
บทบรรณาธิการ
สวัสดีครับ
ในช่วงนี้ ทางทีมงานยังคงทยอยอัพเนื้อหาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นบทความจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ บทความรีไรท์โดยกองบรรณาธิการ บทสัมภาษณ์ คลิปวิดีโอ ล่าสุดทีมงานเริ่มมีการจัดทำ Podcast หรือคลิปเสียงเพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้กับผู้เยี่ยมชมเว็บ ให้สามารถเลือกรับฟังเนื้อหาดี ๆ ในระหว่างเดินทาง หรือในกรณีที่ไม่สะดวกอ่าน นอกจากนั้นแล้วทางทีมงานยังได้มีการปรับปรุง Social media ให้มีการนำเสนอเนื้อหาสาระที่หลากหลาย ในรูปแบบของ Info graphic, YouTube, Motion graphic ทุกท่านสามารถติดตามได้ผ่าน Facebook และ Line@
อีกครั้งสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ามาอาจสงสัยว่า Health2click เป็นเว็บไซต์ประเภทไหน คำตอบก็คือ Health2click เป็นเว็บไซต์ที่เน้นการนำเสนอความรู้ในการดูแลสุขภาพแบบง่าย ๆ ครอบคลุมเรื่องการกิน การนอน การพักผ่อน ไลฟ์สไตล์ดี ๆ ต่อสุขภาพ การเงินเพื่อสุขภาพ และข้อมูลโรคและการป้องกัน เน้นผู้อ่านที่อยู่ในวัยทำงาน หากทุกท่านอยากรู้เรื่องใดเป็นพิเศษ สามารถเสนอผ่านทาง Facebook และ Line@ โดยทีมงานจะเข้ามาอ่านและดำเนินการอย่างรวดเร็ว
สำหรับในช่วง 3 เดือนนี้ ยังคงเป็นการทยอยเพิ่มเติมเรื่องที่เป็นประโยชน์ทางด้านสุขภาพ ในหมวดออกกำลังกาย ได้แก่ ตอบข้อสงสัยเรื่องการออกกำลังกาย ออกกำลังกายช่วงไหนดี ออกกำลังกาย ร่างกายใช้พลังงานอย่างไร ออกกำลังกายแบบไหนเพิ่มความอึด ทน แกร่ง ในหมวดกินตามโภชนาการ ได้แก่ ความรู้เรื่องการกินมังสวิรัติ เรื่อง Keto sis และ Keto flu เรื่องสุดยอดไดเอทแห่งปี ในเรื่องของการนอน ได้แก่ ความรู้เรื่องการนอนหลับ นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ ทำไมอายุมากจึงหลับยาก นอกจากนี้ยังมีบทสัมภาษณ์เรื่อง “เมื่อหยุดออกกำลังกาย ร่างกายก็กลับมาป่วย” โดยคุณธนัฎฐ์สินี เย็นรมภ์ อายุ 38 ปี Sport Leader ร้าน Decathlon สาขาแคราย และเรื่อง “ไตวายไม่ตายไว ถ้ารู้จักดูแลสุขภาพ จากผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ สู่การเป็นนักกีฬา” โดยคุณรัชนิดา กันซัน
นอกจากนี้ในส่วนของข้อมูลความรู้เรื่องโรคต่าง ๆ ยังมีเรื่องที่จะทยอยรับต้นฉบับจากแพทย์ พร้อมอัพขึ้นหน้าเว็บอีกไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10 เรื่อง และที่ขาดไม่ได้ทีมกองบรรณาธิการได้รวบรวมกิจกรรมดี กิจกรรมเด่น ทางด้านสุขภาพมานำเสนอทั้งแบบฟรี และมีค่าใช้จ่าย เดือนละไม่ต่ำกว่า 30 งาน
สุดท้าย อากาศแปรปรวนเดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน สลับฝนและฝุ่น PM2.5 ทำให้พบผู้ป่วยทางเดินหายใจได้ทั่วไป ทุกท่านคงต้องปรับพฤติกรรม หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เพิ่มฝุ่น เช่น จุดไฟเผาหญ้า เผาถ่าน ขนดินทรายแบบไม่ปิดลดฝุ่น อื่น ๆ รวมถึงหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่มีฝุ่นหนาแน่น เช่น ที่การจราจรติดขัด ในเมือง ถ้าต้องผ่านพื้นที่ดังกล่าว ควรใส่หน้ากากกันฝุ่นควันที่ได้มาตรฐานด้วย และควรระวังเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น
ดร.นพ. พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
บรรณาธิการที่ปรึกษา