ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ใครเป็นตะคริวบ่อย ๆ อ่านเรื่องนี้เลย

ใครเป็นตะคริวบ่อย ๆ อ่านเรื่องนี้เลย

หลาย ๆ คนที่ชอบการออกกำลังกาย รวมถึงผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกาย อาจผ่านสถานการณ์ของการเป็น “ตะคริว” กันมาบ้าง ซึ่งปกติก็มักจะหายได้เอง แต่ในบางคนที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ หรือเป็นที่จุดสำคัญ ๆ จะเจ็บปวดทรมาน มากเป็นพิเศษ บางรายอาจถึงขั้นบาดเจ็บในภายหลัง

 

ตะคริว มีอาการอย่างไร

ตะคริว หรือ Muscle cramp เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเฉียบพลัน และกล้ามเนื้อนั้นเกิดการเกร็งตัว แข็ง คลำได้เป็นก้อน และไม่ยอมคลายตัวออก ทำให้ไม่สามารถใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้นได้ และมีอาการเจ็บปวดตามมา โดยสามารถเกิดได้กับกล้ามเนื้อทุกมัด ทั้งกล้ามเนื้อแขน ขา กล้ามเนื้อของอวัยวะภายใน โดยเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลายๆ มัดพร้อมกันก็ได้ พบมากบริเวณกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และกล้ามเนื้อเท้า กล้ามเนื้อหลัง โดยมักจะเกิดเพียงไม่กี่นาที แต่บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ซึ่งทำให้เจ็บปวดทรมานมาก

ทั้งนี้ปกติแล้วตะคริวจะหายได้เอง อย่างไรก็ตาม หากพบอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ ได้แก่ รักษาด้วยตัวเองแล้วไม่ดีขึ้น อาการรุนแรงจนมีผลข้างเคียง ขาบวมแดงหรือผิวหนังเปลี่ยนแปลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดตะคริวขึ้นบ่อย ๆ

 

สาเหตุของตะคริว

ในปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกที่แท้จริงของการเกิดตะคริว แต่จากการศึกษาเชื่อว่าอาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้มีการยืดตัวบ่อย ๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมากเกินไป นอกจากนั้นยังเชื่อว่าอาจเกิดจากเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไป หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดี เป็นต้น

ทั้งนี้สาเหตุของการเป็นตะคริวยังไม่ทราบแน่ชัด โดยมีทั้งตะคริวประเภทที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุและประเภทที่มีสาเหตุร่วมด้วย สำหรับกรณีที่มีสาเหตุร่วมด้วย ได้แก่

  • การออกกำลังกาย การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไปหรือจนกล้ามเนื้ออ่อนล้าหรืออ่อนแรง การออกกำลังที่ใช้แรงจนเกินกำลัง ออกกำลังกายที่ไม่คุ้นเคย หรือออกกำลังกายติดต่อกันนาน ๆ เช่น การว่ายน้ำ การวิ่งทางไกล การเล่นกีฬาหนัก โดยเฉพาะการออกกำลังกายโดยไม่ได้อบอุ่นร่างกาย
  • ภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียมภาวะเกลือแร่ในเลือดต่ำ หรือร่างกายเสียสมดุลของเกลือแร่ที่ใช้ในการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม จากอาการท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมากจากการทำงาน การเล่นกีฬา อากาศที่ร้อน หรือจากโรคเรื้อรังของอวัยวะที่ควบคุมเกี่ยวกับน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย เช่น โรคไตเรื้อรัง
  • การมีโรคเรื้อรังหรือภาวะอื่น ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน, โรคโลหิตจาง, โรคเบาหวาน (ทำให้เกิดความผิดปกติในการใช้พลังงานของร่างกาย), ภาวะหัวใจวาย น้ำตาลในเลือดต่ำ, โรคของต่อมไทรอยด์ ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะขาดพาราไทรอยด์ (เกิดความผิดปกติทางฮอร์โมน และรวมไปถึงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดซึ่งเป็นยาฮอร์โมน), โรคตับและโรคไต ตับแข็ง ไตวาย (เพราะตับและไตมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย) รวมถึงผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี กล้ามเนื้อจึงขาดเลือด
  • การมีโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปลายประสาทอักเสบ รากประสาทถูกกด ส่งผลให้ประสาทสั่งงานกล้ามเนื้อผิดปกติ ทำให้มีอาการตะคริวที่น่องในขณะเดินเป็นเวลานาน ๆ หรือเดินเป็นระยะทางไกล ๆ
  • การติดเชื้อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น บาดทะยัก (Tetanus) ซึ่งทำให้เกิดตะคริวและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ซึ่งจะขับของเหลวออกจากร่างกายและใช้เพื่อรักษาโรคหรือภาวะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจวายและโรคเกี่ยวกับไตบางประเภท กลุ่มยาสแตติน (Statins) ใช้รักษาผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ยากรดนิโคตินิก (Nicotinic Acid) รักษาผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง ยาราโลซิฟีน (Raloxifene) ใช้ในการป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทอง ยาไนเฟดิปีน (Nifedipine) ที่ใช้ในการรักษาอาการเจ็บหน้าอก (Angina) หรือโรคโรคเรเนาด์ (Raynaud’s Phenomenon)
  • สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำน้อย สารพิษ (Poisonous) ในเลือด เป็นต้น

 

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นตะคริว

  • อายุที่มากขึ้น ผู้สูงอายุที่เสียมวลกล้ามเนื้อไปมาก ทำให้กล้ามเนื้อที่เหลือสามารถเกิดความตึงเครียดและเกิดตะคริวได้ง่าย
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ การเกิดตะคริวจะพบได้บ่อยในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากระดับแคลเซียมในเลือดต่ำหรือการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก
  • ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องยืน เดิน นั่ง หรือนอนเป็นเวลานาน ๆ ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี

 

การดูแลและป้องกันตะคริว

โดยปกติ ผู้ที่เป็นตะคริวสามารถรักษาอาการได้ด้วยตัวเอง เช่น การประคบร้อน ประคบเย็นเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการ อ่านเพิ่มเติมได้จาก ตะคริวการดูแลและป้องกัน

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย : กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

ข้อมูลจาก :

  1. ตะคริว (ออนไลน์). สืบค้นจาก www.pobpad.com (27 ส.ค. 2562)
  2. ตะคริว อาการ สาเหตุและวิธีแก้ (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.medthai.com (27 ส.ค. 2562)

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก