ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

Ketogenic-diet-หรือ-คีโต-ก่อนกินต้องรู้.jpg

สูตรการทานอาหารเพื่อไดเอทมีหลากหลายแนว หนึ่งในนั้น คือ สูตรการทานแบบคีโตเจนิค (Ketogenic diet) เรียกสั้น ๆ ว่า การทานแบบ “คีโต” ซึ่งเป็นอีกสูตรในการไดเอท ที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน มาติดตามเรื่องที่น่าสนใจด้วยกันได้เลย

 

ทำความรู้จักกับ การทานอาหารแบบ “คีโต”

“คีโต” เป็นสูตรการทานอาหารที่ได้รับความสนใจมากสุดในปัจจุบัน โดยเน้นการทานอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อให้ร่างกายใช้พลังงาน 60 – 80% จากไขมัน 5 – 10% จากคาร์โบไฮเดรต หรือประมาณ 20 – 30 กรัมต่อวัน ที่เหลือเป็นพลังงานที่ได้จากโปรตีน สูตรการทานอาหารแบบนี้จะช่วยให้ร่างกายนำไขมัน ที่สะสมในร่างกายออกมาใช้ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะคีโตซีส (Ketosis)

นักโภชนาการกล่าวว่า แม้ว่ามีผลการลดน้ำหนักที่ดี แต่ “การทานอาหารแนวคีโต อาจไม่ได้ผลเหมือนกันในทุกคน” โดยเคมีในร่างกายที่เป็นลักษณะเฉพาะ จะบ่งชี้ว่าร่างกายสามารถตอบสนองต่อการทานอาหารแบบนี้อย่างไร

 

การทานแบบ “คีโต” กับสุขภาพของคุณ

อาหารแนวคีโต อาจทำให้คุณผอมลงอย่างรวดเร็ว จากการตรวจสอบพบว่า อาหารแนวนี้มีประสิทธิภาพในการช่วยกระตุ้นให้น้ำหนักลด และช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มการเผาผลาญเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่การที่น้ำหนักลดเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า อาหารแนว “คีโต” ทำให้คุณลดความอยากทานอาหารโดยรวม

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาผลที่ได้ต่อสุขภาพยังมีความขัดแย้งกัน เช่น งานวิจัยในสัตว์แสดงให้เห็นถึงปัญหาโรคไขมันพอกตับ จากการทานอาหารแบบคีโตเป็นเวลานาน ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการวิจัยเพิ่มเติม กับผลกระทบของอาหารแนวนี้ นอกจากนี้ การทานอาหารแนวคีโตยังไม่ได้รับคะแนนที่ดีจากการจัดอันดับโดย US news & World report ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ในการจัดอันดับสูตรอาหาร Diet กว่า 40 สูตร

 

ผลกระทบของการทานอาหารแนว “คีโต”

ช่วงเริ่มแรก คุณจะต้องทานคาร์โบไฮเดรตต่ำมาก ประมาณ 20 ถึง 30 กรัมต่อวัน เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายของคุณจะเข้าสู่ “ภาวะคีโตซีส” (Ketosis) ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ในการกำจัดอาหารหลาย ๆ อย่างออกพร้อมกัน

โดยช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่น้ำหนักจะลด เป็นช่วงที่ร่างกายปรับตัว หลาย ๆ คนจะเจอกับอาการ “คีโตฟลู” (Keto flu) เช่น เหนื่อยล้า มึน คลื่นไส้ เป็นต้น อาการเหล่านี้มักเป็นแค่ชั่วคราว แต่จะทำให้คุณคิดไตร่ตรอง รวมถึงทดสอบแรงบันดาลใจ แน่นอนว่าเกี่ยวกับน้ำหนักที่คุณต้องการลด  สำหรับบางคนที่คิดว่าการทานอาหารแนวคีโตไม่เหมาะกับคุณ แต่เมื่อเริ่มแล้ว ควรมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 สัปดาห์ หลังจากนั้น ถ้าคุณยังมีอาการ “คีโตฟลู” อยู่ หรือทานอาหารไม่ลง เป็นไปได้ว่าอาหารแนวนี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับคุณจริง ๆ อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า หลังจากผ่านอาการ “คีโตฟลู” แล้ว คุณมีแนวโน้มที่จะไปได้ดีกับการทานอาหารแนวนี้

สำหรับในระยะยาวแล้ว งานวิจัยยังมีจำกัด ปัจจุบันยังบอกไม่ได้ว่าการตัดอาหารหมู่สำคัญออกไป จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร นักโภชนาการเคยเตือนไว้ว่า อาจทำให้ขาดสารอาารได้ หากคุณทานอาหารแนวคีโตนานเกินไป ระยะเวลาที่แนะนำให้ทานอาหารแนวคีโต คือ  3 – 6 เดือน เพราะคีโตไม่เหมาะสำหรับทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน

 

ข้อควรระวังการทานอาหารแนว “คีโต”

อาหารแนวคีโต ไม่ได้เป็นอาหารวิเศษสำหรับลดน้ำหนัก หรือแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ทั้งหมด สำหรับบางคน เช่น ผู้ที่เป็นโรคไต การทานอาหารแนวนี้อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ยังไม่เหมาะกับการทานเป็นระยะเวลานาน ๆ

 

ดังนั้น ควรนึกถึงไลฟ์สไตล์ของคุณว่า สอดคล้องข้อจำกัดกับอาหารแนวคีโตนี้หรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มทานอาหารแนวนี้ด้วย ทั้งนี้ ภายใต้คำแนะนำที่ถูกต้อง จะสามารถทำให้คุณมีความสุขกับการทานอาหารแนวนี้ได้

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.everydayhealth.com  www.healthline.com
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com


diet-eating-blood-type.jpg

กินอาหารตามกรุ๊ปเลือดถือเป็นเทรนด์สุดฮิต ที่มาจากแนวคิดว่าร่างกายของทุกคนล้วนแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น การกินอาหารที่เหมาะสมกับยีนในร่างกายเรา โดยแบ่งเป็นสี่ประเภทใหญ่ ๆ ตามกรุ๊ปเลือดนั้น อาจจะทำให้ร่างกายของเราจะเผาผลาญได้ดีขึ้น  ซึ่งจะทำให้มีผลต่อน้ำหนัก การควบคุมอาหาร และเรื่องของสุขภาพที่ตามมา แต่คุณอาจเกิดคำถามที่ว่า แล้วการรับรอง ? ผลวิจัย ? ความเป็นจริงเบื้องหลังทฤษฎียอดนิยมนี้ล่ะ เป็นอย่างไร ? มาไขข้อข้องใจกันดีกว่า…

 

อะไรคือ กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด ‘Blood Type Diet’ ?

จากแนวคิดของ Peter D’Adamo ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด และนักวิจัยการแพทย์ทางเลือก ซึ่งได้รับรางวัลแพทย์ธรรมชาติบำบัดยอดเยี่ยม จากสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1990 เขาได้เผยแพร่เทรนด์การกินอาหารที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเลือดทั้งสี่ คือ A, B, O และ AB เป็นหลัก โดยได้ให้คำแนะนำด้านโภชนาการเพื่อพัฒนาสุขภาพที่วิเคราะห์จากแนวโน้ม และผลการวิจัย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ป A มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง และโรคเบาหวานมากขึ้น นั่นเป็นเหตุผลว่าแผนอาหารประเภท A คือ กลุ่มอาหารที่สามารถเติมพลังระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น โดยแบ่งเป็นชุดอาหาร ดังนี้

  • สำหรับเลือดกรุ๊ปเอ (A): อาหารมังสวิรัติ คงรูปแบบจากธรรมชาติ สด และไม่ผ่านการแปรรูป อาหารออร์แกนิค
  • สำหรับเลือดกรุ๊ปบี  (B): ควรหลีกเลี่ยงไก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี เค้ก ถั่ว มะเขือเทศ ถั่วลิสง และเมล็ดงา และรับประทานผักใบเขียว ไข่ นมไขมันต่ำ และเนื้อสัตว์ จำพวกเนื้อแกะ หรือเนื้อกวาง
  • สำหรับเลือดกรุ๊ปโอ (O): ควรกินเนื้อไม่ติดมัน และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ แต่ตัดธัญพืช ถั่ว และนมออกไปจากลิสต์อาหาร
  • สำหรับเลือดกรุ๊ปเอบี (AB): หลีกเลี่ยงคาเฟอีน แอลกอฮอล์และเนื้อสัตว์ที่ผ่านการรมควัน มุ่งเน้นไปที่อาหารประเภทเต้าหู้ อาหารทะเล นม และผักสีเขียว

 

การกินอาหารตามกรุ๊ปเลือด ‘Blood Type Diet’ ได้ผลจริงหรือไม่ ?

จากความเห็นของ Kris Sollid, RD, ผู้อำนวยการอาวุโส การสื่อสารด้านโภชนาการจาก The International Food Information Council Foundation ได้กล่าวถึงแนวคิดด้านความรู้สุขภาพของการ “กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด” ว่ามีความน่าสนใจ แต่ร่างกายของมนุษย์ซับซ้อนกว่านั้นมาก การจะแบ่งเพียงแค่ 4 ประเภท แล้วยึดหลักการนั้นสำหรับทุกคนคงเป็นไปไม่ได้ เพราะบางครั้งอาจจะมีข้อยกเว้น หรือความจำเป็นเฉพาะตัวของแต่ละคน ซึ่งบางส่วนก็ยังเป็นผลดีเมื่อผู้คนทำตาม อย่างน้อยก็เป็น กลุ่มอาหารที่มีประโยชน์ และเป็นการช่วยให้หลายคนรู้สึกดีขึ้นเมื่อมีการวางแผนจำกัดการกิน ที่ปราศจากอาหารขยะอาหารแปรรูปและน้ำตาล แต่เมื่อพิจารณาดูงานวิจัยอย่างละเอียด การสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์สำหรับ Blood Type Diet ยังคงไม่พอเพียง และไม่มีสิ่งที่ชี้ชัดให้เห็นว่าการกินที่แตกต่างกันจะสามารถช่วยในการเผาผลาญ ทำให้ผู้ที่ทำตามแนวคิดนี้อย่างเคร่งครัด อาจกลายเป็นผลเสียในด้านความครบถ้วนสมบูรณ์ของสารอาหารที่ร่างกายจะได้รับ

 

ควรรับประทานอาหารอย่างไรให้เหมาะสม ?

ลองวิธีง่าย ๆ ที่ได้ผลสำหรับทุกคน อย่างการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีโปรตีนสูง ที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้อง ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยเผาผลาญได้ดี ทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักผลไม้ จะช่วยป้องกันการเพิ่มของน้ำหนัก และไขมันสะสม รวมถึงการเลือกรับประทานไขมันดีในอาหารจำพวกถั่ว และน้ำมันมะกอก เป็นต้น

ที่สำคัญ…อย่าลืมลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังทำให้รู้สึกหิวง่าย และควรหลีกเลี่ยงน้ำตาล ไม่ว่าจะในรูปแบบอาหาร หรือน้ำ พวกโซเดียม เป็นต้น นอกจากการกินที่ดีแล้ว การออกกำลังกายและการพักผ่อนอย่างถูกสุขลักษณะ ก็เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้คุณสุขภาพดีและน้ำหนักลดได้อีกด้วย

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.prevention.com
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com


3-สูตร-Buddha-bowl-อาหารคลีนมาแรงในโลกออนไลน์.jpg

ใครกำลังกินคลีนเพื่อสุขภาพมุงเข้ามาทางนี้…แน่นอนว่าเรื่องอาหารและการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ควรทำควบคู่กันเพื่อให้การดูแลสร้างเสริมสุขภาพอันแข็งแรงนั้นสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด อาหารที่ดีต่อร่างกายคืออาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ มีสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ใน 1 มื้อ ดังนั้นเรามาลองดูเมนู Buddha bowl ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนรักสุขภาพกับสูตรยอดนิยมทั้ง 4 เมนูคลีน

 

มากินคลีนกับ…Buddha bowl

คำว่า ‘Buddha bowl’ นี้ไม่ได้หมายถึงอาหารพระจริง ๆ เพียงแต่ได้ไอเดียจากบาตรพระในการสร้างสรรค์เมนู โดยเป็นการนำส่วนประกอบอาหารหลาย ๆ ประเภทที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมารวมกันให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการในชามใบใหญ่ หรือว่าง่าย ๆ ก็คือเป็นเมนูอาหารจานเดียวที่ได้สารอาหารครบของคนกินคลีนนั่นเองค่ะ

 

Quinoa bowl

เริ่มต้นกันที่ Super food ยอดฮิตอย่างควินัว ซึ่งสามารถสร้างสรรค์เมนูอาหารคลีนได้หลากหลายสไตล์ โดยเฉพาะการนำมาจับคู่กับอโวคาโดที่ที่อุดมไปด้วยไขมันดีกับสูตรนี้

Turkish egg and quinoa (สำหรับ 2 ที่)

  • อโวคาโด (ตามชอบ)
  • ผักโขม 1 ถ้วย
  • ผักชีฝรั่ง 1 ช้อนชา
  • กระเทียม 2 หัว
  • พาสลีย์ 1 ช้อนชา
  • ไข่ไก่ 2 ฟอง
  • มะเขือเทศตากแห้ง ¼ ถ้วย
  • ควินัว 2 ถ้วย
  • เกลือโคเชอร์และพริกไทย (ตามชอบ)
  • ผงปาปริก้าหวาน 1 ช้อนชา
  • พริกป่น 1 ช้อนชา
  • งาขาว 1 ช้อนชา
  • น้ำมันงา 2 ช้อนชา
  • เนย 2 ช้อนชา
  • ชีสนมแพะ 1 ออนซ์
  • กรีกโยเกิร์ต 1 ถ้วย

หุงควินัวให้สุก ส่วนไข่ใช้วิธีทำแบบ Poached egg หรือทำไข่ดาวน้ำ จัดส่วนผสมอื่นๆ ลงจานเวลารับประทานคลุกเคล้าให้เข้ากันก็เป็นอันเสร็จ ทำง่ายมาก

 

 

Rice bowl

เมนูข้าวถูกใจคนไทย สามารถสร้างสรรค์เมนูได้หลากหลายไม่ว่าจะใช้ข้าวขาวหรือข้าวกล้อง แต่ครั้งนี้มาในสไตล์เม็กซิกันที่ดัดแปลงจากบูร์ริโต กินกับอกไก่ที่เต็มไปด้วยโปรตีน

Burrito bowls with chicken (สำหรับ 4 ที่)

  • อกไก่ ¼ ปอนด์
  • น้ำมันมะกอก ¼ ถ้วย
  • น้ำมะนาว ⅓ ถ้วย
  • น้ำตาล 1 ช้อนชา
  • เกลือโคเชอร์ 1 ช้อนชา
  • ขมิ้นป่น ¼ ช้อนชา
  • กระเทียมป่น 2 หัว
  • น้ำ ½ ถ้วย
  • ผงปาปริก้า ½ ช้อนชา
  • ผงหัวหอม 1 ช้อนชา
  • พริกป่น 1 – 2 ช้อนชา
  • ข้าวขาวหรือข้าวกล้อง 3 ถ้วย
  • ผักชีสับ 1/3 ถ้วย
  • ถั่วดำ 15 ออนซ์
  • ซัลซ่าสลัด ½ ถ้วย
  • อโวคาโด (ตามชอบ)
  • ซาวครีม ¼ ถ้วย
  • ผักกาดหวานหั่น ½ ถ้วย

คลุกเคล้าอกไก่กับผงเครื่องเทศต่าง ๆ หมักไว้ประมาณ 30 นาที จากนั้นนาบบนกระทะด้วยน้ำมันมะกอกให้สุก หั่นลูกเต๋า จัดลงบนจานกับข้าวหุงและผักเคียงต่าง ๆ พร้อมรับประทาน

 

Chickpea bowl

ถั่วลูกไก่หรือถั่วชิกพีถือป็นอีกหนึ่งแหล่งคาร์โบไฮเดรตยอดนิยมในเมนูคลีน สามารถรับประทานได้ทั้งแบบเม็ดปรุงสุกและบดละเอียดตามชอบ

Sweet potato chickpea buddha bowl (สำหรับ 3 ที่)

  • น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ
  • หัวหอมแดงขนาดกลาง ½ หัว
  • มันหวาน 2 หัว
  • เบบี้บร็อคโคลี่ 1 กำ
  • ผักคะน้า 2 กำ
  • เกลือและพริกไทย ¼ ช้อนชา
  • ถั่วชิกพี 15 ออนซ์
  • ผงขมิ้น 1 ช้อนชา
  • พริกป่น ¾ ช้อนชา
  • กระเทียมป่น ¾ ช้อนชา
  • ออริกาโน่ ½ ช้อนชา

ส่วนผสมน้ำซอส

  • ซอสทาฮีนี ¼ ถ้วย
  • เมเปิ้ลไซรัป 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว ½ ผล
  • น้ำร้อน 2 – 4 ช้อนโต๊ะ

อบมันหวานให้สุก จากนั้นตามด้วยหอมแดง เบบี้บร็อคโคลี่ต่ออีก 8 นาที ตามด้วยคะน้า 4 – 5 นาที ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทย จากนั้นผสมถั่วชิกพีกับเครื่องเทศ ย่างในเตาอบประมาณ 10 นาทีหรือจนถั่วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลน่ารับประทาน ผสมน้ำซอสให้เข้ากัน แยกไว้ จัดวางถั่วและมันหวานลงจานพร้อมผักต่าง ราดน้ำซอสเป็นอันเสร็จ

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.halfbakedharvest.com   www.dinneratthezoo.com   www.minimalistbaker.com
ภาพประกอบจาก : www.halfbakedharvest.com   www.dinneratthezoo.com   www.minimalistbaker.com   www.freepik.com

 

 


-คาร์โบไฮเดรตชนิดดี-และไม่ดี.jpg

คนให้ความสนใจเกี่ยวกับ “คาร์โบไฮเดรต” มากขึ้น หลังจากที่กระแสการลดน้ำหนักแบบการกินแป้งน้อย เพื่อเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เร็วขึ้น หรือที่เรียกว่า Keto diet ทำให้เราต้องพิจารณาโดยละเอียดว่า จริง ๆ แล้วคาร์โบไฮเดรต เป็นชนิดไม่ดีทั้งหมดหรือไม่ แล้วส่วนที่ดี คือ อะไรบ้าง 

 

คาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี คือ อะไร 

ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งให้พลังงานที่สำคัญของร่างกาย โดยสามารถแตกตัวย่อยออกเป็นโมเลกุลของกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของสมอง จริง ๆ แล้วขนาดและรูปร่างของคาร์โบไฮเดรตนั้นไม่เท่ากัน อีกทั้งคาร์โบไฮเดรตไม่ได้ให้ผลเสียเสมอไป แต่คาร์โบไฮเดรตมีรูปแบบและขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งบางคาร์โบไฮเดรตจะให้คุณประโยชน์มากกว่าโทษเสียอีก แต่ว่าโดยทั่วไปแล้วคาร์โบไฮเดรตเชนิดไม่ดีนั้นพบได้ทั่วไป เกิดจากกระบวนการของคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสีออก เช่น ขนมปังขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง หรือแม้กระทั่งเส้นพาสตา เป็นต้น

 

คาร์โบไฮเดรต ชนิดไม่ดี ส่งผลในเรื่องอะไรบ้าง

คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีนั้นไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง แต่การกินอาหารจำพวกที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสี ทำให้ปริมาณแคลอรี่ของคุณเพิ่มขึ้นนั่นเอง คุณแค่พลาดในการเลือกสรรอาหารเพื่อสุขภาพ อย่างเช่น การได้รับปริมาณแคลอรี่ที่คุณควรจะได้รับตามปริมาณที่ร่างกายต้องการเท่านั้น

ดังนั้น การกินอาหารที่มีกากใยน้อยและมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น อาหารจำพวกที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสี จะมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากภาวะการหิวบ่อย เนื่องจากพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั่นเอง ในขณะที่คุณก็ไม่ได้ต้องการเพิ่มน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีให้แก่ร่างกายอีกแล้ว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่สามารถกินเค้กในงานวันเกิด หรือกินโดนัทในตอนที่คุณอยากกินมันมาก ๆ นะ เพราะบางครั้งเราก็อดใจไม่ไหวแน่นอน

 

คาร์โบไฮเดรตชนิดดี คือ อะไร

ยังมีคาร์โบไฮเดรตส่วนที่ดีหลงเหลืออยู่ เป็นที่รู้กันว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดดีจะพบได้ในธัญพืชที่มาจากธรรมชาติโดยตรง ไม่ผ่านการขัดสี เช่น อาหารจำพวกถั่ว ผลไม้ และผักต่าง ๆ เป็นต้น

อาหารจำพวกที่เป็นคาร์โบไฮเดรตดี คือ อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นและมีกากใยสูง เช่น ธาตุแมกนีเซียม โปรตีน และวิตามิน รวมถึงสารต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ อย่างเช่น วิตามินเอ และวิตามินซี เป็นต้น ซึ่งให้ผลดีต่อร่างกายมากกว่าคาร์โบไฮเดรตที่เราได้รับจากปกติ

ยกตัวอย่างประเภทอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ดี

  • คีนัว (Quinoa)
  • ข้าวโอ๊ต (Oatmeal)
  • ป๊อปคอร์น (Popcorn)
  • ถั่วดำ (Black beans)
  • ถั่วลูกไก่ (Chickpeas)
  • ถั่วแระญี่ปุ่น (Edamame)
  • แอปเปิ้ล (Apple)
  • กล้วย (Banana)
  • แครอท (Carrot)
  • มันฝรั่งหวาน (Sweet Potatoes)

คาร์โบไฮเดรตชนิดดี ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบที่มีโมเลกุลยาว เพื่อให้ร่างกายใช้เวลาในการย่อยสลาย และเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้นานขึ้น โดยร่างกายจะไม่มีการผลิตอินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด (No-sugar crash) ในช่วงเวลาประมาณบ่ายสามของวัน

 

เราควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตมากแค่ไหน

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราควรได้รับคาร์โบไฮเดรตคิดเป็นประมาณ 45 – 65 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวัน (ในกรณีนี้เราพูดถึงคาร์โบไฮเดรตชนิดดี) จากที่เราควรได้รับปริมาณแคลอรี่ต่อวันอยู่ที่ 1,600 แคลอรี่ ดังนั้น ประมาณ 720 – 1,040 แคลอรี่ หรือประมาณ 180 – 260 กรัม ของสารอาหารที่เราได้รับ ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดดีทั้งสิ้น แต่บางคนอาจไม่ได้ใส่ใจในการคำนวณปริมาณแคลอรี่ ในการรับประทานอาหารต่อวันมากนัก ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดในการรักษาสมดุล คือ การกินขนมและอาหารที่ครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารต่อวัน เป็นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตชนิดดี โปรตีน และไขมันชนิดดี

 

ควรอ่านฉลากโภชนาการอย่างไร

แน่นอนว่าคุณสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีแต่ธัญพืช เพื่อให้ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตชนิดดีได้ แต่คุณอาจคาดไม่ถึงเลยว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีนั้นมีอยู่ในทุก ๆ ที่อย่างน่าตกใจ เช่น เมื่อคุณซื้ออาหารและดูฉลากโภชนาการ และปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับต่อหน่วยบริโภค ก่อนอื่นแนะนำให้คุณดูในส่วนของปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด จากนั้นดูปริมาณคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี ควรที่หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ประกอบด้วยน้ำตาล คือ พยายามให้น้อยกว่า 10 กรัมต่อจำนวนหน่วยบริโภค

สำหรับอาหารจำพวกกากใยนั้น จำเป็นน้อยกว่าคาร์โบไฮเดรตเสียอีก แนะนำว่าควรบริโภคอาหารจำพวกกากใยอย่างน้อยประมาณ 3 กรัม ต่อจำนวนหน่วยบริโภค และควรดูข้อกำหนดของส่วนผสมเพิ่มเติมด้วย เพื่อสังเกตปริมาณคาร์โบไฮเดรตชนิดดี อย่างเช่น ธัญพืชที่ได้จากธรรมชาติ และคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ดี อย่างสารอาหารที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสี (อย่างไรก็ตาม น้ำตาลเองนั้นก็มีอยู่หลากหลายชื่อ และหลายองค์ประกอบ อย่าลืมหาข้อมูลเพิ่มเติมกันด้วย)

 

ตราบใดที่คุณได้รับคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีมาก และชนิดไม่ดีน้อย ในปริมาณสารอาหารแต่ละวัน  คุณก็ไม่มีอะไรต้องกังวลสำหรับเรื่องของคาร์โบไฮเดรตแล้วล่ะ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกินอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ สร้างรากฐานสุขภาพที่ดีให้ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.womenshealthmag.com
ภาพประกอบ: www.pixabay.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก