ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-Vital-Sign-re.jpg

สัญญาณชีพ (Vital Sign) คือ อาการสำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยบอกถึงความปกติหรือความผิดปกติของร่างกาย ประกอบด้วย 4 อาการแสดง (Sign อาการที่แพทย์สามารถตรวจพบได้) คือ

สัญญาณชีพ เป็นอาการที่สามารถตรวจวัดได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ อาจด้วยตนเอง ยกเว้น ความดันโลหิตที่ต้องมีเครื่องวัด แต่ก็เป็นเครื่องที่ผู้ใหญ่ทุกคนสามารถใช้ได้ ใช้เป็น

สัญญาณชีพ เป็นตัวบอกความมีชีวิต ใช้ประเมินการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายโดยเฉพาะ หัวใจ ปอด และสมองนอกจากนั้น ยังมีประโยชน์ทั้งในการประเมิน วินิจฉัยสุขภาพเบื้องต้น อาจช่วยวินิจฉัยโรคได้ และยังใช้ในการตรวจติดตามและประเมินผลการรักษา

ค่าของสัญญาณชีพของแต่ละบุคคล ปกติจะไม่เท่ากัน ขึ้นกับ อายุ เพศ และตรวจในขณะพัก หรือหลังการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการออกแรง และเมื่อเกิดความผิดปกติหรือเกิดโรค ค่าของสัญญาณชีพก็จะเปลี่ยนแปลงผิดปกติ เช่น เมื่อมีไข้ ชีพจร อัตราการหายใจ จะสูงขึ้น ความดันโลหิตอาจสูงหรือต่ำ อุณหภูมิร่างกายอาจสูงหรือต่ำกว่าปกติ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค เป็นต้น

ค่าปกติในผู้ใหญ่ปกติ ของชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจ วัดนับจากการใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้คลำการเต้นของหลอดเลือดแดงตรงด้านหน้าของข้อมือ (ด้านหัวแม่มือ) ที่อยู่ต่ำกว่าฐานของนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งจะประมาณ 60 – 100 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ วัดโดยดูจากการขยายตัวของช่องอก จะประมาณ 12 – 18 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต ใช้ตรวจวัดจากเครื่องวัด จะประมาณ 90/60-120/80 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิร่างกาย ค่าปกติจะประมาณ 37+/- 0.5 องศาเซลเซียส/Celsius

 

ผู้เขียน : ศ.เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์. “สัญญาณชีพ”. (ระบบออนไลน์).
แหล่งที่มา : http://haamor.com/th//สัญญาณชีพ/(15 กุมภาพันธ์ 2561)
ภาพประกอบจาก : www.pixabay.com


temp.jpg

ความดันโลหิต (Blood pressure) อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) อัตราการหายใจ (Respiratory rate) และอุณหภูมิของร่างกาย (Body temperature) ถือเป็น 4 สัญญาณชีพหลักของมนุษย์

 

อุณหภูมิร่างกายของผู้ใหญ่ปกติ วัดทางปาก คือ 37 +/- 0.5 องศาเซลเซียส เมื่อตัวร้อนขึ้นหมายถึง เราอาจมีไข้ และเมื่อตัวเย็นลง อาจเป็นอาการของความดันต่ำ หน้ามืด เป็นลมอ่อนเพลีย หรือขาดน้ำ แต่มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอุณหภูมิร่างกายอีกหลายข้อ ที่อาจเป็นประโยชน์ในยามฉุกเฉินได้

  • ร่างกายสามารถปรับอุณหภูมิเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ โดยจะร้อนขึ้นเมื่อออกกำลังกาย และเย็นลงในตอนกลางคืน หากวัดอุณหภูมิ จะพบว่าช่วงตื่นนอนอุณหภูมิจะต่ำกว่าช่วงบ่ายๆ เป็นต้น ถ้าคืนไหนหลับยาก ลองปรับอุณหภูมิให้เย็นขึ้น คุณอาจหลับได้ง่ายกว่าเดิม
  • อุณหภูมิร่างกายของเด็กทารกจะสูงกว่าผู้ใหญ่ เพราะทารกมีเหงื่อออกน้อยกว่า และทารกมักเป็นไข้บ่อยกว่าผู้ใหญ่
  • อาการไข้ คือ ภาวะที่อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ปกติไข้มักหายได้เองภายใน 2 – 3 วัน แต่หากไม่หาย อาจเป็นได้ว่ามีโรคอื่น ๆ ซ่อนอยู่ ผู้ใหญ่ที่มีไข้เกิน 39.4 องศาเซลเซียส ถือว่าอันตราย ควรไปพบแพทย์โดยด่วน แต่สำหรับทารกและเด็กเล็ก อุณหภูมิร่างกายสูงผิดปกติเพียงเล็กน้อย ควรรีบไปพบกุมารแพทย์ทันที
  • อย่างไรก็ตาม การเป็นไข้ต่ำ ๆ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกที่ดีว่าร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรค หมายถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กำลังทำงานเพื่อต่อต้านการอักเสบหรือติดเชื้อ
  • ยาหลายชนิดที่ซื้อได้ตามร้านขายยา อาจช่วยลดอาการไข้ลงได้  แต่ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อจะใช้กับเด็ก
  • อาการที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีไข้ มีดังต่อไปนี้ หนาวสั่น ปากแห้งอ่อนเพลีย ปวดศรีษะ ไม่อยากกินอาหาร ปวดกล้ามเนื้อ และเหงื่อแตก หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปเองใน 2 – 3 วันให้รีบไปพบแพทย์
  • เด็กที่อายุ 6 เดือนถึง 5 ขวบอาจเกิดอาการชักได้เมื่อมีไข้สูง ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายลงทันที และค้นหาสาเหตุของไข้เพื่อรักษาต่อไป
  • นอกจากความเจ็บป่วยแล้ว อุณหภูมิร่างกายของเราจะเปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นอาการไข้ของผู้สูงอายุ อาจเกิดได้แม้ในอุณหภูมิร่างกายที่ต่ำกว่าคนอายุน้อย
  • การกินอาหารเผ็ด ๆ เช่น พริกอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้ในขณะย่อยอาหาร
  • ในขณะสูบบุหรี่ อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น เพราะความร้อนจากบุหรี่ที่สูบเข้าไป ผลที่ตามมาคือปอดร้อนขึ้น ทำให้การทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
  • เมื่อเราโกหก อุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้น โดยเฉพาะส่วนจมูก  เรียกอาการนี้ว่า “Pinocchio effect”  สาเหตุเกิดจากความวิตกกังวลที่ซ่อนเร้นอยู่ จึงมีวิธีจับเท็จชนิดใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนของร่างกาย
  • อุณหภูมิร่างกายสามารถบ่งบอกเวลาเสียชีวิตได้ เมื่อเสียชีวิต อุณหภูมิร่างกายจะลดลงเรื่อย ๆ ในอัตราระดับหนึ่ง โดยแพทย์จะใช้หลักข้อนี้เพื่อประกอบการบ่งบอกเวลาเสียชีวิตด้วย

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอุณหภูมิร่างกายที่กล่าวมาคือข้อควรจำ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ได้ในยามคับขันเพื่อตัดสินใจเบื้องต้นว่าจะรีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลหรือไม่ เพื่อให้แพทย์ทำการรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนที่จะสายเกินไป

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.everydayhealth.com
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก