ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-ต้องไปหาหมอ.jpg

มนุษย์เราใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอนหลับ โดยร่างกายอาศัยช่วงเวลานอนหลับในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ต่อมต่าง ๆ มีการหลั่งฮอร์โมนรวมถึงสารเคมีชนิดต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเจริญเติบโต เพิ่มความต้านทานโรค สมองมีการจัดระเบียบความคิด ความจำ กล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆคลายตัวเพื่อปลดปล่อยความเคร่งเครียด รวมถึงมีการสะสมพลังงาน เพื่อที่จะทำงานในวันถัดไป

 

คุณภาพการนอนหลับ

การนอนหลับที่มีคุณภาพในแต่ละคืนนั้น จะประกอบไปด้วยวงจรการนอนหลับที่มีช่วงหลับธรรมดาและหลับลึกรวม 4 ระยะและช่วงหลับฝัน 1 ใช้เวลารวม 80 – 120 นาทีต่อรอบ จำนวน 4 – 6 รอบต่อเนื่องกันจนกระทั่งตื่นนอนเช้า กินเวลา 7 – 8 ชั่วโมงในวัยผู้ใหญ่ การนอนหลับไม่พอจึงไม่ใช่เพียงเรื่องของจำนวนชั่วโมงการนอนว่าครบ 7 – 8 ชั่วโมงหรือไม่ แต่ยังหมายรวมถึง การหลับแต่ละช่วงทั้งช่วงหลับธรรมดา หลับลึกและหลับฝัน มีระยะเวลาที่นานพอและมีความสมดุลกันด้วยหรือไม่ มีงานวิจัยพบว่าคุณภาพการนอนมีผลต่อสุขภาพกาย เช่น คนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง หรือมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อคืน มีอัตราการตายที่สูงขึ้น หรือคนที่นอนน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อคืน ติดต่อกัน 6 คืน มีปัญหาในการเผาผลาญกลูโคส มีการขัดขวางการใช้อินซูลิน ทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังได้

 

อาการนอนไม่หลับ แบบที่ต้องไปพบแพทย์

เมื่อพูดถึงอาการ “นอนไม่หลับ” แน่นอนว่าทุกคนจะต้องเคยได้ยิน และเคยประสบปัญหานี้กันมาบ้างแล้ว ส่วนใหญ่อาการนอนไม่หลับจะเป็นเพียงบางช่วงสั้น ๆ เมื่อมีเรื่องรบกวนจิตใจ หรือมีความเจ็บป่วยทางกาย เมื่อเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาผ่านไป หรือมีการปรับเทคนิคแก้นอนไม่หลับ การนอนหลับก็ดีขึ้น แต่ในบางคนอาการนอนไม่หลับนั้นเป็นอยู่นานเป็นเดือน ไม่หายไปเอง หรือบางครั้งสามารถนอนหลับได้ แต่ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ตอนกลางวัน รู้สึกง่วงนอน ต้องแอบงีบหรือนั่งสัปหงก ไม่มีสมาธิ แม้ว่าชั่วโมงนอนจะเพียงพอแล้วก็ตาม เรามาดูเกณฑ์เบื้องต้นที่พอจะสังเกตกันได้ หากใครมีอาการนอนไม่หลับแบบนี้ แนะนำให้จัดเวลาไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ วินิจฉัยและวางแผนการรักษาก่อนที่อาการนอนไม่หลับจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ

  • นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิทติดต่อกันนานกว่า 4 สัปดาห์ หรืออาจน้อยกว่า 4 สัปดาห์ แต่ส่งผลต่อสุขภาพในช่วงกลางวัน ทำให้ไม่สามารถเรียน ทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างปกติ
  • ต้องตื่นขึ้นมากลางดึกระหว่างนอนหลับ โดยรู้สึกเหนื่อย หายใจไม่ทันหรือหายใจไม่เต็มปอดหรือมีคนใกล้ชิดสังเกตว่ามีช่วงหยุดหายใจหรือช่วงที่หายใจกระตุก
  • รู้สึกปวด ชาหรือยกขาไม่ขึ้นเป็นประจำ ในขณะนอนหลับ
  • ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก โดยรู้สึกแสบร้อนกลางอก หรือมีอาการดังกล่าวจนไม่สามารถนอนหลับได้ปกติ
  • นอนไม่หลับหรือต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะมีความเจ็บปวดที่ใดที่หนึ่งเป็นประจำ
  • นอนหลับไม่สนิท แล้วรู้สึกอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น หดหู่ ซึมเศร้า เบื่ออาหาร หมดแรงง่าย เป็นต้น

อาการนอนไม่หลับข้างต้น เป็นอาการนอนไม่หลับแบบที่ควรได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ที่โรงพยาบาลกรณีทั่วไป แต่หากมีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจไม่สะดวกเวลาตื่นขึ้นมากลางดึกทำให้นอนไม่หลับ และอาการนั้นไม่หายไปในเวลาสั้น ๆ แบบนี้ควรจะรีบไปตรวจที่ห้องฉุกเฉิน เพื่อประเมินภาวะที่อาจเป็นอันตรายอย่างหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลว ทันที

กล่าวโดยสรุปแล้ว อาการนอนไม่หลับนั้น เป็นอาการที่พบได้บ่อยและเกิดได้กับทุกคน แต่หากมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังติดต่อกันนาน หรืออาการนั้นรบกวนชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติได้ อีกทั้งอาการเหล่านี้ยังอาจเป็นอาการของโรคทางกายอื่น ๆ ที่ทำให้นอนไม่หลับซ่อนอยู่ จึงต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

แหล่งข้อมูล : www.webmd.com 
ภาพประกอบ : www.freepik.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก