ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-และสารต้านอนุมูลอิสระ-1.jpg

อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (Free radical) เป็นอะตอมหรือโมเลกุล ที่มีอิเล็กตรอนไม่เป็นคู่ (unpaired electron) อย่างน้อย 1 ตัวโคจรรอบวงนอกสุด ซึ่งอะตอมหรือโมเลกุลประเภทนี้ เกิดขึ้นจากกระบวนการต่าง ๆในการดำรงชีวิต ทั้งจากปัจจัยภายในร่างกาย เช่น การเผาผลาญอาหาร กระบวนการสร้างพลังงาน การหายใจระดับเซลล์ กลไกการป้องกันตัวเองของร่างกายจากเชื้อโรค และปัจจัยภายนอก เช่น การสูบบุหรี่ การสัมผัสกับแสงแดด การสัมผัสรังสี การรับประทานอาหารที่มีน้ำมัน อาหารปิ้ง ย่าง เผาที่ไหม้ เป็นต้น

 

สารต้านอนุมูลอิสระ

ร่างกาย มีการป้องกันการสะสมของอนุมูลอิสระ อยู่ 2 วิธี  วิธีแรก จากการที่ร่างกาย มีการสร้างเอนไซม์หรือกลไก เช่น เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant enzymes) ขึ้นมาควบคุม โดยเป็นกลไกในการเปลี่ยนอนุมูลอิสระ ให้กลายเป็นน้ำ วิธีที่สอง การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารที่รับประทาน เช่น วิตามินอี เบ้ตาแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (Anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอล รวมถึงโคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) เป็นต้น

 

ผลเสียกรณีไม่สมดุล

ปริมาณอนุมูลอิสระ ที่สมดุล มีส่วนช่วยทำลายสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในกรณีเกิดความไม่สมดุลระหว่างการเกิดกับการกำจัดหรือการป้องกันการสะสมของอนุมูลอิสระ เช่น ร่างกายต้องสัมผัสแดดเป็นประจำ พฤติกรรมรับประทานอาหารปิ้งจนไหม้ หรือเจ็บป่วย ชรา จนกลไกการป้องกันเสื่อมลง ทำให้มีการสะสมของสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น จนกลายเป็นสารพิษที่สามารถทำร้ายร่างกาย โดยทำให้ร่างกาย มีความเสี่ยงจากการที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ เยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึง DNA ถูกทำลาย และนำไปสู่โรคในหลายระบบ เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคทางสมองและระบบประสาท เช่น Parkinson และ Alzheimer โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ มะเร็ง รวมถึงความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ความยืดหยุ่นของผิวหนัง

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ

แหล่งข้อมูล :
  1. ผศ. ดร. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. ศ. เกียรติคุณ ดร. นิธิยา รัตนาปนนท์. ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. “อนุมูลอิสระ” (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา : pharm.swu.ac.th (15 กุมภาพันธ์ 2561)
  2. ดร. อธิป สกุลเผือก. “อนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ” (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา : ccpe.pharmacycouncil.org (15 กุมภาพันธ์ 2561)
  3. แหล่งที่มา : dna.kps.ku.ac.th (15 กุมภาพันธ์ 2561)
.

ภาพประกอบจาก :www.yourhealthsupport.in

 


-เกี่ยวกับเอนไซม์-Enzyme.jpg

สำหรับหลาย ๆ คน คงจะเคยได้ยินเรื่องของเอนไซม์ (Enzyme) กันมาบ้างแล้ว วันนี้กองบรรณาธิการได้เรียบเรียงเนื้อหาเบื้องต้น เป็นการทบทวนความรู้อีกครั้ง เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีมากยิ่งๆขึ้น

เอนไซม์ ( Enzyme) เป็นโปรตีนที่สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ให้มีประสิทธิภาพ โดยลดพลังงานที่จะใช้ในปฏิกิริยาเหล่านั้น มีข้อมูลพบว่า มากกว่า 5,000 ปฏิกิริยาชีวเคมี ที่มีเอนไซม์เป็นตัวร่วมที่สำคัญ โดยเอนไซม์จะเปลี่ยนสารตั้งต้นให้เป็นสารอื่น ๆ เพื่อทำให้ระบบที่เกี่ยวข้องทำงานได้ดี เช่น ระบบย่อยอาหาร จะมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งในการย่อยอาหาร จากสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็ก ในระดับที่สามารถผ่านผนังเซลล์ของแต่ละเซลล์ในร่างกายได้ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารตามที่เรารับประทาน นอกจากนี้เอนไซม์ยังมีหน้าที่ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ช่วยสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหดตัว สลายสารพิษ ทำให้เลือดบริสุทธิ์ ช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากปอด และช่วยลดความเครียดของตับอ่อนและอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งบางครั้ง ถ้าไม่มีเอนไซม์ ปฏิกิริยาทางเคมีอาจใช้เวลานานมากกว่าจะเสร็จสิ้น หรืออาจจะไม่เกิดเลยก็ได้

 

คุณสมบัติของเอนไซม์

  • เอนไซม์มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโปรตีน ประกอบไปด้วยโพลีเปปไทด์ (Polypeptide) ม้วนกันเป็นก้อนกลม มีโครงรูปที่จำเพาะ กำหนดโดยลำดับการเรียงตัวของกรดอะมิโน โดยเอนไซม์บางชนิดต้องอาศัยโคแฟกเตอร์ (Cofactor) หรือโคเอนไซม์ (Coenzyme) ถึงจะทำงานได้ ทั้งนี้ในการทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เอนไซม์จะกลับคืนสภาพเดิม ขณะที่โคเอนไซม์จะหมดเปลืองไปเรื่อย ๆ จึงจำเป็นที่ร่างกายต้องหามาเสริม
  • เอนไซม์แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะตัว โดยจะทำปฏิกิริยาเคมีจำเพาะกับสารตั้งต้นหรือซับสเตรด (Substrate) ที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น เช่น เอนไซม์ชนิดย่อยไขมันจะไม่ย่อยแป้ง และเอนไซม์ย่อยแป้งจะไม่ย่อยโปรตีน เป็นต้น
  • เอนไซม์มีความไวต่อปฏิกิริยามาก แม้ในปริมาณน้อยก็สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ ถ้าไม่มีเอนไซม์ปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดจะเกิดขึ้นช้ามาก จนชีวิตไม่สามารถรอดอยู่ได้
  • การแช่แข็งจะไม่ทำลายความสามารถของเอนไซม์ส่วนใหญ่ แต่เอนไซม์จะถูกทำลายได้โดยง่ายที่ความร้อนสูงเกิน 45 องศาเซลเซียส
  • อัตราการทำงานของเอนไซม์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อุณหภูมิ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำงานอยู่ในช่วง 25-40 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดเบส โดยส่วนใหญ่จะทำงานได้ดีในช่วงค่า pH 6-7 ปริมาณของเอนไซม์และซับสเตรด ถ้าปริมาณไม่สมดุลจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเอนไซม์ได้
  • เอนไซม์แต่ละชนิดที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจะมีชีวิตหรืออายุได้เพียง 20 นาที และจะต้องมีเอนไซม์ใหม่เข้ามาทดแทนอยู่เรื่อย ๆ แต่อาจมีบางชนิดที่อยู่ได้เป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์
  • เอนไซม์ที่กระตุ้นปฏิกิริยาเคมี จะถูกยับยั้งด้วย “ตัวยับยั้งเอนไซม์” ซึ่งมีแบบที่เป็นการยับยั้งแบบถาวร การยับยั้งแบบชั่วคราว และการยับยั้งแบบย้อนกลับ

 

ชนิดของเอนไซม์

เอนไซม์สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

  • เอนไซม์จากอาหาร (Food enzyme) คือ เอนไซม์ที่พบได้ในอาหารสด อาหารดิบทุกชนิด ทั้งที่มาจากพืชและสัตว์ เอนไซม์ชนิดนี้จะช่วยในการย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยความร้อนสามารถทำลายเอนไซม์ในอาหารได้โดยง่าย
  • เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive enzyme) คือ เอนไซม์ที่ผลิตขึ้นโดยร่างกาย ส่วนใหญ่จะผลิตมาจากตับอ่อนเพื่อใช้ในการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า
  • เอนไซม์ในการเผาผลาญพลังงาน (Metabolic enzyme) คือ เอนไซม์ที่ผลิตในเลือด ในเซลล์เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในต่าง ๆ ของร่างกาย มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีเพื่อช่วยในการเผาผลาญสารอาหารและสร้างพลังงาน สร้างภูมิต้านทาน ความเจริญเติบโตให้กับร่างกาย รวมไปถึงการช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะภายใน และช่วยบำบัดและรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ของร่างกาย

 

การขาดเอนไซม์

เอนไซม์ที่มีระดับต่ำในร่างกาย จะมีความสัมพันธ์กับความเสื่อมของอวัยวะและระบบต่างๆในร่างกาย ถ้าเอนไซม์มีระดับต่ำมาก โรคที่เกี่ยวเนื่องกับความเสื่อมดังกล่าวก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.medthai.com  www.britannica.com
ภาพประกอบจาก : www.medicalnewstoday.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก