ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

probiotics.jpg

โพรไบโอติคส์ ชื่อคุ้นหูที่หลายคนยังไม่รู้จักดี แต่สำหรับใครที่มีข้อมูลโพรไบโอติคส์ในเบื้องต้น และสนใจจะหาซื้อเพื่อเสริมในส่วนที่ตนเองคิดว่าขาดแล้ว บทความนี้คัดจากเนื้อหาที่เขียนขึ้นโดยทีมวิชาการจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ติดตามได้เลยค่ะ

 

โพรไบโอติคส์ (Probiotics) เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่  ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง (คือพวกที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย สร้างสารก่อมะเร็ง สารที่มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ) ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น เพิ่มภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้น ๆ โดยรวม คือ โพรไบโอติคส์จะช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้น

 

ขั้นตอนการเลือกโพรไบโอติคส์

  • ขั้นตอนที่หนึ่ง เริ่มกันที่บริเวณหน้าตู้แช่ ให้ยื่นมือเข้าไปในตู้แช่บริเวณชั้นวางผลิตภัณฑ์โพรไบโอติคส์ ถ้าตู้แช่เย็นจัดเท่าตู้ที่บ้านคุณหรือเย็นกว่า เป็นอันว่าใช้ได้  เนื่องจากผลิตภัณฑ์จะคงตัวกว่า และโพรไบโอติคส์ชอบอากาศเย็น จะอยู่สุขสบายมีจำนวนที่มีชีวิตมากกว่าในที่อากาศร้อน
    หากคุณสนใจผลิตภัณฑ์ที่มีสาวขี่จักรยานส่ง ก็ให้เลือกสาวส่งที่ไม่โลภมาก บรรจุของในตู้แช่ท้ายจักรยานแต่พอดี ไม่ล้นออกมาจนปิดฝาไม่ได้ จุดสำคัญ คือ ให้เย็นอยู่เสมอ หากตู้แช่ไม่เย็น สาวส่งใส่ของจนล้นตู้แช่ ขอแนะนำให้เปลี่ยนซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือเปลี่ยนสาวส่ง
  • ขั้นตอนที่สอง หยิบขวดโยเกิร์ตหรือขวดนมที่คิดว่ามีโพรไบโอติคส์ขึ้นมา พลิกไปด้านข้างหรือด้านหลัง อ่านชื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในถ้วยหรือในขวด ถ้าเป็น สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และแล็คโตแบซิลลัส เดลบรูคคิไอ ชับสปีชี่ส์ บัลการิคัส (Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) หรือ แล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus) ทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ทำโยเกิร์ตธรรมดา ไม่จัดเป็นโพรไบโอติคส์ ให้มองหาชื่อเชื้ออื่นที่ข้างถ้วย โพรไบโอติคส์ที่มีอยู่ในโยเกิร์ตและนมในท้องตลาด เช่น ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum)ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010)  แล็คโตแบซิลลัส เคซิไอ (Lactobacillus casei) แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น ยังมีโพรไบโอติคส์ตัวอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกในต่างประเทศที่ยังไม่มี จำหน่ายในบ้านเรา ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยมักใส่โพรไบโอติคส์เพียง 1 ชนิด ส่วนที่มาจากต่างประเทศจะเติมโพรไบโอติคส์ลงไป 1-3 ชนิด   
  • ขั้นตอนที่สาม ถึงตรงนี้ คุณเริ่มเครียดอีกแล้ว ในขั้นนี้ที่ยังไม่รู้ว่าเชื้อไหนเหมาะกับคุณ ให้ถามตัวเองว่าคุณเป็นคนกลุ่มไหน “ท้องผูก อ้อนวอนกันทุกเช้า” หรือ “ลำไส้ไว เข้าห้องน้ำวันละหลายรอบ” ถ้าเป็นกลุ่มแรก ให้ลองเลือก ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิสก่อน
    เนื่องจากเชื้อนี้มักทำให้ย่นระยะเวลาที่อาหารอยู่ในลำไส้ แปลว่าทำให้ขับถ่ายเร็วขึ้น แต่ถ้าคุณเป็นกลุ่มลำไส้ไว ถ่ายบ่อย ก็ต้องหลีกเลี่ยงเชื้อนี้ มิฉะนั้นจะยิ่งวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นอีก คนกลุ่มหลังนี้ก็ควรจะเลี่ยงโยเกิร์ตที่มีพรีไบโอติคส์ (อาหารของโพรไบโอติคส์) อยู่ด้วย(ดูที่ฉลาก)เพราะคนกลุ่มที่ลำไส้ไว มักจะท้องอืดง่าย
    ที่นี้ถ้าคุณเป็นคนปกติ ให้ลองโพรไบโอติคส์ตัวไหนก็ได้ แล้วลองกินไปสัก 2-3 สัปดาห์ โดยกินเช้า-เย็น วันละ 1-2 ถ้วย ทุกวัน
    เริ่มแรกท้องไส้อาจรู้สึกปั่นป่วน เนื่องจากมีการแก่งแย่งพื้นที่ในลำไส้ใหญ่ระหว่างกลุ่มต่างๆของแบคทีเรียเพื่อตั้งรกราก หากไม่มีอะไรผิดปกติอย่างอื่น ก็ให้กินต่อไปทุกวัน หลังจาก 2 สัปดาห์แล้ว
    ให้สำรวจตัวเองว่ารู้สึกสบายท้องขึ้นหรือไม่ ขับถ่ายดีหรือไม่ กินโพรไบโอติคส์นี้แล้วรู้สึกว่าสุขภาพลำไส้ดีขึ้นหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ก็ขอให้คุณกินโพรไบโอติคส์นี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
    การกินโพรไบโอติคส์ให้ได้ผลดี ต้องกินสม่ำเสมอต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ห้ามกินๆหยุดๆ ต้องมีเชื้อไปทดแทนพรรคพวกที่ตั้งรกรากแล้วหลุดหายตายจากไปตามระยะเวลา หากสำรวจแล้ว ไม่พอใจ ก็ขอให้เริ่มต้นใหม่ด้วยเชื้ออื่น ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์อีกเหมือนกันกว่าจะเข้าที่ จะให้แน่ใจก็ใช้เวลา 1 เดือน
  • ขั้นตอนที่สี่ จริงๆขั้นนี้เป็นขั้นที่ 3 1/2 เนื่องจากยังเลือกไม่เสร็จ คุณดูที่ฉลากข้างถ้วยบางถ้วยแล้วก็เห็นตัวเลขจำนวนเชื้ออยู่ ตกลงคุณควรจะเลือกจำนวนเชื้อมากหรือเชื้อน้อยดี
    เอาเป็นว่าคุณลองอ่านจำนวนที่ข้างถ้วย เช่น 20,000 ล้านตัว แล้วคุณก็เขียนให้เป็นตัวเลขทั้งหมด ในที่นี้ก็คือ 20,000,000,000 ตัว ทีนี้ก็เริ่มนับเลขศูนย์ที่มีทั้งหมด ตราบใดที่มีเลขศูนย์อย่างน้อย 10 ตัว ก็เป็นอันว่าใช้ได้  ตัวเลขมากดีกว่าตัวเลขน้อย คือ ควรมีจำนวนโพรไบโอติคส์ตั้งต้นอยู่อย่างน้อย 1010-1011 ตัว
    เนื่องจากโพรไบโอติคส์ต้องเดินทางฝ่าด่านกรด และด่านน้ำดี ฯลฯ ตกหายตายจากไประหว่างทางในทางเดินอาหาร กว่าจะถึงที่ตั้งรกรากในลำไส้ใหญ่พวกที่ยังคงมีชีวิตอยู่ก็ลดจำนวนลงไปมาก ดังนั้นเลือกจำนวนมากไว้ก็จะดีกว่า

 

เลือกไปแล้ว ลองไปแล้ว ไม่ถูกใจ สู้ของเดิมในลำไส้ของคุณไม่ได้ คุณก็หยุดกินโพรไบโอติคส์ ประมาณสัก 2 สัปดาห์ จุลินทรีย์ที่เคยตั้งรกรากอยู่เดิมในลำไส้ใหญ่ของคุณก็จะค่อยๆเพิ่มจำนวนหรือลดจำนวนกลับมาคล้ายคลึงกับของเดิมที่คุณเคยมีอยู่

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ผู้เขียนต้นฉบับ : รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
แหล่งที่มา : www.pharmacy.mahidol.ac.th
ภาพประกอบ : ปรับจากอินเตอร์เน็ต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก