ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

10-เคล็ดลับ-การดูแลสุขภาพผู้หญิง.jpg

สาว ๆ ทั้งหลาย ช่วงเวลาที่เราได้พูดคุย ปรึกษาคุณหมอนั้น มีน้อยและก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ แล้วถ้าคุณหมอมีเวลามากขึ้น เขาก็อาจจะบอกกับคุณถึงวิธีการดูแลสุขภาพผู้หญิง อย่างที่สูตินรีเวชผู้เชี่ยวชาญแนะนำเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้

 

สุขภาพผู้หญิงดูแลง่าย ๆ

  1. ขจัดความเครียด
    ปัญหาใหญ่ที่สุดที่พบในผู้ป่วยส่วนใหญ่คือ การที่ทุกคนมีสิ่งที่ต้องจัดการมากเกินไปและพวกเขาต้องการทำทั้งหมดให้ออกมาดีในทุก ๆ เรื่อง ความเครียดนั้นมีผลกระทบที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นจากภาวะมีบุตรยากซึ่งเป็นที่มาของความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคหัวใจ ดังนั้นลองหาวิธีที่เหมาะกับคุณในการลดความเครียดและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของคุณเอง
  2. เลิกอดอาหาร
    การกินเพื่อสุขภาพไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเลิกดื่มไวน์ หรือลืมเค้กช็อคโกแล็ตสุดโปรดตลอดชีวิตของคุณ กุญแจที่สำคัญคือ การกินในปริมาณที่พอเหมาะ กินโปรตีน ไขมันชนิดดี คาร์โบไฮเดรตชนิดดี และอาหารจำพวกกากใย
  3. อย่ากินแคลเซียมมากเกินความจำเป็น
    การได้รับแคลเซียมมากเกินความจำเป็นทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไตและโรคหัวใจอีกด้วย ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ควรได้รับแคลเซียมเพียงวันละ 1,000 มิลลิกรัม ในขณะที่ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อวันโดยดูดซึมผ่านสารอาหาร อาหาร 3 ประเภทที่มีปริมาณแคลเซียมสูง คือ นม ปลาแซลมอน และอัลมอนด์
  4. ทำมากกว่าแค่การออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
    ในหนึ่งสัปดาห์ผู้หญิงเราควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 3 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ผสมผสานการออกกำลังกายทั้งแบบกระตุ้นหัวใจ (Cardio) สลับกับการใช้น้ำหนักตัวเป็นตัวช่วย (Weight-bearing) เพื่อช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ โรคมะเร็งและโรคเบาหวาน  นอกจากนี้การออกกำลังกายยังส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพจิตของผู้หญิงเรา
  5. วางแผนการมีบุตร
    ในช่วงอายุ 30 ปีปลาย ๆ หรือแม้แต่ในช่วงอายุเริ่ม 40 ปีต้น ๆ มักไม่พบปัญหาจากการตั้งครรภ์ แต่ความพร้อมของด้านร่างกายในการมีบุตรจะเริ่มถดถอยเมื่อเริ่มมีอายุ 32 ปีขึ้นไป ดังนั้นหากคุณวางแผนจะมีลูก ลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การฝากไข่ เป็นต้น
  6. คุณค่าของการคุมกำเนิด
    บางครั้งการคุมกำเนิดอาจทำให้คุณถูกมองแง่ลบ แต่การคุมกำเนิดไม่เพียงแต่จะป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรแล้ว จากการศึกษาพบว่ายังสามารถลดความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่ได้ เช่นเดียวกัน นั่นคือการทำให้ประจำเดือนมาตามรอบปรกติ
  7. พบแพทย์เป็นประจำทุกปี
    ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 21 ปี ทุก ๆ 3 ปี ควรแน่ใจว่าคุณได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap test) สำหรับช่วงวัย 30 – 65 ปี ทุก ๆ 5 ปี คุณควรได้รับการตรวจทั้งคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเชื้อ HPV (HPV test) เมื่ออายุเกินกว่านี้อาจไม่จำเป็นต้องตรวจถ้าแพทย์ระบุว่าคุณมีความเสี่ยงต่ำ แต่หากคุณยังคงมีกิจกรรมทางเพศและมีความเสี่ยงสูงในการติดต่อโรคทางเพศสัมพันธ์  คุณควรตรวจหาเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia) เชื้อหนองในแท้ (Gonorrhea) และเชื้อซิฟิลิส (Syphilis) เป็นประจำทุกปี และควรตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างน้อยหนึ่งครั้งและถ้าคิดว่าเสี่ยงก็ควรตรวจบ่อย ๆ  ยิ่งไปกว่านั้นห้ามลืมตรวจสุขภาพประจำปีเด็ดขาด เพราะแพทย์จำเป็นต้องประเมินปัญหาอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น การคุมกำเนิด และปัญหาทางเพศอื่น ๆ
  8. เพศสัมพันธ์ที่ดีช่วยได้
    เซ็กส์ช่วยลดความเครียดและอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ ถ้าคุณรู้สึกมีความสุขไปกับมัน แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าเพศสัมพันธ์ยังไม่ดีพอจากปัญหาต่าง ๆ เช่น น้ำหล่อลื่นแห้ง หรือรู้สึกเจ็บ ลองปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีแก้
  9. พักผ่อนให้มากขึ้น
    แต่ละคนมีการนอนหลับหรือการพักผ่อนที่แตกต่างกัน แต่ถ้าคุณมีปัญหาไม่อยากตื่นนอนตอนเช้า เหนื่อยง่าย หรือไม่มีสมาธิ เป็นสัญญาณว่าคุณอาจจะพักผ่อนไม่เพียงพอ มากไปกว่านั้นงานวิจัยล่าสุดพบว่า การพักผ่อนน้อยอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น
  10. การประเมินประวัติทางพันธุกรรม
    ปัจจุบันแพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และโรคเรื้อรังต่าง ๆ จากประวัติทางพันธุกรรมของบุคคลในครอบครัว ลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ และพิจารณาหาวิธีปเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวได้

 

เพศหญิงเป็นเพศที่มีรายละเอียดในการดูแลสุขภาพที่ค่อนข้างแตกต่างกันไป นั่นเพราะส่วนหนึ่งมาจากฮอร์โมนและประจำเดือนของเราในแต่ละรอบอายุ อย่างไรก็ดีวิธีการดูแลสุขภาพผู้หญิงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ยากจนเกินไป เพียงแค่เราใส่ใจและหมั่นสังเกตด้วยความรอบคอบ ก็สามารถมีสึขภาพสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมรับมือกับทุกช่วงวัยที่ก้าวเข้ามา

  

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.webmd.com
ภาพประกอบ: www.pixabay.com

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก