ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

โรคอารมณ์แปรปรวน ไบโพลาร์

อารมณ์แปรปรวน

Bipolar disorders หรือ BP เป็นโรคอารมณ์แปรปรวนที่ผู้ป่วยมีอารมณ์คลุ้มคลั่งครื้นเครงมากกว่าปกติหรือ อารมณ์ครื้นเครงไปจากภาวะปกติเล็กน้อย สลับกับมีภาวะอารมณ์เศร้าซึม

 

ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีเพียงอาการอารมณ์คลุ้มคลั่งครื้นเครงมากกว่าปกติเท่านั้น ในแต่ละครั้งที่อาการกำเริบ โดยไม่มีระยะที่มีอาการซึมเศร้าเลย แต่ยังคงให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะอารมณ์เศร้าอารมณ์แปรปรวน ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินโรค ประวัติของโรคในครอบครัว ตลอดจนการตอบสนองต่อการรักษาไม่ต่างไปจากผู้ป่วยที่มีอาการทั้ง 2 ด้าน อีกทั้งผู้ป่วยประเภทนี้พบได้ไม่มาก (ประมาณร้อยละ 10)

 

ลักษณะอาการทางคลินิก

อาการของผู้ป่วยอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่

  • อาการด้านอารมณ์ ผู้ป่วยรู้สึกมีความสุขมาก อารมณ์ดี พูดจามีอารมณ์ขัน ล้อเลียนผู้อื่น คึกคะนอง ไม่สำรวม มีการแสดงออกของอารมณ์หรือความต้องการอย่างขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่ค่อยคำนึงถึงผู้อื่นหรือกฎเกณฑ์ของสังคม หากถูกห้ามปรามหรือขัดขวางในสิ่งที่ตนต้องการจะหงุดหงิด ฉุนเฉียว
  • อาการด้านพฤติกรรม ผู้ป่วยจะรู้สึกคึกคัก มีกำลังวังชา ขยันมากกว่าปกติแต่มักทำได้ไม่ค่อยดี ความต้องการนอนลดลง ชอบพูดคุยทักทายผู้อื่น แม้แต่กับคนแปลกหน้า พูดมาก พูดเร็ว กิจกรรมทางเพศเพิ่มขึ้น ใช้จ่ายสิ้นเปลือง
  • อาการด้านความคิด ผู้ป่วยจะมีความคิดสร้างสรรค์มากมาย มีโครงการในกิจการต่างๆ ซึ่งเกินตัว เชื่อมั่นในตนเองมากร่วมกับมีการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม ไม่ยอมรับฟังผู้อื่น ในรายที่เป็นรุนแรงจะพบมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน โดยเนื้อหามักเกี่ยวกับเรื่องของอำนาจวิเศษ ศาสนา หรือบางครั้งอาจมีลักษณะแปลกๆ เช่นเดียวกับที่พบในโรคจิตเภท

 

ระบาดวิทยา

ความชุกโดยคำนวณตลอดชีวิต ร้อยละ 1 หญิงและชายพบได้พอๆ กัน อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มมีอาการประมาณ 30 ปี

 

สาเหตุ

ปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุเป็นจากปัจจัยด้านชีวภาพ ซึ่งพบเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านพันธุกรรมค่อนข้างสูง และเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมอง ในแง่ของสารสื่อนำประสาทในสมองหลายตัว โดยพบว่าในระยะที่มีอารมณ์เศร้า มีสารสื่อนำประสาทนอร์อิพิเนฟรินและซีโรโทนินลดลง และในระยะอารมณ์คลั่งมีนอร์อิพิเนฟรินสูง

 

การดำเนินโรค

ผู้ป่วยชายส่วนใหญ่จะมีอาการครั้งแรกเป็นภาวะอารมณ์คลั่ง ส่วนผู้ป่วยหญิงจะมีอาการครั้งแรกเป็นแบบภาวะอารมณ์เศร้า ระยะเวลาที่เป็น หากไม่ได้รักษาโดยเฉลี่ยนาน 4 เดือน ผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะอารมณ์คลั่ง พบว่ามีโอกาสที่จะเป็นอีกมากกว่าร้อยละ 90 และโรคนี้มีโอกาสเกิดซ้ำของโรค สูงกว่าพวกที่มาด้วยภาวะอารมณ์เศร้า

 

การรักษา

รับไว้รักษาในโรงพยาบาลในรายที่อาการรุนแรง เช่น ก้าวร้าว ทำลายข้าวของ มีอาการโรคจิต หรือไม่พักผ่อน รบกวนคนในครอบครัวหรือผู้อื่น ญาติควบคุมพฤติกรรมไม่ได้ เป็นต้น

ยาหลักใน การรักษา ได้แก่ ลิเทียม ให้ขนาด 600-9000 มก./วัน โดยให้ระดับยาในเลือดอยู่ระหว่าง 0.8-1.4 mEq/ลิตร ในรายที่มีอาการมากในช่วงแรกจำเป็นต้องให้ยารักษาโรคจิต หรือยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีนในขนาดสูงร่วมไปด้วย เพื่อควบคุมพฤติกรรม ลดอาการวุ่นวาย ก้าวร้าว เมื่ออาการด้านอารมณ์ลดลงจึงค่อยๆ ลดยารักษาโรคจิตลงจนหยุด ผู้ป่วยอารมณ์คลั่งที่มีอาการโรคจิตร่วมด้วยนั้นต้องให้การรักษาด้วยยารักษา โรคจิต และลดยาลงเมื่อหายอาการเช่นกัน

ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยลิเทียม หลังจากให้ยาในขนาดที่เหมาะสมไปนาน 4 สัปดาห์ หรือในผู้ป่วยที่เป็น rapid cycling อาจให้การรักษาด้วย carbamazepine หรือ sodium valproate

หลังจากผู้ป่วยอาการกลับสู่ปกติแล้ว ให้ลิเทียมต่อไปอีก 3-4 เดือน แล้วลดยาลงจนหยุด ในผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นมาแล้ว 2 ครั้งขึ้นไป ควรให้การรักษาแบบดูแลต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ โดยมีระยะเวลาที่ให้ควรนานอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

ขณะให้ยารักษาเพื่อดูแลต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ หากผู้ป่วยที่กลับมามีอาการ อารมณ์คลั่งให้เพิ่มขนาดลิเทียม หรือให้ยารักษาโรคจิตร่วม หากมีอาการซึมเศร้าให้เพิ่มขนาดลิเทียม ร่วมกับทำจิตบำบัด ถ้ายังไม่ดีขึ้นอาจให้ยาแก้เศร้า แต่ไม่ควรให้นาน เนื่องจากอาจไปกระตุ้นให้โรคเกิดกำเริบบ่อยขึ้นได้

 

เอกสารอ้างอิง :

  1. มานิต ศรีสุรภานนท์. ตำราจิตเวชศาสตร์, โรคอารมณ์แปรปรวน, พิมพ์ครั้งที่ 2 เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, เชียงใหม่: หน้า 165, พ.ศ. 2544.
  2. ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี, โรคอารมณ์แปรปรวน, พิมพ์ครั้งที่ 6 สวิชาการพิมพ์, กรุงเทพฯ: หน้า 153-157, พ.ศ. 2544.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก bipolar-disorders-โรคอารมณ์เศร้าอารมณ์
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก