ว่าด้วยเรื่องของวิตามินอี
วิตามินอี (Vitamin E) เป็นวิตามินชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้เสริมสุขภาพอย่างแพร่หลาย เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ยาเพื่อเสริมสุขภาพมากมาย โดยมีทั้งยาชนิดที่มีการวิจัยถึงผลประโยชน์ที่ชัดเจน และยาชนิดยังไม่ทราบประโยชน์ที่แน่ชัด โดยอาจมีอันตรายแอบแฝงอยู่ด้วย แต่ก็มีขายในท้องตลาดอย่างกว้างขวาง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ในอาหารเสริมสุขภาพแต่ละชนิดเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ในการเลือกใช้ โดยเฉพาะเรื่องของ ” วิตามินอี ” ที่เราจะเอามาเล่าให้ฟัง
วิตามินอี คืออะไร และสำคัญอย่างไร
วิตามินอี เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ละลายในไขมัน และเป็นยาตัวหนึ่งที่นำมาใช้เสริมสุขภาพอย่างแพร่หลาย เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของยาตัวนี้เป็นอย่างดี มีรูปแบบอยู่ถึง 8 รูปแบบ สำหรับรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้ดี ได้แก่ แอลฟา-โทโคเฟอรอล เป็นสารต้านฤทธิ์ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่มีประสิทธิภาพสูง ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นนี้จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ อันส่งผลทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ และโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เป็นต้น
ได้มีการนำวิตามินอี มาใช้เพื่อการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ได้แก่ การชะลอความแก่ การรักษาผมร่วง การอักเสบของถุงน้ำในข้อ แผลในกระเพาะอาหาร โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง การแท้ง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การมีบุตรยาก ใช้ลดการเจ็บครรภ์คลอด ใช้เป็นยาเสริมสุขภาพสตรีวัยทองและอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น รักษาหิมะกัด ผึ้งต่อย โดยอ้างอิงกลไกปฏิกิริยาของวิตามินอี และความเชื่อต่าง ๆ
ก่อนที่จะไปดูผลการศึกษาในรายงานต่าง ๆ ต้องเข้าใจเกี่ยวกับหลักการรับประทานหรือเสริมสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินก่อน คือ ปกติแล้วในร่างกายมนุษย์จะต้องได้รับสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินโดยมีความสมดุลย์ ปริมาณของสารอาหารชนิดต่างๆ แร่ธาตุ และวิตามินต้องการในแต่ละวันไม่เท่ากัน แต่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นปกติ ในกรณีที่มีการขาดของสารอาหารเหล่านี้ จะส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆ ของร่างกายโดยทำให้เกิดอาการผิดปกติได้หลายอย่าง สำหรับวิตามินอี ความต้องการในแต่ละวันราว 5 – 30 หน่วยสากล ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ เพศ และสภาพร่างกาย การรับประทานอาหารจำพวกไขมัน โดยในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตรจะมีความต้องการวิตามินอีสูงขึ้น เมื่อเกิดการขาดวิตามินตัวนี้จะส่งผลต่อสุขภาพและการเจริญเติบโต ทำให้การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ การส่งกระแสประสาทช้าลง กล้ามเนื้ออ่อนแรงและพบการเสื่อมสภาพของจอประสาทตาที่อาจส่งผลทำให้เกิดตาบอดได้
ใครควรจะได้รับการเสริมวิตามิน อี
ความเหมาะสมของการเสริมวิตามิน อี หลักดังกล่าวมาแล้วคือ “สำหรับผู้ที่ขาดหรือมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามิน อี ควรได้รับการเสริม”เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก สมควรให้ในทารกที่เกิดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักแรกเกิดกว่า 1,500 กรัม โดยการเสริมจะให้เสริมลงไปในนม สำหรับวัยผู้ใหญ่ สมควรให้ในผู้ที่มีปัญหาความผิดปกติของการย่อยไขมัน คือ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอากระเพาะบางส่วนหรือทั้งหมดออกไป ผู้ที่มีลำไส้อักเสบและมีปัญหาเรื่องการดูดซึมไขมัน สำหรับในปัจจุบันอาจพบปัญหาเพิ่มเติมขึ้นในสตรีที่ลดความอ้วนมาก ๆ โดยไม่รับประทานไขมันเลย หรือกินยาป้องกันการดูดซึมของไขมันก็อาจจะเสี่ยงต่อการขาดวิตามินได้
วิตามินอี พบมากในอาหารจำพวกใด
วิตามิน อี พบมากใน น้ำมันพืช ได้แก่ น้ำมันสกัดจากจมูกข้าวสาลี น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียว อย่างไรก็ตาม ขณะที่ร่างกายต้องการวิตามิน อี เพิ่มขึ้น การรับประทานสารอาหารจำพวกไขมันในปริมาณที่เหมาะสมก็มีความจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน อี ด้วย
อันตรายจากการเสริมวิตามิน อี
จากข้อมูลปัจจุบันพบว่า วิตามินอี มีความปลอดภัยสูง โดยหากเสริมจากอาหารปริมาณที่ได้รับมักจะไม่เป็นอันตราย แต่หากรับประทานวิตามิน อี ที่เกิน 800 หน่วยสากลต่อวัน อาจจะส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด และเสี่ยงต่อปัญหาวิตามินอี (Vitamin E) เป็นวิตามินชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้เสริมสุขภาพอย่างแพร่หลาย เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ยาเพื่อเสริมสุขภาพมากมาย โดยมีทั้งยาชนิดที่มีการวิจัยถึงผลประโยชน์ที่ชัดเจนาเรื่องเลือดออกง่ายได้
ข้อมูลของวิตามินอี ที่กำลังมีการศึกษา
ได้มีการศึกษาผลของการใช้วิตามิน อี ในการโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นพัก ๆ การเสื่อมของจอประสาทตาที่สัมพันธ์กับอายุและการเสริมวิตามิน อี ในผู้ป่วยจิตเวชที่มีภาวะแทรกซ้อนจากยาโดยมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ข้อมูลการศึกษาส่วนใหญ่ ยังไม่ชัดเจน และยังมีการศึกษาน้อย แต่มีแนวโน้มว่าน่าจะเป็นประโยชน์และไม่พบอาการข้างเคียงจากการใช้ที่รุนแรง สำหรับการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมากต้องใช้เวลาในการศึกษา จึงคงต้องติดตามผลการศึกษาเรื่องเหล่านี้ต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: thaihealthy.(2009).ว่าด้วยเรื่องของวิตามินอี.28 ธันวาคม 2558.
แหล่งที่มา : www.thaihealthy.thaidietetics.org
ภาพประกอบจาก : www.stronglife.in.th