สาเหตุที่พบบ่อย
- อุบัติเหตุ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อฉีกขาด เส้นเอ็นขาด กระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน
- การใช้งานอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อฉีกขาด
- ความเสื่อมตามธรรมชาติของกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น พบบ่อยในผู้สูงอายุ
- โรคข้ออักเสบ ทำให้มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วย เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ แคลเซียมเกาะเส้นเอ็น เป็นต้น
- อาการปวดไหล่ ซึ่งเป็นผลของอาการปวดร้าวมาจากที่อื่น (ไม่ได้เกิดจากข้อไหล่) เช่น กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ไมเกรน ความเครียด โรคปอด ถุงน้าดีอักเสบ หัวใจขาดเลือด โรคตับ เป็นต้น
- ข้อไหล่ติด พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้ขยับเคลื่อนไหวข้อไหล่ จนเกิดพังผืดแทรกในข้อและกล้ามเนื้อมักปวดตอนกลางคืน ถ้าเคลื่อนไหวจะปวดมากขึ้นแต่อยู่นิ่งไม่ปวด ไม่มีข้อบวมแดงร้อน ไม่มีจุดกดเจ็บ
วิธีรักษาเบื้องต้น
- หยุดพักการใช้ข้อไหล่ โดยงดยกของหนัก งดเคลื่อนไหวแขนหรือไหล่ในท่าที่ทำให้ปวด อาจใช้ผ้าคล้องแขนไว้ แต่ไม่ควรหยุดใช้ไหล่เกิน 2 – 3 วันเพราะจะทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดได้
- ประคบด้วยความร้อน โดยใช้ถุงน้าร้อน ผ้าขนหนูชุบน้าอุ่น หรือ ใช้ยานวด
- ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
- บริหารกายภาพบำบัด จะช่วยลดอาการปวด และทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
อาการที่ควรตรวจหาสาเหตุ หรือส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง
- มีอาการตึงขัดข้อไหล่ เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ นานกว่า 2 อาทิตย์
- มีอาการชาของแขน หรือมือ ปลายนิ้วเย็น
- อาการเป็นมากขึ้น รักษาแล้วไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะอาการปวดในขณะพัก ปวดตอนกลางคืน
- มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ก้อน ไข้ เบื่ออาหาร น้าหนักลด ต่อมน้าเหลืองโต เป็นต้น
ข้อแนะนำวิธีบริหารข้อไหล่
- เริ่มบริหาร หลังจากอาการปวด ลดลงแล้ว เริ่มด้วยจานวนครั้งน้อย ๆ เช่น ลองทำท่าที่ 1 – 3 ก่อน ถ้าไม่ปวดก็ทำเพิ่มเป็นท่าที่ 1 – 5 แล้วถ้าไม่ปวดก็ค่อยทำจนครบทั้งหมด ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ยิ่งบ่อยยิ่งดี
- ขณะบริหาร ถ้าปวดมาก ก็ให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดบริหารท่านั้นไว้ก่อน เมื่ออาการปวดดีขึ้น จึงค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น อย่าหักโหมหรือทำอย่างรุนแรง รวดเร็ว เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม
สาหรับโรคข้อไหล่ติด ขณะบริหาร จะต้องปวด มากขึ้น (เพื่อให้พังพืดในข้อไหล่ยืดออกจากกัน) ดังนั้นต้องพยายามทนปวดให้มากที่สุด ถ้าบริหารแล้วไม่ปวด แสดงว่าไม่ถูกวิธี ไม่ได้ผล แต่ถ้าปวดมาก (หยุดพักเกิน 2 ชั่วโมงยังปวดมากอยู่) ให้ปรับลดลง การรักษาต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหายเหมือนปกติ
วิธีบริหารข้อไหล่
- เหวี่ยงแขนเป็นวงกลม ค่อย ๆ หมุนเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำ 10 เที่ยว ยืนก้มเล็กน้อย (ใช้มืออีกข้างจับโต๊ะเพื่อช่วยพยุงตัว) หรือนอนคว่าอยู่บนเตียงถ้าไม่ปวดมาก อาจถือน้ำหนัก 1 – 2 กิโลกรัม เพื่อช่วยให้หมุนได้ง่ายขึ้น
- ท่าหมุนข้อไหล่ ทำซ้ำ 10 เที่ยว
- ท่ายกแขน ศอกเหยียดตรง ยกสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 เที่ยว
- ท่ายกไม้ ยกสูงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 เที่ยว
- ท่านิ้วไต่ผนัง ให้สูงมากที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ ทำ 10 เที่ยว
- ท่าชักรอก นาเชือกคล้องผ่านรอกเหนือศีรษะทางด้านหน้า จับปลายเชือกทั้งสองข้าง
- ท่าใช้ผ้าถูหลัง มือที่อยู่ด้านบนดึงผ้าขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1 – 10
ภาพประกอบจาก : อินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ที่ระบุใต้ภาพ