ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

.jpg

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันนี้เราใช้ชีวิตอยู่หน้าจอกันเป็นส่วนใหญ่ และเทคโนโลยีใกล้ตัวนี่แหละคือตัวการที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้อย่างคิดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ที่แสงจ้าเกินไป การจ้องจอ ท่าทางการนั่งทำงานนาน ๆ หรือแม้แต่เชื้อโรคต่าง ๆ ที่เราได้รับมาจากอุปกรณ์เหล่านี้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นสิ่งของข้างกายเราแทบตลอดเวลา

 

พฤติกรรมเสี่ยงที่มาจากเทคโนโลยี

  1. จ้องจอคอมพิวเตอร์
    การจ้องจอส่งผลกระทบต่อเราได้หลากหลายแบบ โดยส่วนมากมักทำให้เกิดอาการแสบตา น้ำตาไหลเมื่อจ้องจอมากเกินไปเนื่องจากตาแห้ง นอกจากนั้นยังมีอาการเมื่อยตา ปวดหัว สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่ภาพในจอคอมพิวเตอร์นั้นกระพริบตลอดเวลาโดยที่เราไม่ทันสังเกต ทำให้เรากระพริบตาน้อยลงอย่างไม่รู้ตัวจนตาเกิดอาการแห้ง ซึ่งอาการนี้จะนำไปสู่ความเสื่อมขอสายตาในที่สุด คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากจอคอมพิวเตอร์ก็อาจส่งผลต่อระบบประสาททำให้รู้สึกคลื่นไส้และนอนไม่หลับได้
  2. นั่งผิดท่า
    การทำท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ขณะทำงาน การนั่งหรือนอนเล่นแท็บเล็ตท่าเดิม ๆ หรือการใช้นิ้วเลื่อนจอภาพไปมานานหลายชั่วโมง ผลของการทำท่าเดิมซ้ำ ๆ นี้จะไม่แสดงเด่นชัดนัก แต่จะสะสมไปเรื่อยจนเป็นมากแล้วจึงเกิดอาการขึ้นมา เช่น การปวดคอ ปวดไหล่ ปวดข้อมือ ในระยะเริ่มแรกเมื่อได้พักแล้วอาการอาจจะหายไป แต่หากไม่เปลี่ยนพฤติกรรม อาการก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ พักแล้วไม่หาย ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหรือขั้นรุนแรงสุดคือ ปวดอยู่ตลอดเวลา ที่จริงอาการเหล่านี้อาจเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายที่ค้างไว้ท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ อย่างไม่ถูกสุขลักษณะ อาการขั้นร้ายแรงที่เป็นกันมาก ก็คือ อาการอักเสบ ชา และเจ็บปวดมาก จนต้องเข้ารับการผ่าตัดต่อไปอีก
  3. เจ็บข้อมือ
    อาการเจ็บข้อมือที่เกิดจากเส้นประสาทข้อมืออักเสบ (Carpal tunnel syndrome) เกิดขึ้นมากในกลุ่มคนทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องกระดกข้อมือค้างไว้เกือบจะตลอดเวลา ทั้งคลิกเม้าส์ เลื่อนเม้าส์ ประกอบกับมีการกดทับตรงข้อมือ ทำให้เกิดการเสียดสีกันในช่องทางเดินของเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทบริเวณข้อมืออักเสบ อาการนี้รักษาเบื้องต้นได้ด้วยการกินยาแก้ปวดและพักการใช้ข้อมือ แต่ส่วนใหญ่ถ้ากลับไปทำพฤติกรรมแบบเดิมอีกก็จะกลับมาปวดอีกจนเรื้อรัง หากเป็นมากแพทย์จะต้องฉีดสเตียรอยด์บริเวณข้อมือเพื่อลดการอักเสบโดยตรงและหากเป็นหนักกว่านั้นก็อาจถึงกับต้องผ่าตัด
  4. ความอดทนต่ำ
    อีกอาการหนึ่งที่อาจไม่ส่งผลทางกายภาพชัดเจนนัก คือ การที่พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีส่งผลให้ผู้ใช้มีความอดทนต่ำลง เพราะคุ้นเคยกับการทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น ค้นคว้าข้อมูล ติดต่อสื่อสารด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว หรือแม้แต่เกิดอาการหงุดหงิดกระวนกระวายเมื่อขาดอุปกรณ์เทคโนโลยีที่คุ้นเคย เช่น คอมพิวเตอร์เสีย ลืมเอาโทรศัพท์มือถือมาจากบ้านหรือแม้แต่แท็บเล็ตแบตเตอรี่หมด นอกจากนั้นการเสพย์ติดโซเชียลมีเดียจนเคยชิน ยังทำให้เรามีอิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น จนบางครั้งลืมขีดจำกัดของตนเองไป เช่น การดูซีรี่ส์จนดึกทั้งที่วันรุ่งขึ้นต้องไปเรียนหนังสือ หรือคุยแชตกับแฟนจนไม่ได้นอนทั้งคืน ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมลงโดยไม่รู้ตัวในที่สุด

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัวทั้งสิ้น ดังนั้น ควรระลึกไว้เสมอว่าต้องรู้เท่าทันพฤติกรรมของตนเองและจำไว้ว่าเทคโนโลยีอาจมีทั้งผลกระทบแง่บวกและลบ ขึ้นอยู่กับที่เราจะปรับตัวและป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียจนเกินเยียวยา แม้กิจวัตรประจำวันของเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี แต่เราสามารถเลือกที่จะไม่ป่วยเพราะเทคโนโลยีได้

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา :  www.reo14.moe.go.th
ภาพประกอบจาก : www.pixabay.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก