ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-CPR.jpg

การทำ CPR นั้นไม่ใช่เรื่องยากและเป็นทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยการปั๊มหัวใจที่ทุกคนควรฝึกฝนติดตัวไว้เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ในยามฉุกเฉิน เมื่อเราต้องเจอกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่พบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ก็จะทำให้เราสามารถยื้อเวลา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที

 

ปั๊มหัวใจ (CPR) คืออะไร

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ CPR คือวิธีการปั๊มช่วยชีวิตผู้ที่หัวใจหยุดเต้นไปแล้วเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นได้ใหม่อีกครั้ง สมองคนเราหากขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเกิน 4 นาที จะทำให้เกิดการสูญเสียเซลล์สมองบางส่วนอย่างถาวร แม้หัวใจจะสามารถกลับมาเต้นใหม่ แต่สมองส่วนที่เสียไปจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถฟื้นคืนสติกลับมาสมบูรณ์ได้เหมือนเดิม การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ CPR  จึงเป็นวิธีการที่จะช่วยยื้อชีวิตผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นได้เป็นอย่างดี

 

เหตุผลที่เราควรฝึกฝนการทำ CPR  ปั๊มหัวใจ

  1. CPR ช่วยชีวิตคนได้จริงๆ คนทั่วโลกมากมายเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ ภาพที่หลายคนอาจเคยเห็นคือ ผู้ป่วยจะล้มฟุบลงกับพื้น หมดสติ แล้วหยุดหายใจในที่สุด ในกรณีเช่นนี้หากไม่ได้รับการทำ CPR ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดชีวิตน้อยมาก เราสามารถใช้วิธีทำ CPR กู้ชีวิตผู้ป่วยกลับคืนมาได้หากทำอย่างถูกต้อง
  2. เชื่อหรือไม่ว่ายังมีการใช้ CPR ช่วยชีวิตผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลยังไม่มากพอ ดังนั้นหากเราทุกคนฝึกฝน
    การทำ CPR อย่างถูกวิธีก็จะสามารถช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้ทุกที่ทุกเวลา และหากเกิดเหตุฉุกเฉินให้เรากลายเป็นผู้ป่วยเสียเอง เราก็จะได้รับการช่วยชีวิตอย่างถูกต้องเช่นกัน
  3. การทำ CPR ไม่ใช่การทำ Mouth-to-mouth หลายคนลังเลที่จะทำ CPR ให้ผู้ป่วยเพราะเข้าใจผิดว่าต้องใช้วิธีเป่าปากเพื่อช่วยหายใจ แต่ความจริงแล้ว CPR คือการใช้แรงกดที่หน้าอกของผู้ป่วยโดยใช้มือหรือเครื่อง AED (เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ) หรือหากใช้ควบคู่กันทั้ง 2 อย่างก็จะเพิ่มความสัมฤทธิผลมากยิ่งขึ้นถึง 45%
  4. ขั้นตอนการทำ CPR คือสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายมาก เมื่อพบเจอเหตุฉุกเฉินและมีผู้ป่วย ควรประเมินสภาพแวดล้อมว่าตรงนั้นคือที่ที่ปลอดภัยหรือไม่ ดูว่าผู้ป่วยยังมีสติอยู่หรือไม่ หากหมดสติ ลองคลำหาชีพจร หากไม่พบให้รีบขอช่วยเหลือด่วนภายใน 4นาที เพราะหากเกิน 4 นาที ออกซิเจนในสมองผู้ป่วยจะหมดไป รีบแจ้งหน่วยงานแพทย์ฉุกเฉินเช่น ศูนย์เอราวัณ (โทร 1646 เฉพาะในพื้นที่ กทม.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (โทร. 1669 ทั่วประเทศ) และเริ่มทำ CPR ทันที
  5. ระลึกไว้เสมอว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมักเกิดขึ้นที่บ้าน เมื่อมีผู้เสียชีวิต เรามักได้ยินญาติ ๆ พูดเสมอว่า หากมีผู้ช่วยปั๊มหัวใจน่าจะช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ หากทุกคนฝึกฝนการทำ CPR เหตุการณ์เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น และเราอาจได้ใช้วิธีนี้ช่วยคนใกล้ตัวหรือแม้แต่ผู้เป็นที่รักของเราเอง

 

10 ขั้นตอนการทำ CPR

  1. เมื่อพบคนหมดสติ ให้ตรวจดูความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมก่อนเข้าไปช่วยเหลือ
  2. ปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดัง และตบไหล่ทั้งสองข้างหากผู้ป่วยรู้สึกตัว หายใจเองได้ ให้นอนตะแคง 
  3. แต่หากผู้ป่วยไม่หายใจ โทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669  เพื่อขอเครื่อง AED
  4. ประเมินผู้ป่วย หากไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ ให้ทำ CPR ทันที
  5. ทำ CPR ด้วยการกดหน้าอก ให้ผู้ป่วยนอนหงาย ผู้ทำ CPR วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้  เริ่มกดหน้าอกให้ลึกลงไปอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
  6. หากมีเครื่อง AED ให้เปิดเครื่อง ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก
  7. ติดแผ่น AED หรือแผ่นนำไฟฟ้าตรงใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และชายโครงด้านซ้าย ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย
  8. ปฏิบัติตามแนะนำที่เครื่อง AED บอก เมื่อเครื่องสั่งให้ช็อกไฟฟ้า ให้กดปุ่มช็อก และกดหน้าอกหลังทำการช็อกทันที แต่หากเครื่องไม่สั่งให้ช็อก ให้ทำการกดหน้าอกต่อไป
  9. กดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง ทำ CPR และปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง AED จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง
  10. ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล

จะเห็นได้ว่าการศึกษาจดจำขั้นตอนเหล่านี้ไว้จะมีประโยชน์มากในเวลาคับขัน ทุกคนควรเรียนรู้ไว้และสนับสนุนให้คนรอบข้างเรียนรู้ด้วย เพราะนอกจากช่วยชีวิตผู้อื่นได้แล้ว ผู้อื่นก็อาจจะใช้ขั้นตอนนี้ช่วยชีวิตเราได้เช่นกัน

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.everydayhealth.com
ภาพประกอบจาก : www.flickr.com 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก