ร่างกายของผู้หญิงมีความต้องการที่แตกต่างกัน การรับประทาน “อาหารสุขภาพ” เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคน แต่อาหารสุขภาพสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ สามารถเข้าป้องกันสาเหตุของโรคได้ เช่น กระดูกเปราะ การตั้งครรภ์ และมะเร็งเต้านม เป็นต้น อาหารสุดอร่อยเหล่านี้ล้วนอุดมไปด้วยสารอาหาร จะช่วยปกป้องร่างกายและช่วยให้ทำงานได้ดีแม้ในขณะที่ผู้หญิงมีอายุมากขึ้น
ถั่วแระ
ถั่วแระ (Edamame) คือ ฝักถั่วเหลืองสุดอร่อย ซึ่งเต็มไปด้วยเส้นใยอาหาร ไขมันดี และเอสโตรเจน (Estrogen) ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง คล้ายกับสารประกอบเรียกว่า ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งเป็นสารอาหารจากพืช สามารถบรรเทาอาการในวัยหมดประจำเดือน อาการร้อนวูบวาบ (แต่ไม่เหมาะสำหรับคนที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม)
คะน้า
ประโยชน์ในใบสีเขียวของผักคะน้า ก็คือ วิตามิน เค ที่ทำงานร่วมกับแคลเซียม และวิตามิน ดี เพื่อให้กระดูกของคุณแข็งแรง และมีสุขภาพดี จำนวนการบริโภควิตามิน เค ควรเป็น 20% ของจำนวนวิตามิน เอ และวิตามิน ซี ที่แนะนำไว้ในแต่ละวัน
หน่อไม้ฝรั่ง
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการเสริมสร้างกระดูก ควรบริโภคประมาณ ½ ถ้วยต่อวัน นอกจากนี้ ยังเต็มไปด้วยโฟเลต (Folate) วิตามิน บี 9 ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ความบกพร่องของกระดูกสันหลัง (Spina bifida)
ถั่ว
ถั่วมีโปรตีนจำนวนมาก ไม่มีไขมัน และมีเส้นใยอาหารสูง สามารถลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด และลดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่ง 3 อาการเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา
ส้มโอ
อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ (flavonoids) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยลดโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบในผู้หญิง และช่วยบำรุงหัวใจ (ส้มก็ช่วยได้เช่นกันแต่ส้มโอจะมีน้ำตาลน้อยกว่า) แต่ส้มโอไม่ควรรับประทานพร้อมกับยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใส่ไว้ในเมนู
เบอร์รี่และเชอร์รี่
ผลไม้ทั้งสองนี้ดูสวยงามในสีม่วง สีแดง และสีฟ้า เปี่ยมด้วยฟลาโวนอยด์และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถปกป้องเซลล์จากความเสื่อมสภาพ เบอร์รี่ช่วยบำรุงให้สมองเฉียบคมขึ้นในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ วิตามิน ซี ยังช่วยสร้างคอลลาเจน ซึ่งช่วยให้ผิวกระชับขึ้น
มะละกอ
สีแดงส้มของมะละกอมาจากเบต้าแคโรทีน (Beta carotene) และไลโคปีน (Lycopene) ช่วยลดโอกาสในการเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยให้คอเลสเตอรอลและความดันโลหิตอยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ ที่จะช่วยป้องกันโรคหัวใจ
โยเกิร์ตธรรมดาไขมันต่ำ
คุณจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมมากขึ้นเมื่ออายุเกิน 50 ปีขึ้นไป โยเกิร์ตเพียงแค่ 8 ออนซ์ให้แคลเซียมมากกว่า 1 ใน 3 ของแคลเซียมที่คุณควรได้รับต่อวัน ค้นหาชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามิน ดี เพื่อช่วยให้ร่างกายของคุณดูดซึมแร่ธาตุได้ดีขึ้น
ปลาซาร์ดีน
ปลาเหล่านี้เต็มไปด้วยกรดไขมันดีต่อร่างกาย วิตามินดี และแคลเซียม กรดไขมัน Omega-3 สามารถเพิ่มสารอาหารในน้ำนมแม่ ดีสำหรับทารกที่มารดารับประทานขณะตั้งครรภ์ และยังมีสารปรอทน้อยกว่าปลาอื่น ๆ ทั้งหมด
เมล็ดแฟลกซ์
เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) หรือเมล็ดลินิน เป็นอาหารที่มีเส้นใยอาหารเช่นเดียวกับ Lignans สารประกอบพืชที่ทำหน้าที่เหมือนเอสโตรเจน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งเต้านมได้ เป็นกรดไขมันดี Omega-3 ของคุณ แต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่กำลังเป็นโรคมะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเพิ่มในเมนู
วอลนัท
ถั่ววอลนัทนี้เต็มไปด้วยกรดไขมันดีที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และอาจป้องกันมะเร็งได้ เป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่สมดุล ใช้ถั่ววอลนัท (หรือเมล็ดแฟลกซ์) สำหรับโรยบนโยเกิร์ต
อาโวคาโด
เต็มไปด้วยไขมันดี จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอาโวคาโดสามารถช่วยกำจัดไขมันหน้าท้อง และปกป้องดวงตา และผิวหนังของคุณได้ และยังอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” และเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ “ดี” ได้
มันหวาน
ธาตุทองแดง ไฟเบอร์ วิตามิน บี 6 โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ทั้งหมดนี้พบในมันหวาน และยังมีเบต้าแคโรทีน (Beta carotene) อย่างมาก เหมาะกับคุณแม่รับประทานระหว่างตั้งครรภ์และให้นม จะช่วยก็ให้ปอดของลูกน้อยแข็งแรง
ผักโขม
อุดมด้วยโฟเลต (Folate) ช่วยลดโอกาสต่อภาวะสมองเสื่อม โรคหัวใจ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี Lutein ซึ่งเป็นสารอาหารปกป้องดวงตา เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเลนส์และเรตินาในตาของคุณ และอาจป้องกันการเกิดริ้วรอยเล็ก ๆ ได้
ตับ
ตับวัวเป็นแหล่งโฟเลต (Folate) ที่มีวิตามิน บี 9 และกรดโฟลิค (Folic acid) ช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ คุณประโยชน์พอ ๆ กับอาหารมังสวิรัติที่ดีอย่างผักโขม และถั่วดำได้เลย
เนื้อไม่ติดมัน
เนื้อวัว เนื้อแดงเต็มไปด้วยธาตุเหล็ก หลังจากอายุ 18 ปีแล้ว ร่างกายของคนเราจะต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น อีกทั้งยังมีสังกะสีและวิตามิน บี แต่อย่ากินมากเกินพอดี เพราะมีโอกาสที่กินเนื้อแดงมากไปอาจทำให้มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก
เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.webmd.com
ภาพประกอบจาก: www.pixabay.com