สภาวะร่างกายที่ต้องขับลม สาเหตุเกิดมาจากอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุดเสียด การใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาและบรรเทาอาการ คือ สมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน ขม มีน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบ มีกลิ่นหอม ซึ่งจะเข้าไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับลมออกมา
สมุนไพรที่มีสรรพคุณการขับลม ได้แก่
ชื่อสมุนไพร | ส่วนที่ใช้/รสยา | ขนาดและวิธีใช้ |
กระชาย (Boesenbergia pandurate Holtt.) | เหง้าและราก | ใช้เหง้าหรือรากประมาณครึ่งกำมือ น้ำหนักสด 5 - 10 กรัม แห้ง 2 - 5 กรัม ทุบพอแตกแต่ต้มน้ำ |
ขมิ้นชัน (Curcuma longa Linn) | เหง้าแก่จัด | ใช้เหง้าแก่ตากแห้ง บดเป็นผงขนาด 500 มิลลิกรัม ปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน |
ขิง (Zingiber officinale Rosc) | เหง้าแก่สด | ใช้ขิงแก่สดขนาด 2 หัวแม่มือหรือนำหนัก 5 กรัม ล้างให้สะอาด ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร |
กระเพรา (Ocimum sanctum Linn.) | ใบและยอด | ใช้ใบสด 1 กำมือ ประมาณ 20 กรัม หรือใบแห้ง 4 กรัม ต้มพอเดือด เอาน้ำดื่ม |
มะนาว (Citrus aurantifolia Swing) | เปลือกผลสด | ใช้เปลือกผลสด 1/2 - 1 ผล ฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ บาง ๆ ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5 - 10 นาที ดื่มแต่น้ำ ขณะมีอาการ หรือหลังอาหาร 3 เวลา |
พริกไทย (Piper nigrum Linn.) | ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกแห้ง | นำผลมาบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานครั้งละ 0.5-1 กรัม หรือจะใช้ผงชงรับประทานหลังอาหาร |
ข่า (Alpinia nigra B.L.Burtt) | เหง้าแก่สด | ใช้เหง้าแก่สดหนัก 5 กรัม ถ้าแห้ง 2 กรัม ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร |
กระเทียม | หัวใต้ดิน | ใช้กระเทียม 5 - 10 กลีบ รับประทานหลังอาหารหรือพร้อมอาหาร |
ภาพประกอบจาก: th.lovepik.com