ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-H2C00-1.jpg

โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคที่เกิดอาการอักเสบ เนื่องจากมีกรดยูริก (Monosodium urate monohydrate – MSU) ตกตะกอน ใน ข้อและอวัยวะต่าง ๆ ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า และพบบ่อยในผู้ชายอายุ 35 ปี ขึ้นไป ผู้หญิงจะพบได้บ่อยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน

 

อาการและอาการแสดง

  • ข้ออักเสบฉับพลัน ปวด บวม แดง ร้อน อย่างชัดเจน มักมีอาการอักเสบมากที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงแรก
  • พบบ่อยที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า หลังเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อศอก อาจรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ
  • ระยะแรก จะมีการอักเสบ ข้อเดียวนาน 1 – 2 วัน ปีละ 1 – 2 ครั้ง (ร้อยละ 60 จะกลับมีอาการซ้ำอีกภายใน 1 ปี) แต่ถ้าไม่ได้รักษา การอักเสบจะบ่อยขึ้น นานขึ้น เป็นหลายข้อพร้อมกัน มีก้อนผลึกกรดยูริกหรือก้อนโทฟัส (Tophus) ทำให้ข้อผิดรูป และกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรัง ข้อเสื่อมอย่างถาวร
  • มีโอกาสเกิดนิ่วในไต ร้อยละ 20 และมีโอกาสเกิดไตวาย ร้อยละ 10
  • ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจพบก้อนโทฟัส ที่ข้อศอก ข้อเท้า ใบหู ก้อนอาจแตก และมีสารคล้ายชอล์กสีขาว ผลึกกรดยูริกออกมา แต่ถ้าก้อนไม่แตกเอง ก็ไม่ควรไปผ่า เพราะแผลจะหายช้ามาก
  • ผู้ที่มีลักษณะต่อไปนี้แสดงว่าเป็นโรคเกาต์แบบรุนแรง เช่น ปริมาณกรดยูริกในเลือดสูง มีก้อนโทฟัส เริ่มเป็นตั้งแต่อายุน้อย มีอาการไตอักเสบ หรือมีนิ่วในไต เป็นต้น

 

โรคเกาต์

 ภาพจาก : www.webmd.com

  

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเกาต์

  • เกณฑ์การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบในโรคเกาต์ที่แน่นอน (definite) คือ การตรวจพบผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรต (Monosodium urate crystal) จากน้ำไขข้อหรือก้อนโทฟัส ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจผลึก อาจใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเกาต์ของ Rome (Rome criteria) โดยอาศัยเกณฑ์ 2 ใน 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
    • ข้อบวมเจ็บซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใดและหายภายใน 2 อาทิตย์
    • ระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชายและมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้หญิง
    • พบก้อนโทฟัส (tophus)
  • 2015 Gout Classification Criteria An American College of Rheumatology/European League Against Rheumatism Collaborative Initiative The entry criterion for the new classification criteria requires the occurrence of at least 1 episode of peripheral joint or bursal swelling, pain, or tenderness.
    • The presence of MSU crystals in a symptomatic joint/bursa (i.e., synovial fluid) or in a tophus is a sufficient criterion for classification of the subject as having gout, and does not require further scoring.
    • The domains of the new classification criteria include clinical (pattern of joint/bursa involvement, characteristics and time course of symptomatic episodes), laboratory (serum urate, MSU negative synovial fluid aspirate), and imaging (double contour sign on ultrasound or urate on dual-energy computed tomography, radiographic gout-related erosion).
    • The sensitivity and specificity of the criteria are high (92% and 89%, respectively).

 

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยจะต้องมีข้ออักเสบ ปวด บวม แดง ร้อนฉับพลัน เป็น ๆ หาย ๆ และไม่ได้อาศัยการเจาะเลือด ตรวจกรดยูริกเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดว่า เจาะเลือดแล้วกรดยูริกสูง เป็นเกาต์ แต่ถ้าเจาะเลือดแล้วกรดยูริกต่ำ ไม่เป็นเกาต์ ถ้าเจาะเลือดแล้วกรดยูริกสูง แต่ไม่มีอาการ ก็ไม่ได้เป็นโรคเกาต์ แต่จะเรียกว่า ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ไม่ต้องรักษา ยกเว้นมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่า 13.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในเพศชาย และ 10.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง หรือการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะมากกว่าวันละ 1,100 มิลลิกรัม เมื่อรับประทานอาหารตามปกติ จะพบอุบัติการณ์ของไตทำงานบกพร่องและนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น ควรพิจารณาให้การรักษา

 

โรคเกาต์

ภาพจาก : theheartysoul.com

 

สาเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบ

  • การบาดเจ็บหรือข้อถูกกระทบกระแทกแบบไม่รุนแรง โดยตอนกระแทกจะไม่ค่อยเจ็บ แต่ต่อมาเจ็บมากขึ้น
  • อาหารที่เป็นของแสลง ไม่ได้ทำให้เกิดโรค แต่จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในบางคน แต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงควรสังเกต จดบันทึกชนิดอาหารที่ทานก่อนเกิดข้ออักเสบ และหลีกเลี่ยงของแสลง โดยเฉพาะช่วงที่มีข้ออักเสบ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ไก่ เป็ด ห่าน น้ำต้มกระดูก กุ้งทะเล หมึก หอย ซุปก้อน กะปิ ปลาซาร์ดีนกระป๋อง พืชบางชนิด เช่น ถั่ว เห็ด กระถิน ชะอม ใบขี้เหล็ก สะเดา สะตอ ผักโขม หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า แตงกวา ของหมักดอง
  • เหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ
  • อากาศเย็นหรือช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงเช้า หรือ ก่อนฝนตก เป็นต้น
  • ยา เช่น แอสไพริน ยารักษาวัณโรค ยาขับปัสสาวะ

 

แนวทางรักษา

  1. หลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
  2. ลดการใช้งานของข้อที่อักเสบถ้าในช่วงที่มีการอักเสบมาก อาจจำเป็นต้องใส่เฝือกชั่วคราว เพื่อให้ข้ออยู่นิ่ง ๆ
  3. ยา
    • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs, เอนเสด) เป็นยาบรรเทาอาการเท่านั้นไม่ได้รักษาโรค เมื่ออาการดีขึ้น ไม่ปวด ไม่บวม ไม่แดง ไม่ร้อน ก็หยุดยาได้ มีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะคลื่นไส้ ท้องอืด แสบท้อง จุกแน่นลิ้นปี่ แผลในกระเพาะอาหาร หน้าบวม ตาบวม ขาบวม
    • ยา โคชิซีน (colchicine) ถ้ามีการอักเสบมากก็จะต้องใช้ยาปริมาณมาก ทาให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้นด้วย ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นคัน ซึ่งถ้าเกิดอาการข้างเคียงมาก ให้ลดปริมาณยาลง หรือ หยุดยาไว้ก่อน

      • การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
        • ถ้ามีข้ออักเสบบ่อย เช่น ข้ออักเสบทุก 1 – 2 เดือน ควรพิจารณาให้ยา 3 – 1.2 มก./วัน รับประทานทุกวัน
        • ถ้ามีข้ออักเสบไม่บ่อย เช่น ทุก 3 – 4 เดือนขึ้นไป อาจพิจารณาให้ยาเฉพาะช่วงที่เริ่มมีอาการปวดข้อ
      • การพิจารณาหยุดยา colchicines
        • ถ้าผู้ป่วยไม่มีปุ่มโทฟัส ให้พิจารณาหยุดยาเมื่อ ไม่มีข้ออักเสบ และควบคุมระดับกรดยูริกได้ตามเกณฑ์ที่ต้องการ เป็นระยะเวลา 6 – 12 เดือน
        • ถ้าผู้ป่วยมีปุ่มโทฟัส ให้พิจารณาหยุดยาเมื่อ ปุ่มโทฟัสหายไป และควบคุมระดับกรดยูริกได้ตามเกณฑ์ที่ต้องการเป็นระยะเวลา 6 – 12 เดือน
    • ยาลดกรดยูริก ยายับยั้งการสร้างกรดยูริก และยาเร่งการขับกรดยูริก
      • ควรเริ่มยา หลังจากข้ออักเสบหายสนิทแล้วเท่านั้น แต่ ในกรณีที่ใช้ยาอยู่แล้ว ให้ยาเดิมต่อไป ไม่ควรปรับขนาดยาลดกรดยูริกที่ผู้ป่วยได้รับขณะที่มีข้ออักเสบ
      • ตั้งเป้าหมายให้กรดยูริกในเลือดอยู่ในระดับเท่ากับหรือต่ำกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ ในกรณีที่มีก้อนโทฟัสแล้วอาจตั้งเป้าหมายลดระดับกรดยูริกในเลือดลงมาเท่ากับหรือต่ำกว่า 5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
      • ระยะเวลาของการให้ยาควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาให้ยาไปจนผู้ป่วยไม่มีอาการอักเสบของข้อหรือให้จนปุ่มโทฟัสหายไปหมดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 – 5 ปี ในรายที่มีประวัตินิ่วในทางเดินปัสสาวะหรือมีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะมากกว่า 800 มก./วัน ต้องพิจารณาให้ยาลดกรดยูริกชนิดยายับยั้งการสร้างกรดยูริกไปตลอด
      • แนวทางการใช้ยายับยั้งการสร้างกรดยูริก (Xanthine oxidase inhibitor เช่น allopurinol febuxostat)
        • มีปุ่มโทฟัส
        • มีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะมากกว่า 800 มก./วัน
        • มีประวัติหรือตรวจพบนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
        • ใช้ยาเร่งการขับกรดยูริกออกทางไตไม่ได้ผล
        • แนวทางการใช้ยาเร่งการขับกรดยูริก (Uricosuric agents)
      • อายุน้อยกว่า 60 ปี
        • หน้าที่การทำงานของไตปกติ การใช้ยา probenecid ควรมีค่า CCr มากกว่า 80 cc/min การใช้ยา benzpromarone ควรมีค่า CCr มากกว่า 30 cc/min)
        • มีการขับกรดยูริกออกทางไตน้อยกว่า 800 มก./วัน
        • ไม่มีประวัติหรือตรวจพบนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
        • ควรแนะนาให้ดื่มน้ำวันละมากกว่า 2 ลิตร หรือเปลี่ยนสภาวะความเป็นกรดของปัสสาวะให้เป็นด่าง (alkalinization; urine pH 6.5 – 7) โดยให้ potassium citrate หรือ potassium bicarbonate หรือ soda mint
    • ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ จะใช้ในกรณีที่มีข้ออักเสบอย่างรุนแรง และผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ เท่านั้น เพราะการฉีดยาเข้าข้อจะมีผลเสียค่อนข้างมาก เช่น ติดเชื้อในข้อ กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง และกล้ามเนื้อรอบข้อลีบ


แนะนำอ่านเพิ่มเติม

  • 2015 Gout Classification Criteria An American College of Rheumatology/European League Against Rheumatism Collaborative Initiative
  • ARTHRITIS & RHEUMATOLOGY Vol. 67, No. 10, October 2015, pp 2557–2568
  • 2012 American College of Rheumatology Guidelines for Management of Gout. Part 1: Systematic Nonpharmacologic and Pharmacologic Therapeutic Approaches to Hyperuricemia
  • Arthritis Care & Research Vol. 64, No. 10, October 2012, pp 1431–1446
  • 2012 American College of Rheumatology Guidelines for Management of Gout. Part 2: Therapy and Antiinflammatory Prophylaxis of Acute Gouty Arthritis
  • Arthritis Care & Research Vol. 64, No. 10, October 2012, pp 1447–1461
  • แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ (Guideline for Management of Gout) โดย สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2555 (ปรับปรุงจากแนวทางเวชปฏิบัติภาวะกรดยูริกในเลือดสูงและโรคเกาต์ ปี พ.ศ. 2544)
  • แนวทางเวชปฏิบัติ ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) และโรคเก๊าท์ (Gout) โดยสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย


ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต และเว็บไซต์ที่ระบุใต้ภาพ


-Osteoarthritis-of-Knee.jpg

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of Knee) จะมีพยาธิสภาพหลักอยู่ที่ กระดูกอ่อน (articular cartilage) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลงและขรุขระ กระดูกงอกบริเวณขอบข้อ และน้ำไขข้อมีการสูญเสียคุณสมบัติ ทำให้มีปริมาณมากขึ้น แต่ความยืดหยุ่นลดลง เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกระบวนการเสื่อมจะไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจทวีความรุนแรงขึ้นตามลาดับ

 

มีปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น อายุ (พบบ่อยเมื่ออายุเกิน 40 ปี) น้ำหนักตัวมาก เพศ (ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า) การใช้ข้อไม่เหมาะสม อุบัติเหตุ กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีกขาด ติดเชื้อในข้อ เป็นต้น

 

อาการ

อาการและอาการแสดง อาจพบเพียงอาการเดียว หรือหลายอาการพร้อมกันก็ได้ ในระยะแรก อาการจะไม่มาก และเป็น ๆ หาย ๆ แต่เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง ก็จะมีอาการมากขึ้น หรือเป็นตลอดเวลา เช่น

  • ปวดเข่า มักจะระบุตำแหน่งไม่ได้ รู้สึกเมื่อยตึงที่น่อง ข้อพับเข่ามีเส้นเอ็นอักเสบ ทาให้ปวด กดเจ็บ ด้านในเข่าและหน้าแข้ง
  • ข้อฝืด เหยียดงอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับเข่า ถ้านั่งยอง คุกเข่า นั่งพื้น แล้วลุกลำบาก
  • ข้อบวม ร้อน เพราะมีการอักเสบทำให้น้ำไขข้อมากขึ้น มีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่าจากเยื่อบุข้อเข่าโป่งออก
  • เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือ มีกระดูกงอก ทาให้ข้อผิดรูป กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง เดินกะเผลก

เอกซเรย์พบมีช่องของข้อเข่าแคบลง มีกระดูกงอก แต่ความผิดปกติทางเอกซเรย์ อาจไม่สัมพันธ์กับอาการ (เอกซเรย์มีข้อเสื่อมมากแต่ไม่ค่อยปวด) จึงไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ ยกเว้น ผู้ที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือก่อนการผ่าตัด

โรคข้อเข่าเสื่อม

http://www.kinetesisspineandjoint.ca/knee_osteoarthritis

 

ACR Clinical Classification Criteria for Osteoarthritis of the knee:

Using history and physical examination

  • pain in the knee and 3 of the following
    • Over 50 years of age
    • Less than 30 minutes of morning stiffness
    • Crepitus on active motion
    • Bony tenderness
    • Bony enlargement
    • No palpable warmth of synovium

 

แนวทางรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาด จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ บรรเทาอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร

 

การจัดการและการใช้ยา

  • ขณะปวด ให้พักการใช้ข้อเข่า
  • ใช้ยาต้านการอักเสบชนิดทาภายนอก หรือ ยาทาเจลพริก
  • ประคบด้วยความเย็น/ความร้อน กายภาพบำบัด การฝังเข็ม
  • ผ้ารัดเข่าเฝือกอ่อนพยุงเข่า (แต่ถ้าใส่ติดต่อกันนาน จะทาให้กล้ามเนื้อลีบ) ถ้ามีเข่าผิดรูป ให้ใส่เป็น สนับเข่าแกนเหล็กด้านข้าง หรือใช้อุปกรณ์พยุงเข่า (knee brace / support)
  • บริหารกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวและป้องกันข้อติด เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อรอบข้อ
  • ยาบรรเทาอาการ เช่น Acetaminophen, Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) ยาคลายกล้ามเนื้อ ถ้าไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา และต้องระวังภาวะแทรกซ้อน
  • ยากลุ่ม SYSADOA (Symptomatic slow acting drugs for osteoarthritis) เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate) หรือไดอะเซอเรน (Diacerein) ถือว่าเป็น “ทางเลือก” ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 เดือน ให้หยุดยา แต่ถ้าอาการดีขึ้น แนะนำให้ใช้ต่อไม่เกิน 6 เดือน และหยุดยาอย่างน้อย 6 เดือน
  • ฉีดน้ำไขข้อเทียม ช่วยให้อาการดีขึ้น เฉลี่ย 6 เดือน – 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง (13,000 – 16,000 บาท) จึงแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่ รักษาด้วยวิธีอื่น ๆไม่ได้ผล แต่ยังไม่อยากผ่าตัด หรือผ่าตัดไม่ได้
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือเจาะดูดน้ำไขข้อ ถึงแม้ทาให้อาการปวดดีขึ้นรวดเร็ว แต่ผ่านไป 1 – 2 เดือน จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม และมีผลข้างเคียงสูง เช่น ข้อเสื่อมเร็วขึ้น กระดูกพรุน กล้ามเนื้อลีบ ติดเชื้อ แต่ถ้าจำเป็น ขณะ ฉีดยา หรือเจาะข้อ ต้องป้องกันการติดเชื้ออย่างดี เช่น ใช้ผ้าปลอดเชื้อ ถุงมือปลอดเชื้อ เป็นต้น ไม่ควรฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ มากกว่าปีละ 2 – 3 ครั้ง หลังฉีดต้องลดการใช้เข่า 1 – 2 อาทิตย์และใส่ผ้ารัดเข่าร่วมด้วย

โรคข้อเข่าเสื่อม

http://www.kinetesisspineandjoint.ca/knee_osteoarthritis

 

การผ่าตัด

  • การส่องกล้องผ่าตัดในข้อ (Arthroscopic surgery) เฉพาะในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการเนื่องจาก มีหมอนรองข้อเข่า (meniscus) หรือกระดูกอ่อนหลวม (Loose bodies) หรือมีแผ่นเนื้อ (Flap) ทำให้ข้อเข่ายึดเหยียดงอไม่ได้หรือเดินแล้วล้มเท่านั้น และไม่แนะนำ การเจาะล้างข้อเข่า (Needle lavage) ครูดหรือเจาะเนื้อเยื่อในข้อ (Arthroscopic abrasion or drilling) รวมทั้งการผ่าตัดผ่านกล้องในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีเข่าผิดรูป เพราะไม่ให้ประโยชน์
  • การผ่าตัดจัดแนวกระดูก (Realignment osteotomy) ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในช่องเพียงด้านเดียว (Unicompartment) ซึ่งมีอาการ แต่ยังแข็งแรงแคล่วคล่อง (Active) และมีแนวกระดูกผิดปกติ (Malalignment)
  • การผ่าตัดกระดูกจัดแนวแข้งด้านบน (High Tibial Osteotomy: HTO) ในผู้ป่วยอายุน้อยและยังมีกิจกรรมมาก (young, active) โดยผู้ป่วยต้อง งอเข่าได้อย่างน้อย 90 องศา ยังมีกระดูกอ่อนผิวข้อด้านในคงเหลืออยู่ ไม่มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าด้านนอกและกระดูกอ่อนผิวสะบ้าหรือมีน้อยมาก และเข่ายังมั่นคงดีหรือมีการเลื่อนไปด้านนอกหรือความไม่มั่นคงไม่มากนัก
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total knee arthroplasty) เป็นต้น การผ่าตัดถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้าย ใช้ในผู้ที่มีอาการมาก รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น เนื่องจากมีข้อจากัด เช่น ข้อเข่าเทียมจะใช้ได้แค่ 10 – 15 ปี เป็นต้น แต่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะดีในแง่ลดอาการปวด เคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้น

ข้อบ่งชี้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ ต้องมีลักษณะซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ทุกข้อดังต่อไปนี้

  • ให้การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด มากกว่า 6 เดือน แต่ไม่ได้ผล
  • มีผิวข้อเข่าทุกผิวเสื่อมอย่างรุนแรง (Severe tri-compartmental osteoarthritis)
  • อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป

ข้อห้าม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้

  • ข้อเสื่อมเหตุประสาทพยาธิสภาพ (Neuropathic arthritis)
  • มีการติดเชื้อในข้อในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา
  • มีการสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าอย่างสิ้นเชิง

ข้อแนะนำการดูแลตนเอง

  1. ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีคำนวณตัวเลขสุขภาพ มากกว่า 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ควรลดน้ำหนักลงให้อยู่ในระดับใกล้เคียงมาตรฐานหรืออย่างน้อยร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวขณะที่มีอาการปวดข้อ เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่งจะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10 เท่าของน้ำหนักตัว (การถีบจักรยาน เข่าจะรับแรงกดเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น) ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับแรงกดน้อยลง อาการปวดก็จะลดลงด้วย
  2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี หลีกเลี่ยง การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น
  3. เวลาอาบน้ำ หรือสระผมควรใช้ เก้าอี้นั่ง เพื่อป้องกันการลื่นหกล้มขณะอาบน้ำ
  4. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่ง (แบบนั่งราบ) หรือ นั่งบนเก้าอี้สามขาที่มีรูตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่าน และควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน
  5. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่าเมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี
  6. ไม่ควรนอนราบบนพื้น เพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น
  7. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว
  8. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ควรขยับเปลี่ยนท่าหรือเหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ
  9. การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
  10. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ หลีกเลี่ยง ทางลาดเอียงหรือทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และมีขนาดกระชับพอดี
  11. ใช้ไม้เท้า ในช่วงที่มีอาการปวด หรือในผู้ที่มีข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก (ลดแรงกระทำต่อข้อเข่าได้ประมาณร้อยละ 25 ของน้ำหนักตัว) และช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม ในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือไม้เท้าในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือไม้เท้าในข้างที่ถนัด
  12. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น การทรงตัวดีขึ้น
  13. ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น แนะนำให้ออกกาลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละ 20 – 40 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 วัน

แนะนำอ่านเพิ่มเติม
• แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2554
http://www.rcost.or.th/web/
• ACR Diagnostic Guidelines Osteoarthritis
http://www.hopkinsarthritis.org/physician-corner/education/arthritis-education-diagnostic-guidelines/

 

ภาพประกอบจาก : อินเตอร์เน็ต และเว็บไซต์ที่ระบุใต้ภาพ


shoulderpain1.jpg

สาเหตุที่พบบ่อย

  1. อุบัติเหตุ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อฉีกขาด เส้นเอ็นขาด กระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน
  2. การใช้งานอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อฉีกขาด
  3. ความเสื่อมตามธรรมชาติของกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น พบบ่อยในผู้สูงอายุ
  4. โรคข้ออักเสบ ทำให้มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วย เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ แคลเซียมเกาะเส้นเอ็น เป็นต้น
  5. อาการปวดไหล่ ซึ่งเป็นผลของอาการปวดร้าวมาจากที่อื่น (ไม่ได้เกิดจากข้อไหล่) เช่น กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ไมเกรน ความเครียด โรคปอด ถุงน้าดีอักเสบ หัวใจขาดเลือด โรคตับ เป็นต้น
  6. ข้อไหล่ติด พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้ขยับเคลื่อนไหวข้อไหล่ จนเกิดพังผืดแทรกในข้อและกล้ามเนื้อมักปวดตอนกลางคืน ถ้าเคลื่อนไหวจะปวดมากขึ้นแต่อยู่นิ่งไม่ปวด ไม่มีข้อบวมแดงร้อน ไม่มีจุดกดเจ็บ

 

วิธีรักษาเบื้องต้น

  1. หยุดพักการใช้ข้อไหล่ โดยงดยกของหนัก งดเคลื่อนไหวแขนหรือไหล่ในท่าที่ทำให้ปวด อาจใช้ผ้าคล้องแขนไว้ แต่ไม่ควรหยุดใช้ไหล่เกิน 2 – 3 วันเพราะจะทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดได้
  2. ประคบด้วยความร้อน โดยใช้ถุงน้าร้อน ผ้าขนหนูชุบน้าอุ่น หรือ ใช้ยานวด
  3. ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
  4. บริหารกายภาพบำบัด จะช่วยลดอาการปวด และทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น

 

อาการที่ควรตรวจหาสาเหตุ หรือส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง

  1. มีอาการตึงขัดข้อไหล่ เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ นานกว่า 2 อาทิตย์
  2. มีอาการชาของแขน หรือมือ ปลายนิ้วเย็น
  3. อาการเป็นมากขึ้น รักษาแล้วไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะอาการปวดในขณะพัก ปวดตอนกลางคืน
  4. มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ก้อน ไข้ เบื่ออาหาร น้าหนักลด ต่อมน้าเหลืองโต เป็นต้น

 

ข้อแนะนำวิธีบริหารข้อไหล่

  1. เริ่มบริหาร หลังจากอาการปวด ลดลงแล้ว เริ่มด้วยจานวนครั้งน้อย ๆ เช่น ลองทำท่าที่ 1 – 3 ก่อน ถ้าไม่ปวดก็ทำเพิ่มเป็นท่าที่ 1 – 5 แล้วถ้าไม่ปวดก็ค่อยทำจนครบทั้งหมด ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ยิ่งบ่อยยิ่งดี
  2. ขณะบริหาร ถ้าปวดมาก ก็ให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดบริหารท่านั้นไว้ก่อน เมื่ออาการปวดดีขึ้น จึงค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น อย่าหักโหมหรือทำอย่างรุนแรง รวดเร็ว เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม

สาหรับโรคข้อไหล่ติด ขณะบริหาร จะต้องปวด มากขึ้น (เพื่อให้พังพืดในข้อไหล่ยืดออกจากกัน) ดังนั้นต้องพยายามทนปวดให้มากที่สุด ถ้าบริหารแล้วไม่ปวด แสดงว่าไม่ถูกวิธี ไม่ได้ผล แต่ถ้าปวดมาก (หยุดพักเกิน 2 ชั่วโมงยังปวดมากอยู่) ให้ปรับลดลง การรักษาต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหายเหมือนปกติ

 

วิธีบริหารข้อไหล่

  1. เหวี่ยงแขนเป็นวงกลม ค่อย ๆ หมุนเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำ 10 เที่ยว ยืนก้มเล็กน้อย (ใช้มืออีกข้างจับโต๊ะเพื่อช่วยพยุงตัว) หรือนอนคว่าอยู่บนเตียงถ้าไม่ปวดมาก อาจถือน้ำหนัก 1 – 2 กิโลกรัม เพื่อช่วยให้หมุนได้ง่ายขึ้น
  2. ท่าหมุนข้อไหล่ ทำซ้ำ 10 เที่ยว
  3. ท่ายกแขน ศอกเหยียดตรง ยกสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 เที่ยว
  4. ท่ายกไม้ ยกสูงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 เที่ยว
  5. ท่านิ้วไต่ผนัง ให้สูงมากที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ ทำ 10 เที่ยว
  6. ท่าชักรอก นาเชือกคล้องผ่านรอกเหนือศีรษะทางด้านหน้า จับปลายเชือกทั้งสองข้าง
  7. ท่าใช้ผ้าถูหลัง มือที่อยู่ด้านบนดึงผ้าขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1 – 10

 


ภาพประกอบจาก : อินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ที่ระบุใต้ภาพ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก