ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-คาร์โบไฮเดรตชนิดดี-และไม่ดี.jpg

คนให้ความสนใจเกี่ยวกับ “คาร์โบไฮเดรต” มากขึ้น หลังจากที่กระแสการลดน้ำหนักแบบการกินแป้งน้อย เพื่อเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เร็วขึ้น หรือที่เรียกว่า Keto diet ทำให้เราต้องพิจารณาโดยละเอียดว่า จริง ๆ แล้วคาร์โบไฮเดรต เป็นชนิดไม่ดีทั้งหมดหรือไม่ แล้วส่วนที่ดี คือ อะไรบ้าง 

 

คาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี คือ อะไร 

ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งให้พลังงานที่สำคัญของร่างกาย โดยสามารถแตกตัวย่อยออกเป็นโมเลกุลของกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของสมอง จริง ๆ แล้วขนาดและรูปร่างของคาร์โบไฮเดรตนั้นไม่เท่ากัน อีกทั้งคาร์โบไฮเดรตไม่ได้ให้ผลเสียเสมอไป แต่คาร์โบไฮเดรตมีรูปแบบและขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งบางคาร์โบไฮเดรตจะให้คุณประโยชน์มากกว่าโทษเสียอีก แต่ว่าโดยทั่วไปแล้วคาร์โบไฮเดรตเชนิดไม่ดีนั้นพบได้ทั่วไป เกิดจากกระบวนการของคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสีออก เช่น ขนมปังขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง หรือแม้กระทั่งเส้นพาสตา เป็นต้น

 

คาร์โบไฮเดรต ชนิดไม่ดี ส่งผลในเรื่องอะไรบ้าง

คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีนั้นไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง แต่การกินอาหารจำพวกที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสี ทำให้ปริมาณแคลอรี่ของคุณเพิ่มขึ้นนั่นเอง คุณแค่พลาดในการเลือกสรรอาหารเพื่อสุขภาพ อย่างเช่น การได้รับปริมาณแคลอรี่ที่คุณควรจะได้รับตามปริมาณที่ร่างกายต้องการเท่านั้น

ดังนั้น การกินอาหารที่มีกากใยน้อยและมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น อาหารจำพวกที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสี จะมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากภาวะการหิวบ่อย เนื่องจากพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั่นเอง ในขณะที่คุณก็ไม่ได้ต้องการเพิ่มน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีให้แก่ร่างกายอีกแล้ว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่สามารถกินเค้กในงานวันเกิด หรือกินโดนัทในตอนที่คุณอยากกินมันมาก ๆ นะ เพราะบางครั้งเราก็อดใจไม่ไหวแน่นอน

 

คาร์โบไฮเดรตชนิดดี คือ อะไร

ยังมีคาร์โบไฮเดรตส่วนที่ดีหลงเหลืออยู่ เป็นที่รู้กันว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดดีจะพบได้ในธัญพืชที่มาจากธรรมชาติโดยตรง ไม่ผ่านการขัดสี เช่น อาหารจำพวกถั่ว ผลไม้ และผักต่าง ๆ เป็นต้น

อาหารจำพวกที่เป็นคาร์โบไฮเดรตดี คือ อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นและมีกากใยสูง เช่น ธาตุแมกนีเซียม โปรตีน และวิตามิน รวมถึงสารต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ อย่างเช่น วิตามินเอ และวิตามินซี เป็นต้น ซึ่งให้ผลดีต่อร่างกายมากกว่าคาร์โบไฮเดรตที่เราได้รับจากปกติ

ยกตัวอย่างประเภทอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ดี

  • คีนัว (Quinoa)
  • ข้าวโอ๊ต (Oatmeal)
  • ป๊อปคอร์น (Popcorn)
  • ถั่วดำ (Black beans)
  • ถั่วลูกไก่ (Chickpeas)
  • ถั่วแระญี่ปุ่น (Edamame)
  • แอปเปิ้ล (Apple)
  • กล้วย (Banana)
  • แครอท (Carrot)
  • มันฝรั่งหวาน (Sweet Potatoes)

คาร์โบไฮเดรตชนิดดี ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบที่มีโมเลกุลยาว เพื่อให้ร่างกายใช้เวลาในการย่อยสลาย และเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้นานขึ้น โดยร่างกายจะไม่มีการผลิตอินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด (No-sugar crash) ในช่วงเวลาประมาณบ่ายสามของวัน

 

เราควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตมากแค่ไหน

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราควรได้รับคาร์โบไฮเดรตคิดเป็นประมาณ 45 – 65 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวัน (ในกรณีนี้เราพูดถึงคาร์โบไฮเดรตชนิดดี) จากที่เราควรได้รับปริมาณแคลอรี่ต่อวันอยู่ที่ 1,600 แคลอรี่ ดังนั้น ประมาณ 720 – 1,040 แคลอรี่ หรือประมาณ 180 – 260 กรัม ของสารอาหารที่เราได้รับ ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดดีทั้งสิ้น แต่บางคนอาจไม่ได้ใส่ใจในการคำนวณปริมาณแคลอรี่ ในการรับประทานอาหารต่อวันมากนัก ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดในการรักษาสมดุล คือ การกินขนมและอาหารที่ครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารต่อวัน เป็นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตชนิดดี โปรตีน และไขมันชนิดดี

 

ควรอ่านฉลากโภชนาการอย่างไร

แน่นอนว่าคุณสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีแต่ธัญพืช เพื่อให้ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตชนิดดีได้ แต่คุณอาจคาดไม่ถึงเลยว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดีนั้นมีอยู่ในทุก ๆ ที่อย่างน่าตกใจ เช่น เมื่อคุณซื้ออาหารและดูฉลากโภชนาการ และปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับต่อหน่วยบริโภค ก่อนอื่นแนะนำให้คุณดูในส่วนของปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด จากนั้นดูปริมาณคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี ควรที่หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ประกอบด้วยน้ำตาล คือ พยายามให้น้อยกว่า 10 กรัมต่อจำนวนหน่วยบริโภค

สำหรับอาหารจำพวกกากใยนั้น จำเป็นน้อยกว่าคาร์โบไฮเดรตเสียอีก แนะนำว่าควรบริโภคอาหารจำพวกกากใยอย่างน้อยประมาณ 3 กรัม ต่อจำนวนหน่วยบริโภค และควรดูข้อกำหนดของส่วนผสมเพิ่มเติมด้วย เพื่อสังเกตปริมาณคาร์โบไฮเดรตชนิดดี อย่างเช่น ธัญพืชที่ได้จากธรรมชาติ และคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ดี อย่างสารอาหารที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล และธัญพืชที่ถูกขัดสี (อย่างไรก็ตาม น้ำตาลเองนั้นก็มีอยู่หลากหลายชื่อ และหลายองค์ประกอบ อย่าลืมหาข้อมูลเพิ่มเติมกันด้วย)

 

ตราบใดที่คุณได้รับคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีมาก และชนิดไม่ดีน้อย ในปริมาณสารอาหารแต่ละวัน  คุณก็ไม่มีอะไรต้องกังวลสำหรับเรื่องของคาร์โบไฮเดรตแล้วล่ะ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกินอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ สร้างรากฐานสุขภาพที่ดีให้ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.womenshealthmag.com
ภาพประกอบ: www.pixabay.com


-อินเดค-และค่าไกลซีมิค-โหลด-.jpg

อาหารบางชนิดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุเพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตในอาหาร ให้เป็นน้ำตาลกลูโคสได้อย่างง่าย ทำให้หลาย ๆ คนประสบปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้ว่าจะใช้ยาอินซูลินและยาเบาหวานก็ตาม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการกำหนดค่า Glycemic Index และ Glycemic Load ที่แสดงถึงความเร็วในการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลกลูโคส

 

ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index – GI)

ค่าดัชนีน้ำตาล หรือค่าไกลซีมิค เป็นค่าที่แสดงให้เห็นถึงความเร็วของร่างกายในการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตในอาหารนั้น ๆ ให้เป็นน้ำตาลกลูโคส โดยค่าดัชนีน้ำตาลที่น้อยหมายถึง อาหารนั้น ๆ เปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือดได้ช้า เมื่อเทียบกับอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ทั้งนี้ อาหารสองชนิดที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเท่ากัน สามารถมีดัชนีน้ำตาลแตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น ค่าดัชนีน้ำตาล 55 หรือน้อยกว่า = ต่ำ (ดี) ค่าดัชนีน้ำตาล 56 – 69 = ปานกลาง ค่าดัชนีน้ำตาล 70 หรือสูงกว่า = สูง (ไม่ดี)

สำหรับคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี เช่น ขนมปังขาว ขนมหวาน ลูกกวาด มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง กินแล้วระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเร็ว เมื่อเทียบกับคาร์โบไฮเดรตชนิดดี เช่น ข้าวและแป้งไม่ขัดสี ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว โฮลวีท ซึ่งมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า กินแล้วอิ่มนาน และมีสารอาหารมากกว่า

 

ค่าไกลซีมิค โหลด (Glycemic Load-GL)

การพิจารณาค่าดัชนีน้ำตาลอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ เนื่องจากอาหารบางชนิดมีค่าดังกล่าวสูง แต่กลับมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารน้อย หรือพูดง่าย ๆ คือ มีน้ำตาลสูงแต่คาร์โบไฮเดรตต่ำ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการทานอาหารนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก จึงมีการคิดค่าไกลซีมิค โหลด เพื่ออธิบายเรื่องดังกล่าว วิธีการคำนวณค่าไกลซีมิค โหลด คือ (ดัชนีน้ำตาล / 100) x ปริมาณคาร์โบไฮเดรต (หน่วยเป็นกรัม) ในหนึ่งหน่วยบริโภค ทั้งนี้ความหมาย ค่าไกลซีมิค โหลด  20 หรือมากกว่า ถือว่าสูง เป็นกลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ค่าไกลซีมิค โหลด ระหว่าง 11 – 19 ถือว่าปานกลาง สามารถทานได้บ้างในปริมาณเหมาะสม ค่าไกลซีมิคโหลด 10 หรือต่ำกว่า ถือว่าน้อย สามารถทานได้ (ในปริมาณเหมาะสมเช่นกัน)

ตัวอย่างเช่น เช่น แตงโมมีค่าดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 72 เป็นค่าที่สูงและไม่ดี แต่ในหนึ่งหน่วยบริโภคจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตอยู่เพียง 6 กรัม เมื่อคำนวณเป็นค่าไกลซีมิค โหลด เท่ากับ (72 / 100) x 6 = 4 ซึ่งมีค่าน้อย แตงโมจึงสามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.webmd.com   www.thaidietinfo.com
ภาพประกอบ: www.freepik.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก