ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

.jpg

ความกลัวหรือความตระหนกตกใจที่เกิดขึ้นอย่างทันทีเหมือนจู่โจม เป็นลักษณะสำคัญของโรคทางจิตเวชโรคหนึ่ง คือ โรคแพนิค ซึ่งมีอาการทางกายที่รุนแรง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 3 – 10 นาที เกิดขึ้นเป็นพัก ๆ อาจนานถึงครึ่งชั่วโมงโดยเกิดขึ้นร่วมกับความหวาดกลัว

 

อาการที่สำคัญของ โรคแพนิค

อาการที่เกิดขึ้นแบบจู่โจม (แพนิค) นี้มักเกิดขึ้นโดยไม่เลือกเวลาและสถานที่ จึงยากที่จะทำนายได้ ทำให้บางรายเกิดความหวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือ กิจกรรมนั้น ๆ ที่เคยมีแพนิคเกิดขึ้น อาการแพนิคสงบลง ผู้ป่วยมักตกอยู่ในสภาพหวาดหวั่นวิตกกังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นมาอีก ไม่อาจรู้ว่าเมื่อไรและ ที่ใดยิ่งมีความหวาดหวั่นและ วิตกกังวลมากเท่าใดก็ดูเหมือนว่าจะเกิดอาการจู่โจมมากขึ้นเท่านั้น ผู้ป่วยได้ตกอยู่ในวงเวียนของการเกิดอาการเสียแล้ว

 

WordPress Tables Plugin

 

โรคแพนิคพบบ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ทำให้ความสามารถในการประกอบอาชีพลดลง และความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด ตึงเครียดมากขึ้น ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจหรือ โรคร้ายแรง เวียนไปพบแพทย์บ่อยๆ ซึ่งการตรวจร่างกายและการทดสอบพิเศษจะไม่พบความผิดปกติ

 

สาเหตุ

มีปัจจัยหลายประการที่อาจประกอบกันทำให้เกิดอาการ เช่น

  • ศูนย์ควบคุมการทำงานของสมองและจิตใจเกี่ยวกับความหวาดกลัวไวต่อสิ่งกระตุ้น มากกว่าปกติ
  • กรรมพันธุ์ โรคนี้อาจพบได้ในครอบครัวเดียวกัน
  • การมีอาการจู่โจมเกิดขึ้นครั้งแรก อาจมีความสัมพันธ์กับความตึงเครียดในชีวิต โรคทางอายุรกรรม หรือสารยาบางตัว บางรายอาจไม่มีสิ่งกระตุ้นเหล่านี้เลยและ ถึงแม้ว่า สิ่งกระตุ้นได้หมดไปแล้วก็ตาม แต่ผู้ป่วยก็ยังคงมีอาการจู่โจมเกิดขึ้นต่อไป

 

การรักษา โรคแพนิค

ในปัจจุบันวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ คือการรักษาทางยาร่วมกับการดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นมาก จนหายขาดได้้ 7 หรือ 9 ราย ใน 10 ราย โดยอาการดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดภายหลังเริ่มการรักษาแล้ว 6-8 สัปดาห์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์ยังคงให้การรักษาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อป้องกันการกำเริบของอาการ การหยุดยา ควร ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะจะเกิดอาการของการหยุดยา หรือมีอาการ เก่ากำเริบ

 

คำแนะนำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

สิ่งที่ควรทำ ออกกำลังกายตามสมควร ตามความสามารถ

  • โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงเสียชีวิต เหมือนที่ผู้ป่วยมักกลัว
  • ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษา
  • ไม่ควรบรรเทาอาการด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ เพราะอาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดเสพ
  • ลดหรืองดื่มกาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ประเภทโคล่าทุกชนิด
  • ออกกำลังกายตามสมควรตามความสามารถ
  • เมื่ออาการต่าง ๆ ทุเลาแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัว และลองทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยง โดยเริ่มทีละเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอ
  • ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด


การฝึกควบคุมการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย

  • นอนหงายตามสบายบนเตียง หรือพื้นที่ในบริเวณที่สงบ
  • มือทั้งสองประสานวางอยู่บนหน้าท้องไม่เกร็ง ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออกและหัวไหล่
  • สูดลมหายใจเข้าช้าๆพร้อมทั้งสังเกตและจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจ ที่ผ่านรูจมูกเข้าไปลึกเต็มที่จนหน้าท้องขยายขึ้นรู้สึกได้จากการที่มือทั้ง สองถูกยก
  • ขึ้นช้า ๆ และหัวไหล่เคลื่อนขึ้น
  • เมื่อหายใจเข้าเต็มที่แล้ว นับ 1, 2, 3 ในใจช้า ๆ
  • ผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ พร้อมทั้งสังเกต และจดจ่อที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่เคลื่อนที่ออกผ่านรูจมูกจนหน้าท้อง แฟบลง มือทั้งสองลดต่ำลง
  • เมื่อหายใจออกจนหมด นับ 1, 2, 3 ในใจช้า ๆ
  • เริ่มหายใจเข้าและหายใจออกสลับกันไป เป็นจังหวะสม่ำเสมออย่างน้อย 10 ครั้ง
  • เมื่อมีความชำนาญอาจทำเวลานั่งโดยพิงเก้าอี้ตามสบาย มือทั้งสองวางไว้ที่หน้าขาหรือประสานกันอยู่ที่หน้าท้อง วิธีการเหมือนกับการควบคุมการหายใจในท่านอนหงายทุกประการ

 

แหล่งข้อมูล : thaipsychiatry.wordpress.com
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก