแพ้ สิ่งระคายเคืองอื่น ๆ ทำให้หลอดลมตีบตัวลง หรือการบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม จึงแสดงอาการหายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไอ หายใจมีเสียงดัง หรือทราบได้จากการตรวจการทำงานของปอด อาการหอบหืดที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดอย่างฉับพลันทันที หรือค่อย ๆ เกิดขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน หรือช่วงเช้ามืด หรืออาจจะทั้งวัน แล้วแต่อาการเป็นมากหรือน้อย
ปัจจัยที่มีต่อการเกิดโรค คือ
- พันธุกรรม จากการศึกษาในครอบครัวผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดมีญาติใกล้ชิด เป็นโรคหอบหืดมากกว่าผู้ป่วยที่มีผู้ใกล้ชิดเป็นคนปกติ
- สารก่อภูมิแพ้ในภาวะแวดล้อม
- สิ่งกระตุ้นให้โรคกำเริบ ได้แก่ ควันบุหรี่ มลพิษในอากาศ เขม่าควันจากท่อไอเสีย ไอระเหยจากสารเคมี
การรักษาโรคหอบหืดในปัจจุบันนี้ นิยมรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันมากกว่าการรักษาด้วยสมุนไพร เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใด ชี้ชัดว่าสมุนไพรตัวใดสามารถรักษาโรคหอบหืดได้ มีเพียงสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคนี้ คือ หนุมานประสานกาย (Schefflera leucantha. R Vig.) โดยใช้เป็นยาพื้นบ้านในการรักษาโรคหอบหืด มีปริมาณการใช้ดังนี้
- ใช้ใบสดขนาดเล็ก 10 – 15 ใบ ต้มกับน้ำ 1 แก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว รับประทาน 2 ครั้ง เช้า – เย็น เป็นเวลา 49 วัน หรือใช้ใบสดตำเติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มเช้า – เย็น
ข้อควรระวัง
ภาพประกอบจาก: www.lovepik.com