ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

-19.jpg

โรคโควิด 19 : แนวทางจัดการ

โรคโควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อ ที่มีแนวทางการจัดการเน้นที่ 1) การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่ม โดยลดการสัมผัสเชื้อ หรือหากสัมผัสแล้วมีภูมิต้านทานที่จะลดการเจ็บป่วย และ 2) การควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด

การป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เพิ่ม มี 2 ข้อหลัก คือ

  • การลดการสัมผัสเชื้อ โดยสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับบุคคลอื่น การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ การเว้นระยะห่างกับผู้อื่น และมีมาตรการทางสังคมเพิ่มเติมตามสถานการณ์ เช่น ห้ามรวมกลุ่ม ห้ามเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ทำงานจากที่บ้าน เป็นต้น
    .
    .
  • การฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (SARS-CoV-2) โดยฉีดวัคซีน การฉีดตั้งแต่ 70% ขึ้นไป ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) เป็นประโยชน์กับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดอีกด้วย
    .

การควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยตรวจคัดกรองแยก ผู้ติดเชื้อ ผู้เสี่ยงติดเชื้อสูง ผู้เสี่ยงติดเชื้อต่ำ แล้วมีมาตรการรองรับแต่ละกลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิดสูง ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด ถ้าพบว่าติดเชื้อต้องแยกตัว (Isolation) และรับการรักษาที่เหมาะสม โดยผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักต้อง ไปยังโรงพยาบาล ในห้องที่มีการควบคุมการระบาด ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง จะถูกส่งไปโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ซึ่งมีระบบดูแลป้องกันการแพร่ของเชื้อ
    .
    สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจเชื้อโควิด ได้แก่ 1) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด 2) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และอาการหนักขึ้น เช่น เหนื่อยหอบ หายใจไม่เต็มอิ่ม โดยไม่จำเป็นต้องมีปัจจัยเสี่ยง 3) ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และมีอายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว
    .
    .
    ทั้งนี้ผู้ที่เข้ารับการตรวจ ก่อน/ระหว่างรอผล/หลังทราบผลเป็นลบ ต้องใช้มาตรการกักตัวเช่นเดียวกับกลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อ โดยผลการตรวจเป็นลบหมายถึง ตรวจไม่พบเชื้อยังคงต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน และอาจต้องมีการตรวจซ้ำ
    .
    ปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่ควรพิจารณารับการตรวจ เมื่อ
    .การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย จนถึงขั้นเสี่ยงสูง ต้องไปตรวจโควิดทันที มีเกณฑ์ดังนี้

      • เจอกับผู้ติดเชื้อโดยตรง ในพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท เกิน 15 นาที
      • เจอและพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ในระยะไม่เกิน 1 เมตร นานมากกว่า 5 นาที
      • อยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อในระยะไม่เกิน 1 เมตร โดยต่างคนต่างไม่ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
      • ไอ หรือจามใส่กัน โดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย หรือเครื่องป้องกันอื่น ๆ
      • รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มจากภาชนะเดียวกัน อุปกรณ์รับประทานอาหารชิ้นเดียวกัน
      • อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ติดเชื้อ หรืออยู่ในสถานที่เดียวกันกับที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

การเดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาดพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ระบาด การเคลื่อนย้ายต้องมีการกักตัวสามารถติดตามได้จาก คลิก www.moicovid.com.

  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด ต้องเฝ้าระวังโดยวิธีการกักตัว (Quarantine) เพื่อสังเกตอาการเป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งสามารถกักตัวได้ที่บ้าน (Home Quarantine) หรือสถานที่กักตัวทางเลือกอื่น หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ต้องพบแพทย์และรับการตรวจเชื้อโควิดทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องกักตัว ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด
    .
  • กลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อต่ำ ใช้วิธีสังเกตอาการ โดยหากอาการไม่หายภายใน 3 – 4 วัน หรืออาการรุนแรงขึ้นต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทันที.
    สำหรับผู้ที่ต้องสังเกตอาการ ได้แก่ ผู้ที่มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงในการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย เดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด.

หมายเหตุ เป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นเท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม เบอร์ 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1668 กรมการแพทย์ 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


-19-ต้องทำอย่างไรบ้าง.jpg

เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในละอองฝอย และตามพื้นผิววัสดุต่าง ๆ  สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก ปาก ตา ช่องทางหลักที่เชื้อเข้าสู่ปอด วิธีการป้องกันมีดังนี้

 

การลดการสัมผัสเชื้อโดยเคร่งครัด 3 ประการ คือ

  • สวมหน้ากากอนามัย
    เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำลาย น้ำมูก เสมหะจากการไอ จาม ของผู้สวมใส่แพร่กระจายสู่อากาศภายนอก ทำให้ผู้ใกล้ชิดติดเชื้อได้ และช่วยป้องกันไม่ให้ละอองฝอยจากผู้ที่ไอหรือจามเข้าสู่ร่างกายผู้สวมใส่ด้วย โดยเลือกประเภทหน้ากากอนามัย การใส่ ทำความสะอาดและทิ้งอย่างถูกต้อง

    .
    สวมหน้ากากอนามัย.
    ประเภทหน้ากากอนามัยที่เหมาะสม

    • กรณีมีอาการทางเดินหายใจ ให้ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่มีชั้นกรองตรงกลางเท่านั้น และควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน มีข้อมูลว่าการสวมหน้ากากอนามัย แล้วสวมทับด้วยหน้ากากผ้า ทำให้การป้องกันดียิ่งขึ้น
    • กรณีไม่มีอาการ เลือกใช้หน้ากากที่สามารถป้องกันละอองฝอยทะลุผ่านได้ เช่น หน้ากากอนามัยทั่วไป หน้ากากอนามัยกันฝุ่น กันกลิ่น หน้ากากผ้า เป็นต้น สำหรับหน้ากากผ้าต้องซักทุกวัน ด้วยน้ำอุณหภูมิสูง 60 – 80 องศา ตากแดดจัดก่อนนำมาใช้ใหม่
  • หลักการสวมใส่: ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่ ใส่และถอดโดยจับที่สายคล้อง คล้องสายที่หูโดยไม่จับที่ตัวหน้ากาก ระหว่างการใช้งานไม่จับที่ตัวหน้ากากเช่นเดียวกัน
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ
    หากมีเชื้อโควิดที่มือ เชื้อสามารถผ่านเข้าร่างกายจากการแคะจมูก ขยี้ตา หยิบอาหารด้วยมือเปล่า เป็นต้น
    • วิธีการล้างมือให้ถูกต้อง ให้ใช้น้ำสะอาด ล้างโดยฟอกด้วยสบู่หรือแชมพูล้างมือ (ไม่จำเป็นต้องผสมสารฆ่าเชื้อ) จนขึ้นฟอง ไม่ต่ำกว่า 20 วินาที โดยถูให้ทั่วทั้งหน้าและหลังมือ รวมถึงซอกนิ้ว ซอกเล็บต่าง ๆ ก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด
      .
      วิธีล้างมือ.
    • กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ใช้แอลกอฮอล์เข้มข้น 60 – 70% ในรูปเจลหรือสเปรย์ ทาให้ทั่วมือที่ไม่เปียก แล้วปล่อยให้แห้งเอง (ถ้ามือเปียก แอลกอฮอล์จะเจือจางจนฆ่าเชื้อไม่ได้) ห้ามล้างหน้าหรือใช้มือล้างอย่างอื่นต่อ เพราะน้ำอาจล้างแอลกอฮอล์ออกหมด
    • หากมือมีคราบสกปรก ควรหาน้ำล้างคราบสกปรกออกก่อน เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เกาะอยู่ที่คราบเปื้อนได้
      .
  • เว้นระยะห่างกับผู้อื่นให้เพียงพอ
    การเว้นระยะห่างในทางปฏิบัติ ทำได้โดย

    • การเว้นระยะห่างจากผู้อื่นขั้นต่ำ 1 เมตร และห่างจากคนที่มีอาการไอหรือจาม 2 เมตร
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องสื่อสารใกล้ชิด เว้นระยะห่างการสื่อสารให้เหมาะสม
    • ไม่หันหน้าเผชิญผู้ติดต่อ ผู้สนทนาในระยะที่ไอ จามใส่กันได้
    • แยกทานอาหารคนเดียว ไม่ทานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
    • หลีกเลี่ยงการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน การไปในที่มีคนหนาแน่น รีบกลับให้เร็วที่สุด
    • หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ กรณีที่ใช้ให้หันหน้าเข้าผนังหรือตามที่มีสัญลักษณ์ตำแหน่งยืนในลิฟต์
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของสาธารณะ เช่น ราวบันไดเลื่อน ประตูเปิดปิดร้านสะดวกซื้อ โต๊ะสาธารณะ เป็นต้น เมื่อเจอสถานการณ์ที่ต้องสัมผัสบ่อย ๆ ให้ล้างมือทันที
      .
      การเว้นระยะห่าง.
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
    การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก ล้างมือให้บ่อย และการเว้นและรักษาระยะห่าง ทั้งนี้มีการศึกษาที่ว่า การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดโอกาสในการติด ลดความรุนแรง และลดโอกาสเสียชีวิตหากติดหลังฉีดลงได้ ผู้ที่สนใจฉีดสามารถจองคิวฉีดวัคซีนได้ทาง “Line OA หมอพร้อม”, รพ.ใกล้บ้านที่มีประวัติการรักษา, อสม.หรือ รพ. สต. ในพื้นที่

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  การฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

 


-COVID-19.jpg

สิ่งควรรู้การฉีดวัคซีน COVID-19  

การฉีดวัคซีน COVID-19 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือให้บ่อย รักษาระยะห่าง

วัคซีนโควิด-19 มีหลายบริษัทผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งกลุ่มที่สำคัญ ได้แก่

  • วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม (DNA, mRNA vaccine) สำหรับ mRNA vaccine เป็นการนำสารพันธุกรรม mRNA ของไวรัสโควิด 19 มาหุ้มเพื่อรักษาสภาพ แล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย โดย mRNA จะไปสร้างโปรตีนที่สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น วัคซีนของ Pfizer และวัคซีน Moderna.
    ข้อดี ใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบใหม่ ให้ผลการป้องกันที่ดี ปรับปรุงวัคซีนเพื่อรองรับการกลายพันธุ์ง่าย แต่ต้องคอยเฝ้าดูเรื่องความปลอดภัยในระยะยาว
  • วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector) เป็นการนำสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด 19 ไปติดในไวรัสไม่ก่อโรคตัวที่เป็นพาหะ แล้วนำไปฉีดให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น วัคซีนของ Astra Zeneca และวัคซีน Sputnik V วัคซีนของ Johnson & Johnson.
    ข้อดี ผลิตไม่ยาก ราคาไม่แพง กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี สร้างภูมิคุ้มกันได้ตั้งแต่โดสแรกและอาจใช้เพียง 1 โดส ข้อจำกัดหรือข้อกังวล ไวรัสที่เป็นพาหะอาจถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกัน หรืออาจก่อโรคในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำได้
  • วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Virus Vaccine) เป็นการนำเชื้อโควิด 19 มาทำให้ตาย แล้วนำไปฉีดให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น วัคซีน Sinovac วัคซีน Sinopharm.
    ข้อดี มีความปลอดภัยสูง ใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ข้อจำกัด การผลิตมีต้นทุนสูง ต้องมีการเพาะเชื้อ
  • วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein Subunit Vaccine) เป็นการนำโปรตีนจากเชื้อไวรัสโควิด 19 มาผลิตเป็นวัคซีน แล้วนำไปฉีดให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 ขึ้นมา.
    ข้อดี ความปลอดภัยสูง ใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ข้อจำกัด สร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดี ต้องใส่สารเสริมฤทธิ์ทำให้เกิดปฏิกิริยาเฉพาะตำแหน่งฉีดได้

จะเห็นได้ว่า วัคซีนทุกตัวมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด รวมถึงผลข้างเคียงที่แตกต่างกันบ้าง แต่มีผลดีสำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดมาก ดังนั้นวัคซีนที่ดีที่สุดคือ วัคซีนที่ผู้ที่สมควรฉีดสามารถเข้าถึงได้

  • สำหรับผู้ที่ควรได้รับการฉีด ได้แก่ บุคคลทั่วไป โดยกรมควบคุมโรคได้จัดลำดับการฉีดตามกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2564 ประชากรกลุ่มนี้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้บางชนิดเท่านั้น) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 เช่น อสม./อสต. ทหาร ตำรวจ เป็นต้น.
    สามารถจองคิวฉีดวัคซีนได้ทาง “Line OA หมอพร้อม”, รพ.ใกล้บ้านที่มีประวัติการรักษา, อสม.หรือ รพ. สต. ในพื้นที่
  • ผู้ที่รับวัคซีนครบโดสแล้ว ยังมีโอกาสในการติดเชื้ออยู่ ขึ้นกับภูมิคุ้มกันโรคของแต่ละคน และเชื้อโควิด 19 มีหลายสายพันธุ์ แต่การติดเชื้อหลังรับวัคซีน พบว่ามีอาการน้อย โอกาสรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตลดลงอย่างมาก
  • ผู้ที่รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว อาจมีอาการข้างเคียงหรือไม่มีก็ได้
    • สำหรับอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ได้แก่ ปวด บวม แดง ร้อน คัน บริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ ไข้ต่ำ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
    • สำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรง และควรรีบแจ้งแพทย์ทันทีหรือ โทร. 1669 ได้แก่ ไข้สูง ใจสั่น หนาวสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปวดศีรษะรุนแรง หน้าเบี้ยวปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีจุดเลือดออกจำนวนมาก ผื่นขึ้นจำนวนมาก บวมทั่วร่างกาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง ท้องเสีย ชัก หมดสติ
  • สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน ได้แก่ 1) ประวัติการแพ้ยา แพ้วัคซีน สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ 2) มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียสในวันที่นัดฉีด 3) มีรอยช้ำ จ้ำเลือดหรือเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน และการใช้ยาที่มีผลกดภูมิคุ้มกัน 4) ตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • สิ่งที่ควรปฏิบัติก่อนและหลังการฉีดวัคซีน ได้แก่ 1) สองวันก่อนและหลังฉีด งดออกกำลังกายหนัก 2) วันที่ฉีดกินน้ำเยอะ 500 – 1,000 ซีซี งดชา กาแฟ คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ 3) ฉีดแขนข้างที่ไม่ถนัด หลังฉีดอย่าใช้แขนนั้น 4) หลังฉีดรอสังเกตอาการ 30 นาที กรณีที่มีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดศีรษะน้อย ๆ มีไข้ต่ำ  รับประทานยาบรรเทาอาการได้ (ห้ามทานยา Brufen Acroxia Celebrex) หากมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ให้แจ้งแพทย์โดยทันที 5) ฉีดวัคซีนโควิดควรฉีดให้ห่างกว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 เดือน เป็นต้น
  • ผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการสัมผัสเชื้ออย่างเคร่งครัด ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น

.
บทความแนะนำอ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เข้าใจโรคโควิด 19  |  “ไวรัส” อันตรายต่อมนุษย์ อย่างไร  |  โควิด 2019 เรื่องต้องรู้ หากจะรับมือให้ได้  |  ฝ่าวิกฤตโรคโควิด 19 (COVID-19) อะไรที่ต้องทำ  |  ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง  |  การควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ใครต้องทำอะไรบ้าง  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ ข้อสงสัย การป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19  |  ถามตอบ วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ตรวจทานความถูกต้องโดย : ผศ. (พิเศษ) พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก