ควรรู้! เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต 72 ชม.แรก รักษาฟรีทุกโรงพยาบาล
ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 รัฐบาลได้บังคับใช้หลักเกณฑ์ “การจ่ายค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินใน 72 ชม.แรก” ไว้ให้กับประชาชนทุกคน ไม่ว่าสิทธิสุขภาพไหนก็ตาม บัตรทอง ประกันสังคม สิทธิข้าราชการ หรือสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เมื่อ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต” ต้องได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ในโรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือจุดเกิดเหตุมากที่สุด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หลังจาก 72 ชม. ต้องย้ายไปโรงพยาบาลตามสิทธิต่อไป แต่น่าจะมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองได้รับสิทธินี้ เลยเอามาบอกกัน
ส่วนเงื่อนไขในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีอะไรบ้าง? จะแบ่งตามความรุนแรง 3 ระดับ คือ
1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง)
- เข้ารักษาที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ ทั้งรัฐเอกชนที่ใกล้ที่สุด
- ไม่ต้องสำรองจ่าย 72 ชม.แรก
- ถ้าต้องการรักษาเกิน 72 ชม. ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาหลังจากนั้นไปก่อน แล้วค่อยไปเบิกทีหลัง โดยจะเบิกค่ารักษาได้ 2 กรณี คือ
2. ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง)
- เบิกค่ารักษาพยาบาลใน 72 ชม.แรกได้ 50% ของเงินที่จ่ายไป แต่ไม่เกิน 8,000 บาท
- หลังจาก 72 ชม.แรก ถ้าไม่ย้ายไปโรงพยาบาลตามสิทธิ ต้องจ่ายเอง
3. ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินรุนแรง (สีเขียว)
- เบิกค่ารักษาพยาบาลใน 72 ชม.แรกได้ 50% ของเงินที่จ่ายไป แต่ไม่เกิน 8,000 บาท
- หลังจาก 72 ชม.แรก ถ้าไม่ย้ายไปโรงพยาบาลตามสิทธิ ต้องจ่ายเอง
ทุกกรณี สามารถเบิกค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ได้ในอัตราของทางราชการ ไม่รวมการนัดมาตรวจ หรือการนัดมาทำแผล หากพ้นวิกฤตและย้ายไปยังโรงพยาบาลรัฐได้ แต่ปฏิเสธการย้าย ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังพ้นวิกฤตเอง
ซึ่งเราจะรู้ว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินประเภทไหน ต้องผ่านการพิจารณาจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติก่อน ถึงจะเบิกใช้สิทธิได้ ส่วนจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นการ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต” รึเปล่า จะมีการติดป้ายนี้ไว้หน้าห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล เพื่อให้ญาติผู้ป่วยทราบเป็นการเบื้องต้น
เรื่องเหล่านี้เป็นเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรารู้ไว้ก็ไม่เสียหาย จะได้ไม่ต้องเสียสิทธิแล้วมาเสียดายทีหลัง แต่ยังไงก็คิดว่า ถ้ามันไม่ทำให้เราเดือดร้อน หรือลำบากเกินไป การซื้อประกันอุบัติเหตุ หรือประกันสุขภาพไว้ ก็สามารถทำให้เราสบายใจไปได้ระดับนึง เมื่อเกิดเหตุขึ้นมาจริง ๆ จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลมากนัก
แหล่งที่มา: www.moneybuffalo.in.th
ภาพประกอบจาก: www.lifespan.org