ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-Almond-ธัญพืชวิเศษ…เพื่อสุขภาพที่ดี.jpg

อัลมอนด์ เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบ (ROSACEAE) โดยเป็นพืชพื้นเมืองในตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ลำต้นสูงประมาณ 4 – 10 เมตร ใบเป็นขอบหยัก ดอกมี 5 กลีบ สีขาวหรือชมพูอ่อน ผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล มีเปลือกแข็งหุ้มเมล็ด นิยมทานเมล็ดอัลมอนด์ โดยมีขายทั้งแบบพร้อมเปลือกและแบบไม่มีเปลือก

 

อัลมอนด์มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จากข้อมูลของ USDA Nutrient Database ระบุว่าอัลมอนด์อุดมไปด้วยพลังงาน ไฟเบอร์ โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นมากมาย เช่น วิตามินบี โพแทสเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี ในการรับประทานอัลมอนด์ 30 กรัม หรือประมาณ 24 เมล็ด ให้พลังงานทั้งหมด 160 แคลอรี่ โดยมีกรดไขมันอิ่มตัว 1 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัว 13 กรัม และโปรตีน 6 กรัม ปัจจุบันอัลมอนด์ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน

 

ประโยชน์ดี ๆ ของอัลมอนด์

  • ช่วยลดน้ำหนัก จากการที่อัลมอนด์มีไขมันชนิดดี (HDL) ปริมาณมาก สามารถช่วยลดไขมันชนิดเลว (LDL) ลดคอเลสเตอรอลในเลือด โดยงานวิจัยจากสถาบันชั้นนำในอเมริกาและยุโรปพบว่า การรับประทานวันละ 1 หยิบมือจะช่วยลดระดับไขมันเลวได้ 4.4% ขณะที่การรับประทานวันละ 2 หยิบมือก็จะช่วยลดระดับไขมันเลวได้ 9.4% นอกจากนี้การมีโปรตีน ไฟเบอร์ วิตามิน ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้น การมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ โปรตีนสูง ใยอาหารสูง ทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มนาน ใครที่ต้องการลดน้ำหนัก เบิร์นไขมัน ลีนหุ่น การทานอัลมอนด์ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและการพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นทางเลือกที่ดี
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ในอัลมอนด์ มีไขมันชนิดดี (HDL) ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และมีวิตามินอี แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีอาร์จินีน แมกนีเซียม ทองแดง แมงกานีส แคลเซียมและโพแทสเซียม ช่วยให้ออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไหลเวียนในเลือดได้ดี ทำให้การรับประทานอัลมอนด์มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การรับประทานอัลมอนด์ มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล โดยจะชะลออัตราการปล่อยน้ำตาลกลูโคสออกสู่กระแสเลือดไม่ให้เร็วจนเกินไป จึงไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูง ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้อีกด้วย
  • บำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม ไรโบฟลาวินและแอลคานิทีน มีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้เหล็ก ทองแดง และวิตามิน ในอัลมอนด์ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมองไม่ขาดออกซิเจน
  • บำรุงผิวและลดริ้วรอย อัลมอนด์มีวิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยบำรุงผิวให้มีสุขภาพดี และลดการเกิดริ้วรอยได้ น้ำมันอัลมอนด์มีความอ่อนโยนและระคายเคืองน้อยมาก จึงสามารถใช้กับผิวทารกได้

นอกจากนี้แล้ว การทานอัลมอนด์พบว่ายังมีประโยชน์ในเรื่องการบำรุงสายตา กระตุ้นแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการอ่อนเพลียได้เร็ว

 

กินอัลมอนด์อย่างไร ให้เกิดประโยชน์

  • ควรรับประทานอัลมอนด์วันละประมาณ 1 กำมือ หรือ 24 เมล็ด โดยไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพื่อให้ได้รับพลังงาน ไขมันดี (HDL) เส้นใยอาหาร โปรตีนและวิตามินในปริมาณที่เหมาะสมและส่งผลดีต่อสุขภาพ
  • จัดอัลมอนด์เป็นอาหารว่าง แทนอาหารว่าง ของกินเล่นทั่วไปที่มีไขมัน น้ำตาลปริมาณสูง เช่น ขนมเค้ก มันฝรั่งทอดกรอบ อื่น ๆ โดยคุมปริมาณให้อยู่ในข้อก่อนหน้า ทั้งนี้อัลมอนด์มีจำนวนแคลอรี่และไขมันสูง หากรับประทานมากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงเกิดคอเลสเตอรอลสูงได้เช่นกัน
  • เลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมหรือทำจากอัลมอนด์ เช่น นมอัลมอนด์ โยเกิร์ตผสมอัลมอนด์ หรือการนำอัลมอนด์ผสมลงในอาหารมื้อหลัก เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสารอาหาร

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย : กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com
ข้อมูลจาก : www.honestdocs.co   www.pobpad.com   www.medthai.com

 

 

 


-คาร์โบไฮเดรตชนิดดี-และไม่ดี.jpg

คนให้ความสนใจเกี่ยวกับ “คาร์โบไฮเดรต” มากขึ้น หลังจากที่กระแสการลดน้ำหนักแบบการกินแป้งน้อย เพื่อเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เร็วขึ้น หรือที่เรียกว่า Keto diet ทำให้เราต้องพิจารณาโดยละเอียดว่า จริง ๆ แล้วคาร์โบไฮเดรต เป็นชนิดไม่ดีทั้งหมดหรือไม่ แล้วส่วนที่ดี คือ อะไรบ้าง 

 

คาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี คือ อะไร 

ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งให้พลังงานที่สำคัญของร่างกาย โดยสามารถแตกตัวย่อยออกเป็นโมเลกุลของกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของสมอง จริง ๆ แล้วขนาดและรูปร่างของคาร์โบไฮเดรตนั้นไม่เท่ากัน อีกทั้งคาร์โบไฮเดรตไม่ได้ให้ผลเสียเสมอไป แต่คาร์โบไฮเดรตมีรูปแบบและขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งบางคาร์โบไฮเดรตจะให้คุณประโยชน์มากกว่าโทษเสียอีก แต่ว่าโดยทั่วไปแล้วคาร์โบไฮเดรตเชนิดไม่ดีนั้นพบได้ทั่วไป เกิดจากกระบวนการของคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสีออก เช่น ขนมปังขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง หรือแม้กระทั่งเส้นพาสตา เป็นต้น

 

คาร์โบไฮเดรต ชนิดไม่ดี ส่งผลในเรื่องอะไรบ้าง

คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีนั้นไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง แต่การกินอาหารจำพวกที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสี ทำให้ปริมาณแคลอรี่ของคุณเพิ่มขึ้นนั่นเอง คุณแค่พลาดในการเลือกสรรอาหารเพื่อสุขภาพ อย่างเช่น การได้รับปริมาณแคลอรี่ที่คุณควรจะได้รับตามปริมาณที่ร่างกายต้องการเท่านั้น

ดังนั้น การกินอาหารที่มีกากใยน้อยและมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น อาหารจำพวกที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสี จะมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากภาวะการหิวบ่อย เนื่องจากพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั่นเอง ในขณะที่คุณก็ไม่ได้ต้องการเพิ่มน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีให้แก่ร่างกายอีกแล้ว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่สามารถกินเค้กในงานวันเกิด หรือกินโดนัทในตอนที่คุณอยากกินมันมาก ๆ นะ เพราะบางครั้งเราก็อดใจไม่ไหวแน่นอน

 

คาร์โบไฮเดรตชนิดดี คือ อะไร

ยังมีคาร์โบไฮเดรตส่วนที่ดีหลงเหลืออยู่ เป็นที่รู้กันว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดดีจะพบได้ในธัญพืชที่มาจากธรรมชาติโดยตรง ไม่ผ่านการขัดสี เช่น อาหารจำพวกถั่ว ผลไม้ และผักต่าง ๆ เป็นต้น

อาหารจำพวกที่เป็นคาร์โบไฮเดรตดี คือ อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นและมีกากใยสูง เช่น ธาตุแมกนีเซียม โปรตีน และวิตามิน รวมถึงสารต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ อย่างเช่น วิตามินเอ และวิตามินซี เป็นต้น ซึ่งให้ผลดีต่อร่างกายมากกว่าคาร์โบไฮเดรตที่เราได้รับจากปกติ

ยกตัวอย่างประเภทอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ดี

  • คีนัว (Quinoa)
  • ข้าวโอ๊ต (Oatmeal)
  • ป๊อปคอร์น (Popcorn)
  • ถั่วดำ (Black beans)
  • ถั่วลูกไก่ (Chickpeas)
  • ถั่วแระญี่ปุ่น (Edamame)
  • แอปเปิ้ล (Apple)
  • กล้วย (Banana)
  • แครอท (Carrot)
  • มันฝรั่งหวาน (Sweet Potatoes)

คาร์โบไฮเดรตชนิดดี ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบที่มีโมเลกุลยาว เพื่อให้ร่างกายใช้เวลาในการย่อยสลาย และเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้นานขึ้น โดยร่างกายจะไม่มีการผลิตอินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด (No-sugar crash) ในช่วงเวลาประมาณบ่ายสามของวัน

 

เราควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตมากแค่ไหน

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราควรได้รับคาร์โบไฮเดรตคิดเป็นประมาณ 45 – 65 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวัน (ในกรณีนี้เราพูดถึงคาร์โบไฮเดรตชนิดดี) จากที่เราควรได้รับปริมาณแคลอรี่ต่อวันอยู่ที่ 1,600 แคลอรี่ ดังนั้น ประมาณ 720 – 1,040 แคลอรี่ หรือประมาณ 180 – 260 กรัม ของสารอาหารที่เราได้รับ ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดดีทั้งสิ้น แต่บางคนอาจไม่ได้ใส่ใจในการคำนวณปริมาณแคลอรี่ ในการรับประทานอาหารต่อวันมากนัก ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดในการรักษาสมดุล คือ การกินขนมและอาหารที่ครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารต่อวัน เป็นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตชนิดดี โปรตีน และไขมันชนิดดี

 

ควรอ่านฉลากโภชนาการอย่างไร

แน่นอนว่าคุณสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีแต่ธัญพืช เพื่อให้ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตชนิดดีได้ แต่คุณอาจคาดไม่ถึงเลยว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีนั้นมีอยู่ในทุก ๆ ที่อย่างน่าตกใจ เช่น เมื่อคุณซื้ออาหารและดูฉลากโภชนาการ และปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับต่อหน่วยบริโภค ก่อนอื่นแนะนำให้คุณดูในส่วนของปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด จากนั้นดูปริมาณคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี ควรที่หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ประกอบด้วยน้ำตาล คือ พยายามให้น้อยกว่า 10 กรัมต่อจำนวนหน่วยบริโภค

สำหรับอาหารจำพวกกากใยนั้น จำเป็นน้อยกว่าคาร์โบไฮเดรตเสียอีก แนะนำว่าควรบริโภคอาหารจำพวกกากใยอย่างน้อยประมาณ 3 กรัม ต่อจำนวนหน่วยบริโภค และควรดูข้อกำหนดของส่วนผสมเพิ่มเติมด้วย เพื่อสังเกตปริมาณคาร์โบไฮเดรตชนิดดี อย่างเช่น ธัญพืชที่ได้จากธรรมชาติ และคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ดี อย่างสารอาหารที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสี (อย่างไรก็ตาม น้ำตาลเองนั้นก็มีอยู่หลากหลายชื่อ และหลายองค์ประกอบ อย่าลืมหาข้อมูลเพิ่มเติมกันด้วย)

 

ตราบใดที่คุณได้รับคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีมาก และชนิดไม่ดีน้อย ในปริมาณสารอาหารแต่ละวัน  คุณก็ไม่มีอะไรต้องกังวลสำหรับเรื่องของคาร์โบไฮเดรตแล้วล่ะ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกินอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ สร้างรากฐานสุขภาพที่ดีให้ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.womenshealthmag.com
ภาพประกอบ: www.pixabay.com


-ในผู้ที่มีภาวะแพ้อาหาร-H2C.jpg

กินเจอย่างไร ในผู้ที่มีภาวะแพ้อาหาร อาหารเจเป็นอาหารที่ปรุงโดยปราศจากเนื้อสัตว์ โดยได้โปรตีนจากพืชเป็นหลัก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ธัญพืช ส่วนประกอบหลักของอาหารเจ ได้แก่ ธัญพืชพวกถั่ว งา ผัก และผลไม้ 5 สี ได้แก่ ขาว ดำ แดง เขียว เหลือง

 

โดยทั่วไปการรับประทานเจต้องเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมตามวัย อายุ และสภาพร่างกายของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม อาหารเจอาจมีผลต่อภาวะภูมิแพ้อาหารได้ โดยผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้อาหารอยู่แล้ว อาจเสี่ยงต่อการแพ้อาหารเจได้ง่าย หรือผู้ที่บริโภคอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ จำนวนมาก เป็นเวลานาน ก็อาจกระตุ้นให้แพ้อาหารชนิดนั้นได้ ถึงแม้ว่าไม่เคยแพ้มาก่อน โดยเฉพาะอาหารประเภทนมถั่วเหลือง แป้งสาลี และถั่ว โดยพบว่าอาหารที่คนไทยแพ้บ่อย ได้แก่ นมวัว และผลิตภัณฑ์จากนมวัว  ไข่ แป้งสาลี และอาหารทะเล ซึ่งผู้ป่วยที่แพ้นมวัวมักจะแพ้นมถั่วเหลืองร่วมด้วยร้อยละ 15 – 30  

นอกจากนี้ ในเนื้อสัตว์เทียมของอาหารเจก็ทำจากแป้งกลูเตน ซึ่งเป็นไกลโคโปรตีนที่ผลิตจากแป้งข้าวสาลี ซึ่งเป็นอาหารที่คนไทยแพ้ได้บ่อยเช่นกัน ดังนั้น จึงควรระวังการบริโภคอาหารเจในผู้ป่วยกลุ่มที่แพ้อาหาร โดยเฉพาะผู้ที่แพ้นมวัว นมถั่วเหลือง หรือแพ้แป้งสาลี

ในกรณีต้องการบริโภคอาหารเจ อาจเลี่ยงไปบริโภคอาหารประเภทแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า ข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด ที่ไม่ก่อให้แพ้และได้พลังงานเช่นกัน

 

ข้อแนะนำในการบริโภคอาหารเจ

สำหรับผู้ที่แพ้อาหาร มีข้อแนะนำในการบริโภคอาหารเจ  

กรณีที่แพ้นมวัว ควรระวังในการบริโภคนมถั่วเหลือง เพราะอาจพบว่าแพ้นมถั่วเหลืองร่วมด้วยได้ โดยอาหารที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนผสม ได้แก่ นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ ซีอิ๊ว อาหารที่ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว ซอสปรุงรสต่าง ๆ ราดหน้าใส่เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มข้าวมันไก่ หอยจ๊อที่ห่อด้วยฟองเต้าหู้ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปสำหรับทำอาหารเจอย่างโปรตีนเกษตร ซึ่งของพวกนี้ทำจากถั่วเหลืองแทบทั้งสิ้น เป็นต้น

สำหรับอาหารที่มีแป้งสาลีเป็นส่วนผสม ได้แก่ อาหารที่ใช้แป้งเป็นส่วนประกอบอย่างพวก ขนมปัง เส้นพาสต้าต่าง ๆ เค้ก ขนมอบ เบเกอรี่ต่าง ๆ อาหารชุบแป้งทอดหรือเกล็ดขนมปัง เป็นต้น ดังนั้น จึงควรระวังในการบริโภคอาหารกลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่แพ้อาหาร

 

วิธีสังเกตภาวะแพ้อาหาร

  • อาการทางผิวหนัง เช่น มีผื่นเล็ก ๆ นูนแดง คัน บวม คล้ายลมพิษ ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารชนิดนั้น นอกจากนี้ อาจมีผื่นอีกประเภทที่แดง คัน แห้ง ลอก ซึ่งในเด็กเล็กมักมีจะมีผื่นที่แก้ม ข้อศอก แต่เมื่อโตขึ้นจะมีผื่นที่ข้อพับ ซึ่งผื่นลักษณะนี้มักจะเป็นภายหลังได้รับอาหารชนิดนั้นเป็นเวลาหลายวันถึงสัปดาห์
  • อาการระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้องแบบบิด
  • อาการระบบทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ จาม หายใจไม่สะดวก
  • กรณีที่มีอาการรุนแรง มักมีอาการหลายระบบ เช่น ระบบผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบหมุนเวียนโลหิต ซึ่งหากปฏิกิริยานั้นเกิดขึ้นรวดเร็ว รุนแรงอาจมีผลทำให้ผู้ป่วย ช็อค หมดสติ เขียว และเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม หากไม่มั่นใจว่าแพ้อาหารชนิดไหน ก่อนบริโภคควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือเจาะเลือดว่ามีภาวะแพ้อาหารชนิดนั้นหรือไม่

ดังนั้น เราควรใส่ใจกับส่วนผสมของอาหารที่รับประทาน และสังเกตอาการก็จะทำให้ชีวิตเป็นสุขแบบไม่เสี่ยง

 

ศ.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล
ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นความเลิศด้านโรคหืด โรคภูมิแพ้ และโรคระบบหายหายใจ
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ภาพประกอบจาก: อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ใต้รูป     

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก