ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-H2C00.jpg

8 สัญญาณเตือน ฮอร์โมนเพศชายต่ำ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศของเพศชาย ถูกสร้างจากอัณฑะ (Testis) โดยฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนทำหน้ากระตุ้นการสร้างตัวอสุจิ (Sperm) และกระตุ้นอารมณ์ทาง เพศ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ และกระดูกอีกด้วย เมื่อผู้ชายอายุมากขึ้นระดับของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในร่างกายจะต่ำลง หากต่ำมากเกินไปก็จะเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา ซึ่งมักจะถูกเข้าใจผิดว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการธรรมดาของผู้สูงอายุ

 

ภาวะฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำจะวินิจฉัยได้จากการตรวจระดับของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเลือดที่ต่ำกว่า 300 นาโนกรัมต่อเดซิลิตร (300 ng/dL) ซึ่งการลดลงของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในผู้ชายนั้นเรียกว่าภาวะวัยทอง ซึ่งเปรียบได้กับภาวะหมดประจำเดือนในเพศหญิง แตกต่างกันที่ในเพศหญิงนั้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน จะมีการลดลงของระดับฮอร์โมนเพศหรือเอสโทรเจนอย่างรวดเร็ว แต่การลดลงของฮอร์โมนเพศของเพศชายหรือเทสโทสเทอโรนนั้นจะค่อย ๆ ลดลงทำให้ในชายอาจไม่มีอาการอะไร แต่หากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเพศชายลดลงเร็วกว่าที่ควรก็จะทำให้มีอาการต่าง ๆ ของภาวะเทสโทสเทอโรนต่ำแสดงออกมา

1. อารมณ์ทางเพศลดลง

ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนเพศ ที่คอยควบคุมเรื่องความต้องการทางเพศ เมื่ออายุมากขึ้นผู้ชายส่วนมากจะมีความต้องการทางเพศลดลงในระดับที่แตกต่างกัน โดยหากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำมากจะทำให้ความต้องการทางเพศลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งมักสัมผัสได้จากตัวเองหรือคู่นอน นอกจากความต้องการที่ลดลงแล้ว ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่ลดลงจะมีผลทำให้ผู้ชาย บรรลุจุดสุดยอดได้ยากขึ้นอีกด้วย

2. อวัยวะเพศแข็งตัวยาก

นอกจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจะเป็นตัวควบคุมความต้องการทางเพศแล้วนั้น ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนยังมีผลในเรื่องการแข็งตัวเพศชายด้วย โดยที่ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนนั้นจะไปมีผลกับสมอง กระตุ้นให้สมองสั่งให้ร่างกายสร้างสารไนตริกออกไซด์ (สารเคมีในร่างกายที่ช่วยทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว)  ซึ่งหากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลง ก็จะมีผลทำให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศเป็นไปได้ยากมากขึ้น นอกจากนี้โรคที่ทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหลาย ๆ โรคนั้นมีความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน เส้นเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis)

3. น้ำเลี้ยงตัวอสุจิ (Semens) ลดลง

น้ำเลี้ยงตัวอสุจิทำหน้าที่ช่วยให้ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น โดยที่น้ำเลี้ยงอสุจินี้ จะหลั่งออกมาพร้อมกับตัวอสุจิเมื่อเพศชายบรรลุจุดสุดยอด ซึ่งฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณของน้ำเลี้ยงอสุจิด้วย หากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลดลงก็จะทำให้น้ำเลี้ยงอสุจิลดลงไปด้วย ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่มีน้ำอสุจิหลั่งออกมาเมื่อบรรลุจุดสุดยอดลดลง

 

4. ผร่วง

นอกจากเรื่องของเพศแล้ว ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนยังควบคุมการทำงานอีกหลายอย่างในร่างกายรวมไปถึงการ สร้างผมและขน ถึงแม้ว่าหัวล้านนั้นสามารถพบได้ในชายทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้น แต่ถ้าระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงมากก็จะมีอาการของผมและขนตามที่ต่าง ๆ ร่วงมากกว่าปกติได้

5. รู้สึกอ่อนเพลีย

ภาวะฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเท่าไหร่ก็ได้ นอกจากนี้ผู้ชายที่มีปัญหาฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำจะขาดแรงจูงใจ กระตุ้นให้ไปออกกำลังกายได้ยากอีกด้วย

6. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง

เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ ผู้ชายฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงจะทำให้กล้ามของเค้าลดขนาดและกำลังลงโดย เฉพาะกล้ามเนื้อแขน ขา หน้าอก และการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้กลับมาเท่าเดิมนั้น ก็เป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำ การเพิ่มขึ้นของไขมันส่วนเกิน ไม่เพียงแต่กล้ามเนื้อที่ลดลงในผู้ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงแล้ว การสะสมของไขมันส่วนเกิน ตามที่ต่าง ๆ ในร่างกาย ยังเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายของชายเหล่านั้นดูแย่มากขึ้น โดยปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายกระบวนการเพิ่มขึ้นของไขมันส่วนเกินในชายที่ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงได้อย่างชัดเจน แต่มีผู้วิจัยพบว่ายีนที่ควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายนั้นมีส่วนในการลดลงของ ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในร่างกาย

7. กระดูกบาง

ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน มีผลในการสร้างความหนาแน่นหรือความแข็งแรงของกระดูก ภาวะกระดูกบางซึ่งหากเป็นมาก ๆ ก็จะถูกเรียกว่าโรคกระดูกพรุน โรคนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยที่ฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิงมีผลต่อความหนาแน่นและความแข็งแรงของกระดูก แต่เนื่องจากผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนที่ลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนซึ่งแตกต่างจากเพศชายทำให้พบภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนในเพศหญิงมาก แต่เพศชายเมื่ออายุมากขึ้นมาก ๆ และมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลงนาน ๆ ก็มีภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน

 

8. อารมณ์แปรปรวน

ทั้งชายและหญิงจะประสบปัญหาอารมณ์แปรปรวนได้ทั้งคู่ จากการลดลงของฮอร์โมนเพศ เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเพศชายนั้นเปรียบเสมือนถังน้ำมันที่คอยช่วย เป็นแหล่งพลังงานในการกระตุ้นกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงด้านอารมณ์ ดังนั้น เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลง จะทำให้ชายเหล่านี้มีปัญหาซึมเศร้า หงุดหงิดง่ายไม่มีสมาธิได้

 

แหล่งที่มา : https://www.healthline.com/health/low-testosterone/warning-signs#erections
ภาพประกอบจาก : https://www.andromenopause.com

 


-Reproductive-system.jpg

ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)ของมนุษย์ เป็นแบบปฏิสนธิภายในร่างกาย โดยเพศชายจะหลั่งอสุจิจำนวนมากในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิจะเดินทางเข้าไปในมดลูก และท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ ภายหลังการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะมีการฝังตัวและเจริญเติบโตที่ผนังมดลูก โดยอยู่ในครรภ์ประมาณ 9 เดือน ในระหว่างนั้นต่อมน้ำนมจะทำการผลิตน้ำนม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมของเพศหญิง

 

ระบบสืบพันธ์ุเพศชาย

อวัยวะที่เกี่ยวข้อง

สามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่ 

  1. อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและเก็บอสุจิ ประกอบด้วย อัณฑะ (Testis) เป็นต่อมรูปไข่มี 2 ข้าง ภายในมีหลอดสร้างตัวอสุจิ (Seminiferous Tubule) ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย ภายหลังการสร้างและพัฒนา อสุจิจะถูกส่งเข้าสู่หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epididymis) ภายนอกอัณฑะ โดยอัณฑะจะถูกห่อหุ้มอยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) เพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ โดยจะต่ำกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียสนอกจากนี้อัณฑะยังสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหลัก ที่ช่วยกระตุ้นให้แสดงลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย เช่น มีกล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างใหญ่ มีหนวดเครา มีขนดก เป็นต้น 
  1. อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างของเหลวในการหลั่งอสุจิ และท่อนำอสุจิ ได้แก่ ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal vesicles) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ รวมถึงการสร้างของเหลวมาผสมกับตัวอสุจิเพื่อให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เพื่อปรับสมดุลกรด-เบสในท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ ต่อมคาวเปอร์ (Cowper Gland) อยู่ใต้ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศนอกจากนี้ยังมีหลอดนำอสุจิ (Vas deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ 
  1. อวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศ จะเป็นอวัยวะเพศชายที่อยู่ภายนอก คือ องคชาต (Penis) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อนยาว ประกอบไปด้วยส่วนของกล้ามเนื้อคล้ายฟองน้ำ (Corpus cavernosum) และส่วนของท่อปัสสาวะ โดยกล้ามเนื้อคล้ายฟองน้ำทำหน้าที่ในการกักเก็บเลือด ทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต จนสามารถสอดใส่เข้าไปภายในช่องคลอดของเพศหญิงได้ ส่วนปลายขององคชาตจะบานออกเป็นรูปดอกเห็ด โดยมีเส้นประสาท และเส้นเลือดเป็นจำนวนมาก

 

การทำงาน

ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system) ของมนุษย์ เพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิตั้งแต่อายุประมาณ 12 – 13 ปี โดยในการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้ง จะมีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 350 – 500 ล้านตัว โดยปริมาณน้ำอสุจิและตัวอสุจิแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่น อายุ ความแข็งแรง เชื้อชาติ อื่น ๆ น้ำอสุจิจะถูกขับออกจากร่างกายตรงปลายสุดขององคชาต โดยตัวอสุจิเมื่อออกสู่ภายนอกจะมีชีวิตอยู่ได้ 2 – 3 ชั่วโมง ในขณะที่อยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นาน 24 – 48 ชั่วโมง

 

โรคที่เกี่ยวข้อง

ต่อมลูกหมากโต   หย่อนสมรรถภาพทางเพศ   มะเร็งต่อมลูกหมาก   ไส้เลื่อน

  

ระบบสืบพันธ์ุเพศหญิง

อวัยวะที่เกี่ยวข้อง

อวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ส่วนใหญ่อยู่ภายในร่างกายบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยส่วนที่อยู่ภายในประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ รังไข่ (Ovary) ทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ (Ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธ์เพศหญิงและผลิตฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) มดลูก (Uterus) เชื่อมกับรังไข่ต่อจากท่อนำไข่ มีหน้าที่รองรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ มดลูกส่วนที่ต่อกับช่องคลอดจะมีส่วนที่เรียกว่า ปากมดลูก ช่องคลอด (Vagina) เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อกับมดลูก มีหน้าที่เป็นช่องทางให้อวัยวะเพศชายสอดใส่และรองรับอสุจิที่หลั่งขณะมีเพศสัมพันธ์รวมถึงการเป็นช่องทางคลอดออกสู่โลกของทารก

สำหรับอวัยวะเพศหญิงที่อยู่ภายนอก ประกอบด้วยแคมใหญ่ แคมเล็กและปุ่มคริสตอริส (Clitoris) ซึ่งปุ่มนี้จะมีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ในเพศหญิง จะมีการหลั่งเมือกจากต่อมบาร์โธลีน (Bartholin’s glands) ทำหน้าที่ช่วยในการหล่อลื่นและปรับลดความเป็นกรดในช่องคลอด

 

การทำงาน

เพศหญิงเมื่อเข้าอายุ 12 – 13 ปี ไข่จะเริ่มสุก แล้วตกจากรังไข่ เรียก การตกไข่ (Ovulation) โดยจะตกเดือนละ 1 ใบ สลับข้างกัน ไข่ที่ตกจะเคลื่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ ระหว่างนั้นมดลูกจะเริ่มขยายขนาดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ทำให้ผนังมดลูกด้านในหนาตัวขึ้น และมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ ในกรณีที่ไข่ไม่ได้รับการผสมจะค่อยๆฝ่อตัวไป ทำให้หลอดเลือดฝอยบริเวณผนังมดลูกเกิดการสลายตัว  เกิดเลือดหรือก้อนเลือดไหลผ่านช่องคลอดออกมา เรียก การมีประจำเดือน (Menstruation) ในขณะที่ผนังมดลูกค่อยๆกลับสู่ภาวะปกติ

 

โรคที่เกี่ยวข้อง

ช่องคลอดอักเสบ   ปีกมดลูกอักเสบ   อุ้งเชิงกรานอักเสบ   เชื้อราในช่องคลอด   ซีสต์ในรังไข่   ปวดประจำเดือน   มะเร็งปากมดลูก


ช่องคลอดอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียหรือเชื้อราในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบ มีตกขาวผิดปกติ เช่น มีสีเปลี่ยน มีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน รวมถึงมีอาการคันหรือแสบช่องคลอด

ปีกมดลูกอักเสบ  เป็นส่วนหนึ่งของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ โดยมีการติดเชื้อซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่บริเวณท่อนำไข่และต่อมาเกิดการอักเสบ การติดเชื้อสามารถเกิดได้กับปีกมดลูกข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง  ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อย ปวดแบบเสียด ๆ คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออก อาจมีไข้

อุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ มักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการมีความแตกต่างกันบ้างตามอวัยวะที่อักเสบ

เชื้อราในช่องคลอด เป็นการติดเชื้อราภายในช่องคลอด ทำให้เกิดการระคายเคือง การคัน การบวมแดงของช่องคลอด รวมถึงตกขาวที่ผิดปกติ

ปวดประจำเดือน เป็นอาการที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการมีประจำเดือน โดยจะปวดบีบเป็นพัก ๆ บริเวณท้องน้อย อาจร้าวไปถึงบริเวณหลัง บริเวณก้น หรือบริเวณต้นขา บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หน้ามืด เป็นลมร่วมด้วย

มะเร็งปากมดลูก
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เอชพีวี ชนิดที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก โดยไวรัสชนิดนี้จะติดต่อผ่านบาดแผลหรือรอยถลอกของอวัยวะสืบพันธ์ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ และจะทำให้เซลล์ปากมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นมะเร็งได้ในเวลาหลายปี หลังจากนั้น

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.livescience.com  www.britannica.com  th.wikipedia.org
ภาพประกอบจาก : www.shutterstock.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก