มาลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และเริ่มต้น พัฒนาสมอง อยู่เสมอกันด้วยวิธีใกล้ตัวที่คุณอาจจะนึกไม่ถึง แต่แท้จริงแล้วกลับมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากที่จะช่วยผลักดันและกระตุ้นให้สมองทำงาน การดูแลและออกกำลังสมองจะส่งผลดีต่อเนื่องในระยะยาว อวัยวะที่สำคัญไม่ว่าใครก็อยากให้มันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไปได้นาน ๆ
การฟังเพลง
นอกจากการฟังเพลงจะช่วยทำให้คุณกะปรี้กะเปร่า ผ่อนคลาย และมีอารมณ์ที่ดีขึ้น ยังถือเป็นการพัฒนาสมองด้วยการเชื่อมต่อโครงสร้างของโน้ตดนตรีต่าง ๆ และยังได้ผลดีเป็นพิเศษเมื่อฟังเพลงใหม่ ๆ อีกด้วย
หาเพื่อนใหม่
การพูดคุย แลกเปลี่ยน ทำความรู้จักและพยายามเข้าใจเพื่อนใหม่ เป็นวิธีที่จะช่วยบริหารสมองเช่นกัน โดยในส่วนของความจำระยะสั้น ฝึกจับใจความและจดจ่อกับข้อมูลได้มากขึ้น และยังช่วยพัฒนาสมองให้คิดในแนวทางใหม่ ๆ ที่แตกต่างออกไปจากเดิม
หัวเราะบ่อย ๆ
ความเครียดจะทำให้สมองปล่อยสารที่มีชื่อว่า Cortisol ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถจะคิดและสร้างสรรค์อย่างปลอดโปร่ง และในระยะยาว ความเครียดยังทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้และความทรงจำได้เช่นกัน การหัวเราะจะช่วยลดระดับ Cortisol และทำให้สมองของคุณมีสุขภาพดีขึ้น
ออกไปข้างนอกบ้าง
ธรรมชาติจะช่วยส่งผลด้านความสงบและบรรเทาความเครียด ในชีวิตประจำวัน คุณอาจจะหาเวลาเล็กน้อยเพื่อผ่อนคลาย ด้วยการมองออกไปนอกหน้าต่าง หรือออกไปเดินเล่น ให้สมองได้พักผ่อนจากข้อมูลที่วิ่งวุ่นวาย เมื่อสมองถูกรีเฟรชด้วยธรรมชาติจะทำให้คุณกลับมาโฟกัส เพิ่มความสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
เปลี่ยนแปลงตารางประจำวัน
มันก็ไม่ได้แย่และสะดวกดี หากคุณทำตามตารางชีวิตและสิ่งเดิม ๆ ทานอาหารเช้าแบบเดิม ๆ ใช้ชีวิตตามปกติ แต่การเปิดรับ เรียนรู้สิ่งใหม่และนำไปผสมผสาน จะช่วยในการพัฒนาสมองได้อย่างดี
กลับสู่การเรียนรู้อีกครั้ง
อย่าหยุดนิ่งและหางานอดิเรกใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมประเภทการเขียน ศิลปะ ดนตรี หรือทักษะต่าง ๆ การทำกิจกรรมเหล่านั้นจะกระตุ้นเซลล์ในสมองจำนวนมากในแนวทางที่ต่างออกไป นอกจากจะได้ประโยชน์กับสมองแล้ว คุณยังอาจพบพรสวรรค์ที่แอบซ่อนอยู่ก็เป็นได้
พยายามโฟกัสในสิ่งต่าง
อย่าทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ดูทีวี อ่านข้อความ เล่นโซเชี่ยล หรือกินข้าวพร้อมกัน เพราะกระแสข้อมูลที่หลากหลายจะทำให้คุณไม่สามารถโฟกัสและจัดการหน่อยความจำใด ๆ ได้ ทำให้ใช้สมองได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้สมาธิและความจำสั้นอีกต่างหาก
ทำสมาธิ
ไม่ว่าจะเป็นการท่องบทสวดมนต์หรือกำหนดลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียว ก็ถือเป็นการทำสมาธิ ที่สามารถช่วยลดปัญหาความดันโลหิตสูงและอัลไซเมอร์ได้ โดยการทำสมาธินั้น อีกนัยหนึ่งก็คือการพักสมองจากคำพูด ความนึกคิดและการทำงานหนักต่าง ๆ นั่นเอง
ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายนอกจากจะดีต่อร่างกายแล้ว ก็ยังดีต่อการพัฒนาสมองเช่นกัน โดยมันจะช่วยให้คุณสามารถนึกคิดอย่างเฉียบแหลม เป็นเหตุเป็นผล เพราะเลือดสามารถใหลเวียนเข้าสู่สมองได้อย่างดี เพราะฉะนั้นมาขยับตัวอย่างน้อยวันละ 30 นาทีกันดีกว่า
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
หากคุณได้รับการนอนหลับไม่เพียงพอ แม้แต่งานง่ายๆ ก็สามารถกลายเป็นเรื่องยากได้ โดยคุณจะเบลอ ไม่สามารถโฟกัสในสิ่งที่กำลังทำ และหลงลืมมากขึ้น ทางที่ดีคือปล่อยให้สมองของคุณได้นอนหลับพักผ่อน 7 – 9 ชั่วโมงในแต่ละคืนกันเถอะ
ดูแลเรื่องอาหารการกิน
การรับแคลอรี่ที่มากเกินไป อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ทำให้ปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียความทรงจำมีมากขึ้น ถ้าหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักหรือการกิน สามารถปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการเพื่อหาทางแก้ไขได้
บำรุงสมอง
ด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว ปลาและบรรดาไขมันดี อย่างกราโนล่าและน้ำมันมะกอก การดื่มชาหรือกาแฟสามารถกระตุ้นให้สมองของคุณตื่นตัว และไม่ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 20 กรัมต่อวัน เพราะน้ำตาลในเลือดจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์
หยุดสูบบุหรี่
ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่สามารถทำร้าย และส่งผลเสียต่อสมองของคุณ และอาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ ทั้งผู้สูบโดยตรงและยังกระทบต่อผู้คนรอบข้างหรือที่เรียกกันว่าบุหรี่มือสองอีกด้วย
ดูแลหัวใจของคุณ
ถ้าหัวใจของคุณมีสุขภาพไม่ดี อาจส่งผลถึงปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้และหน่วยความจำ การมีน้ำหนักเกินและการออกกำลังกายไม่เพียงพอ จะทำให้หลอดเลือดของคุณแคบลง จนไปกระทบเลือดที่จะไหลไปยังสมอง
เข้าพบจิตแพทย์
หากคุณหรือสึกหดหู่ หรือกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกและจิตใจ ซึมเศร้า ไม่สนใจที่จะทำในกิจกรรมที่ชอบเช่นเดิม คิดอะไรไม่ออก หัวไม่แล่น โปรดอย่ามองข้าม เพราะนั่นคืออาการป่วย ควรพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
การพัฒนาสมองให้ไบรท์อยู่เสมอจะช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมทั้งร่างกายและจิตใจของเราดีขึ้นอย่างเกห็นได้ชัดแน่นอนว่าทุกคนก็อยากจะมีสมองไว้คิดและควบคุมสั่งการร่วมกับอวัยวะอื่น ๆ ไปอีกนาน ดังนั้นลองทำตามวิธีที่เราแนะนำทั้ง 15 นี้ ก็จะเห็นผลได้ง่าย ๆ เลยล่ะ
เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.webmd.com
ภาพประกอบจาก : www.pixabay.com