ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญที่อื่นที่ไม่ใช่มดลูก โดยส่วนใหญ่พบบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้อง เป็นต้น ต่อมาเยื่อบุดังกล่าวมีการสะสมของเลือด กลายเป็น “ช็อกโกแลตซีส” (Chocolate cyst)” ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะช่วงที่มีรอบเดือน  

 

โรคนี้พบได้ประมาณ 1 ใน 10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ และสูงได้ถึง 5 ใน 10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ที่มีอาการปวดประจำเดือนร่วมกับปัญหามีบุตรยาก ทั้งนี้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ไม่ถูกจัดเป็นโรคร้ายแรง บางคนอาจไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการ มีความรุนแรงได้หลายระดับ ตั้งแต่อาการปวดประจำเดือนน้อย ๆ ไปถึงปวดประจำเดือนมาก หรือปวดเรื้อรังจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

 

อาการ

อาการที่พบบ่อย
อาการของภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่อาจแตกต่างกันไป โดยที่สังเกตได้โดยทั่วไปมีดังนี้

  • ปวดท้องน้อยหรือปวดอุ้งเชิงกรานในช่วงก่อนมีประจำเดือน และปวดมากในช่วงที่มีรอบเดือน
  • เจ็บช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยจะมีอาการเจ็บลึกภายในช่องคลอด ซึ่งจะต่างจากอาการเจ็บจากการสอดใส่ขณะมีเพศสัมพันธ์
  • เจ็บท้องส่วนล่างเมื่อถ่ายหนักหรือปัสสาวะ บางรายอาจมีเลือดปน
  • เลือดออกทางช่องคลอดในช่วงที่ไม่ใช่รอบเดือน หรือเลือดประจำเดือนออกมากหรือนานผิดปกติในช่วงที่มีรอบเดือน
  • อาการระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด หรือรู้สึกคลื่นไส้ โดยเฉพาะช่วงที่มีรอบเดือน
  • ภาวะมีลูกยากหรือตั้งครรภ์ไม่ได้ มีการอุดตันของรังไข่
  • อาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของโรค เช่น โรคเกิดที่ระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้มีอาการปวดปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือด โรคเกิดที่ลำไส้ อาจทำให้มีอาการปวดถ่ายอุจจาระ ถ่ายอุจจาระลำบาก เป็นต้น

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
ปวดประจำเดือนจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอุ้งเชิงกราน ระบบย่อยอาหาร ระบบปัสสาวะ

 

ภาวะแทรกซ้อน

  1. ภาวะมีบุตรยาก โดยเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ทำให้ท่อนำไข่อุดตัน ไข่ตกไม่สามารถผสมกับอสุจิ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
  2. มะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่ได้มากกว่าหญิงทั่วไป

 

สาเหตุ

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน โดยเชื่อว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ได้แก่

  • ภาวะประจำเดือนไหลย้อน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่พบบ่อย โดยเลือดประจำเดือนที่มีเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก ได้ไหลย้อนเข้าไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มีเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเกาะอยู่ตามผนังอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ต่อมาได้หนาตัวและสลายเป็นเลือดออกมาตามช่วงของรอบเดือน
  • ปัจจัยทางด้านฮอร์โมนทำให้เซลล์เยื่อบุช่องท้องเปลี่ยนแปลงและทำงานคล้ายเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก โดยมีการหนาตัวและสลายเป็นเลือดออกมาตามรอบเดือน
  • การไหลของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปตามหลอดเลือดหรือระบบน้ำเหลือง และไปเกาะอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ต่อมามีการหนาตัวและสลายเป็นเลือดออกมาตามรอบเดือน
  • ผู้ที่ผ่าตัดมดลูกหรือผ่าคลอดอาจเสี่ยงต่อโรคนี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดไปเกาะอยู่ตามอวัยวะอื่น ๆ ได้
  • เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญภายนอกมดลูกได้

 

การวินิจฉัย

สูตินรีแพทย์จะทำการสอบถามอาการและซักประวัติสุขภาพของผู้ป่วย และบุคคลในครอบครัวอย่างละเอียด ทั้งการปวดท้อง ปวดประจำเดือน การมีบุตร รวมทั้งตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ ตามเหมาะสม เช่น

  • การตรวจภายใน โดยแพทย์จะคลำหาก้อนหรือตรวจความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในอุ้งเชิงกรานของผู้ป่วย
  • การตรวจอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์ MRI เพื่อตรวจความผิดปกติที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • การตรวจส่องกล้อง เป็นการส่องกล้องผ่านรอยผ่าขนาดเล็กใกล้ ๆ สะดือ เพื่อดูว่ามีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ โดยอาจมีการตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยไปตรวจ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดส่องกล้องทุกราย

 

การรักษา

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บางรายอาการดีขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่บางรายยังต้องรับการรักษาเพื่อลดหรือกำจัดอาการ โดยแพทย์สามารถพิจารณารักษาโดย

  • การรักษาด้วยยาและฮอร์โมนบำบัด ใช้ในรายที่มีอาการปวดประจำเดือน โดยที่ไม่มีหรือมีถุงน้ำที่รังไข่ขนาดเล็ก ไม่เกิน 2 – 3 เซนติเมตร มักจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ต้องการมีบุตร เนื่องจากยาจะมีผลต่อฮอร์โมนเพศและกดการทำงานของรังไข่ ทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้ในระหว่างการรักษา โดยยาที่ใช้ในการรักษามี
    • การใช้ยา เช่น การใช้ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์
    • การใช้ฮอร์โมนบำบัด เช่น ยาเม็ด/ยาฉีดคุมกำเนิด ทั้งนี้ต้องระวังผลข้างเคียง เช่น ประจำเดือนมาผิดปกติ ภาวะซึมเศร้า น้ำหนักตัวเพิ่ม นอกจากนั้นยังมียาฮอร์โมนกลุ่มแอนโดรเจน ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงลักษณะของเพศชายได้ เช่น ผิวมัน หน้ามัน เป็นสิว มีขนหรือหนวดขึ้น โดยอาการส่วนใหญ่จะหายไปหลังหยุดใช้ยา, ยาฮอร์โมนกอนาโดโทรฟิน ( Gonadotropin-releasing hormone, GnRH) ชนิดฉีด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังต้องการมีบุตร โดยหลังจากหยุดยาแล้ว รังไข่จะกลับมาทำงานได้ตามปกติทันที แต่ยามีผลข้างเคียง เช่น มีอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ใช้เป็นเวลานานอาจมีภาวะกระดูกพรุน
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ที่วางแผนมีบุตร แต่มีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง หรือรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดแล้วไม่ได้ผล อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่กระทบต่ออวัยวะสืบพันธุ์ แต่จะมีโอกาสกลับมาป่วยได้อีก

โดยการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) ช่วยให้เจ็บน้อย แผลเล็ก โอกาสเกิดพังผืดหลังผ่าตัดลดลง และการผ่าตัดเนื้องอกผ่านผนังหน้าท้องแบบแผลเล็กกว่าหรือเท่ากับ 6 เซนติเมตร (Minilaparotomy Myomectomy) และการผ่าตัดเนื้องอกผ่านผนังหน้าท้อง (Abdominal Myomectomy)

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีพังผืดปริมาณมาก หรือเคยผ่าตัดมาก่อนแล้วพบว่าเป็นช็อกโกแลตซีสต์ การผ่าตัดส่องกล้องจะค่อนข้างเหมาะสมมากกว่า

 

ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก