ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-ที่นี่มีคำตอบ.jpg

วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีความจำเป็นแค่ไหน ประเทศไทยพบโรคไข้หวัดใหญ่ ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน พบมากในฤดูฝนช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม และฤดูหนาวช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม แต่พบได้ประปรายตลอดปี

 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เหตุผลที่ควรฉีด

เหตุผลที่ควรต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยอยู่เสมอ ทำให้เกิดเชื้อใหม่ในสัตว์และในคนอยู่เป็นระยะ เป็นเหตุให้ภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์และในคนที่มีอยู่เดิม อาจไม่สามารถป้องกันโรคได้ นอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่นั้น คงอยู่ไม่นานและมักจะลดต่ำลงได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือน หรือปี ดังนั้น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี จึงเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เหมาะสมกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มาใหม่แต่ละปี และมีระดับที่สูงอยู่ตลอดเวลาสำหรับรับมือกับเชื้อที่จะเข้ามาสู่ร่างกายของเรา

 

ชนิดของวัคซีน

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จะประกอบด้วย 3 สายพันธุ์ย่อยของเชื้อไข้หวัดใหญ่ คือ สายพันธุ์ A 2 subtypes (H1N1 และ H3N2) และสายพันธุ์ B 1 สายพันธุ์ย่อย โดยองค์การอนามัยโลกจะคัดเลือกสายพันธุ์ย่อยของเชื้อไข้หวัดใหญ่ ที่พบการระบาดหลายแห่งทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นเชื้อต้นเหตุในปีถัดไปของซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต้ เพื่อเป็นข้อกำหนดให้ใช้ในการผลิตวัคซีนสำหรับปีถัดไป ในปัจจุบัน พบว่า มีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิดที่มี 3 สายพันธุ์ย่อย (Trivalent Vaccine; TIV) และ 4 สายพันธุ์ย่อย (Quadrivalent Vaccine; QIV) ของ influenza virus ซึ่งคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกสำหรับปี พ.ศ. 2558 – 2559 มีดังนี้

  • สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดที่มี 3 สายพันธุ์ย่อย (Trivalent Vaccine; TIV) ควรประกอบด้วย
    • InfluenzaA/California/7/2009 (H1N1) pdm 09-like virus;
    • InfluenzaA/Switzerland/9715293/2013 (H3N2)-like virus;
    • InfluenzaB/Phuket/3073/2013-like virus.

โดยการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ย่อย (Quadrivalent Vaccine; QIV) อาจมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของเชื้อ Influenza B ชนิดที่เพิ่มขึ้นในวัคซีนนี้ และเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Influenza B และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

 

กลุ่มเป้าหมายที่แนะนำให้ฉีด

กลุ่มเป้าหมายที่แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ปีละ 1 เข็ม ตามสายพันธุ์ที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก ได้แก่

  1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการที่จะเกิดอาการแทรกซ้อน หลังจากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่
  • บุคคลที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
  • บุคคลที่เข้ารับการบำบัดอยู่ใน nursing home และสถานที่รับดูแลโรคเรื้อรัง
  • ผู้ใหญ่และเด็กที่มีโรคปอดเรื้อรัง โรคระบบหัวใจไหลเวียน รวมทั้งเด็กที่เป็นโรคหอบหืดด้วย
  • ผู้ใหญ่ หรือเด็กที่ต้องเข้ารับการรักษา เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำด้วยโรคเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคไต โรคเลือด หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ที่ได้รับยากดระบบภูมิคุ้มกัน
  • เด็ก หรือวัยรุ่น(6 เดือน – 18 ปี) ที่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาด้วยแอสไพรินเป็นประจำ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น Reye’s Syndrome หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่
  1. กลุ่มที่อาจแพร่โรคไปสู่กลุ่มเสี่ยงสูง
  • แพทย์-พยาบาล บุคลากรอื่น ๆ ในโรงพยาบาล
  • เจ้าหน้าที่ใน nursing home และสถานที่บำบัดผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • บุคคลที่เข้าพักอยู่ในบ้านเดียวกันกับคนที่มีความเสี่ยงสูง
  1. กลุ่มอื่น ๆ

ได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่ต้องการฉีดเพื่อป้องกันการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ โดยคนที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดบวมบริเวณที่มีการฉีดวัคซีน แต่อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง และสามารถหายเป็นปกติได้ภายใน 1 – 2 วัน สำหรับบุคคลที่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ไก่แบบรุนแรง เนื่องจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ผลิตจากไข่ไก่ฟัก และผู้ที่มีไข้สูง หรือมีอาการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน ควรรอให้อาการไข้ลดลงก่อนแล้วจึงไปเข้ารับการฉีดวัคซีน

 

ผู้เขียน: อาจารย์ จันทนา ห่วงสายทอง
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
แหล่งที่มา: www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/staff/jantana.ho


-2019-เรื่องต้องรู้-หากจะรับมือให้ได้.jpg

ไวรัสโคโรน่า และไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2019 มีที่มาที่ไป การแพร่ระบาด และการเข้าสู่ร่างกายอย่างไร 

ไวรัสโคโรนา (Coronavirus, CoV) เป็นไวรัสที่ก่อโรคทั้งในสัตว์และคน โดยในคนมักทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ ความรุนแรงแตกต่างตามสายพันธุ์ ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคปอดติดเชื้อ และอักเสบรุนแรงจนเสียชีวิต เช่น โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) ที่มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 600 คน โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) ที่มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 900 คน

ไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus disease 2019, COVID-19) ที่กำลังระบาดและก่อให้เกิดโรคโควิด 19 คาดกันว่า มีศูนย์กลางการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาลุกลามไปยังประเทศต่าง ๆ กลายเป็นโรคระบาดไปทั่วโลกข้อมูลจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อสะสมประมาณ 164 ล้านราย ผู้เสียชีวิต 3.4 ล้านราย (วิกิพีเดีย 18/5/2021)

ปัจจุบันพบเชื้อไวรัสโควิด 19 แพร่ติดต่อในลักษณะหยดละออง (droplet) จากการพูด ตะโกน ไอ จามของผู้ติดเชื้อ เข้าสู่ร่างกายผู้ใกล้ชิดในระยะ 1 – 2 เมตร และละอองฝอย (aerosol) ลอยในอากาศไปได้ไกล 8 – 10 เมตร ในสถานที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ผ่านทางจมูก ทางเดินหายใจ ลงปอด และการสัมผัสสารคัดหลั่งจากหยดละอองที่ติดตามพื้นผิวสัมผัสในบริเวณใกล้เคียง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู สิ่งของที่ใช้ร่วมกัน โดยผู้สัมผัสนำมาแคะจมูก ขยี้ตา ซึ่งเป็นบริเวณที่เนื้อเยื่ออ่อน ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้

 

เมื่อเชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าไปสู่ร่างกายแล้ว มีการดำเนินของโรคอย่างไร แพร่เชื้อได้ตอนไหน เมื่อไรจะหาย

เชื้อไวรัสโควิด 19 หลังจากเข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาในการเพิ่มจำนวนขึ้นมาระดับหนึ่ง เรียก ระยะฟักตัว ระหว่าง 2 – 14 วัน  โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5 วัน แล้วจึงเริ่มมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไข้ ไอ จาม น้ำมูก ต่อมาเชื้ออาจลุกลามเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างที่เรียกว่า “โควิดลงปอด” จะมีอาการไอถี่ หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงเสมหะในปอด เสมหะมีเลือดปน ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนหน้าวันมีอาการ ระหว่าง 1 – 3 วัน ดังนั้น หากผู้ติดเชื้อมีอาการ 10 วัน ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้ใกล้ชิดได้มากกว่า 10 วัน

สำหรับระยะเวลาการรักษาตัว ผู้ที่ภูมิต้านทางแข็งแรง และมีอาการน้อย ร่างกายจะกำจัดเชื้อหรือหายได้เองประมาณ 2 สัปดาห์ กรณีที่เชื้อลงปอดและมีอาการรุนแรง ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8 สัปดาห์ กรณีอาการรุนแรงมาก ต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องไอซียู ต้องใช้เวลานานเป็นหลาย ๆ เดือนในการรักษาให้หายกลับมา

 

จะรู้แน่ ๆ ได้อย่างไรว่า เชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าสู่ร่างกายแล้ว

การตรวจหาเชื้อโควิด หากตรวจเจอหรือผลตรวจเป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อจริง หากตรวจไม่เจอหรือผลตรวจเป็นลบแสดงว่า ตรวจไม่พบเชื้อ ต้องมีการตรวจซ้ำหลังจากตรวจครั้งแรก 5 – 7 วัน เนื่องจากมีบางสาเหตุที่อาจทำให้ตรวจไม่เจอเชื้อ เช่น เพิ่งรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ตำแหน่งที่เก็บเชื้อ เชื้ออยู่ในระยะฟักตัว เป็นต้น

 

เชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าสู่ร่างกายแล้ว มีอาการอย่างไร อาการรุนแรงมากน้อยอย่างไร

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ทั่วโลก 80% ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย 20%  มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล (WHO, Q&A on COVID-19) 5% อาการรุนแรงมาก ต้องรักษาห้อง ICU และ 2.0% เสียชีวิต โดยอาการที่พบส่วนใหญ่จะเป็น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และอาจหายได้เอง ในรายที่ไม่หายจะมีอาการ “โควิดลงปอด” เช่น หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ในรายที่เป็นรุนแรงหรือรุนแรงมาก จะมีอาการปอดอักเสบ ระบบหายใจล้มเหลว อาจมีภาวะแทรกซ้อน จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ไม่มีอาการใด ๆ เลยและหายได้เอง สามารถแพร่เชื้อได้ไหม

ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ไม่มีอาการใด ๆ ทั้งก่อนและหลังการตรวจพบเชื้อ สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้ใกล้ชิดได้ เช่นเดียวกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่มีอาการ เรื่องนี้สำคัญมากเนื่องจากอาจมีคนจำนวนมากที่ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการ ยังไม่ได้กักตัว (Quarantine) ยังไม่ได้ตรวจหาเชื้อ ยังไม่ได้แยกตัว (Isolation) โดยใช้ชีวิตปกติ และแพร่เชื้อไปยังผู้ใกล้ชิดจำนวนมาก

ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และเสียชีวิต ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มไหน

ผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ/หรือมีโรคประจำตัวหลัก ๆ คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคอ้วน โรคมะเร็ง
.

การรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ทำอย่างไร

การรักษาโรคติดเชื้อโควิด 19 หลัก ๆ จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อฟื้นฟูอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สร้างภูมิต้านทานขึ้นมากำจัดเชื้อได้ทันเวลา ในเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

หากตรวจพบผู้ติดเชื้อจะมีมาตรการแยกตัว (Isolation) ไปรพ.สนามหรือ Hospitel

  • กรณีที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จะมีการสังเกตอาการ วัดอุณหภูมิ วัดความดัน ให้ยาบรรเทาอาการในบางราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 14 วัน
  • กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น จะถูกส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาล แพทย์จะพิจารณาให้ยาและรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ยาต้านการอักเสบคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) การเอกซเรย์ปอด การวัดค่าออกซิเจนในเลือด เป็นต้น
  • หากรุนแรงกว่านั้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาและสารน้ำทางหลอดเลือด ให้ออกซิเจน ให้การรักษาด้านอื่น ๆ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน รวมทั้งพิจารณาย้ายผู้ป่วยเข้าห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) ในกรณีอาการยังไม่ดีขึ้น

 

ไวรัสโควิด 19 มีสายพันธุ์ย่อยหรือมีการกลายพันธุ์ไหม มีผลต่อการรักษาอย่างไร

ปัจจุบันพบไวรัสโควิด 19 หลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ S และ L เริ่มที่จีน โดยสายพันธุ์ S มาระบาดรอบแรกในไทย สายพันธุ์ L ระบาดในยุโรป แล้วพัฒนาเป็นสายพันธุ์ G และ V โดยสายพันธุ์ G แพร่ระบาดไปทั่วโลก และพัฒนาเป็น GH และ GR พบสายพันธุ์ G (GH) มาระบาดที่ประเทศไทยด้วย ส่วนที่ยุโรปจะเป็น สายพันธุ์ GR เป็นส่วนใหญ่ โดยมีที่กลายพันธุ์ คือ B.1.1.7(GR,G) พบที่อังกฤษ สายพันธุ์ B.1.351(GH,G) พบที่แอฟริกาใต้ สายพันธุ์ P.1(GR) พบที่บราซิล สายพันธุ์ B.1.617.2 พบที่อินเดีย ทั้งนี้บางสายพันธุ์ แพร่ได้เร็วกว่าสายพันธ์ุอื่น ส่งผลให้ควบคุมได้ยาก บางสายพันธุ์เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วลุกลามได้เร็ว อาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ง่าย ทำให้แพทย์ต้องติดตามการรักษาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีโอกาสที่ผู้ป่วยอาจติดเชื้อคนละสายพันธุ์ (ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ)

 

กรณีติดเชื้อแล้วหายเป็นปกติแล้ว ร่างกายโดยเฉพาะการทำงานของปอดจะเหมือนเดิมไหม

ผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ และอาการน้อย น่าจะหายได้โดยไม่มีผลในระยะยาว ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีแนวโน้มที่ปอดจะเสียหาย หากดูจากโรคซาร์ส (SARS) โรคเมอร์ส (MERS) และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีอาการรุนแรง อาจต้องมีการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย (ECMO) และอาจจะต้องใช้เวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี ๆ ในการฟื้นสภาพการทำงานของปอดให้กลับมาใกล้เคียงปกติอีกครั้ง

สามารถอ่านอัพเดทสถานการณ์ โรคโควิด 19 ได้ที่ www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : นพ. มนูญ ลีเชวงวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-19.jpg

โรคโควิด 19 : แนวทางจัดการ

โรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อ ที่มีแนวทางการจัดการเน้นที่ 1) การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่ม โดยลดการสัมผัสเชื้อ หรือหากสัมผัสแล้วมีภูมิต้านทานที่จะลดการเจ็บป่วย และ 2) การควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด

การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เพิ่ม มี 2 ข้อหลัก คือ

  • การลดการสัมผัสเชื้อ โดยสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับบุคคลอื่น การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ การเว้นระยะห่างกับผู้อื่น และมีมาตรการทางสังคมเพิ่มเติมตามสถานการณ์ เช่น ห้ามรวมกลุ่ม ห้ามเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ทำงานจากที่บ้าน เป็นต้น
    .
    .
  • การฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (SARS-CoV-2) โดยฉีดวัคซีน การฉีดตั้งแต่ 70% ขึ้นไป ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) เป็นประโยชน์กับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดอีกด้วย
    .

การควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยตรวจคัดกรองแยก ผู้ติดเชื้อ ผู้เสี่ยงติดเชื้อสูง ผู้เสี่ยงติดเชื้อต่ำ แล้วมีมาตรการรองรับแต่ละกลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิดสูง ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด ถ้าพบว่าติดเชื้อต้องแยกตัว (Isolation) และรับการรักษาที่เหมาะสม โดยผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักต้อง ไปยังโรงพยาบาล ในห้องที่มีการควบคุมการระบาด ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง จะถูกส่งไปโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ซึ่งมีระบบดูแลป้องกันการแพร่ของเชื้อ
    .
    สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจเชื้อโควิด ได้แก่ 1) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด 2) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และอาการหนักขึ้น เช่น เหนื่อยหอบ หายใจไม่เต็มอิ่ม โดยไม่จำเป็นต้องมีปัจจัยเสี่ยง 3) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีอายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว
    .
    .
    ทั้งนี้ผู้ที่เข้ารับการตรวจ ก่อน/ระหว่างรอผล/หลังทราบผลเป็นลบ ต้องใช้มาตรการกักตัวเช่นเดียวกับกลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อ โดยผลการตรวจเป็นลบหมายถึง ตรวจไม่พบเชื้อยังคงต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน และอาจต้องมีการตรวจซ้ำ
    .
    ปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่ควรพิจารณารับการตรวจ เมื่อ
    .การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย จนถึงขั้นเสี่ยงสูง ต้องไปตรวจโควิดทันที มีเกณฑ์ดังนี้

      • เจอกับผู้ติดเชื้อโดยตรง ในพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท เกิน 15 นาที
      • เจอและพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ในระยะไม่เกิน 1 เมตร นานมากกว่า 5 นาที
      • อยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อในระยะไม่เกิน 1 เมตร โดยต่างคนต่างไม่ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
      • ไอ หรือจามใส่กัน โดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ
      • รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มจากภาชนะเดียวกัน อุปกรณ์รับประทานอาหารชิ้นเดียวกัน
      • อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ติดเชื้อ หรืออยู่ในสถานที่เดียวกันกับที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

การเดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาดพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ระบาด การเคลื่อนย้ายต้องมีการกักตัวสามารถติดตามได้จาก คลิก www.moicovid.com.

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด ต้องเฝ้าระวังโดยวิธีการกักตัว (Quarantine) เพื่อสังเกตอาการเป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งสามารถกักตัวได้ที่บ้าน (Home Quarantine) หรือสถานที่กักตัวทางเลือกอื่น หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ต้องพบแพทย์และรับการตรวจเชื้อโควิดทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องกักตัว ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด
    .
  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อต่ำ ใช้วิธีสังเกตอาการ โดยหากอาการไม่หายภายใน 3 – 4 วัน หรืออาการรุนแรงขึ้นต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องสังเกตอาการ ได้แก่ ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด.

หมายเหตุ เป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นเท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม เบอร์ 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1668 กรมการแพทย์ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-19-ต้องทำอย่างไรบ้าง.jpg

เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในละอองฝอย และตามพื้นผิววัสดุต่าง ๆ  สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก ปาก ตา ช่องทางหลักที่เชื้อเข้าสู่ปอด วิธีการป้องกันมีดังนี้

 

การลดการสัมผัสเชื้อโดยเคร่งครัด 3 ประการ คือ

  • สวมหน้ากากอนามัย
    เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำลาย น้ำมูก เสมหะจากการไอ จาม ของผู้สวมใส่แพร่กระจายสู่อากาศภายนอก ทำให้ผู้ใกล้ชิดติดเชื้อได้ และช่วยป้องกันไม่ให้ละอองฝอยจากผู้ที่ไอหรือจามเข้าสู่ร่างกายผู้สวมใส่ด้วย โดยเลือกประเภทหน้ากากอนามัย การใส่ ทำความสะอาดและทิ้งอย่างถูกต้อง

    .
    สวมหน้ากากอนามัย.
    ประเภทหน้ากากอนามัยที่เหมาะสม

    • กรณีมีอาการทางเดินหายใจ ให้ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่มีชั้นกรองตรงกลางเท่านั้น และควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน มีข้อมูลว่าการสวมหน้ากากอนามัย แล้วสวมทับด้วยหน้ากากผ้า ทำให้การป้องกันดียิ่งขึ้น
    • กรณีไม่มีอาการ เลือกใช้หน้ากากที่สามารถป้องกันละอองฝอยทะลุผ่านได้ เช่น หน้ากากอนามัยทั่วไป หน้ากากอนามัยกันฝุ่น กันกลิ่น หน้ากากผ้า เป็นต้น สำหรับหน้ากากผ้าต้องซักทุกวัน ด้วยน้ำอุณหภูมิสูง 60 – 80 องศา ตากแดดจัดก่อนนำมาใช้ใหม่
  • หลักการสวมใส่: ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่ ใส่และถอดโดยจับที่สายคล้อง คล้องสายที่หูโดยไม่จับที่ตัวหน้ากาก ระหว่างการใช้งานไม่จับที่ตัวหน้ากากเช่นเดียวกัน
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ
    หากมีเชื้อโควิดที่มือ เชื้อสามารถผ่านเข้าร่างกายจากการแคะจมูก ขยี้ตา หยิบอาหารด้วยมือเปล่า เป็นต้น
    • วิธีการล้างมือให้ถูกต้อง ให้ใช้น้ำสะอาด ล้างโดยฟอกด้วยสบู่หรือแชมพูล้างมือ (ไม่จำเป็นต้องผสมสารฆ่าเชื้อ) จนขึ้นฟอง ไม่ต่ำกว่า 20 วินาที โดยถูให้ทั่วทั้งหน้าและหลังมือ รวมถึงซอกนิ้ว ซอกเล็บต่าง ๆ ก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด
      .
      วิธีล้างมือ.
    • กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ใช้แอลกอฮอล์เข้มข้น 60 – 70% ในรูปเจลหรือสเปรย์ ทาให้ทั่วมือที่ไม่เปียก แล้วปล่อยให้แห้งเอง (ถ้ามือเปียก แอลกอฮอล์จะเจือจางจนฆ่าเชื้อไม่ได้) ห้ามล้างหน้าหรือใช้มือล้างอย่างอื่นต่อ เพราะน้ำอาจล้างแอลกอฮอล์ออกหมด
    • หากมือมีคราบสกปรก ควรหาน้ำล้างคราบสกปรกออกก่อน เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เกาะอยู่ที่คราบเปื้อนได้
      .
  • เว้นระยะห่างกับผู้อื่นให้เพียงพอ
    การเว้นระยะห่างในทางปฏิบัติ ทำได้โดย

    • การเว้นระยะห่างจากผู้อื่นขั้นต่ำ 1 เมตร และห่างจากคนที่มีอาการไอหรือจาม 2 เมตร
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องสื่อสารใกล้ชิด เว้นระยะห่างการสื่อสารให้เหมาะสม
    • ไม่หันหน้าเผชิญผู้ติดต่อ ผู้สนทนาในระยะที่ไอ จามใส่กันได้
    • แยกทานอาหารคนเดียว ไม่ทานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
    • หลีกเลี่ยงการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน การไปในที่มีคนหนาแน่น รีบกลับให้เร็วที่สุด
    • หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ กรณีที่ใช้ให้หันหน้าเข้าผนังหรือตามที่มีสัญลักษณ์ตำแหน่งยืนในลิฟต์
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของสาธารณะ เช่น ราวบันไดเลื่อน ประตูเปิดปิดร้านสะดวกซื้อ โต๊ะสาธารณะ เป็นต้น เมื่อเจอสถานการณ์ที่ต้องสัมผัสบ่อย ๆ ให้ล้างมือทันที
      .
      การเว้นระยะห่าง.
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
    การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก ล้างมือให้บ่อย และการเว้นและรักษาระยะห่าง ทั้งนี้มีการศึกษาที่ว่า การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดโอกาสในการติด ลดความรุนแรง และลดโอกาสเสียชีวิตหากติดหลังฉีดลงได้ ผู้ที่สนใจฉีดสามารถจองคิวฉีดวัคซีนได้ทาง “Line OA หมอพร้อม”, รพ.ใกล้บ้านที่มีประวัติการรักษา, อสม.หรือ รพ. สต. ในพื้นที่

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

 


-การรักษาอาการนอนกรน-edit.jpg

อาการนอนกรน เกิดในขณะนอนหลับ กล้ามเนื้อคอจะผ่อนคลายและหย่อนตัว ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง อากาศที่เคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง จะทำให้เกิดการสั่นของเนื้อเยื่อคอ ทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการแคบลงหรืออุดตันของทางเดินหายใจ อาการนอนกรนจึงเป็นสัญญาณว่าผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติกับร่างกายเกิดขึ้นแล้ว

 

อาการนอนกรน

กรนธรรมดา (Primary snoring) เป็นการนอนกรนที่ไม่เป็นอันตราย เพราะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย ปกติไม่มีผลกระทบต่อตัวเองมากนัก แต่อาจมีผลกระทบต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะกับคู่นอน ทำให้นอนหลับยาก เนื่องจากเสียงดัง

กรนอันตราย (Obstructive sleep apnea : OSA) โดยมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย กรณีนี้นอกจากจะมีผลกระทบต่อคนรอบข้างแล้ว  ถ้าผู้ป่วยไม่รักษา อาจมีผลกระทบจากการนอนไม่พอ อาทิ ทำงานหรือเรียนได้ไม่เต็มที่ เกิดอุบัติเหตุขณะขับรถหรือเดินทาง นอกจากนั้นจะมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดในสมอง โดยผู้ป่วยอาจเสียชีวิต โดยเฉพาะถ้าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่ว  (AHI) ≥ 20 ต่อชั่วโมง

 

การแยกอาการนอนกรน

ปัจจุบันสามารถทำได้โดย การตรวจการนอนหลับ (Sleep test or polysomnography)  เพื่อแยกประเภทของการกรน และในกรณีที่เป็นกรนแบบอันตราย ยังใช้บอกความรุนแรงของโรค ตามภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพื่อให้แพทย์วางแผนการรักษาได้ดีขึ้น

 

โดยผลการตรวจการนอนหลับ บ่งชี้ว่าผู้ป่วยเป็น

  • กรนธรรมดา: ถ้าดัชนีหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา < 5 ครั้งต่อชั่วโมง
  • ภาวะก้ำกึ่งระหว่าง กรนธรรมดาและกรนอันตราย: ถ้าดัชนีหยุดหายใจ และหายใจแผ่วเบา < 5 ครั้งต่อชั่วโมง แต่มีดัชนีของการตื่นสูง และมีอาการเหมือนกรนอันตราย
  • กรนอันตราย: ถ้าดัชนีหยุดหายใจ และหายใจแผ่วเบา ≥ 5  ครั้งต่อชั่วโมง โดยมีความรุนแรงอยู่ในระดับ

[supsystic-tables id=’4′]

 

 

การส่องกล้องตรวจ

การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจส่วนบน จะทำให้ทราบถึงตำแหน่ง และสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนได้

 

การรักษา

การรักษา มี 2 ทาง เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบในการดำเนินชีวิต การใช้เครื่องมือช่วย กรณีที่อาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจมีความจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัด

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ลดน้ำหนัก ถ้าผู้ป่วยมีน้ำหนักเกิน ต้องลดให้น้ำหนักอยู่ในระดับที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะมีไขมันมาพอกรอบคอหรือทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ การลดน้ำหนัก จะช่วยลดไขมันในบริเวณดังกล่าว ทำให้อาการดีขึ้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผู้ป่วยต้องขยันออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายในแบบแอโรบิคที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วอย่างต่อเนื่อง เช่น วิ่ง เดินเร็ว ขึ้นลงบันได ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค อื่น ๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วันขึ้นไป การออกกำลังกายจะเป็นการเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย  และเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน  นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยควบคุมน้ำหนักตัวอีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงยาชนิดที่ทำให้ง่วง เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาแก้แพ้ชนิดง่วง หรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เช่น เบียร์ ไวน์  วิสกี้  เหล้า โดยเฉพาะก่อนนอน  เนื่องจากจะทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบนคลายตัวมากขึ้น และสมองตื่นตัวช้าลง ทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือสัมผัสควันบุหรี่ ภายใน 4 – 6 ชั่วโมง ก่อนนอน เนื่องจากจะทำให้เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนบวม ทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น นอกจากนั้นสารนิโคติน (nicotine) อาจกระตุ้นสมอง ทำให้ตื่นตัว และนอนไม่หลับ หรือหลับได้ไม่สนิท ซึ่งโดยปกติผู้ป่วยมีแนวโน้มที่นอนหลับได้ไม่เต็มที่ โดยสมองจะถูกปลุกให้ตื่นเพื่อเริ่มหายใจใหม่ จากการที่สมองขาดออกซิเจนเป็นระยะ ๆ ตลอดคืน
  • นอนศีรษะสูงเล็กน้อย ประมาณ 30 องศาจากแนวพื้นราบ จะช่วยลดบวมของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้บ้าง และควรนอนตะแคง เพราะการนอนหงายจะทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น
  • ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก พ่นวันละครั้งก่อนนอน ซึ่งยาสเตียรอยด์พ่นจมูกจะทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวม ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น และยังจะช่วยหล่อลื่น ทำให้การสะบัดตัวของเพดานอ่อนและลิ้นไก่น้อยลง ทำให้เสียงกรนเบาลงได้
  • การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน ( Continuous positive airway pressure (CPAP)) ปกติเวลานอน เพดานอ่อน และลิ้นไก่ที่ยาว และโคนลิ้นที่โต จะตกลงมาบังทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ ลมที่เป่าเข้าไป จะไปถ่างทางเดินหายใจให้กว้างออก (Pneumatic splint)  ทำให้ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ผู้ป่วยไม่กรน และไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนธรรมดา หรือภาวะก้ำกึ่งระหว่าง กรนธรรมดา และกรนอันตราย หรือเป็นกรนอันตรายที่มีความรุนแรงอยู่ในระดับน้อยถึงรุนแรง ซึ่งควรลองใช้ในผู้ป่วยทุกราย ก่อนพิจารณาการผ่าตัดเสมอ  ปัจจุบันตัวเครื่อง CPAP มีขนาดเล็ก สามารถพกพาไปที่ไหนๆได้ค่อนข้างสะดวก  การรักษาวิธีนี้ผู้ป่วยควรใช้เครื่อง CPAP ทุกคืน
  • การใช้เครื่องมือทางทันตกรรม (Oral appliance) ปกติเวลานอนหงาย ขากรรไกรล่างและลิ้นจะตกลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก  ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ  การใช้เครื่องมือทางทันตกรรม จะช่วยยึดขากรรไกรบนและล่างเข้าด้วยกัน   และเลื่อนขากรรไกรล่างมาทางด้านหน้า และป้องกันไม่ให้ลิ้นและขากรรไกรตกลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้นขณะนอนหลับ  เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนธรรมดา หรือภาวะก้ำกึ่งระหว่าง กรนธรรมดา และกรนอันตราย หรือเป็นกรนอันตรายที่มีความรุนแรงอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง (ดัชนีหยุดหายใจ และหายใจแผ่วเบา < 30 ต่อชั่วโมง)
  1. การผ่าตัด
    การผ่าตัดเป็นการทำให้ขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้น ควรพิจารณาวิธีนี้ ถ้าผู้ป่วยได้ลอง CPAP แล้วปฎิเสธการใช้ CPAP และเครื่องมือทางทันตกรรม  ซึ่งการผ่าตัดจะทำมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน การผ่าตัดไม่ได้ทำให้อาการนอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจหายขาด  หลังผ่าตัดอาการอาจยังเหลืออยู่ หรือมีโอกาสกลับมาใหม่ได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สิ่งสำคัญยังคงเป็นการควบคุมน้ำหนักตัว และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

ผู้เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ
ข้อมูลต้นฉบับ : รศ.นพ. ปารยะ  อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. 2560 “ขั้นตอนการรักษาอาการนอนกรน” (ระบบออนไลน์).
แหล่งที่มา : www.si.mahidol.ac.th (11 มากราคม 2560)
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com


-ใช้สมุนไพรอะไรรักษาได้บ้าง.jpg

โรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการที่หลอดลมมีความไวต่อการสนองตอบของสารภูมิแพ้ สิ่งระคายเคืองอื่น ๆ ทำให้หลอดลมตีบตัวลง หรือการบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม จึงแสดงอาการหายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไอ หายใจมีเสียงดัง หรือทราบได้จากการตรวจการทำงานของปอด อาการหอบหืดที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดอย่างฉับพลันทันที หรือค่อย ๆ เกิดขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน หรือช่วงเช้ามืด หรืออาจจะทั้งวัน แล้วแต่อาการเป็นมากหรือน้อย

 

ปัจจัยที่มีต่อการเกิดโรค คือ

  1. พันธุกรรม จากการศึกษาในครอบครัวผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดมีญาติใกล้ชิด เป็นโรคหอบหืดมากกว่าผู้ป่วยที่มีผู้ใกล้ชิดเป็นคนปกติ
  2. สารก่อภูมิแพ้ในภาวะแวดล้อม
    • สัตว์เลี้ยงที่มีขน
    • ที่นอน หมอน ผ้าห่มที่ทำจากขนสัตว์ จะมีตัวไรฝุ่นอาศัยอยู่
    • การปูพรมในห้องนอนพันะุ
    • การดูแลทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ควรทำความสะอาดเป็นประจำ
    • เครื่องปรับอากาศ หมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
    • เกสรดอกไม้ ดอกหญ้า ดอกวัชพืช สปอร์จากเชื้อรา
  3. สิ่งกระตุ้นให้โรคกำเริบ ได้แก่ ควันบุหรี่ มลพิษในอากาศ เขม่าควันจากท่อไอเสีย ไอระเหยจากสารเคมี

การรักษาโรคหอบหืดในปัจจุบันนี้ นิยมรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันมากกว่าการรักษาด้วยสมุนไพร เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใด ชี้ชัดว่าสมุนไพรตัวใดสามารถรักษาโรคหอบหืดได้ มีเพียงสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคนี้ คือ หนุมานประสานกาย (Schefflera leucantha. R Vig.) โดยใช้เป็นยาพื้นบ้านในการรักษาโรคหอบหืด มีปริมาณการใช้ดังนี้

  • ใช้ใบสดขนาดเล็ก 10 – 15 ใบ ต้มกับน้ำ 1 แก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว รับประทาน 2 ครั้ง เช้า – เย็น เป็นเวลา 49 วัน หรือใช้ใบสดตำเติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มเช้า – เย็น

 

ข้อควรระวัง

  • ถ้าดื่มแล้วมีอาการใจสั่นให้หยุดยาทันที
  • ห้ามใช้ในคนที่เป็นโรคหัวใจ

 

ภาพประกอบจาก: www.lovepik.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก