ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

green-tea-good-health.jpg

ท่ามกลางวัฒนธรรมการดื่มชาอันเก่าแก่ หนึ่งในชาที่ถูกยกย่องในเรื่องของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพก็คือ “ ชาเขียว ” ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  นอกจากนั้น ยังมีแนวโน้มความนิยมที่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเรามักจะเห็นชาชนิดนี้เป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทต่าง ๆ รวมไปจนถึงงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับชาเขียวมากมาย

 

ชา = ศาสตร์การเยียวยาโบราณ

“ชา” ถูกใช้ทางการแพทย์เป็นครั้งแรกในกลุ่มชาวมณฑลด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เมื่อ 5,000 ปีมาแล้ว หรือราว 1,100 – 200 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับช่วงราชวงศ์ถัง พวกเขาเชื่อว่าการดื่มชาสามารถช่วยรักษาความสมดุลในร่างกาย ความนิยมนี้ก่อให้เกิดธุรกิจการค้าใบชาขนาดใหญ่ในประเทศจีนยุคนั้น กระทั่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และ “ชาเขียว” ก็เป็นหนึ่งในประเภทของชาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

“ชาเขียว” คือ ใบชาที่ไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก เป็นใบสดที่เข้าสู่กระบวนการอบแห้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สามารถเก็บได้จากต้นชาที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Camellia sinensis  ทำให้รสสัมผัสที่ได้จากเครื่องดื่มชาประเภทนี้ มีความหอม สดชื่น และยังมีสารประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าใบชาประเภทอื่น ๆ อาทิ วิตามินบี วิตามิอี วิตามินซี, Polyphenol, EGCG, Catechin รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระต่างชนิดอีกมากมาย

หากพิจารณาเฉพาะสรรพคุณในการเยียวยาโดยแพทย์แผนโบราณ จะพบว่าชาเขียวนั้นไม่ว่าจะเป็นแบบใบชา หรือแบบผงมัทฉะ ล้วนส่งผลดีต่อการบรรเทาอาการปวดศีรษะ และผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมอง นอกจากนั้น ยังแก้ร้อนใน ปรับสมดุลในร่างกาย ขับเหงื่อ และช่วยกระตุ้นความเจริญอาหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่ชักนำให้ชาเขียวกลายเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ จากการวิจัยเหล่าผู้ทรงคุณวุฒิระดับโลกหลายท่าน

 

ชาเขียว และประโยชน์ทางการแพทย์ยุคปัจจุบัน

  1. ชาเขียวลดคอเลสเตอรอล
    จากผลการวิจัยตีพิมพ์เมื่อปี 2011 พบว่า การดื่มชาเขียวทั้งในรูปแบบเครื่องดื่ม หรือการรับประทานในรูปแบบแคปซูลสกัด ล้วนส่งผลต่อการลดระดับ LDL หรือคอเลสเตอรอลประเภทไม่ดีในร่างกาย จึงเหมาะกับผู้ที่อยู่ในช่วงลดน้ำหนัก หรือต้องการรักษาความสมดุลร่างกายโดยรวม
  2. ชาเขียวลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
    จากผลการวิจัยตีพิมพ์ใน “Journal of the American Medical Association” เมื่อปี 2006 พบว่า การดื่มชาเขียวลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยคาเตชิน (Catechin) เป็นสารที่มีผลต่อการป้องกันความผิดปกติในระบบหัวใจและหลอดเลือด
  3. ชาเขียวลดความเสี่ยงเส้นโลหิตแตกเฉียบพลัน
    จากผลการวิจัยตีพิมพ์ใน “Journal of the American Heart Association” พบว่า การดื่มชาเขียวมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตกเฉียบพลัน โดยเจ้าของงานวิจัยนี้ คือ รศ. ดร. โยชิฮิโกะ โคคุโบะ ได้กล่าวแนะนำว่า อย่างน้อยควรดื่มชาเขียวทุกวัน ในเวลาของมื้ออาหารใดก็ได้
  4. ชาเขียวกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
    มีงานวิจัยทางคลินิก พบว่า ชาเขียวส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วยเช่นกัน เนื่องจากในกลุ่มผู้ทดลองทั้งมนุษย์ และสัตว์ ล้วนมีอัตราการทำงานของเซลล์ที่ดีขึ้น ทั้งการสร้าง เติบโต ซ่อมแซม ซึ่งส่งผลให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่แข็งแรงนั่นเอง
  5. ชาเขียวช่วยบำรุงสมอง
    จากผลการวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร “Psychopharmacology” แสดงให้เห็นว่า ชาเขียวสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการคิดของสมอง โดยเฉพาะหน่วยความจำในการสั่งงาน ซึ่งข้อเท็จจริงนี้ชี้ให้เห็นว่า ชาเขียวอาจมีแนวโน้มในการรักษาความบกพร่องทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคสมองเสื่อมได้ด้วย
  6. ชาเขียวลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์
    จากผลการวิจัยตีพิมพ์เมื่อปี 2011 พบว่า สาร  CAGTE หรือสารสกัดจากชาเขียวที่เก็บมาจากลำไส้ใหญ่ เพื่อทำการทดสอบว่าหลังจากชาเขียวถูกย่อย และดูดซึมนั้น จะส่งผลต่อโปรตีนในร่างกายของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่า สาร Epigallocatechin-3-gallate (EGCG) ที่มีมากในชาเขียวอาจช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน
  7. ชาเขียวลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง
    อ้างอิงจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า สารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ที่มีเป็นปริมาณมากในชาเขียวสามารถลดการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้ และจากการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มประเทศที่มีการบริโภคชาเขียวเป็นปริมาณมาก พบว่า มีอัตราการป่วยเป็นโรคมะเร็งของประชากรต่ำกว่า อีกทั้งผลการศึกษาในขั้นตอนถัดมายังพบว่า ชาเขียวนั้นส่งผลในเชิงบวกต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม กระเพาะปัสสาวะ รังไข่ ลำไส้ใหญ่ ลำคอ ต่อมลูกหมาก ผิวหนัง และกระเพาะอาหาร และยังส่งผลในแง่การป้องกัน ลดความเสี่ยงในกลุ่มผู้ทดลองอีกด้วย

 

จากหลักฐานงานวิจัยทั้งหมด บ่งชี้ได้ถึงคุณประโยชน์ซึ่งสามารถพิสูจจน์ได้จริงของชาเขียว จึงไม่เป็นที่แปลกใจเมื่อวงการสุขภาพมากมายต่างยกย่องให้เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอันดับหนึ่ง ที่สามารถดื่มได้ทันที ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องปรุงแต่งเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงในทุก ๆ วัน ลองเพิ่มชาเชียวลงไปในมื้ออาหาร ตามเวลาที่สะดวก จะก่อนหรือหลังรับประทานอาหารก็ได้ เพียงเท่านี้เราก็สามารถดูดซึมประโยชน์ดี ๆ จากชาเขียวเข้าสู่ร่างกายได้แล้ว

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.shen-nong.com, www.medicalnewstoday.com
ภาพประกอบจาก: www.pixabay.com

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก