ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-เรื่องง่ายๆ-ประโยชน์มหาศาล-ทำเลย.jpg

มีคำกล่าวที่ว่า คนเราใช้เวลาทั้งชีวิตไปกับการหาเงิน และใช้เวลาในบั้นปลายเอาเงินที่หามาเพื่อรักษาตัว วันนี้เราจึงมาทบทวน ความสำคัญในการตรวจสุขภาพกันค่ะ

 

ทำไมต้องตรวจสุขภาพ

ต้องเข้าใจก่อนว่า ร่างกายของเรานั้น มีการเสื่อมไปทุก ๆ วันตามธรรมชาติอยู่แล้ว นอกจากนั้นการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์บางอย่าง ก็ทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น เสี่ยงต่อโรคหลาย ๆ โรคที่จะเป็นในอนาคต การตรวจสุขภาพจึงเป็นการตรวจหาความผิดปกติบางอย่าง ที่อาจเป็นสัญญาณของโรคที่ซ่อยอยู่ หรือภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต ซึ่งหากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ และปล่อยไว้นานเป็นแรมปี เมื่อถึงคราวที่โรคกำเริบ หรือแสดงอาการ ก็อาจมีความรุนแรงมาก มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการสูญเสีย

 

ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงทำเพื่อ

  • ค้นหาโรคที่ซ่อนอยู่ในตัว โดยที่ยังไม่มีอาการผิดปกติให้เห็น ตัวอย่างโรคดังกล่าว ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็งเต้านมในระยะแรก มะเร็งปากมดลูกในระยะแรก เป็นต้น ซึ่งตามหลักการรักษาแล้ว การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรก หรือระยะที่มีความรุนแรงน้อย จะรักษาโรคได้ทัน ไม่ลุกลาม ลดภาวะแทรกซ้อน บางโรคอาจรักษาให้หายขาดได้
  • หาปัจจัย หรือพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเจ้าตัวอาจไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา เช่น กรรมพันธุ์ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการ
    ออกกำลังกาย การมีอารมณ์เครียด ภาวะน้ำหนักเกิน หรือลงพุง สภาพแวดล้อม หรือการทำงานที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หรือความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ในตัว เช่น ความดันลูกตาสูง ซึ่งทำให้เกิดโรคต้อหิน ไวรัสตับอักเสบบีในเลือด ซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งตับ เมื่อพบว่ามีปัจจัย หรือพฤติกรรมเสี่ยงอะไร หมอที่ตรวจก็จะให้การดูแล และให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวป้องกันไม่ให้เกิดโรคตามมา ที่สำคัญผู้ที่มีภาวะเสี่ยงควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย

 

การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม เป็นอย่างไร

เป็นการตรวจสุขภาพตามหลักวิชาการโดยแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข เน้นการซักถามประวัติสุขภาพ และการตรวจร่างกายเป็นหลัก ส่วนการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจแล็บ จะทำเฉพาะในรายที่มีข้อมูลหลักฐานบ่งชี้แล้วว่า มีความจำเป็นเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อค้นหาโรคและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค และนำไปสู่การป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ และการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเสมอไป

 

ใครบ้างที่ควรรับการตรวจสุขภาพ

ทุกคน ทุกวัย ควรได้รับการตรวจสุขภาพ เริ่มง่าย ๆ ด้วยการตรวจสุขภาพเบื้องต้นซึ่งสามารถทำได้ที่บ้าน โดยใช้เครื่องมือบางประเภท เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัด เป็นต้น ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งการตรวจป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ตรวจสุขภาพเด็กและวัยรุ่น (อายุ 0 – 18 ปี) ตรวจสุขภาพวัยทำงาน (อายุ 18 – 60 ปี) ตรวจสุขภาพวัยผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และตรวจสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ แต่ละกลุ่มมีแนวทางการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข http://healthcheckup.in.th/article/8
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com 

 


.jpg

ตรวจสุขภาพสูงวัย ใส่ใจเรื่องนี้เลย

สำหรับผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร่างกายจะเริ่มเสื่อม ทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ไม่เหมือนเดิม พอร่างกายไม่สบาย จิตใจก็มีปัญหาตามมา ดังนั้น ควรใส่ใจการตรวจสุขภาพในเรื่องเหล่านี้เป็นพิเศษ

  • เรื่องตา ผู้สูงอายุประมาณ 10% จะมีโรคทางตา หรือความสามารถในการมองเห็นลดลงซ่อนอยู่ สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุด ได้แก่ โรคต้อหิน โรคต้อกระจก ภาวะประสาทจอรับภาพเสื่อม และภาวะสายตาสั้น หรือยาวผิดปกติ ซึ่งผู้สูงอายุที่มีต้อหิน ส่วนหนึ่งมักจะมาพบแพทย์ต่อเมื่อสายตามัวลงมากแล้ว จนไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้ ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกอาจป้องกันภาวะตาบอดได้
    ส่วนต้อกระจก ภาวะประสาทจอรับภาพเสื่อม และภาวะสายตาสั้น หรือยาวผิดปกตินั้น อาจทำได้คร่าว ๆ โดยการวัดสายตา ถ้าพบว่ามีความผิดปกติแพทย์ก็จะส่งตัวผู้ป่วยไปยังจักษุแพทย์ต่อไป
    ปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เช่น การเดิน การขับรถ การรับประทานอาหาร การหยิบยารับประทาน อุบัติเหตุพลัดตก หกล้ม เป็นต้น จึงควรแนะนำให้ผู้สูงอายุตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ โดยทีมจักษุแพทย์ อายุ 60 – 64 ปี ควรตรวจทุก 2 – 4 ปี และตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 1 – 2 ปี เพื่อคัดกรองหาความผิดปกติ สามารถวินิจฉัยได้เร็ว และทำการรักษาได้ทันท่วงที
  • เรื่องฟัน ผู้สูงอายุมากกว่า 50% มีโรคเกี่ยวกับเหงือกและฟันที่ซ้อนอยู่ โรคที่พบบ่อย ได้แก่ ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมะเร็งในช่องปาก และปัญหาหลักในผู้สูงอายุยังคงเป็นการสูญเสียฟัน ผู้สูงอายุ 60 – 74 ปี ร้อยละ 3 มีการสูญเสียฟันบางส่วน และร้อยละ 7.2 สูญเสียฟันทั้งปาก และการสูญเสียฟันยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามอายุ จนเมื่ออายุ 80 – 89 ปี พบสูญเสียฟันทั้งปากสูงถึงร้อยละ 32.2
    ดังนั้น การตรวจคัดกรอง หรือรับบริการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นในการลดการเกิดโรค และการสูญเสียฟัน ผู้สูงอายุจึงควรไปตรวจสุขภาพช่องปากและฟันจากทันตแพทย์ หรือทันตาภิบาลเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
  • แบบประเมินสุขภาพ
    • กระดูกพรุน เป็นโรคที่พบมากที่สุดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี พบในเพศหญิง ร้อยละ 33 และเพศชาย ร้อยละ 20 โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบ หากจะเปรียบกับโรคความดันโลหิตสูงซึ่งจะมาพบแพทย์ก็เมื่อเกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือตีบตันไปแล้ว ในขณะที่โรคกระดูกพรุนจะมาพบแพทย์เมื่อเกิดภาวะกระดูกหัก
      กล่าวคือ โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาได้ แต่เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีอาการ หรือสัญญาณใด ๆ บอกเตือนก่อน ผู้ป่วยจึงไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาในช่วงแรก ๆ ของการดำเนินโรค จนกระทั่งเกิดภาวะกระดูกหักตามมา
      และปัจจุบันในการตรวจสุขภาพสามารถประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน โดยใช้แบบประเมิน OSTA (Osteoporosis Self-assessment Tool for Asians) index เมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป
    • โรคซึมเศร้า พบได้บ่อยมากในประชากรทั่วไป และพบว่าโรคซึมเศร้ามีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำมากกว่าร้อยละ 1 โรคซึมเศร้าพบได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากในผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการสูญเสียหลายด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นวัยที่ต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิตอย่างมาก
      ลักษณะอาการของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า พบได้ทั้งอาการในระยะเฉียบพลัน หรือรุนแรง โดยผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางอารมณ์ มีอาการซึมเศร้า หรือความรู้สึกเบื่อ หมดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ร่วมกับอาการสำคัญอื่น ๆ เช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ รู้สึกไร้ค่า และมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง ซึ่งบางรายมีภาวะซึมเศร้ารุนแรงจนถึงขั้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า ดังนั้น ในการตรวจสุขภาพจึงมีการประเมินภาวะซึมเศร้าด้วย แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด 2 คำถาม (Two-questions-screening test for depression disorders)
    • ภาวะสมองเสื่อม ไม่ได้เป็นโรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของสมองที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ พบมากในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 70% ของผู้ป่วยสมองเสื่อม มีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์ รองลงมา คือ โรคหลอดเลือดสมอง พร้อมแนะนำวิธีเลี่ยงสมองเสื่อมด้วยการดูแลควบคุมภาวะความดันโลหิต เบาหวาน ไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา หลีกเลี่ยงสารเสพติด และทำกิจกรรมที่มีการฝึกสมองสม่ำเสมอ และไม่เคร่งเครียดเกินไป
      จากการสำรวจความชุกของภาวะสมองเสื่อมในประชากรทั่วโลก พบว่า คนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม 5 – 8% ส่วนคนที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นโรสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเป็น 20% และผู้ที่มีอายุมากเกิน 90 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้นถึง 50% ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีโอกาสเป็นภาวะสมองเสื่อมมากกว่าเพศชาย ดังนั้น เมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป ควรประเมินด้วยแบบการประเมินสมรรภภาพสมองด้วยเครื่องมือ แบบ modified IQCODE (Informant Questionnaire on Cognitive Decline in the Elderly) เป็นแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น
    • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ภาวะซีด (anemia) เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทั้งในชุมชนและโรงพยาบาล อีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ประเทศไทยพบผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดอยู่ระหว่างร้อยละ 5 – 62.61 ภาวะซีดจากการขาดสารอาหารพบมากที่สุด คือ การขาดธาตุเหล็ก รองลงมา คือ การขาดโฟเลต และวิตามินบี 12 ซึ่งโฟเลต และวิตามินบี 12 เป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการดูดซึมธาตุเหล็ก
      นอกจากนี้ ผู้สูงอายุอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและการดูดซึม กล่าวคือ ต้องใช้ฟันปลอมในการบดเคี้ยวอาหาร มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเหงือก ทำให้รับประทานอาหารไม่สะดวก รับประทานอาหารได้น้อยลงในกลุ่มผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 60.7)
      โดยในผู้สูงอายุชายและหญิงมีความชุกใกล้เคียงกัน โดยในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 94.6 ที่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัย ดังนั้น เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ควรตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ทุกปี เพื่อคัดกรองภาวะซีด

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  http://healthcheckup.in.th/article/7
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com  

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก