ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-19-ต้องทำอย่างไรบ้าง.jpg

เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในละอองฝอย และตามพื้นผิววัสดุต่าง ๆ  สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก ปาก ตา ช่องทางหลักที่เชื้อเข้าสู่ปอด วิธีการป้องกันมีดังนี้

 

การลดการสัมผัสเชื้อโดยเคร่งครัด 3 ประการ คือ

  • สวมหน้ากากอนามัย
    เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำลาย น้ำมูก เสมหะจากการไอ จาม ของผู้สวมใส่แพร่กระจายสู่อากาศภายนอก ทำให้ผู้ใกล้ชิดติดเชื้อได้ และช่วยป้องกันไม่ให้ละอองฝอยจากผู้ที่ไอหรือจามเข้าสู่ร่างกายผู้สวมใส่ด้วย โดยเลือกประเภทหน้ากากอนามัย การใส่ ทำความสะอาดและทิ้งอย่างถูกต้อง

    .
    สวมหน้ากากอนามัย.
    ประเภทหน้ากากอนามัยที่เหมาะสม

    • กรณีมีอาการทางเดินหายใจ ให้ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่มีชั้นกรองตรงกลางเท่านั้น และควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน มีข้อมูลว่าการสวมหน้ากากอนามัย แล้วสวมทับด้วยหน้ากากผ้า ทำให้การป้องกันดียิ่งขึ้น
    • กรณีไม่มีอาการ เลือกใช้หน้ากากที่สามารถป้องกันละอองฝอยทะลุผ่านได้ เช่น หน้ากากอนามัยทั่วไป หน้ากากอนามัยกันฝุ่น กันกลิ่น หน้ากากผ้า เป็นต้น สำหรับหน้ากากผ้าต้องซักทุกวัน ด้วยน้ำอุณหภูมิสูง 60 – 80 องศา ตากแดดจัดก่อนนำมาใช้ใหม่
  • หลักการสวมใส่: ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่ ใส่และถอดโดยจับที่สายคล้อง คล้องสายที่หูโดยไม่จับที่ตัวหน้ากาก ระหว่างการใช้งานไม่จับที่ตัวหน้ากากเช่นเดียวกัน
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ
    หากมีเชื้อโควิดที่มือ เชื้อสามารถผ่านเข้าร่างกายจากการแคะจมูก ขยี้ตา หยิบอาหารด้วยมือเปล่า เป็นต้น
    • วิธีการล้างมือให้ถูกต้อง ให้ใช้น้ำสะอาด ล้างโดยฟอกด้วยสบู่หรือแชมพูล้างมือ (ไม่จำเป็นต้องผสมสารฆ่าเชื้อ) จนขึ้นฟอง ไม่ต่ำกว่า 20 วินาที โดยถูให้ทั่วทั้งหน้าและหลังมือ รวมถึงซอกนิ้ว ซอกเล็บต่าง ๆ ก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด
      .
      วิธีล้างมือ.
    • กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ใช้แอลกอฮอล์เข้มข้น 60 – 70% ในรูปเจลหรือสเปรย์ ทาให้ทั่วมือที่ไม่เปียก แล้วปล่อยให้แห้งเอง (ถ้ามือเปียก แอลกอฮอล์จะเจือจางจนฆ่าเชื้อไม่ได้) ห้ามล้างหน้าหรือใช้มือล้างอย่างอื่นต่อ เพราะน้ำอาจล้างแอลกอฮอล์ออกหมด
    • หากมือมีคราบสกปรก ควรหาน้ำล้างคราบสกปรกออกก่อน เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เกาะอยู่ที่คราบเปื้อนได้
      .
  • เว้นระยะห่างกับผู้อื่นให้เพียงพอ
    การเว้นระยะห่างในทางปฏิบัติ ทำได้โดย

    • การเว้นระยะห่างจากผู้อื่นขั้นต่ำ 1 เมตร และห่างจากคนที่มีอาการไอหรือจาม 2 เมตร
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องสื่อสารใกล้ชิด เว้นระยะห่างการสื่อสารให้เหมาะสม
    • ไม่หันหน้าเผชิญผู้ติดต่อ ผู้สนทนาในระยะที่ไอ จามใส่กันได้
    • แยกทานอาหารคนเดียว ไม่ทานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
    • หลีกเลี่ยงการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน การไปในที่มีคนหนาแน่น รีบกลับให้เร็วที่สุด
    • หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ กรณีที่ใช้ให้หันหน้าเข้าผนังหรือตามที่มีสัญลักษณ์ตำแหน่งยืนในลิฟต์
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของสาธารณะ เช่น ราวบันไดเลื่อน ประตูเปิดปิดร้านสะดวกซื้อ โต๊ะสาธารณะ เป็นต้น เมื่อเจอสถานการณ์ที่ต้องสัมผัสบ่อย ๆ ให้ล้างมือทันที
      .
      การเว้นระยะห่าง.
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
    การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก ล้างมือให้บ่อย และการเว้นและรักษาระยะห่าง ทั้งนี้มีการศึกษาที่ว่า การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดโอกาสในการติด ลดความรุนแรง และลดโอกาสเสียชีวิตหากติดหลังฉีดลงได้ ผู้ที่สนใจฉีดสามารถจองคิวฉีดวัคซีนได้ทาง “Line OA หมอพร้อม”, รพ.ใกล้บ้านที่มีประวัติการรักษา, อสม.หรือ รพ. สต. ในพื้นที่

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

 


-วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19.jpg

ทำไมต้องฉีดวัคซีน ใครควรฉีดบ้าง

วัคซีนมีประสิทธิภาพ 3 ประการ ได้แก่ ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการเกิดโรค (ติดเชื้อได้ แต่ไม่เป็นโรค) ป้องกันความรุนแรงของโรค (เป็นโรคได้ ไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต) จึงเป็นการป้องกันผู้รับการฉีด และการป้องกันคนรอบข้างร่วมด้วย ถ้าทุกคนได้ฉีดวัคซีน โรคนี้ก็จะสงบลงไป ความเป็นอยู่ได้กลับมา เศรษฐกิจได้กลับมา (ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ, hfocus.org)

ทุกคนควรฉีด โดยกรมควบคุมโรคได้จัดลำดับการฉีดตามกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่ที่มีการระบาด ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก  www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia

 

ฉีดวัคซีนแล้ว มีผลข้างเคียงไหม รุนแรงหรือไม่

การฉีดวัคซีนทุกตัวอาจมีและไม่มีผลข้างเคียง แตกต่างกันไปตามผู้รับการฉีด ข้อมูลจาก BBC.NEWS (29 มี.ค. 21) พบผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ให้บริการทางสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด้านหน้าและกลุ่มเสี่ยง พบผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค เกิดผลข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด 20 – 30% และชนิดรุนแรง เช่น อาการทางสมอง อย่างอาการชัก 0.7% ขณะที่มีอาการแพ้รุนแรงน่ากังวลกว่า เช่น แน่นหน้าอก เหนื่อย ปวดท้อง อาเจียน ผื่นขึ้นตามตัว เป็นต้น

ทั้งนี้ข้อมูลจาก TECHSAUCE เขียนผลข้างเคียงของวัคซีนซิโนแวค ไว้ว่า ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร เจ็บคอ น้ำมุกไหล และวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ไว้ว่า ปวดศีรษะ เหนื่อยหอบ ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น ปวดบริเวณข้อ เป็นต้น

 

มีมาตรการรองรับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไหม ผู้ฉีดควรปฏิบัติอย่างไรภายหลังฉีด

ในเบื้องต้นผู้รับการฉีดต้องศึกษาข้อมูลทั้งการเตรียมตัวก่อนและหลังการฉีด โดยต้องอยู่รอดูอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที หลังจากนั้นหากมีอาการเล็กน้อย สามารถทานยาแก้อาการได้ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้คลื่นไส้ หากมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ไข้สูง ใจสั่น หนาวสั่น แน่นหน้าอก หากใจไม่ออก ปวดศีรษะรุนแรง หน้าเบี้ยวปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีจุดเลือดออกจำนวนมาก ผื่นขึ้นจำนวนมาก บวมทั่วร่างกาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง อาการใดอาการหนึ่งควรรีบแจ้งแพทย์ทันทีหรือโทร 1669

ทั้งนี้ภาครัฐได้ออกมาตรการ โดยให้สปสช.จ่ายเงินช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีน เช่น เจ็บป่วยต่อเนื่อง เสียอวัยวะ/พิการ ตาย/ทุพพลภาพถาวร

 

ฉีดวัคซีนแล้วยังมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ไหม และต้องป้องกันตัวอยู่อีกไหม

ยังมีโอกาสติดอยู่ มากน้อยแล้วแต่ชนิดของวัคซีน แต่การติดหลังจากได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ส่วนใหญ่อาการป่วยจะน้อย เหลือแค่ไข้หวัดธรรมดา ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ต้องนอนไอซียูหรือเสียชีวิต

ดังนั้น หลังได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ยังต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆและรักษาระยะห่างอยู่

 

คนที่เคยติดเชื้อโควิดและหายแล้ว ยังต้องฉีดวัคซีนอีกไหม

จากการศึกษาเมื่อเป็นโควิดหลัง 3 เดือน เมื่อตรวจภูมิต้านทานจำนวน 300 คน พบว่า 90% มีภูมิต้านทานอยู่ และจะค่อยๆลดลงไปหลัง 6 เดือน ดังนั้น เมื่อเป็นติดเชื้อโควิดแล้ว และอยากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ขอให้ไปฉีดหลังเป็นแล้วหลัง 6 เดือนขึ้นไป (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ, hfocus.org)

 

ถ้าฉีดแล้ว มีผลข้างเคียงและยังมีโอกาสติดเชื้ออยู่ ทำไมยังต้องฉีด

หากดูผลข้างเคียง โดยเฉพาะอาการที่รุนแรงจะพบว่ามีน้อยมาก แม้ว่าโอกาสติดเชื้อยังพอมีอยู่ แต่การฉีดวัคซีนจะทำให้ผู้ที่ติดเชื้อภายหลังได้รับวัคซีน มีอาการรุนแรงน้อยลงมาก และการฉีดวัคซีนยังเป็นการป้องกันให้คนที่อยู่ใกล้ชิดด้วย

 

ฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเวลาใกล้เคียงกัน ได้หรือไม่

วัคซีนโควิดเป็นวัคซีนใหม่ จึงไม่อยากให้ฉีดพร้อมกับวัคซีนตัวอื่น เนื่องจากหากมีอาการข้างเคียงจะไม่รู้ว่าเกิดจากวัคซีนชนิดไหน จึงขอให้ฉีดห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่น หากฉีดวัคซีนโควิดไปแล้ว แต่วันรุ่งขึ้นถูกสุนัขกัด และจำเป็นต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า มีความจำเป็นต้องชีวิต อันนี้ต้องฉีด (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ)

 

ฉีดเข็มแรกกับเข็มที่สอง ใช้วัคซีนคนละตัวกันได้ไหม และฉีดครบโดสแล้ว อยากฉีดซ้ำวัคซีนยี่ห้ออื่นได้ไหม

การฉีดเข็มแรกและเข็มที่สอง เป็นวัคซีนคนละตัว “น่าจะได้”  เนื่องจากการทำงานของวัคซีนโควิดคือ เข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันหรือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีเพื่อจัดการเชื้อโควิค 19 ถ้ารับโดสแรกไปแล้ว น่าจะมีภูมิคุ้มกันขึ้นมาระดับหนึ่ง เมื่อเว้นระยะประมาณ 1 เดือน ถ้าฉีดวัคซีนต่างยี่ห้อ ก็จะยิ่งเพิ่มภูมิคุ้มกันขึ้นไปอีก

การฉีดครบโดสแล้ว ฉีดซ้ำด้วยวัคซีนยี่ห้ออื่น “น่าจะได้”  เพราะยังไม่มีข้อบ่งชี้ถึงอันตรายหรือข้อห้ามออกมา แต่ว่าฉีดซ้ำแล้วช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้เพิ่มมากอีกเท่าไรนั้น คงต้องรอการพิสูจน์จากงานวิจัยหรือการวิเคราะห์ผลกลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบนี้อย่างรายละเอียด

(วัคซีนโควิด19 ฉีดซ้ำ 2 ยี่ห้อได้หรือไม่, เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต, 1 มี.ค. 2564)

 

คนไทยต้องฉีดวัคซีนโควิด 19 กี่คนจึงจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบหมู่

ภูมิคุ้มกันหมู่ที่เกิดจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 น่าจะอยู่ราว ๆ 70 – 75% แต่อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า หากจะขอเลือกเป็นคนที่ไม่ฉีดวัคซีนและอยู่ใน 30% ที่เหลือได้หรือไม่ คำตอบคือได้แต่คุณจะมีความเสี่ยงที่จะไม่มีภูมิคุ้มกันป้องกันตนเอง ในขณะที่คนอื่นมีภูมิคุ้มกัน ขอแนะนำให้คุณอยู่ในกลุ่ม 70% (ที่ได้รับวัคซีน) จะดีกว่า

 

ฉีดครบโดสในครั้งนี้ ปีหน้ายังต้องฉีดอีกไหม

กำลังมีการศึกษาเรื่องนี้อยู่ ต้องรอข้อมูลอีกสักระยะ แต่เป็นไปได้ที่จะต้องฉีดเนื่องจากเชื้อที่ระบาดหลัก ๆ ในแต่ละปีอาจแตกต่างกัน

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19

 

ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก