ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-และสารต้านอนุมูลอิสระ-1.jpg

อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (Free radical) เป็นอะตอมหรือโมเลกุล ที่มีอิเล็กตรอนไม่เป็นคู่ (unpaired electron) อย่างน้อย 1 ตัวโคจรรอบวงนอกสุด ซึ่งอะตอมหรือโมเลกุลประเภทนี้ เกิดขึ้นจากกระบวนการต่าง ๆในการดำรงชีวิต ทั้งจากปัจจัยภายในร่างกาย เช่น การเผาผลาญอาหาร กระบวนการสร้างพลังงาน การหายใจระดับเซลล์ กลไกการป้องกันตัวเองของร่างกายจากเชื้อโรค และปัจจัยภายนอก เช่น การสูบบุหรี่ การสัมผัสกับแสงแดด การสัมผัสรังสี การรับประทานอาหารที่มีน้ำมัน อาหารปิ้ง ย่าง เผาที่ไหม้ เป็นต้น

 

สารต้านอนุมูลอิสระ

ร่างกาย มีการป้องกันการสะสมของอนุมูลอิสระ อยู่ 2 วิธี  วิธีแรก จากการที่ร่างกาย มีการสร้างเอนไซม์หรือกลไก เช่น เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant enzymes) ขึ้นมาควบคุม โดยเป็นกลไกในการเปลี่ยนอนุมูลอิสระ ให้กลายเป็นน้ำ วิธีที่สอง การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารที่รับประทาน เช่น วิตามินอี เบ้ตาแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (Anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอล รวมถึงโคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) เป็นต้น

 

ผลเสียกรณีไม่สมดุล

ปริมาณอนุมูลอิสระ ที่สมดุล มีส่วนช่วยทำลายสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในกรณีเกิดความไม่สมดุลระหว่างการเกิดกับการกำจัดหรือการป้องกันการสะสมของอนุมูลอิสระ เช่น ร่างกายต้องสัมผัสแดดเป็นประจำ พฤติกรรมรับประทานอาหารปิ้งจนไหม้ หรือเจ็บป่วย ชรา จนกลไกการป้องกันเสื่อมลง ทำให้มีการสะสมของสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น จนกลายเป็นสารพิษที่สามารถทำร้ายร่างกาย โดยทำให้ร่างกาย มีความเสี่ยงจากการที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ เยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึง DNA ถูกทำลาย และนำไปสู่โรคในหลายระบบ เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคทางสมองและระบบประสาท เช่น Parkinson และ Alzheimer โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ มะเร็ง รวมถึงความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ความยืดหยุ่นของผิวหนัง

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ

แหล่งข้อมูล :
  1. ผศ. ดร. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. ศ. เกียรติคุณ ดร. นิธิยา รัตนาปนนท์. ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. “อนุมูลอิสระ” (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา : pharm.swu.ac.th (15 กุมภาพันธ์ 2561)
  2. ดร. อธิป สกุลเผือก. “อนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ” (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา : ccpe.pharmacycouncil.org (15 กุมภาพันธ์ 2561)
  3. แหล่งที่มา : dna.kps.ku.ac.th (15 กุมภาพันธ์ 2561)
.

ภาพประกอบจาก :www.yourhealthsupport.in

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก