ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมสุขภาพ

ไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมสุขภาพ re2

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า แบบแผนการดำเนินชีวิตหรือไลฟ์สไตล์นั้น  เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพมากที่สุด โดยส่งผลทั้งในทางดีและไม่ดีต่อสุขภาพ มีข้อมูลพบว่าร้อยละ 50 ของประชาชนที่เสียชีวิตในอเมริกามีสาเหตุมาจากการมีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง (Walker et al 1988 :89)

 

แบบแผนการดำเนินชีวิต เกี่ยวกับสุขภาพ

แบบแผนการดำเนินชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพ สามารถจัดแบ่งได้หลาย ๆ หัวข้อ อาทิ แบ่งจากพฤติกรรมที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวัน กับไม่เป็นกิจวัตรประจำวัน แบ่งจากพฤติกรรมสุขภาพในวัยทำงาน วัยเด็กและวัยสูงอายุ  ในบทความนี้จะพูดถึงพฤติกรรมที่เป็นและไม่เป็นกิจวัตรประจำวัน

พฤติกรรมเกี่ยวกับอนามัยส่วนบุคคล เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเพื่อการมีอนามัยที่ดี เช่น การแปรงฟัน การอาบน้ำ ความสะอาดของเสื้อผ้า การสระผม การดูแลสุขภาพของผิวหนัง การดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ สิ่งเหล่านี้เป็นกิจวัตรประจำวันที่บุคคลปฏิบัติ ซึ่งหากปฏิบัติไม่ถูกต้องจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การแปรงฟันไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเหงือก

พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก เช่น การรับประทานของขบเคี้ยวบางอย่างทำให้ฟันผุ การไม่รับประทานผักและผลไม้ ทำให้มีกากอาหารน้อย ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดทำให้ท้องเสีย รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ปลาดิบ ก้อย ปลา ทำให้เป็นโรคพยาธิ บางคนชอบอาหารที่มีไขมันสูง อาจทำให้เป็นโรคอ้วน จากการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งมีความสัมพันธ์กับอัตราตายในวัยผู้ใหญ่พบว่า 2 ใน 7 ประการ เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยเป็นเรื่องของ อาหารเช้าและน้ำหนักตัว (Breslow Engstrom : 1980 quoted in Kulbok, Earls, and Montgomery 21-35)

พฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ผู้ที่ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา ถ่ายลำบาก อุจจาระมีลักษณะแข็งต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ มีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วย เป็นโรคริดสีดวงทวาร สูงกว่าคนที่มีการขับถ่ายเป็นเวลาและถ่ายสะดวก นอกจากนี้พฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะทำให้เกิดเป็นโรคติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ ได้ง่าย

พฤติกรรมการพักผ่อนและการนอนหลับ การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ ผู้ที่พักผ่อนหรือนอนหลับไม่เพียงพอจะมีผลเสียต่อสุขภาพคือ ถ้าอดนอน 48 ชั่วโมง ร่างกายจะผลิตสารเคมีซึ่งมีโครงสร้างคล้าย เอส ดี 25 (D. 25) สารนี้มีผลให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปจากเดิม ผู้ที่อดนอนจะรู้สึกหนักมึนศีรษะ รู้สึกเหมือนตัวลอย ควบคุมสติไม่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ถ้าอดนอน 4 วัน ร่างกายจะไม่ผลิตสารที่สร้างพลังงานแก่เซล ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีทำให้มีการปล่อยพลังงานออกมา เป็นเหตุให้ร่างกายอ่อนเพลีย ต่อมาจะเกิดอาการสับสน ประสาทหลอน และปรากฏอาการทางจิตขึ้น (Hayter 1980 quote in Murray and Zentner, 1985:412)

พฤติกรรมทางเพศ การตอบสนองความต้องการทางเพศ เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ ถ้าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น สำส่อนทางเพศ พฤติกรรมรักร่วมเพศ หรือมีพฤติกรรมทางเพศแบบวิตถาร ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งจากโรคติดเชื้อ เช่น กามโรค โรคเอดส์ หรือร่างกายได้รับบาดเจ็บจากการร่วมเพศ แบบวิตถารหรือรุนแรงถึงขนาดสูญเสียชีวิตจากการฆาตกรรม เพราะความรักและความหึงหวงได้

พฤติกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของทุกคน แต่อาจเป็นพฤติกรรมประจำของบางคน และส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การกินยาบ้า การขับรถเร็ว

  • พฤติกรรมการสูบบุหรี่พบว่าทำให้ป่วยเป็นโรคหัวใจ สู่มะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป เพศหญิงที่สูบบุหรี่ขณะรับประทานยาคุมกำเนิดจะยิ่งเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองมากยิ่งขึ้น และถ้าตั้งครรภ์ บุตรในครรภ์จะมีน้ำหนักตัวน้อย
  • พฤติกรรมการดื่มเหล้า ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นตับแข็ง มากกว่าบุคคลทั่วไป นอกจากนี้เหล้ายังเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงผลเสียที่ตามมาในเรื่องอื่น ๆ อีกหลายประการ
  • การกินยาบ้า ยาบ้าเป็นยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามิน (amphetamine) เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉงสามารถทำงานต่อไปได้ ทั้ง ๆ ที่สภาพจริง ๆ ของร่างกายต้องการพักผ่อน ทำให้เกิดผลเสียมากมาย เช่น ประสาทหลอน เกิดอุบัติเหตุ คดีอาชญากรรม
  • การขับรถเร็ว ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง และการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ทำให้อุบัติเหตุแต่ละครั้ง มีการบาดเจ็บที่รุนแรง

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.healthcarethai.com
ภาพประกอบจาก : www.pixabay.com

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก