ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

.jpg

วิตามินธรรมชาติ ลดอาการเจ็บคอ นั้นโดยทั่วไป อาการเจ็บคอ (sore throat) อาจเกิดจากอาการของโรคภูมิแพ้ อาการทอนซิลอักเสบ การสัมผัสกับอากาศแห้งจัด รวมทั้งการสูดควันพิษ ซึ่งภายในลำคอจะเป็นสีแดงเรื่อ ทำให้รู้สึกระคายเคือง หรือสากคอ นอกจากนี้ อาการเจ็บคออาจทำให้ลำคออักเสบ โดยเริ่มจากด้านหลังของปาก ไปจนถึงหลอดอาหาร และอาจเป็นอาการแสดงเริ่มแรกของไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง ทั้งเสมหะ และน้ำลาย ซึ่งอาการเจ็บคอที่พบส่วนใหญ่มีสาเหตุดังนี้

 

  1. การติดเชื้อไวรัส คือ สาเหตุหลักที่ทำให้คนเป็นไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บคอมากที่สุด โดยปกติถ้าร่างกายสร้างภูมิต้านทานได้ ก็จะหายเป็นหวัดเองภายในหนึ่งสัปดาห์ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และน้ำมูกไหล นอกจากนี้ อาการเจ็บคออาจเกิดจากโรคปอดบวม จากเชื้อไวรัส หรือ โมโนนิวคลีโอซิส
  2. การติดเชื้อแบคทีเรีย พบน้อยกว่าการติดเชื้อไวรัส แต่อาการอาจรุนแรงกว่ามาก ส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 2-7 วัน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 5-25 ปี จะติดเชื้อกันง่าย ทั้งทางน้ำมูก และเสมหะ นอกจากนี้ ยังติดต่อทางอาหาร นม และน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส ซึ่งถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงที เชื้อโรคอาจลุกลามไปทำลายหัวใจและไตอย่างถาวร

บางคนที่มีอาการเจ็บคอ จนฝากล่องเสียงอักเสบ ช่องคอจะบวมมาก จนปิดทางเดินหายใจควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจติดเชื้อสเตร็ปโทรต และเมื่อมีอาการติดเชื้อซ้ำบ่อยๆ จนเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ เป็นไข้รูมาติกได้

 

ปรับตัวเพื่อลดเจ็บคอ

  1. ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิม 2 เท่า น้ำจะช่วยให้เสมหะเหนียวน้อยลง และขับออกง่ายขึ้น
  2. ปรับสภาพอากาศให้ชื้นขึ้นเล็กน้อย เช่น หาอ่างใส่น้ำมาวางบริเวณที่ร้อน หรือปลูกต้นไม้ในบ้าน เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศที่แห้ง จะช่วยให้เยื่อเมือกในช่องคอไม่แห้ง (เมื่อช่องคอแห้ง จะทำให้ระคายคอ และนอนไม่หลับ)
  3. หลีกเลี่ยงควันและมลพิษต่างๆ งดสูบบุหรี่ รวมทั้งสารระเหยจากน้ำยาทำความสะอาดในบ้าน หรือสีทาบ้าน เพราะจะยิ่งทำให้เจ็บคอมากขึ้น
  4. หลีกเลี่ยงอาหารก่อพิษ เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ อาหารที่มีน้ำตาลสูงจำพวกเค้ก ขนมหวาน เพราะจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบ และโรคติดเชื้ออื่น ๆ อันเป็นสาเหตุของการเจ็บคอ
  5. ใช้เสียงให้น้อยลง เมื่ออาการเจ็บคอลุกลาม จนทำให้กล่องเสียงอักเสบ จนทำให้ระคายคอมากเวลาพูด หรือเสียงหายไปชั่วขณะ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และให้ความอบอุ่นกับร่างกายเยอะๆ

 

วิตามินธรรมชาติแก้อาการเจ็บคอ

  1. เบต้าแคโรทีนมีมากในแครอท ฟักทอง ตำลึง แค กระเพา ขี้เหล็ก ผักเซียงดา ยอดฟักขาว ผักติ้ว และผักแต้ว เมื่อสารเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยทำให้เนื้อเยื่อของเมือกบุในลำคอ และทางเดินหายใจที่ต้องผลิตน้ำย่อยบ่อย ๆ มีความแข็งแรง
  2. วิตามินดีจาก ปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาสวาย ปลาดุก ปลาช่อน ปลาจะละเม็ด ปลาซาบะปลาซาดีน ปลาแซลมอน และปลาทะเล เพราะวิตามินดีจากไขมันปลา จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อในลำคอ
  3. วิตามินอีมี มากในผลอะโวคาโด และอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีวิตามินอีที่ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ที่ถูกเชื้อโรคทำลายให้แข็งแรง
  4. วิตามินบีโดย เฉพาะอาหารที่มีส่วน ผสมของ เชื้ออะซิโดฟิลัส (acidophilus) เช่น โยเกิร์ต เพราะจะช่วยทดแทนแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินบีบางชนิด ที่ถูกยาปฏิชีวนะทำลายไป

 

ยาแก้เจ็บคอจากก้นครัว

  1. เกลือ เกลือที่เราใช้ปรุงอาหารเป็นยาแก้เจ็บคอได้เป็นอย่างดี โดยผสมเกลือ 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 1 แก้ว ใช้อมกลั้วคอ หรือทำเป็นน้ำยาบ้วนปาก วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
  2. น้ำอุ่น ผสมน้ำอุ่น 1 แก้วกับน้ำมะนาว หรือน้ำส้มไซเดอร์แอปเปิ้ล 1 ช้อนชา ใช้กลั้วคอ วันละ 2-3 ครั้ง ส่วนผสมดังกล่าวมีฤทธิ์เป็นกรด ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

 

ผลไม้รสเปรี้ยวบรรเทาเจ็บคอ

อย่ามองข้ามผลไม้รสเปรี้ยวนะคะ เพราะกรดซีตริก (citric) ในรสเปรี้ยวมีสรรพคุณช่วยลดอาการเจ็บคอได้ดี และวิตามินซีจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย และช่วยลดระยะเวลาในการเป็นหวัดให้สั้นลง ซึ่งผลไม้รสเปรี้ยวทีเราแนะนำมีดังนี้

  • มะขามป้อม ใช้เนื้อผลแก่สดประมาณ 2-3 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อมหรือเคี้ยววันละ 3-4 ครั้ง วิตามินซี และรสเปรี้ยวอมฝาดในมะขามป้อม จะช่วยแก้หวัด ทำให้คอชุ่มชื่น แก้อาการคอแห้ง และแก้อาการเจ็บคอ
  • มะนาว ใช้ผลสดคั้นเอาแต่น้ำ แทรกเกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือ ใช้มะนาวครึ่งลูกบีบใส่น้ำอุ่นครึ่งแก้ว แล้วผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา วิตามินซี และรสเปรี้ยวของมะนาวจะช่วยขับน้ำลาย ลดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุผิวภายในลำคอ ส่วนน้ำผึ้งมีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ
  • มะขาม ใช้เนื้อในฝักแก่ของมะขามเปรี้ยว หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือกินพอสมควร หรือจะคั้นเป็นน้ำมะขามแทรกเกลือเล็กน้อย และใช้จิบบ่อยๆ ก็ได้ เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยว ช่วยขับเสมหะ ทำให้คอชุ่มชื่น และแก้อาการเจ็บคอ
  • น้ำส้ม นำผลส้มประมาณ 3 ผล ล้างให้สะอาด คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่น 1/2 ช้อนชา จิบบ่อยๆเมื่อมีอาการ รสเปรี้ยวของส้มมีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ
  • เสาวรส นำเสาวรสสุกประมาณ 2-3 ผล ล้างให้สะอาด ผ่าครึ่ง ใช้ช้อนตักเมล็ดและส่วนที่เป็นน้ำสีส้มออกจากเนื้อผล คั้นกรองด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบาง เพื่อแยกเอาเมล็ดและเส้นใยออก เติมน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ชิมรสตามใจชอบ จิบเมื่อมีอาการ รสเปรี้ยวของเสาวรสมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ

 

บำบัดด้วยน้ำมันหอม

ใช้น้ำมันกลิ่นยูคาลิปตัส เจอราเนียม ลาเวนเดอร์ และเสจอย่างใดอย่างหนึ่ง ทาบริเวณผิวหนัง ตั้งแต่ใต้คางไปสุดลำคอ หรือสูดดมไอระเหย โดยการหยดลงไปในเครื่องทำไอน้ำ หรืออ่างอาบน้ำ จะช่วยลดอาการเจ็บคอได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 193.(2009).วิตามินธรรมชาติ ลดอาการเจ็บคอ.25 มีนาคม 2558.
แหล่งที่มา: www.cheewajit.com
ภาพประกอบจาก: www.bloggang.com


-อันตรายต่อมนุษย์-อย่างไร.jpg

“ไวรัส” คืออะไร ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร

ไวรัส (Virus) เป็นเชื้อก่อโรคขนาดเล็กมาก ต้องขยายนับแสนเท่าจึงจะมองเห็น มีโครงสร้างหลักเพียงสายพันธุกรรม DNA หรือ RNA หุ้มด้วยโปรตีน ลักษณะสำคัญคือ ไวรัสไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง การมีชีวิตและเพิ่มจำนวนของไวรัส จะเป็นลักษณะของการรุกรานเข้าไปภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น แล้วควบคุม ปรับเปลี่ยนกลไกต่าง ๆ ให้เซลล์นั้น ทำหน้าที่ช่วยให้ไวรัสแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแบบทวีคูณ ต่อมาเซลล์ดังกล่าวค่อย ๆ ตายลง ไวรัสจะเคลื่อนย้ายเข้าไปยึดครองเซลล์ที่อยู่ข้างเคียง ถ้าเซลล์ของอวัยวะนั้น ๆ ถูกทำลายไปจำนวนมาก จากเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส รวมทั้งปฏิกิริยาหรือภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิตที่ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อด้วย จะก่อให้เกิดโรคขึ้น

สำหรับเชื้อก่อโรคชนิดอื่น ๆ นอกจากไวรัส ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว พยาธิ เป็นต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งเซลล์ในการแบ่งตัวแบบไวรัส

“ไวรัส” เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้อย่างไร ทำให้เกิดโรคอะไรบ้าง

ไวรัสเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางผิวหนังและเยื่อบุ ทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไวรัสจะเข้าไปในเซลล์ได้ต้องอาศัย “กุญแจจำเพาะที่จะไขเปิดประตูแต่ละบาน” ของเซลล์ได้  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไวรัสแต่ละแบบ แต่ละสายพันธุ์ ส่งผลให้ไวรัสเจริญเติบโตได้ดีในอวัยวะที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดการก่อโรคในอวัยวะหรือในระบบที่แตกต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น ไวรัสในโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก โรคซาร์ส (SARS) และโรคเมอร์ส (MERS) เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ไวรัสยังทำให้เกิดกาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เลือดออก โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส โรคพิษสุนัขบ้า ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

 

โรคติดเชื้อไวรัสรักษาอย่างไร เหมือนหรือต่างจากโรคติดเชื้ออื่น ๆ หรือไม่

จากข้อก่อนหน้า ไวรัสจะรุกราน อาศัยและเพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น คล้ายกับเป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเอง จึงเป็นการยากในการค้นคว้าหายาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโดยไม่กระทบเซลล์ปกติ ขณะเดียวกันไวรัสชนิด RNA ยังกลายพันธุ์เก่งเพื่อเอาตัวรอดจากยาได้ดีอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การก่อโรคของไวรัสหลายชนิดค่อนข้างช้า จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตื่นตัวและสร้างแอนติบอดีและภูมิคุ้มกันชนิดต่าง ๆ มาทำลายเชื้อและเซลล์ติดเชื้อ ทำให้โรคติดเชื้อไวรัสส่วนใหญ่หายได้เอง

การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสในปัจจุบัน จึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการในโรคที่หายได้เอง เช่น การให้ยาลดไข้ ลดน้ำมูก ลดการไอ ลดการอักเสบ เป็นต้น ส่วนการใช้ยาต้านเชื้อไวรัส ซึ่งมีใช้อยู่ในบางโรคที่ก่อโรครุนแรง เช่น ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ยาต้านไวรัสเอดส์ ยาต้านไวรัสตับอักเสบ B และ C ยาต้านไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการทำลายเชื้อหรือยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อในเซลล์  ทำให้เชื้อลดจำนวนลงและหายจากโรคได้ ทั้งนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา จะช่วยกำจัดเชื้อไวรัสที่รุกรานร่างกายโดยตรงได้ด้วย  แต่เชื้อไวรัสบางชนิดก็ยังกบดานหลบซ่อนอยู่ในเซลล์ได้ เช่น ไวรัสเอดส์ ไวรัสตับอักเสบ ไวรัสเริ่ม เป็นต้น ทำให้เชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นมาก่อโรคได้อีกเมื่อไม่ได้กินยาต้านไวรัส

 

ภูมิคุ้มกันของร่างกายคืออะไร ทำไมถึงจัดการกับไวรัสได้

ระบบภูมิคุ้มกันเป็นหนึ่งในระบบหลัก ๆ ของร่างกาย ทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดไม่ให้สิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดโรค ประกอบด้วย 2 ระบบย่อยทำงานประสานกันคือ ระบบภูมิคุ้มกันทั่วไปและภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ โดยการกำจัดไวรัสแบบจำเพาะนั้น ร่างกายต้องใช้เวลาระหว่าง 1 – 7 วัน เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเร่งผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) เพื่อสร้างแอนติบอดี ที่มีความสามารถในการเข้ากำจัดเชื้อไวรัสชนิดที่รุกรานเซลล์โดยตรง และมีการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์เพื่อไปทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ รวมทั้งการสร้างเซลล์ความจำให้จำไวรัสได้และพร้อมที่จะผลิตภูมิคุ้มกันชนิดต่าง ๆ ออกมาต่อต้านเชื้อไวรัสตัวเดิมเมื่อถูกรุกรานอีก อย่างไรก็ตาม การสร้างภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะจะทำได้ดีและมีประสิทธิภาพเมื่อร่างกายของผู้รับเชื้อมีความแข็งแรงเพียงพอด้วย

 

วัคซีนต้านไวรัส (Antiviral vaccines) สำคัญและมีบทบาทอย่างไรในการป้องกันโรคจากไวรัส

จากการที่ภูมิต้านทานของร่างกายแบบจำเพาะ ต้องรอให้ไวรัสรุกราน และอาศัยระยะเวลาหนึ่ง ถึงจะทำการสร้างภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับที่จัดการกับเชื้อไวรัสได้ ในระหว่างนั้นผู้ติดเชื้ออาจเสี่ยงหรือเป็นโรคไปแล้ว

วัคซีนจึงเข้ามามีบทบาทในการทำหน้าที่ เสมือนไวรัสเทียมที่รุกรานเข้ามาในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายคุ้นเคยกับเชื้อไวรัสหรือตำแหน่งตรงผิวไวรัสที่เป็น “กุญแจจำเพาะ” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจงต่อตำแหน่งที่ผิวไวรัสชนิดนั้น ๆ ขึ้นมา ก่อนที่ร่างกายจะติดเชื้อจริง เมื่อมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันหรือการฉีดครบโดส ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่รุกรานจะขึ้นสูงพอที่จะต่อสู้กับไวรัสตัวจริงที่อาจรุกรานร่างกายในอนาคต

ทั้งนี้วัคซีนบางชนิด อาจมีการแนะนำให้ฉีดทุกปี เพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกันให้สูงพอ และเพื่อให้มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อที่ระบาดในปีนั้น ๆ

 

ยาต้านไวรัส (Antiviral drugs) มีบทบาทอย่างไร

ปัจจุบันยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรงเป็นยาที่ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสทั้งในเซลล์และห้ามเชื้อมิให้หลุดออกมาจากเซลล์หรือเข้าไปในเซลล์ได้ใหม่ ยาต้านไวรัสชนิดต่าง ๆ จึงถูกพัฒนาเพื่อควบคุมการเพิ่มจำนวนของไวรัสในร่างกาย ทำให้อวัยวะที่ติดเชื้อไม่ถูกทำลายต่อไปและหยุดยั้งการดำเนินโรคหรือปฏิกิริยาที่รุนแรงมากกว่าปกติจากภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านการติดเชื้อ ทำให้มีเวลาเพียงพอที่จะสร้างภูมิต้านทานแบบจำเพาะต่อไวรัสที่รุกรานและโรคไม่กำเริบได้ การมียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูงจะเป็นอีกทางเลือกในการที่แพทย์จะนำมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากไวรัส และป้องกันการติดเชื้อในคนปกติ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสได้
.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : 
ศ.เกียรติคุณ นพ. อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

 

 


-2019-เรื่องต้องรู้-หากจะรับมือให้ได้.jpg

ไวรัสโคโรน่า และไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2019 มีที่มาที่ไป การแพร่ระบาด และการเข้าสู่ร่างกายอย่างไร 

ไวรัสโคโรนา (Coronavirus, CoV) เป็นไวรัสที่ก่อโรคทั้งในสัตว์และคน โดยในคนมักทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ ความรุนแรงแตกต่างตามสายพันธุ์ ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคปอดติดเชื้อ และอักเสบรุนแรงจนเสียชีวิต เช่น โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) ที่มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 600 คน โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) ที่มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 900 คน

ไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus disease 2019, COVID-19) ที่กำลังระบาดและก่อให้เกิดโรคโควิด 19 คาดกันว่า มีศูนย์กลางการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาลุกลามไปยังประเทศต่าง ๆ กลายเป็นโรคระบาดไปทั่วโลกข้อมูลจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อสะสมประมาณ 164 ล้านราย ผู้เสียชีวิต 3.4 ล้านราย (วิกิพีเดีย 18/5/2021)

ปัจจุบันพบเชื้อไวรัสโควิด 19 แพร่ติดต่อในลักษณะหยดละออง (droplet) จากการพูด ตะโกน ไอ จามของผู้ติดเชื้อ เข้าสู่ร่างกายผู้ใกล้ชิดในระยะ 1 – 2 เมตร และละอองฝอย (aerosol) ลอยในอากาศไปได้ไกล 8 – 10 เมตร ในสถานที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ผ่านทางจมูก ทางเดินหายใจ ลงปอด และการสัมผัสสารคัดหลั่งจากหยดละอองที่ติดตามพื้นผิวสัมผัสในบริเวณใกล้เคียง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู สิ่งของที่ใช้ร่วมกัน โดยผู้สัมผัสนำมาแคะจมูก ขยี้ตา ซึ่งเป็นบริเวณที่เนื้อเยื่ออ่อน ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้

 

เมื่อเชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าไปสู่ร่างกายแล้ว มีการดำเนินของโรคอย่างไร แพร่เชื้อได้ตอนไหน เมื่อไรจะหาย

เชื้อไวรัสโควิด 19 หลังจากเข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาในการเพิ่มจำนวนขึ้นมาระดับหนึ่ง เรียก ระยะฟักตัว ระหว่าง 2 – 14 วัน  โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5 วัน แล้วจึงเริ่มมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไข้ ไอ จาม น้ำมูก ต่อมาเชื้ออาจลุกลามเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างที่เรียกว่า “โควิดลงปอด” จะมีอาการไอถี่ หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงเสมหะในปอด เสมหะมีเลือดปน ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนหน้าวันมีอาการ ระหว่าง 1 – 3 วัน ดังนั้น หากผู้ติดเชื้อมีอาการ 10 วัน ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้ใกล้ชิดได้มากกว่า 10 วัน

สำหรับระยะเวลาการรักษาตัว ผู้ที่ภูมิต้านทางแข็งแรง และมีอาการน้อย ร่างกายจะกำจัดเชื้อหรือหายได้เองประมาณ 2 สัปดาห์ กรณีที่เชื้อลงปอดและมีอาการรุนแรง ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8 สัปดาห์ กรณีอาการรุนแรงมาก ต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องไอซียู ต้องใช้เวลานานเป็นหลาย ๆ เดือนในการรักษาให้หายกลับมา

 

จะรู้แน่ ๆ ได้อย่างไรว่า เชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าสู่ร่างกายแล้ว

การตรวจหาเชื้อโควิด หากตรวจเจอหรือผลตรวจเป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อจริง หากตรวจไม่เจอหรือผลตรวจเป็นลบแสดงว่า ตรวจไม่พบเชื้อ ต้องมีการตรวจซ้ำหลังจากตรวจครั้งแรก 5 – 7 วัน เนื่องจากมีบางสาเหตุที่อาจทำให้ตรวจไม่เจอเชื้อ เช่น เพิ่งรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ตำแหน่งที่เก็บเชื้อ เชื้ออยู่ในระยะฟักตัว เป็นต้น

 

เชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าสู่ร่างกายแล้ว มีอาการอย่างไร อาการรุนแรงมากน้อยอย่างไร

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ทั่วโลก 80% ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย 20%  มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล (WHO, Q&A on COVID-19) 5% อาการรุนแรงมาก ต้องรักษาห้อง ICU และ 2.0% เสียชีวิต โดยอาการที่พบส่วนใหญ่จะเป็น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และอาจหายได้เอง ในรายที่ไม่หายจะมีอาการ “โควิดลงปอด” เช่น หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ในรายที่เป็นรุนแรงหรือรุนแรงมาก จะมีอาการปอดอักเสบ ระบบหายใจล้มเหลว อาจมีภาวะแทรกซ้อน จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ไม่มีอาการใด ๆ เลยและหายได้เอง สามารถแพร่เชื้อได้ไหม

ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ไม่มีอาการใด ๆ ทั้งก่อนและหลังการตรวจพบเชื้อ สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้ใกล้ชิดได้ เช่นเดียวกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่มีอาการ เรื่องนี้สำคัญมากเนื่องจากอาจมีคนจำนวนมากที่ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการ ยังไม่ได้กักตัว (Quarantine) ยังไม่ได้ตรวจหาเชื้อ ยังไม่ได้แยกตัว (Isolation) โดยใช้ชีวิตปกติ และแพร่เชื้อไปยังผู้ใกล้ชิดจำนวนมาก

ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และเสียชีวิต ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มไหน

ผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ/หรือมีโรคประจำตัวหลัก ๆ คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคอ้วน โรคมะเร็ง
.

การรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ทำอย่างไร

การรักษาโรคติดเชื้อโควิด 19 หลัก ๆ จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อฟื้นฟูอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สร้างภูมิต้านทานขึ้นมากำจัดเชื้อได้ทันเวลา ในเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

หากตรวจพบผู้ติดเชื้อจะมีมาตรการแยกตัว (Isolation) ไปรพ.สนามหรือ Hospitel

  • กรณีที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จะมีการสังเกตอาการ วัดอุณหภูมิ วัดความดัน ให้ยาบรรเทาอาการในบางราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 14 วัน
  • กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น จะถูกส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาล แพทย์จะพิจารณาให้ยาและรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ยาต้านการอักเสบคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) การเอกซเรย์ปอด การวัดค่าออกซิเจนในเลือด เป็นต้น
  • หากรุนแรงกว่านั้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาและสารน้ำทางหลอดเลือด ให้ออกซิเจน ให้การรักษาด้านอื่น ๆ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน รวมทั้งพิจารณาย้ายผู้ป่วยเข้าห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) ในกรณีอาการยังไม่ดีขึ้น

 

ไวรัสโควิด 19 มีสายพันธุ์ย่อยหรือมีการกลายพันธุ์ไหม มีผลต่อการรักษาอย่างไร

ปัจจุบันพบไวรัสโควิด 19 หลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ S และ L เริ่มที่จีน โดยสายพันธุ์ S มาระบาดรอบแรกในไทย สายพันธุ์ L ระบาดในยุโรป แล้วพัฒนาเป็นสายพันธุ์ G และ V โดยสายพันธุ์ G แพร่ระบาดไปทั่วโลก และพัฒนาเป็น GH และ GR พบสายพันธุ์ G (GH) มาระบาดที่ประเทศไทยด้วย ส่วนที่ยุโรปจะเป็น สายพันธุ์ GR เป็นส่วนใหญ่ โดยมีที่กลายพันธุ์ คือ B.1.1.7(GR,G) พบที่อังกฤษ สายพันธุ์ B.1.351(GH,G) พบที่แอฟริกาใต้ สายพันธุ์ P.1(GR) พบที่บราซิล สายพันธุ์ B.1.617.2 พบที่อินเดีย ทั้งนี้บางสายพันธุ์ แพร่ได้เร็วกว่าสายพันธ์ุอื่น ส่งผลให้ควบคุมได้ยาก บางสายพันธุ์เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วลุกลามได้เร็ว อาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ง่าย ทำให้แพทย์ต้องติดตามการรักษาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีโอกาสที่ผู้ป่วยอาจติดเชื้อคนละสายพันธุ์ (ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ)

 

กรณีติดเชื้อแล้วหายเป็นปกติแล้ว ร่างกายโดยเฉพาะการทำงานของปอดจะเหมือนเดิมไหม

ผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ และอาการน้อย น่าจะหายได้โดยไม่มีผลในระยะยาว ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีแนวโน้มที่ปอดจะเสียหาย หากดูจากโรคซาร์ส (SARS) โรคเมอร์ส (MERS) และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีอาการรุนแรง อาจต้องมีการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย (ECMO) และอาจจะต้องใช้เวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี ๆ ในการฟื้นสภาพการทำงานของปอดให้กลับมาใกล้เคียงปกติอีกครั้ง

สามารถอ่านอัพเดทสถานการณ์ โรคโควิด 19 ได้ที่ www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : นพ. มนูญ ลีเชวงวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-19.jpg

โรคโควิด 19 : แนวทางจัดการ

โรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อ ที่มีแนวทางการจัดการเน้นที่ 1) การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่ม โดยลดการสัมผัสเชื้อ หรือหากสัมผัสแล้วมีภูมิต้านทานที่จะลดการเจ็บป่วย และ 2) การควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด

การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เพิ่ม มี 2 ข้อหลัก คือ

  • การลดการสัมผัสเชื้อ โดยสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับบุคคลอื่น การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ การเว้นระยะห่างกับผู้อื่น และมีมาตรการทางสังคมเพิ่มเติมตามสถานการณ์ เช่น ห้ามรวมกลุ่ม ห้ามเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ทำงานจากที่บ้าน เป็นต้น
    .
    .
  • การฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (SARS-CoV-2) โดยฉีดวัคซีน การฉีดตั้งแต่ 70% ขึ้นไป ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) เป็นประโยชน์กับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดอีกด้วย
    .

การควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยตรวจคัดกรองแยก ผู้ติดเชื้อ ผู้เสี่ยงติดเชื้อสูง ผู้เสี่ยงติดเชื้อต่ำ แล้วมีมาตรการรองรับแต่ละกลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิดสูง ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด ถ้าพบว่าติดเชื้อต้องแยกตัว (Isolation) และรับการรักษาที่เหมาะสม โดยผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักต้อง ไปยังโรงพยาบาล ในห้องที่มีการควบคุมการระบาด ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง จะถูกส่งไปโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ซึ่งมีระบบดูแลป้องกันการแพร่ของเชื้อ
    .
    สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจเชื้อโควิด ได้แก่ 1) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด 2) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และอาการหนักขึ้น เช่น เหนื่อยหอบ หายใจไม่เต็มอิ่ม โดยไม่จำเป็นต้องมีปัจจัยเสี่ยง 3) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีอายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว
    .
    .
    ทั้งนี้ผู้ที่เข้ารับการตรวจ ก่อน/ระหว่างรอผล/หลังทราบผลเป็นลบ ต้องใช้มาตรการกักตัวเช่นเดียวกับกลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อ โดยผลการตรวจเป็นลบหมายถึง ตรวจไม่พบเชื้อยังคงต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน และอาจต้องมีการตรวจซ้ำ
    .
    ปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่ควรพิจารณารับการตรวจ เมื่อ
    .การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย จนถึงขั้นเสี่ยงสูง ต้องไปตรวจโควิดทันที มีเกณฑ์ดังนี้

      • เจอกับผู้ติดเชื้อโดยตรง ในพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท เกิน 15 นาที
      • เจอและพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ในระยะไม่เกิน 1 เมตร นานมากกว่า 5 นาที
      • อยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อในระยะไม่เกิน 1 เมตร โดยต่างคนต่างไม่ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
      • ไอ หรือจามใส่กัน โดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ
      • รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มจากภาชนะเดียวกัน อุปกรณ์รับประทานอาหารชิ้นเดียวกัน
      • อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ติดเชื้อ หรืออยู่ในสถานที่เดียวกันกับที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

การเดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาดพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ระบาด การเคลื่อนย้ายต้องมีการกักตัวสามารถติดตามได้จาก คลิก www.moicovid.com.

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด ต้องเฝ้าระวังโดยวิธีการกักตัว (Quarantine) เพื่อสังเกตอาการเป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งสามารถกักตัวได้ที่บ้าน (Home Quarantine) หรือสถานที่กักตัวทางเลือกอื่น หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ต้องพบแพทย์และรับการตรวจเชื้อโควิดทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องกักตัว ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด
    .
  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อต่ำ ใช้วิธีสังเกตอาการ โดยหากอาการไม่หายภายใน 3 – 4 วัน หรืออาการรุนแรงขึ้นต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องสังเกตอาการ ได้แก่ ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด.

หมายเหตุ เป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นเท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม เบอร์ 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1668 กรมการแพทย์ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-19-ต้องทำอย่างไรบ้าง.jpg

เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในละอองฝอย และตามพื้นผิววัสดุต่าง ๆ  สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก ปาก ตา ช่องทางหลักที่เชื้อเข้าสู่ปอด วิธีการป้องกันมีดังนี้

 

การลดการสัมผัสเชื้อโดยเคร่งครัด 3 ประการ คือ

  • สวมหน้ากากอนามัย
    เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำลาย น้ำมูก เสมหะจากการไอ จาม ของผู้สวมใส่แพร่กระจายสู่อากาศภายนอก ทำให้ผู้ใกล้ชิดติดเชื้อได้ และช่วยป้องกันไม่ให้ละอองฝอยจากผู้ที่ไอหรือจามเข้าสู่ร่างกายผู้สวมใส่ด้วย โดยเลือกประเภทหน้ากากอนามัย การใส่ ทำความสะอาดและทิ้งอย่างถูกต้อง

    .
    สวมหน้ากากอนามัย.
    ประเภทหน้ากากอนามัยที่เหมาะสม

    • กรณีมีอาการทางเดินหายใจ ให้ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่มีชั้นกรองตรงกลางเท่านั้น และควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน มีข้อมูลว่าการสวมหน้ากากอนามัย แล้วสวมทับด้วยหน้ากากผ้า ทำให้การป้องกันดียิ่งขึ้น
    • กรณีไม่มีอาการ เลือกใช้หน้ากากที่สามารถป้องกันละอองฝอยทะลุผ่านได้ เช่น หน้ากากอนามัยทั่วไป หน้ากากอนามัยกันฝุ่น กันกลิ่น หน้ากากผ้า เป็นต้น สำหรับหน้ากากผ้าต้องซักทุกวัน ด้วยน้ำอุณหภูมิสูง 60 – 80 องศา ตากแดดจัดก่อนนำมาใช้ใหม่
  • หลักการสวมใส่: ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่ ใส่และถอดโดยจับที่สายคล้อง คล้องสายที่หูโดยไม่จับที่ตัวหน้ากาก ระหว่างการใช้งานไม่จับที่ตัวหน้ากากเช่นเดียวกัน
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ
    หากมีเชื้อโควิดที่มือ เชื้อสามารถผ่านเข้าร่างกายจากการแคะจมูก ขยี้ตา หยิบอาหารด้วยมือเปล่า เป็นต้น
    • วิธีการล้างมือให้ถูกต้อง ให้ใช้น้ำสะอาด ล้างโดยฟอกด้วยสบู่หรือแชมพูล้างมือ (ไม่จำเป็นต้องผสมสารฆ่าเชื้อ) จนขึ้นฟอง ไม่ต่ำกว่า 20 วินาที โดยถูให้ทั่วทั้งหน้าและหลังมือ รวมถึงซอกนิ้ว ซอกเล็บต่าง ๆ ก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด
      .
      วิธีล้างมือ.
    • กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ใช้แอลกอฮอล์เข้มข้น 60 – 70% ในรูปเจลหรือสเปรย์ ทาให้ทั่วมือที่ไม่เปียก แล้วปล่อยให้แห้งเอง (ถ้ามือเปียก แอลกอฮอล์จะเจือจางจนฆ่าเชื้อไม่ได้) ห้ามล้างหน้าหรือใช้มือล้างอย่างอื่นต่อ เพราะน้ำอาจล้างแอลกอฮอล์ออกหมด
    • หากมือมีคราบสกปรก ควรหาน้ำล้างคราบสกปรกออกก่อน เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เกาะอยู่ที่คราบเปื้อนได้
      .
  • เว้นระยะห่างกับผู้อื่นให้เพียงพอ
    การเว้นระยะห่างในทางปฏิบัติ ทำได้โดย

    • การเว้นระยะห่างจากผู้อื่นขั้นต่ำ 1 เมตร และห่างจากคนที่มีอาการไอหรือจาม 2 เมตร
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องสื่อสารใกล้ชิด เว้นระยะห่างการสื่อสารให้เหมาะสม
    • ไม่หันหน้าเผชิญผู้ติดต่อ ผู้สนทนาในระยะที่ไอ จามใส่กันได้
    • แยกทานอาหารคนเดียว ไม่ทานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
    • หลีกเลี่ยงการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน การไปในที่มีคนหนาแน่น รีบกลับให้เร็วที่สุด
    • หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ กรณีที่ใช้ให้หันหน้าเข้าผนังหรือตามที่มีสัญลักษณ์ตำแหน่งยืนในลิฟต์
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของสาธารณะ เช่น ราวบันไดเลื่อน ประตูเปิดปิดร้านสะดวกซื้อ โต๊ะสาธารณะ เป็นต้น เมื่อเจอสถานการณ์ที่ต้องสัมผัสบ่อย ๆ ให้ล้างมือทันที
      .
      การเว้นระยะห่าง.
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
    การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก ล้างมือให้บ่อย และการเว้นและรักษาระยะห่าง ทั้งนี้มีการศึกษาที่ว่า การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดโอกาสในการติด ลดความรุนแรง และลดโอกาสเสียชีวิตหากติดหลังฉีดลงได้ ผู้ที่สนใจฉีดสามารถจองคิวฉีดวัคซีนได้ทาง “Line OA หมอพร้อม”, รพ.ใกล้บ้านที่มีประวัติการรักษา, อสม.หรือ รพ. สต. ในพื้นที่

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

 


.jpg

การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง

มาตรการหนึ่งในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด 19 มีการตรวจหาเชื้อ แยกผู้ติดเชื้อ (Isolation) กักกัน (Quarantine) ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อสูง สังเกตอาการผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อต่ำ และมีมาตรการรองรับแต่ละกลุ่ม โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

 

วิธีตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด 19 ที่นิยมทำในปัจจุบัน

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อสูง ได้สิทธิตรวจหาเชื้อโควิดฟรี ตรวจสอบสถานที่ตรวจได้ที่ www.service.dmsc.moph.go.th/labscovid19 กรณีที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงอาจมีค่าบริการ สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
.
สำหรับวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สรุปได้ดังนี้

  • Real-time RT PCR เป็นการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัส ซึ่งเป็นวิธีการตรวจมาตรฐานที่แนะนำในปัจจุบัน โดยการป้ายเอาเมือกและเยื่อบุในคอ หรือโพรงจมูก หรือนำเสมหะที่อยู่ในปอดไปตรวจ เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ มีความไว มีความจำเพาะสูง ทราบผลภายใน 3 – 5 ชั่วโมง และสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อย ๆ ได้ ทั้งนี้ผลตรวจเป็นบวกสามารถยืนยันการติดเชื้อโควิด 19 ได้ หากผลตรวจเป็นลบเป็นการตรวจไม่พบเชื้อ ซึ่งอาจต้องมีการตรวจซ้ำหลังจากนั้น สำหรับสาเหตุที่ตรวจไม่พบอาจมาจากเชื้ออยู่ในระยะฟักตัว ยังมีจำนวนน้อย และสาเหตุทางด้านเทคนิคอื่น ๆ
  • Antibody test การเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจหาภูมิคุ้มกัน โดยการใช้ชุดทดสอบแบบรวดเร็ว ทราบผลได้ใน 15 นาที การตรวจวิธีนี้จะทำได้หลังมีอาการป่วย 5 – 7 วัน หรือได้รับเชื้อมาแล้ว 10 – 14 วัน ร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต้านเชื้อโรค วิธีนี้มีราคาถูกกว่า แต่หากเพิ่งได้รับเชื้อ ยังไม่มีอาการ ผลการตรวจอาจขึ้นเป็นลบ เหมือนว่าผู้ป่วยไม่ได้รับเชื้อโควิด 19 ปัจจุบันยังไม่แนะนำมาใช้เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยหลัก

 

กลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยง

กลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยง เช่น สมาชิกในครอบครัว ญาติ และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะที่มีอาการป่วยที่ต้องกักตัว (Quarantine) ต้องทำอย่างไรบ้าง
.

การกักตัวสามารถทำที่บ้าน (Home Quarantine) สิ่งที่ต้องปฏิบัติตลอด 14 วัน

  • ผู้กักตัวควรหยุดเรียน หยุดงาน พักอยู่บ้าน ไม่ออกไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะ
  • ผู้กักตัวควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ในขณะที่ผู้อื่นต้องใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้กักตัวด้วย
  • จัดห้องพักแยกต่างหาก เลือกที่อากาศถ่ายเท ไม่ใช้พื้นที่ร่วมกันโดยไม่จำเป็น แม้แต่ห้องน้ำ
  • กรณีต้องใช้พื้นที่ร่วมกัน นอกเหนือจากทุกคนใส่หน้ากากอนามัยแล้ว ผู้กักตัวควรรักษาระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1 เมตร ไม่ควรอยู่ใกล้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังหรือเด็กเล็ก
  • เลี่ยงการใช้สิ่งของและเลี่ยงทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เลี่ยงการกินอาหารร่วมกัน เลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกัน
  • ทำความสะอาดพื้นที่ เครื่องใช้ ห้อง พื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ ด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อเป็นประจำ เช่น ห้องน้ำ หากมีการใช้ร่วมกันก็ควรทำความสะอาดทุกวันด้วยเช่นกัน
  • การซักผ้าควรใช้น้ำร้อน 60 – 90 องศาเซลเซียส ร่วมกับน้ำยาซักผ้าปกติในการซักผ้า และเครื่องนอนของผู้ที่ต้องกักตัว และอย่าให้เสื้อผ้า เครื่องนอนที่ใช้แล้วของผู้กักตัวสัมผัสกับผ้าอื่นๆ ที่สะอาด
  • ควรสวมถุงมือทุกครั้งในการทำความสะอาด และล้างมือทั้งก่อนและหลังทำความสะอาด ถ้าเลือกได้แนะนำถุงมือประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • ถ้าต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ควรปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกดน้ำชำระ
  • ถ้าไอหรือจาม แม้แต่ไอแห้งเบา ๆ ก็ควรสวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือแขนเสื้อปิดปาก หลังไอจามเสร็จควรล้างมือทุกครั้ง
  • แยกขยะ เช่น ถุงมือ กระดาษชำระ หน้ากากอนามัย และทำเครื่องหมายติดป้ายไว้ว่าขยะติดเชื้อ และแม้ตอนนี้ตามท้องถนนจะยังไม่มีถังขยะแยกสำหรับขยะติดเชื้อเหล่านี้โดยเฉพาะ แต่ก็เป็นการดีกว่าที่เราจะได้บอกเจ้าหน้าที่เก็บขยะให้เพิ่มความระมัดระวัง
  • เก็บสิ่งส่งตรวจ เพื่อตรวจหาเชื้อ วิธี Real-time RT PCR จำนวน 2 ครั้ง เก็บตัวอย่างครั้งแรกโดยเร็วเมื่อเจ้าหน้าที่ระบุผู้สัมผัสได้ และเก็บตัวอย่างครั้งที่สอง 7 วัน หลังจากตรวจครั้งแรก หรือ 13 วัน หลังจากวันสัมผัสผู้ป่วยยืนยันครั้งสุดท้ายแล้วแต่ว่าวันใดถึงก่อน

 

กลุ่มเสี่ยงต่ำที่ต้องสังเกตอาการต้องทำอย่างไรบ้าง

ผู้สังเกตอาการ ไม่ต้องทำแบบการกักตัว แต่เน้นมาตรการป้องกันหลัก ๆ คือ การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมืออย่างถูกต้องบ่อย ๆ เว้นระยะห่างกับผู้อื่นให้เพียงพอ โดยหากอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูก เจ็บคอ ไม่หายภายใน 3 – 4 วัน หรืออาการรุนแรงขึ้นต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : นพ. วีรวัฒน์ มโนสุทธิ
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-เสี่ยงนอนไม่หลับ-นอนไม่พอ.jpg

ร่างกายของคนเรา คุ้นเคยกับการทำกิจกรรมในตอนกลางวันและพักผ่อนในตอนกลางคืน โดยมีสมองและฮอร์โมนคอยควบคุมชีวิต ให้ดำเนินไปตามวงจรนาฬิกาชีวภาพ (Biological clock)  อย่างไรก็ตาม การทำงานในบางอาชีพ เป็นอุปสรรคสำคัญในการที่ปฏิบัติตัวตามวงจรนี้  มาดูว่ามีอาชีพอะไรบ้าง

 

1. ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ
ถึงแม้ว่าจะเป็นงานที่ท้าทาย แต่บางครั้งการทำงานโดยต้องปลุกตัวเองให้ตื่นตัวตลอดทั้งคืน ไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่าย นั่นเป็นเพราะรูปแบบการทำงาน ขัดกันกับวงจรนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย ส่งผลให้นอนหลับไม่พอ เกิดการหลับในอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะกับคนที่มีอาชีพที่ต้องทำงานเป็นกะ

 

2. ผู้ดูแลระบบออนไลน์
ในขณะที่ข้อดีของระบบเครือข่ายออนไลน์ในปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการในการสั่งซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคได้อย่างสะดวกสบายตลอด 24  ชั่วโมง แต่ข้อเสียที่ไม่อาจมองข้าม คือ ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลระบบจะต้องอดหลับอดนอน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาดูแลระบบ อาจนำมาซึ่งภาวะ นอนไม่หลับ นอนไม่พอ ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย

 

3. คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในกะกลางคืน และพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง การดำเนินชีวิตแบบนี้ นอกจากมีความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการทำงานกับเครื่องจักรแล้ว ยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน
และโรคซึมเศร้า

 

4. ผู้บริหาร
สำหรับผู้บริหารแล้ว ความเครียดในการบริหารงาน บริหารคน บวกกับชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ส่งผลกระทบโดยตรงกับการพักผ่อน  ยิ่งใช้ชั่วโมงในการทำงานมากเท่าไหร่ ช่วงเวลาการพักผ่อน รวมถึงการนอนก็น้อยลงไปเท่านั้น และการนอนน้อย ก็ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงาน 

 

5. นักข่าว
ในชั่วโมงที่การนำเสนอข่าวแข่งกันด้วยความสด อาชีพนักข่าว ผู้รายงานข่าว ผู้ผลิตรายการ แทบจะต้องใช้เวลาตลอด 24 ชั่วโมง อุทิศให้กับการผลิตและรายงานข่าวให้ทันเหตุการณ์ การทำงานเช้ายันเช้า หรือเย็นจนถึงดึกดื่นอีกคืน เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในอาชีพนี้

 

6. พยาบาล
การดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาล เป็นงานหนัก ต้องใช้ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน พยาบาลแทบทุกคนทำงานและเข้าเวร มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน (ส่วนใหญ่อยู่ที่ 12 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้ ) ซึ่งนอกจากส่งผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพแล้ว ยังลามไปถึงประสิทธิภาพในการทำงานให้กับประชาชนอีกด้วย

 

7. นักวิเคราะห์ทางการเงิน
ยิ่งเป็นนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญตลาดต่างประเทศ เช่น ยุโรป หรือเอเชีย ความต่างของเวลา ทำให้ร่างกายและสมองต้องปรับตัว ปรับชั่วโมงการทำงานที่ผิดจากเวลาปกติ นานวันไปจะส่งผลเสียต่อวงจรนาฬิกาชีวภาพของร่างกายได้

 

8. ตำรวจ
งานบำบัดทุกข์บำรุงสุข และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งกลางวันและกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมง  ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องพยายามปรับตัว ให้พร้อมกับการเข้าเวรในกะเช้าและกะกลางคืนหมุนเวียนกันไป

 

9. แพทย์ฝึกหัด
แม้จะคุ้นเคยกับการอดหลับอดนอน ในการเรียนการสอบตอนเป็นนักเรียนแพทย์ แต่ภาวะนั้นไม่ได้จบลง การเป็นแพทย์ฝึกหัดที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในตอนกลางคืน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์กับแพทย์หลายคน รวมทั้งการนอนน้อย ยังอาจส่งผลต่อความผิดพลาดในการวินิจฉัยผู้ป่วยอีกด้วย

 

10. นักบิน
อาชีพนักบินกับการอดนอน และนอนในเวลาที่แตกต่างแทบจะเป็นของคู่กัน ทั้งนักบินที่บินระยะสั้นแต่หลายเที่ยวบิน หรือนักบินที่บินทางไกลข้ามทวีป จะต้องเจอปัญหาการบินข้ามเวลามาซ้ำเติม การนอนหลับให้เพียงพอจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันความอ่อนล้า หรือ Pilot Fatigue ซึ่งจะทำให้คุณภาพการทำงานของนักบินลดลง กระทบต่อการตัดสินใจ และความปลอดภัยในการบิน

 

11. ครอบครัวที่มีลูกอ่อน
เลิกคิดถึงการนอนหลับยาว ๆ เมื่อเจ้าตัวน้อยพร้อมจะตื่นทุกสองสามชั่วโมงตลอดคืน งานวิจัยพบว่าคุณแม่มือใหม่อาจได้นอนถึง 7 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ใช่การนอนที่มีคุณภาพไม่มีทางหลับสนิทได้ แต่โชคดีที่สถานการณ์นี้จะคลี่คลายขึ้น เมื่อ 16 สัปดาห์ผ่านไป

 

12. คนขับรถบรรทุก
เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรในช่วงกลางวัน การเดินทางในเวลากลางคืน คือ เวลาที่คนขับรถนิยม แต่มักก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ส่วนใหญ่เกิดจากการหลับในของคนขับ

 

13. บาร์เทนเดอร์
งานกลางคืนที่หลายคนไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา ยิ่งดึกยิ่งตาสว่าง แต่นั่นหมายถึงสมดุลในการนอนตามธรรมชาติ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับวงจรนาฬิกาชีวภาพกำลังถูกทำลายไป โดยไม่รู้ตัว

 

อดนอนเป็นอาชีพ ส่งผลเสียอย่างไร

การนอนผิดเวลาบ่อย ๆ ทำให้วงจรนาฬิกาชีวภาพในร่างกายรวน วงจรการหลับและตื่นถูกรบกวน หลายคนต้องประสบปัญหานอนไม่หลับ ตามมาด้วยความรู้สึกอ่อนเพลียหลับยาก หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ และอาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพอีกมากมาย

 

อย่าเพิ่งตกใจ ทางแก้ยังมี

  • พยายามปรับเวลาเข้านอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน
  • สร้างบรรยากาศการนอนให้เป็นเหมือนเวลากลางคืนมากที่สุด
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีแสงไฟ ไม่มีเสียงดังรบกวน
  • ในเวลาทำงานกะดึก พยายามหาเวลางีบบ้างซัก 15-30 นาที
  • เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ช่วยซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ
  • ออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แถมช่วยให้หลับสนิทขึ้น

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.webmd.com
ภาพประกอบจาก : www.pixabay.com


-Organ-system-ในร่างกายมนุษย์-re.jpg

จากองค์ประกอบพื้นฐานของร่างกาย ที่เริ่มจาก เซลล์ (Cell) โดยเซลล์หลาย ๆ เซลล์รวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื้อ (Tissue)  เนื้อเยื้อหลาย ๆ ประเภทจะรวมกลุ่มเป็นอวัยวะ (Organ) และอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะจะทำหน้าที่ประสานกันเป็นระบบอวัยวะ (Organ system) โดยระบบทุกระบบจะทำงานประสานกันเพื่อให้ร่างกาย (Body) อยู่ได้

 

ระบบอวัยวะในร่างกายคนเรา สามารถแบ่งตามหน้าที่ได้หลายระบบ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบย่อยอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบผิวหนัง ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ระบบหายใจ ระบบโครงร่าง ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง ระบบขับถ่าย โดยในการทำงาน ถ้าระบบใดระบบหนึ่งผิดปรกติ ร่างกายก็จะแสดงความผิดปรกติออกมา เช่น มีอาการ หรือเป็นโรค 

 

หน้าที่ของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

 

 

 

ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system)
มีหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย เลือด สารอาหาร ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์และฮอร์โมนไปทั่วร่างกาย โดยมีอวัยวะประกอบด้วย หัวใจ เลือด หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ หลอดเลือดฝอย โดยเลือดดำ หรือเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย จะไหลเข้าสู่หัวใจทางห้องบนขวา หลังจากนั้นจะบีบตัวส่งเลือดสู่หัวใจห้องล่างขวา เพื่อบีบตัวส่งเลือดไปยังปอด โดยเลือดดำจะผ่านเข้าไปในเส้นเลือดฝอยรอบ ๆ ถุงลมปอด แล้วส่งผ่านคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับถุงลมปอด พร้อมรับออกซิเจนเข้ามาแทน เป็นผลให้เลือดดำกลายเป็นเลือดแดง หรือเลือดที่มีออกซิเจนสูง หลังจากนั้นจะไหลออกจากปอด กลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ต่อมายังหัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
เป็นกลุ่มอวัยวะที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน มีหน้าที่ในการแปรสภาพอาหารที่บริโภคซึ่งมีโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล ซึ่งร่างกายดูดซึมไม่ได้ ให้กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ร่างกายดูดซึมได้ เช่น กรดอะมิโน น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กลีเซอรอล และกรดไขมัน นอกจากนี้แล้วยังมีหน้าที่ในการกำจัดของเสียอีกด้วย สำหรับกระบวนการแปลสภาพอาหารจากโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นสารอาหารที่ร่างกายดูดซึมได้ หรือการย่อยอาหารนั้น ต้องอาศัยการย่อยเชิงกล และการย่อยในทางทางเคมีของน้ำย่อย จากอวัยวะที่อยู่ในระบบ  ประกอบด้วยปากหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก โดยมีตับสร้างน้ำดีช่วยการทำงานของน้ำย่อยไขมัน และตับอ่อนสร้างน้ำย่อยส่งให้กับลำไส้เล็ก  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่สร้างและหลั่งสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน (hormone) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์ ผ่านทางกระแสเลือดหรือน้ำเหลืองไปควบคุมเซลล์ที่อวัยวะเป้าหมาย เช่น ควบคุมการเผาผลาญอาหาร ควบคุมการเจริญเติบโต ควบคุมระบบสืบพันธุ์ ปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เป็นต้น ประกอบไปด้วย 8 ต่อมใหญ่ ๆ ได้แก่ ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) ตับอ่อน (Pancrease) ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ต่อมเพศ (Gonad) และต่อมเหนือสมอง (Pineal gland)  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบผิวหนัง (Integumentary system)
ช่วยปกป้องร่างกายจากโลกภายนอก และป้องกันขั้นแรกต่อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อโรคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายและกำจัดของเสียผ่านเหงื่อ มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อห่อหุ้มร่างกาย จึงเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว มีความหนาระหว่าง 1 – 4  มิลลิเมตร แตกต่างกันไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยผิวหนังส่วนที่หนาที่สุด คือ บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ส่วนที่บางที่สุด คือ บริเวณหนังตาและหนังหู ภายในผิวหนังนั้นมีปลายประสาทรับความรู้สึก เพื่อรับรู้การสัมผัส ความเจ็บปวด อุณหภูมิร้อนและเย็น นอกจากนี้ยังมีรูเล็ก ๆ ที่เรียกว่า รูขุมขน เป็นรูเปิดของขุมขน ท่อต่อมไขมันและต่อมเหงื่อผิวหนัง  อ่านต่อ…

 

 

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
ร่างกายประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 650 มัด ช่วยในการเคลื่อนไหว การไหลเวียนโลหิต และการทำงานอื่น ๆ ของร่างกาย โดยมีกล้ามเนื้ออยู่ 3 แบบ คือ 1) กล้ามเนื้อลาย (Skeleton muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมต่อกับกระดูก ทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ มีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ ปกติกล้ามเนื้อประเภทนี้ทั้งมัดจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อมัดย่อยๆ และแต่ละมัดย่อยประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อ ซึ่งแต่ละใยยังประกอบไปด้วยใยฝอย ทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น แข็งแรงและทนทาน 2) กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบในอวัยวะภายในของร่างกาย  มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายสารผ่านอวัยวะต่างๆ โดยมีลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และทางสรีรวิทยาแตกต่างกัน และ 3) กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ มีหน้าที่ช่วยในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบประสาท (Nervous system)
เป็นระบบที่ควบคุมการทำหน้าที่ของทุกระบบในร่างกาย ให้ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการจัดการ ความคิด ความรู้สึก สติปัญญา ความฉลาดไหวพริบ การตัดสินใจ การใช้เหตุผลและการแสดงอารมณ์ สามารถแบ่งได้เป็น ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system – CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system – PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง ระบบประสาทส่วนปลายยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทที่อยู่ในอำนาจจิตใจ (Voluntary nervous system) และระบบประสาทที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary) หรือระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system) ซึ่งแบ่งย่อยเป็นระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nervous System) และระบบประสาทพาราซิมพาเธติก (parasympathetic nervous system)  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
ช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ โดยต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโพทาลามัส จะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมเพศให้ผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นหนุ่มสาวพร้อมที่จะสืบพันธุ์ โดยระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วย อวัยวะเพศชายและอัณฑะ ซึ่งผลิตตัวอสุจิ (Sperm) และฮอร์โมนเพศ ที่สำคัญคือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ส่วนระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ภายในประกอบด้วยช่องคลอด มดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ซึ่งผลิตไข่ (Ovum) และฮอร์โมนเพศ หลัก ๆ คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) โดยในการร่วมเพศ เพศชายจะหลั่งน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ หลังการปฏิสนธิและฝังตัวจะเกิดการตั้งครรภ์ของทารก  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบหายใจ (Respiratory system)
เป็นระบบที่ทำให้ร่างกายสามารถนำออกซิเจนไปส่งที่ปอด โดยจะมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนระหว่างถุงลมปอดกับหลอดเลือดฝอยปอด หลังจากนั้นออกซิเจนจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ผ่านทางหลอดเลือดจากปอดกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ภายหลังหัวใจปั้มเลือด ออกซิเจนจะถูกพาไปยังเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย เกิดขบวนการเมตาบอลิซึมหรือการหายใจระดับเซลล์ ทำให้ร่างกายอบอุ่น และได้สาร ATP ที่นำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ โดยขบวนการนี้จะเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะถูกลำเลียงผ่านหลอดเลือดสู่ปอดในการหายใจออก อวัยวะที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย จมูก ปาก คอหอย หลอดลม ท่อลม ถุงลม เป็นต้น  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบโครงร่าง (Skeleton system)
ประกอบด้วยกระดูก (Bone) 206 ชิ้น เป็นกระดูกแกนกลาง 80 ชิ้นกระดูกรยางค์ 126 ชิ้น เชื่อมต่อด้วยเส้นเอ็น (Tendon) และกระดูกอ่อน (Cartilage)  โดยเส้นเอ็นมีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียวและมีความแข็งแรง มีทั้งที่เป็นเอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon)  และเอ็นยึดข้อ (Ligament) สำหรับกระดูกอ่อนจะอยู่ที่ปลายหรือหัวของกระดูกที่ประกอบเป็นข้อต่อ (Joints) เพื่อป้องกันการเสียดสีของกระดูกด้วยกัน หน้าที่ของระบบโครงร่าง จะเป็นการรองรับอวัยวะต่างๆ ให้ทรงและตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ปกป้องอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ช่วยร่างกายให้เคลื่อนไหวในทุกอิริยาบถที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการเก็บรักษาแคลเซียม รวมถึงไขกระดูก (Bone marrow) ยังเกี่ยวข้องในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดอีกด้วย  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system)
การใช้ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมของคนเรา หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอกับสภาพที่ไม่เหมาะสม และอาจเป็นอันตราย เช่น  ฝุ่นละออง สารเคมี เชื้อโรค เป็นต้น ปกติร่างกายจะมีระบบที่คอยป้องกันสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย เช่น มีผิวหนัง มีขน มีเยื่อเมือก มีน้ำตา มีสภาพกรด ด่าง ต่างๆ อย่างไรก็ตามยังมีบางโอกาสที่สิ่งแปลกปลอมสามารถเข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น เกิดโรค เกิดการแพ้ และอื่น ๆ ร่างกายจึงมีระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อช่วยต่อต้านและกำจัดสิ่งแปลกปลอม ให้คนเราสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปได้อย่างปกติ และมีสุขภาพกายที่สมบูรณ์แข็งแรง  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)
ประกอบด้วยน้ำเหลือง หลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง โดยมีบทบาทในการนำของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์หรืออยู่รอบ ๆ เซลล์ รวมถึงเม็ดเลือดขาวบางชนิด กลับเข้าสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำใหญ่ โดยน้ำเหลืองจะคล้ายพลาสมาแต่มีโปรตีนน้อยกว่า และมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันตามอวัยวะที่เป็นแหล่งที่มา เช่น น้ำเหลืองที่มาจากบริเวณลำไส้เล็ก จะมีไขมันสูง น้ำเหลืองที่มาจากบริเวณต่อมน้ำเหลืองจะมีเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์สูง โดยระหว่างทางที่น้ำเหลืองไหลไปตามหลอดน้ำเหลืองตามการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ นั้น จะพบต่อมน้ำเหลืองอยู่ระหว่างจุดรวมของหลอดน้ำเหลืองทั่วไปในร่างกาย เช่น บริเวณที่รักแร้และขาหนีบ ภายในจะมีเม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซต์ ซึ่งจะกรองแบคทีเรียและสิ่งแปลกปอลม ไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือด  อ่านต่อ…

 

 

 

ระบบขับถ่าย (Excretory system)
เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสีย จากกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งของเสียนั้น มีทั้งในส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และมีประโยชน์แต่ร่างกายมีมากเกิน จนร่างกายต้องมีการขับออก เช่น ยูเรีย แอมโมเนีย กรดยูริค ทั้งนี้ร่างกายจะมีการขับถ่ายของเสียที่เป็นก๊าซออก ทางปอด ผ่านลมหายใจออก ขับถ่ายของเสียที่เป็นน้ำ 2 ช่องทาง คือ ทางผิวหนังผ่านเหงื่อ และทางไตผ่านปัสสาวะ  ขับถ่ายของเสียที่เป็นของแข็ง ทางลำไส้ใหญ่ผ่านอุจจาระ ทั้งนี้ในการขับถ่ายของเสีย ร่างกายมักจะมีการสูญเสียน้ำไปตามช่องทางเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการดื่มหรือรับน้ำเข้าไปใหม่ ให้มีความสอดคล้องกันกับปริมาณน้ำที่ร่างกายสูญเสียจากการขับถ่ายด้วย  อ่านต่อ…

 

เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.livescience.com  www.thoughtco.com  th.wikipedia.org
ภาพประกอบจาก : www.shutterstock.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก