ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-ข้อสงสัย-การควบคุม.jpg

ไม่มีอาการป่วย ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ช่วยอะไรได้บ้าง

ช่วยด้านการป้องกัน ใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่าง เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน ปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐในแต่ละพื้นที่

 

ไม่มีอาการ แต่มีตัวอย่าง 5 กรณีนี้ ควรทำอย่างไร

1) ไปเที่ยวกลางคืน ภายหลังสถานที่ดังกล่าว พบผู้ติดเชื้อในวันและเวลาใกล้เคียงกัน  2) เพื่อนที่ทำงานนั่งใกล้ ๆ กันติดเชื้อ  3) คนในบริษัทเดียวกันติดเชื้อ ไม่รู้จักส่วนตัว  4) คนในคอนโดที่พักติดเชื้อ ไม่รู้จักส่วนตัว  5) ไปห้างสรรพสินค้าที่มีข่าวคนติดเชื้อ ไม่ได้ไปที่ร้านเดียวกัน  6) คุณลุงที่บ้านอยู่ด้วยกัน ติดเชื้อ

  • กรณีที่ 1 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ไม่มีอาการ แต่มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ให้ใช้มาตรการกักตัว 14 วัน หากมีอาการป่วยไปพบแพทย์และตรวจหาเชื้อทันที
  • กรณีที่ 2 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง เพราะสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทุกวัน ให้ไปตรวจหาเชื้อโควิด ระหว่างรอผลให้ใช้มาตรการกักตัว หากมีอาการป่วยไปพบแพทย์ทันที
  • กรณีที่ 3 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ โอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อน้อย ให้สังเกตอาการตนเอง 14 วัน ใช้มาตรการป้องกัน หากมีอาการป่วยให้ไปพบแพทย์และตรวจหาเชื้อทันที
  • กรณีที่ 4 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ โอกาสสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อน้อย ให้สังเกตอาการตนเอง 14 วัน ใช้มาตรการป้องกัน หากมีอาการป่วยให้ไปพบแพทย์และตรวจหาเชื้อทันที
  • กรณีที่ 5 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ โอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อน้อย ให้สังเกตอาการตนเอง 14 วัน ใช้มาตรการป้องกัน หากมีอาการป่วยให้ไปพบแพทย์และตรวจหาเชื้อทันที
  • กรณีที่ 6 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง เพราะสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทุกวัน ให้ไปตรวจหาเชื้อโควิด ระหว่างรอผลให้ใช้มาตรการกักตัว หากมีอาการป่วยไปพบแพทย์ทันที

*เป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นเท่านั้น ในสถานการณ์จริงให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เบอร์ 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1668 กรมการแพทย์ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

 

ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ อยากรู้ว่าใช่โควิดหรือเปล่าต้องทำอย่างไร

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ให้ดูว่ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือเข้าออกพื้นที่เสี่ยงไหม กรณีมีปัจจัยเสี่ยงให้ติดต่อเพื่อตรวจโควิดทันที กรณีไม่มีปัจจัยเสี่ยงให้สังเกตอาการ หากต้องการตรวจสามารถติดต่อขอตรวจโดยออกค่าใช้จ่ายเองจากหลายสถานบริการ

 

ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง รอสังเกตอาการ เมื่อไหร่ควรไปหาหมอหรือตรวจโควิด

หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 – 4 วัน หรืออาการรุนแรงขึ้นระหว่างสังเกตอาการ เช่น ไข้สูงขึ้น หอบเหนื่อย ให้พบแพทย์และตรวจโควิดทันที

 

ผู้ติดเชื้อโควิดแล้วมีอาการ แบบไหนอาการเล็กน้อยไม่รุนแรง แบบไหนอาการรุนแรง

ผู้ติดเชื้อโควิด ในช่วง 1 – 5 วันแรก อาการจะไม่รุนแรง เป็นอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนบน มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย จมูกไม่ได้กลิ่น ระยะต่อมาประมาณ 6 – 15 วันหลัง เชื้อลุกลามเข้าสู่หลอดลมและปอด เป็นระยะโควิดลงปอด อาการจะรุนแรงขึ้น มีอาการไอถี่ขึ้น ไข้สูง หนาวสั่น หอบเหนื่อย หายใจไม่เต็มอิ่ม ออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง ระบบหายใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และอาจเสียชีวิตได้

 

การตรวจหาเชื้อโควิด 19 มีโอกาสที่ผู้ติดเชื้อ ตรวจได้ผลเป็นลบหรือไม่

มีโอกาส สาเหตุเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดพลาดจากการเก็บเชื้อของผู้ทำการตรวจ ตำแหน่งที่เก็บเชื้ออาจเข้าไปในช่องทางเดินหายใจไม่ลึกพอ หรืออยู่ในระยะฟักตัวของเชื้อ ทำให้เชื้อมีน้อยตรวจไม่เจอ ดังนั้น ถ้าผลการตรวจเป็นบวก คือ ติดเชื้อโควิด ถ้าผลเป็นลบ คือ ตรวจหาเชื้อไม่เจอ อาจต้องมีการตรวจซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาถัดไป

 

เมื่อผลตรวจหาเชื้อโควิด 19 ได้ผลเป็นลบ สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เลยไหม

ไม่ได้ กลุ่มเสี่ยงยังต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน ในบางกรณีอาจต้องมีการตรวจซ้ำ

  

เมื่อผลตรวจหาเชื้อโควิด 19 ได้ผลเป็นบวก ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

เข้าสู่มาตรการแยกตัว (Isolation) ซึ่งทางภาครัฐจัดไว้ กรณีไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยจะพักที่รพ.สนาม หรือ Hospitel กรณีมีอาการรุนแรงต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล

 

ผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้าน (Home Quarantine) เป็นใครได้บ้าง แล้วต้องปฏิบัติอย่างไร

กลุ่มเสี่ยง เป็นผู้ที่ไม่มีอาการ แต่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกพื้นที่มีการระบาด กับกลุ่มเสี่ยงสูงทั้งหมดในระหว่างที่รอรับการตรวจ รอผลการตรวจ โดยให้ปฏิบัติดังนี้

  1. ผู้ถูกกักกันต้องไม่ออกจากที่พักอาศัยเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน
  2. รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น โดยใช้ภาชนะ ช้อนส้อม และแก้วน้ำส่วนตัว ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
  3. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
  4. สวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่น ๆ ในบ้านประมาณ 1 – 2 เมตร
  5. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด พูดคุยกับบุคคลอื่นในบ้าน
  6. ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม แล้วทิ้งทิชชูลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง
  7. ทำความสะอาดบริเวณที่ผู้เดินทางพัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบ ๆ ตัว รวมถึงห้องน้ำ ด้วยน้ำยาฟอกขาว
  8. ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 70 – 90 °C

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : น.ท.หญิง พญ. ศิริพร ผ่องจิตสิริ

ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-ข้อสงสัย-การป้องกัน.jpg

ถามตอบ หน้ากากอนามัย

หน้ากากอนามัยที่ ใช้ในช่วงนี้ ต้องเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไหม

สำหรับผู้ที่มีอาการ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่สู่ผู้อื่น สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง สามารถใช้หน้ากากอนามัยทั่วไป เช่น หน้ากากผ้า หน้ากากกันฝุ่น หน้ากากกันกลิ่น โดยใส่ให้ถูกต้อง ควบคู่ไปกับการล้างมือบ่อย ๆ และการรักษาระยะห่าง

การใช้หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น กันกลิ่น ช่วยป้องกันเชื้อได้ แต่ใส่นาน ๆ อาจทำให้รู้สึกอึดอัด อาจใส่ไม่ต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากต้องเปลี่ยนทุกวัน
.

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นอย่างไร หาซื้อได้ที่ไหน

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ที่เห็นเป็นสีเขียว สีฟ้า สีขาว มักทำจากโพลีโพไพลีน ในเบื้องต้นจะมี 3 ชั้น ชั้นนอกที่เป็นสี ป้องกันละอองฝอยซึมผ่านได้ สังเกตเอาน้ำหยด น้ำจะกลิ้งไม่ซึมเข้าไป ชั้นกลางต้องมีไส้กรองไว้การกรองอนุภาคเล็ก ๆ รวมถึงเชื้อโรคได้  ชั้นในเป็นวัสดุเดียวกับชั้นนอกแต่ความหนาต่างกัน หากไม่มีไส้กรองตรงกลาง หรือน้ำซึมเข้าด้านหน้าได้ ถือว่าไม่ได้มาตรฐานไม่ควรนำมาใช้ ในผู้ที่มีอาการ

ทั้งนี้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ทั่วไป ผู้ผลิตและนำเข้าต้องขออนุญาตคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนซื้อควรสังเกตที่บรรจุภัณฑ์มี แหล่งผลิต วันเดือนปีนำเข้า วันหมดอายุ หรือตรวจสอบหน้ากากอนามัย ขยี้ไม่มีละอองฟุ้ง ไม่มีกลิ่นสารเคมี ไม่มีกลิ่นพลาสติก และมีชั้นไส้กรอง เป็นต้น

หน้ากากผ้าที่มีขายทั่วไปหรือทำขึ้นเอง สามารถใช้ได้ไหม

ใช้ได้ เฉพาะผู้ที่ไม่มีอาการ โดยเลือกผ้าที่มีเส้นใย 2 ชั้นขึ้นไป และนอกจากหน้ากากผ้าแล้วยังสามารถใช้หน้ากากอนามัยแบบอื่นที่มีความละเอียด จนละอองฝอยจากการไอ จามไม่สามารถซึมผ่านได้

ใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ช่วยได้ไหม

ปัจจุบันมีข้อมูลว่า การใส่หน้ากากผ้าทับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ มีประโยชน์สามารถลดการแพร่เชื้อและป้องกันการรับเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ดีกว่าใส่หน้ากากชั้นเดียว เนื่องจากหน้ากากผ้าช่วยให้หน้ากากอนามัยที่อยู่ชั้นในแนบชิดกับใบหน้าได้มากกว่า

อยู่คนเดียวในบ้าน อยู่กับคนในครอบครัว มีคนภายนอกมาเยี่ยมบ้าน แบบไหนต้องใส่และไม่ต้องใส่

อยู่คนเดียว ผู้ที่ไม่มีอาการใด ๆ ไม่ต้องใส่ อยู่กับคนในครอบครัวหากอยู่ในพื้นที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทุกคนควรใส่หน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่าง หลีกเลี่ยงการไอ จามในระยะใกล้กว่า 2 เมตร

มีคนภายนอกมาเยี่ยมบ้าน ทุกคนต้องใส่หน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่างอย่างเคร่งครัด

หน้ากากอนามัยใส่ไว้ไม่นาน วันรุ่งขึ้นใส่ซ้ำได้ไหม

หน้ากากอนามัยทั่วไปไม่ควรใส่ซ้ำ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สำหรับการใช้หน้ากากผ้าในผู้ไม่มีอาการ ใช้ซ้ำได้แต่ต้องซักทุกวัน

หน้ากากอนามัยทำความสะอาดได้ไหม และกำจัดอย่างไร

หน้ากากอนามัยทั่วไป ใส่แล้วไม่ต้องทำความสะอาด ให้กำจัดโดยการม้วนเก็บด้านที่สัมผัสการไอ จามของผู้สวมใส่หรือด้านในไว้ รวมใส่ถุงพลาสติก เขียนหน้าถุงว่าหน้ากากอนามัยใช้แล้วให้ชัดเจน

กรณีหน้ากากผ้า ต้องซักทุกวันและใช้ซ้ำได้ไม่เกิน 8 – 10 ครั้ง ควรซักด้วยผงซักฟอกและตากแดดจัด หากซักด้วยน้ำร้อน 70 องศาจะยิ่งดี

 

ถามตอบ การล้างมือบ่อย ๆ

การล้างมือด้วยน้ำประปาอย่างเดียวได้หรือไม่

น้ำประปาอย่างเดียวไม่สามารถทำลายเชื้อได้ การล้างมือเพื่อกำจัดเชื้อโรค ต้องล้างด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมืออย่างน้อย 20 วินาที โดยถูมือให้ทั่วทั้งด้านหน้า ด้านหลังและซอกนิ้ว ล้างออกด้วยน้ำเปล่า และเช็ดมือด้วยผ้าสะอาด

การล้างมือต้องใช้สบู่หรือน้ำยาล้างแบบที่ผสมสารฆ่าเชื้อไหม

ไม่จำเป็น การใช้สบู่หรือน้ำยาล้างมือ ล้างให้ถูกต้อง เพียงพอในการกำจัดเชื้อแล้ว

ที่บอกว่าล้างมือบ่อย หมายถึงบ่อยแค่ไหน มีหลักคิดอย่างไร

การล้างมือด้วยสบู่อย่างถูกต้อง จะช่วยลดการติดเชื้อโควิด 19 ได้ ใช้หลักเบื้องต้น ดังนี้

  • ล้างทุกครั้ง หลังอาการไอหรือจาม
  • ล้างทุกครั้งที่มาถึงที่ทำงาน/กลับจากที่ทำงาน
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร/ก่อนเตรียมอาหาร/ปรุงอาหาร
  • ล้างมือก่อนจับต้องใบหน้า
  • ล้างทุกครั้ง เมื่อออกจากห้องน้ำ
  • ล้างทุกครั้งเมื่อจับกับสัตว์หรือสัตว์เลี้ยง
  • ล้างทุกครั้งเมื่อสัมผัสกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
  • ล้างทุกครั้งเมื่อคิดว่ามือสกปรก
  • ล้างมือทุกครั้งให้นานกว่า 20 วินาที

.
ในกรณีไม่มีน้ำหรือไม่มีสบู่ มีทางเลือกอย่างไร

ต้องกลับมาใช้เจลที่มีแอลกอฮฮอล์ขั้นต้น 70% ทาทำความสะอาดมือให้ทั่ว ถ้ามือสกปรกควรล้างมือขจัดคราบสกปรกออกก่อน เพื่อให้แอลกอฮอล์เข้าถึงเชื้อได้เต็มที่
.

การทำความสะอาดพื้นผิว ใช้วิธีการใด

โดยทั่วไปสามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาฟอกขาว ทำความสะอาดได้ ส่วนพื้นที่ที่คิดว่ามีโอกาสมีเชื้อโควิดสูง นอกจากใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไปแล้ว สามารถเช็ดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อเพิ่มความสบายใจได้

 

ถามตอบ การเว้นระยะห่าง

ต้องเว้นระยะห่างจากคนในครอบครัว หรือคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันไหม

ถ้าเว้นระยะห่างได้ควรเว้น นอกจากการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีโอกาสสัมผัสร่วมกันแล้ว การรักษาระยะห่างเป็นสิ่งจำเป็น เช่น การแยกกันทานอาหาร แยกกันดูทีวี (หากทำได้) การลดการสนทนาแบบใกล้ชิด การจัดห้องนอนแยกผู้สูงอายุออกจากสมาชิกที่มีความเสี่ยง การแยกกันใช้ห้องน้ำ เป็นต้น
.

ระหว่างเดินทาง เช่น บนรถ เรือ เว้นระยะห่างกันอย่างไร

นั่งเฉพาะตำแหน่งที่ทางรถหรือทางเรือเตรียมไว้ หากต้องยืนให้เว้นระยะห่างระหว่างกันให้มากที่สุด อย่างน้อย 30 ซม. หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าตรง ๆ ในลักษณะที่การไอ จาม พูดน้ำลายกระเด็นใส่กันได้ ควรล้างมือก่อนและหลังการเดินทาง เป็นต้น

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : น.ท.หญิง พญ.ศิริพร ผ่องจิตสิริ

ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก