ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ค่าใช้จ่าย เวลาที่ต้องเข้าโรงพยาบาล

ค่าใช้จ่าย-เวลาที่ต้องเข้าโรงพยาบาล

ไม่อาจปฏิเสธว่าร่างกายมนุษย์ ก็ไม่ต่างจากเครื่องจักรประเภทหนึ่งที่ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง นานหลายปี มีระบบกลไกการทำงานภายใน ที่ไม่สามารถมองเห็นความเสื่อมสภาพได้ด้วยตาเปล่า และคนส่วนใหญ่ก็มักจะละเลยการดูแลสุขภาพ ทั้งที่ร่างกายมีอายุการใช้งานจำกัด สึกหรอไปตามวัย และการใช้งาน

 

ทำให้ชีวิตคุณเต็มไปด้วยความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และการเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด และปัญหาหลักที่จะตามมา คือ ค่าใช้จ่ายในการ “รักษาพยาบาล” ที่คุณต้องควักจ่ายไปกับการรักษาตัว แต่ก่อนถึงจุดนั้น มาเช็คกันหน่อยว่า ถ้าคุณ “เจ็บป่วย” หนึ่งครั้ง ต้องควักจ่ายเท่าไหร่ เพื่อวางแผนการเงินในปัจจุบันและในอนาคต

 

ค่าบริการตรวจรักษา หรือค่าบริการหมอเฉพาะทาง

รายจ่ายที่ต้องรับมือแน่นอนเมื่อเข้ารับการรักษา คือ “ค่าหมอ” ที่ต้องจ่ายทุกครั้งเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอาการเบื้องต้นของคุณ เฉลี่ยอยู่ที่ 150 – 1,000 บาท*/ครั้ง แต่ราคาดังกล่าว อาจเพิ่มสูงขึ้น 2 – 3 เท่า หากคุณจำเป็นต้องพบหมอเฉพาะทาง เช่น หาหมอระบบไขข้อกระดูก หาหมอสูตินารีแพทย์ หาหมอระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ และค่าหมอมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น หากคุณเกิดเจ็บป่วยนอกเวลาทำงานของแพทย์

 

ค่ายารักษาโรค

ค่ายารักษาโรคตามโรงพยาบาล มักมีราคาแตกต่างกันออกไป เฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาทขึ้นไป/1 ตัวยา ทั้งนี้ ราคาขึ้นอยู่กับกลุ่มของโรคที่คุณเจ็บป่วยด้วย ว่าต้องใช้ยาชนิดใดในการรักษา ต้องกินอย่างต่อเนื่องหรือไม่ หรือเป็นยานำเข้าจากต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ค่ายาเวชภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ แม้ค่ายาตามโรงพยาบาลเอกชนจะมีราคาสูง แต่อย่าลืมว่าการได้รับยาที่ถูกสั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะยารักษาที่ตรงกับโรคของคุณ ย่อมช่วยให้อาการเจ็บป่วยทุเลาลง และลดระยะเวลาการพักฟื้นได้

 

ค่าห้องพักผู้ป่วยใน

ในกรณีที่คุณเจ็บป่วยหนัก และแพทย์ลงความเห็นว่า ควรนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะตามมาหลังการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น โดยราคาห้องพักผู้ป่วยเฉลี่ยเริ่มต้นที่ 2,400 – 10,600 บาท/คืน แต่ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าบริการอื่น ๆ เช่น ค่ายาเวชภัณฑ์ ค่าบริการพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าอาหารผู้ป่วย หากรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คุณต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จะเฉลี่ยอยู่ที่คืนละ 6,500 บาท ขึ้นไป (ราคาขึ้นอยู่กับห้องพัก แต่ละประเภท)

 

ค่าการเอกซเรย์ ค่าฉายแสงบำบัด ค่าผ่าตัด

หากคุณเกิดเจ็บป่วยกะทันหัน ป่วยฉุกเฉิน หรือมีอาการของโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องวินิจฉัย หรือรักษาด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การเข้าเครื่องเอกซเรย์ สแกน MRI การ ส่องกล้องทางเดินอาหาร การตัดชิ้นเนื้อตรวจ ฯลฯ การตรวจด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการหาหมอหนึ่งครั้งเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเท่าตัว โดยเฉลี่ยแล้วค่ารักษาต่อครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 3,xxx – 1x,xxx บาทขึ้นไป

 

ส่วนค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดใหญ่

มักเกิดในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน หรือมีอาการของโรคเกิดขึ้นเฉียบพลัน ต้องรับการผ่าตัดทันทีเพื่อรักษาชีวิต ซึ่งทุกการผ่าตัดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และความพร้อมของผู้ป่วย แต่บางกรณีต้องเข้ารับการผ่าตัดด่วน เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิต

โดยค่าใช้จ่ายการผ่าตัดเฉลี่ยต่อครั้ง จะอยู่ที่ประมาณ 3,xxx – 1xx,xxx บาทขึ้นไป (ยังไม่รวมค่าบริการอื่น ๆ ของโรงพยาบาล) ราคาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรงของโรค ระยะของโรค ชนิดของโรค อุปกรณ์พิเศษที่ต้องใช้ในการผ่าตัด ฯลฯ

 

ค่าใช้จ่ายแฝง

กรณีหาหมอแบบผู้ป่วยนอก นอกจากต้องชำระค่าหมอตรวจรักษา และค่ายา คุณต้องเสียค่าบริการของโรงพยาบาลเพิ่มเติม เช่น ค่าอุปกรณ์การแพทย์และวัสดุสิ้นเปลือง ค่าบริการพยาบาล ค่าคลินิกนอกเวลา ค่าบริการผู้ป่วยนอก ฯลฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,xxx บาท ขึ้นไป++ ต่อการตรวจรักษา 1 ครั้ง

 

นี่เป็นเพียงการประเมินค่าใช้จ่ายการเจ็บป่วย “1 ครั้ง” ในกรณีตัวอย่างเท่านั้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตามปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่น จ่ายค่าเครื่องมือแพทย์ แลกกับความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรค ยาเวชภัณฑ์คุณภาพสูง สภาพเศรษฐกิจ มาตรฐานโรงพยาบาล แต่ละแห่ง ฯลฯ

นอกจากค่าใช้จ่ายในการหาหมอแล้ว การเจ็บป่วยแต่ละครั้งก็มีโอกาส ทำให้คุณสูญเสียรายได้หากต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล

ดังนั้น ควรมองหาตัวช่วยเพื่อรักษารายได้ของคุณ ซึ่งประกันชีวิตแบบชดเชยรายได้ เป็นตัวช่วยหนึ่งในการสร้างความอุ่นใจทุกครั้ง เมื่อต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.play.scblife.co.th
ภาพประกอบจาก: www.kasikornbank.com

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก