ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-เอสโตรเจนต่ำ.jpg

ฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการพัฒนาการลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง รวมทั้งการเจริญพันธุ์ โดยระดับของฮอร์โมนจะมีการขึ้นลงตามช่วงอายุ และภาวะทางสุขภาพ อาการของการมีเอสโตรเจนต่ำ มีหลายอาการ ลองดูกันคะว่ามีอะไรได้บ้าง

 

เอสโตรเจน (Estrogen) ผลิตจากรังไข่ ส่งผลต่อรูปร่าง นิสัย และอารมณ์ของเพศหญิง โดยทำให้มีหน้าอก เต้านมเต่งตึง สะโพกผาย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีอารมณ์อ่อนไหว เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดเวลาตามรอบของประจำเดือน นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างเซลล์ ซ่อมแซมระบบสืบพันธุ์ รักษาสภาพผนังช่องคลอด ควบคุมเมือกในช่องคลอด ทำให้ไข่ในรังไข่เจริญเติบโต ควบคุมการตกไข่ กระตุ้นการหนาตัวของเยื่อบุผนังมดลูกชั้นใน รองรับการปฏิสนธิร่วมกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

 

อาการที่แสดงว่าอาจมีเอสโตรเจนต่ำ

  • ร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืน เอสโตรเจนต่ำส่งผลต่อสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งจะทำให้คุณมีรู้สึกที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายมากขึ้น
  • นอนไม่หลับ เอสโตรเจนมีความเชื่อมโยงกับเซโรโทนิน (Serotonin) หรือเคมีสุข และเมลาโทนิน (Melatonin) หรือเคมีนิทรา ซึ่งช่วยให้มีการนอนหลับและตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น โดยหากคุณมีเอสโตรเจนต่ำ อาจทำให้มีเซโรโทนินต่ำ อาจตามมาด้วยปัญหาในการนอนหลับ.

    อ่านเพิ่มเติม นอนเท่าไหร่ ถึงจะพอ.
  • ขาดสมาธิในการทำงาน จากความรู้เรื่องการนอนหลับ คุณจะพบว่าการนอนหลับมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการคิดและการเรียนรู้ หากช่วงเวลานอนหลับ โดยเฉพาะช่วงหลับฝัน (REM sleep) ของคุณไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้คุณขาดสมาธิ หลงลืม ไม่สามารถโฟกัสอยู่กับเรื่องที่ทำอย่างมีประสิทธิภาพได้
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย เรื่องอารมณ์ขึ้นๆลงๆเป็นอีกหนึ่งในอาการของการมีฮอร์โมนที่ไม่สมดุล โดยอาการนี้อาจยิ่งรุนแรงมากขึ้น เมื่อบวกเข้ากับการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ
  • อาการซึมเศร้า เอสโตรเจนมีความเชื่อมโยงกับเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นเคมีสุข ช่วยลดภาวะซึมเศร้า หากคุณมีเอสโตรเจนต่ำ นั่นหมายถึงคุณอาจมีระดับเซโรโทนินที่ต่ำ ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ สำหรับกรณีที่เริ่มมีอาการ ลองดูเทคนิค จัดการกับโรคซึมเศร้า…ด้วยตัวเอง
  • กระดูกเปราะ เอสโตรเจนช่วยเสริมความหนาแน่นของกระดูก เมื่อคุณมีระดับเอสโตรเจนที่ต่ำ ความหนาแน่นของกระดูกอาจลดลง
  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ช่วงที่เอสโตรเจนลดต่ำลง เช่น ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ช่องคลอดของคุณจะแห้งมากขึ้น ผนังช่องคลอดจะบางลง นั่นอาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บในขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ช่องคลอดฝ่อตัว (Vulvovaginal Atrophy) เอสโตรเจนต่ำ ทำให้ช่องคลอดตีบแคบ และสูญเสียความยืดหยุ่น มีการหลั่งสารหล่อลื่นช้าลง เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มอาการเมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง
  • ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น จากการบางลงของท่อปัสสาวะ เพิ่มโอกาสในการที่เชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะหรือช่องคลอดได้ง่าย
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น เอสโตรเจนมีผลต่อไขมันในร่างกาย โดยหากเอสโตรเจนน้อย ร่างกายอาจเก็บไขมันไว้บริเวณพุงมากขึ้น

 

ทำอย่างไรเมื่อมีอาการเหล่านี้

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า หลาย ๆ อาการที่กล่าวข้างต้น อาจไม่ได้เกิดจากการมีระดับเอสโตรเจนที่ต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ทั้งนี้มีหลายสาเหตุที่สามารถทำให้ระดับเอสโตรเจนต่ำได้ เช่น ออกกำลังกายหนักเกินไป มีโรคอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับการทำงานของรังไข่ อายุที่มากขึ้น หรือการเป็นสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายใกล้เข้าสู่ช่วงวัยทอง

สำหรับผู้ที่ได้รับการตรวจจากแพทย์ว่ามีระดับเอสโตรเจนต่ำ แนวทางการแก้ไขมีหลายวิธี ขึ้นกับสาเหตุและวัตถุประสงค์ เช่น บรรเทาอาการหมดประจำเดือน ลดอาการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันกระดูกพรุน เป็นต้น โดยมีทั้งการใช้ยาฮอร์โมนและไม่ใช้ยาฮอร์โมน การใช้ยาฮอร์โมนเอง ก็ยังแบ่งย่อยออกเป็นยาเอสโตรเจนอย่างเดียว หรือเป็นสูตรผสมกับตัวอื่น แบบ combinations ส่วนรูปแบบ โดส ระยะเวลาการให้ ก็แตกต่างกันไป โดยมีทั้งในรูปของชนิดเม็ด ชนิดฉีดเข้ากล้าม ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด ชนิดครีมทา หรือแผ่นปิดผิวหนัง ปกติแล้วแพทย์จะใช้หลักการใช้ยาในปริมาณที่น้อยที่สุดและระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในการบรรลุเป้าหมายในการรักษา

การใช้ยาฮอร์โมน ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจากยาอาจมีผลข้างเคียง และอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ทานอยู่เดิม ทำให้ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์เปลี่ยนไป ทั้งนี้อย่าใช้ยาเอสโตรเจนในผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือเป็นมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ลิ่มเลือดหรือเส้นเลือดอุดตัน โรคตับแข็ง เลือดออกผิดปกติของโพรงมดลูกที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมาก

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งข้อมูล: www.forevher.healthywomen.org   th.wikihow.com   www.haamor.com
ภาพประกอบจาก: www.unsplash.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก