ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-เมื่อประสบภัยจากรถ.jpg

ข้อควรรู้เมื่อประสบภัยจากรถ ประชาชนทุกคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถ จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร เจ้าของรถ คนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตอันเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

 

การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ และเป็นสวัสดิการสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว

 

ข้อพึงปฏิบัติเมื่อประสบภัยจากรถ

เมื่ออุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือผู้พบเห็นควรปฏิบัติ ดังนี้

  • กรณีมีผู้บาดเจ็บ
  1. นำคนเจ็บเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และสะดวกที่สุดก่อน
  2. แจ้งเหตุที่เกิดให้ตำรวจทราบ และขอสำเนาประจำวันตำรวจเก็บไว้
  3. แจ้งเหตุบริษัทประกันภัยทราบ แจ้งวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ
  4. เตรียมเอกสาร ถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันเกิดเหตุ ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการ กรณีเมื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
  5. ให้ชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ
  • การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นผ่านโรงพยาบาล

เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย ให้เตรียมเอกสาร ดังนี้

  1. สำเนากรมธรรม์ของรถ (ใบเสร็จรับเงินจากบริษัทประกัน)
  2. สำเนาใบบันทึกประจำวันของตำรวจประทับตราโล่ และสำเนาถูกต้องเอกสาร
  3. สำเนาคู่มือรถหน้าจดทะเบียน และหน้ารายการเสียภาษี หรือสำเนาสัญญาซื้อขาย (สมุดเขียว/น้ำเงิน)
  4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
  6. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
  7. สำเนาบัตรทะเบียนบ้านเจ้าของรถอย่างละ 2 ชุด

 

มีสิทธิข้าราชการ อุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิไหนก่อน?

เมื่อผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ และเข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลรามาธิบดี ตามนัยมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2535 ของระบบราชการ ต้องใช้สิทธิ พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถ

 

มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพ อุบัติเหตุจากรถ  จะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนโดยไม่ใช้ พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถได้หรือไม่?

ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2540 ต้องใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถก่อน

การเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยมากับรถคันไหนให้เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถคันนั้น แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกให้เบิกค่าเสียหายเบื้อต้นจากรถที่เกิดเหตุ (หรือเบิกจากกองทุนเงินทดแทน)

ดังนั้น กรณีที่มีผู้ประสบภัยจากรถ ท่านสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยที่ท่านจะรับการรักษาด้วยความสะดวกรวดเร็วไม่น้อยกว่ามาตรฐานของโรงพยาบาล เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัย หรือญาติ จะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ญาติเตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นให้กับโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ตั้งเบิกต่อบริษัทประกันแทนผู้ประสบภัย ตามค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง ไม่เกิน 30,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

 

วงเงินความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.

  • ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัย อันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่าย โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิด และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน

1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
2. ค่าทุพพลภาพ/สูญเสียอวัยวะ หรือค่าปลงศพตามข้อ 1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท ในชั้นต้น 35,000 บาท

  • ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย

1. กรณีบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท
3. สูญเสียอวัยวะ
• นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป 200,000 บาท
• สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท
• สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 300,000 บาท
4. ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วัน  4,000 บาท

* ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

หมายเหตุ สำหรับกรมธรรม์ที่เกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://med.mahidol.ac.th
ภาพประกอบจาก: www.psh.go.th


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก