ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

เอ็นอักเสบ (Tendinitis)

เอ็นอักเสบ

เอ็นอักเสบ (Tendinitis) คือ การบวมเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดเส้นใย มองเห็นในทางกายวิภาคจะเห็นเป็นสีขาวตรงบริเวณส่วนปลายของมัดกล้ามเนื้อ ส่วนที่ยึดติดกับกระดูกและข้อต่าง ๆ โดยทั่วไปการอักเสบจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายขั้นรุนแรง แต่หากปล่อยให้เรื้อรังอาจทำให้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว จนกระทบต่อคุณภาพในการดำเนินชีวิตได้

 

อาการ

อาการเอ็นอักเสบเกิดได้กับกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย โดยบริเวณที่เป็นบ่อย คือ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อเข่า ข้เท้า โดยมักจะมีอาการดังนี้

  • อาการเจ็บ ปวดตื้อ ๆ เมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือใช้งานกล้ามเนื้อที่มีเอ็นอักเสบ
  • อาการอักเสบ ได้แก่ ปวด ร้อน บวม แดง ของเอ็นที่อักเสบ
  • บางรายอาจเห็นเป็นก้อนบวมนูนตามแนวของเอ็นกล้ามเนื้อที่อักเสบ

โดยอาการของเอ็นอักเสบส่วนใหญ่จะดีขึ้นใน 2 – 3 วัน จากการพักการใช้งานเอ็นและกล้ามเนื้อมัดนั้น แต่หากผ่านไป 2 – 3 วัน อาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลงควรไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษา

 

สาเหตุ

สาเหตุของการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อนั้น มักจะเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หรือใช้กล้ามเนื้อทำงานหนักจนเกินไป เช่น งานช่าง งานบ้าน หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดท่า ออกแรงเหวี่ยง เอื้อมยกของที่หนัก นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในนักกีฬาที่ต้องมีการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานในระหว่างการซ้อม การแข่งขัน หรือเกิดการกระทบรุนแรง ตัวอย่างกีฬาที่อาจส่งผล เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน มวย วิ่ง เป็นต้น

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. เบื้องต้นให้หยุดพักการใช้กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณที่อักเสบ
  2. ระยะ 48 ชั่วโมงแรก ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งบริเวณที่อักเสบนาน 20 นาที ทำซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
  3. ใช้ผ้าพันแผลพันรอบ ๆ ข้อต่อและเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณที่อักเสบ เพื่อลดการเคลื่อนไหว
  4. พยายามยกส่วนของร่างกายที่มีเอ็นอักเสบให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าหัวใจ เช่น การใช้หมอนหนุนขณะนั่งหรือนอน
  5. อาจรับประทานยาหรือทาเจลบรรเทาอาการอักเสบ ที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปได้
  6. กรณีอาการอักเสบดีขึ้น หลัง 48 – 72 ชั่วโมง ให้เริ่มประคบอุ่น เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดและนำสารอาหารเข้าไปเลี้ยงส่วนที่บาดเจ็บ ร่วมกับการออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนนั้นเบา ๆ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด

ทั้งนี้หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน หรือยังคงมีอาการรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที

*ผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มเป็นได้ทันที

 

การวินิจฉัย

แพทย์จะซักถามกิจกรรมที่ทำมาก่อนหน้าการอักเสบ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อทำซ้ำ ๆ และตรวจกล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณที่เจ็บ โดยการคลำ การให้ออกแรงต้านในบางท่าทาง เพื่อระบุตำแหน่งเอ็นที่เจ็บ กรณีที่ผู้ป่วยปฐมพยาบาลในเบื้องต้นมาก่อนหน้าแล้ว แพทย์จะส่งพิจารณาตรวจเพิ่มเติม โดยมักเป็นการตรวจทางรังสี

 

การรักษา

  • รักษาด้วยยาชนิดรับประทาน เช่น แอสไพริน (Aspirin) นาพรอกเซน (Naproxen) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยาอื่น ๆ เพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดที่เกิดจากการอักเสบได้
  • รักษาด้วยยาฉีด โดยการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) รอบ ๆ บริเวณเอ็นที่มีการอักเสบ เพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการเจ็บ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ฉีดยานี้ซ้ำ ๆ ในกรณีที่มีการอักเสบเกิน 3 เดือน เนื่องจากอาจทำให้เอ็นกล้ามเนื้ออ่อนแอ เสี่ยงต่อการฉีกขาดได้
  • การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีบำบัดรักษาโดยใช้การออกกำลังกายในท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นกล้ามเนื้อที่อักเสบ
  • การผ่าตัด กรณีที่เอ็นอักเสบมีอาการรุนแรงและนำไปสู่การฉีกขาดของเอ็น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาดออกจากกระดูก

 

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของเอ็นอักเสบนั้น มักจะเกิดจากการไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทำให้เสี่ยงต่อการอักเสบแบบเรื้อรัง การฉีกขาดหรือการเสื่อมสภาพของเอ็นกล้ามเนื้อ ทำให้การทำงานของข้อต่อบริเวณดังกล่าวติดขัด ผิดรูป คุณภาพชีวิตลดลงได้

 

ข้อแนะนำและการป้องกัน เอ็นอักเสบ

  1. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานนาน ๆ หรือหนักมากเกินไป โดยให้พักหรือเปลี่ยนท่าเป็นระยะ ๆ ระหว่างวัน
  2. ปรับท่าทางการนั่ง ยืน เดิน นอน ให้ถูกต้อง รวมถึงการจัดสถานที่นั่งทำงาน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การจัดวางสิ่งของต่างๆ ให้เหมาะสมกับสรีระของผู้ใช้งาน
  3. ควรอบอุ่นร่างกายทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา เพื่อให้กล้ามเนื้อและระบบต่าง ๆ ของร่างกายมีความพร้อม
  4. ควรออกกำลังกายให้ได้ครบทั้ง 3 แบบ อย่างสมดุล ทั้งแบบที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆแบบที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และแบบที่เสริมสร้างความยืดหยุ่นของร่างกาย

 

แหล่งข้อมูล : www.pobpad.com  www.haamor.com
ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก