ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ปวดกล้ามเนื้อ

ปวดกล้ามเนื้อ

ปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Pain) คือ ภาวะตึง ปวด หรืออักเสบของกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยร่างกายมีกล้ามเนื้อลายอยู่ 696 มัด มีความหนักรวมเกือบครึ่งของน้ำหนักตัว การใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ หรือมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน

 

อาการ

อาการที่พบได้บ่อย
ปวดกล้ามเนื้อมีอาการได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น ปวดหนัก ๆ  ปวดเมื่อยล้า ปวดตึง ปวดเสียวเมื่อยกแขน หรือปวดเมื่อเอี้ยวตัว เป็นต้น โดยอาจปวดเป็นครั้งคราว เป็น ๆ หาย ๆ โดยเฉพาะช่วงขยับตัว ปกติแล้วผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อสามารถบอกลักษณะการปวด รวมถึงสาเหตุได้ด้วยตัวเอง เช่น ปวดบริเวณหลังจากการไปออกกำลังกาย หรือไปยกของหนักมา เป็นต้น

ควรพบแพทย์เมื่อใด
อาการปวดมากจนส่งผลต่อการทำงานหรือไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่นร่วม เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร ข้อยึดติด น้ำหนักลดลงมากกว่า 10% หรืออาการรุนแรงมากขึ้น ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง

โดยหากปวดไม่มาก ไม่มีอาการอื่นร่วม โดยผู้ที่ปวดอาจรู้สาเหตุ เช่น ภายหลังจากการออกกำลังกาย การยกของหนัก อาจใช้การพักเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ พิจารณาทานยาแก้ปวดเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เพราะยาอาจมีผลข้างเคียง

สาเหตุ

สาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ มักเป็นผลมาจากการใช้กล้ามเนื้อทำกิจกรรมต่าง ๆ มากเกินไปหรือใช้ท่าเดิมซ้ำ ๆ จนเกิดการสะสมของของเสียในกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหดตัวและขาดออกซิเจน ทำให้ปวดกล้ามเนื้อ

แต่ในบางครั้งการปวดกล้ามเนื้อ อาจมาจากสาเหตุอื่น เช่น การเจ็บป่วยด้วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome/MPS) โรคในกลุ่มออโตอิมมูน (Autoimmune) โรคในกลุ่มผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (Dermatomyositis) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) กลุ่มอาการล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคติดเชื้อบางชนิด และผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว การปวดกล้ามเนื้อยังมาจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น ภาวะติดเชื้อ ปวดหลังการฉีดวัคซีน เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ มะเร็ง ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

 

การวินิจฉัย

แพทย์จะมีแนวทางการวินิจฉัย โดยการตรวจที่เกี่ยวกับอาการปวด เช่น ตำแหน่งปวด จุดกดเจ็บ ลักษณะการปวด อาการบวม แดง ร้อน ก้อนหรือไตแข็งบริเวณปวด การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวความผิดปกติของข้อบริเวณใกล้เคียง และอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ไข้ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน อาการชา อ่อนเพลีย เหนื่อย ผื่นผิวหนัง บวมน้ำ ปัสสาวะน้อย หายใจลำบาก โดยหากแพทย์สงสัยว่าไม่ใช่การปวดกล้ามเนื้อธรรมดา แพทย์อาจพิจารณาตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจความผิดปกติของเอ็นไซม์และเนื้อเยื่อ การตรวจกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (Electrodiagnostic study) เป็นต้น

 

การรักษา

อาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากสาเหตุทั่วไป เช่น การใช้กล้ามเนื้อทำงานหนัก ใช้กล้ามเนื้อทำงานซ้ำซาก  สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้ด้วยต้วเอง โดยการ

  • ลดกิจกรรมที่เป็นสาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักผ่อน
  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) หรือพาราเซตามอล (Paracetamol)
  • ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วง 1 – 3 วันแรก หลังจากนั้นประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการและลดการอักเสบ
  • ทำกายบริหารเบา ๆ เพื่อยืดและบริหารกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดอย่างระมัดระวัง

ปกติแล้วอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วไปสามารถดีขึ้นได้ โดยการทำวิธีการที่กล่าวมาด้วยตนเองที่บ้าน แต่หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นร่วม แพทย์จะวางแผนการรักษาเพิ่มเติม โดยรักษาอาการปวด เช่น การบำบัดด้วยคลื่นความร้อนลึก การฉีดยา/พ่นสเปรย์ให้ชา การปรับรูปแบบการออกกำลังกายเฉพาะบุคคล พร้อมไปกับการรักษาเฉพาะโรคที่เป็นสาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อด้วย

ภาวะแทรกซ้อน

อาการปวดกล้ามเนื้อหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น อาจรบกวนการนอน จนเกิดภาวะนอนไม่หลับ ภาวะเครียด ภาวะซึมเศร้าตามมา หรือบางรายอาจนำไปสู่โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ผู้ป่วยจะมีประสาทสัมผัสไวต่ออาการปวด จนทำให้เกิดภาวะปวดทั่วร่างกาย

 

ข้อแนะนำและการป้องกัน ปวดกล้ามเนื้อ

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยเฉพาะก่อนและหลังการออกกำลังกาย
  2. ยืดกล้ามเนื้อหรืออบุอุ่นร่างกายทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อหนัก ๆ เช่น การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การยกแบกของ เป็นต้น
  3. ในระหว่างการใช้กล้ามเนื้อซ้ำเป็นเวลานาน เช่น นั่ง ยืน เดินนานๆเป็นชั่วโมง ให้ลุก พัก เปลี่ยนอริยาบทเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย กลับสู่ภาวะพร้อมทำงานใหม่อยู่เสมอ ๆ

 

ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก