ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ใช้ยาสมุนไพรแล้วแพ้ ใครจะรับผิดชอบ

ใช้ยาสมุนไพรแล้วแพ้ใครจะรับผิดชอบ edit

การใช้ยาสมุนไพรแล้วเกิดอาการแพ้พบน้อยมาก เนื่องจากสมุนไพรมีผลข้างเคียงน้อย ถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกใช้สมุนไพรที่มีคุณภาพดี มีมาตรฐานทั้งในส่วนของสมุนไพรเดี่ยว และสมุนไพรตำรับ แต่ถ้ามีการเลือกใช้สมุนไพรที่ไม่มีคุณภาพ หรือใช้ในปริมาณที่สูง หรือใช้ไม่ถูกกับอาการของโรค มีการนำมาใช้เชิงความสวยความงาม หรือเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน

 

ซึ่งอาการที่จะปรากฏให้เห็นและสังเกตได้ด้วยตนเอง เช่น มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตาอาจบวมปิด ริมฝีปากเจ่อ หรือผิวหนังเป็นดวงสีแดง ๆ ถ้ามีอาการแพ้รุนแรงอาจจะมีอาการอาเจียน หูอื้อ ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง ประสาทรับรู้ทำงานผิดปกติ ถ้ารับประทานยาสมุนไพรแล้วมีอาการดังกล่าว ต้องพบแพทย์ทันที

 

เมื่อถามว่าใครจะรับผิดชอบ

ต้องถามก่อนว่ายาสมุนไพรนั้นได้มาจากแหล่งใด ถ้ายาที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด ระบุสถานที่ผลิต แหล่งผลิต เราก็สามารถเรียกร้องความเป็นธรรมได้ แต่การใช้ยาสมุนไพรอาจจะขึ้นกับตัวบุคคลด้วย เพราะบางคนก็ทานได้ บางคนก็เกิดอาการแพ้ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเจาะลึกลงไปอีก และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ สิ่งที่ควรจะกระทำก่อนที่จะซื้อยาสมุนไพรมารับประทาน เราต้องมีหลักการเลือกซื้อยาสมุนไพรเช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน คือ เลือกซื้อยาที่มีการจดทะเบียนรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ระบุไว้ข้างกล่องบรรจุภัณฑ์ เพราะการที่จะวางยาสมุนไพรจำหน่าย หรือโฆษณาได้ในท้องตลาดนั้น ต้องมีการไปขอขึ้นทะเบียนยากับทางหน่วยงานดังกล่าวก่อนทั้งสิ้น นอกจากนั้น บรรจุภัณฑ์ต้องมีมาตรฐาน ไม่มีรอยบุบ รอยรั่ว ส่วนประกอบ หรือส่วนผสมทุกอย่างต้องมีการระบุไว้ข้างฉลากยาอย่างชัดเจน เช่น ยาสมุนไพรที่มีเหล้าผสมหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน เป็นต้น และถ้ามีการปรุงยาใช้เอง เราต้องยึดหลักการเลือกใช้ยาสมุนไพรอย่างปลอดภัยดังนี้

  1. ใช้ให้ถูกต้องกับต้น สมุนไพรหลายชนิดจะมีชื่อพ้อง หรือชื่อซ้ำกันมาก แต่ละภาค หรือแต่ละท้องถิ่นอาจจะเรียกชื่อแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่เป็นพืชชนิดเดียวกัน แต่บางครั้งชื่อเหมือนกันแต่ก็อาจจะคนละชนิดก็ได้ ดังนั้น ควรจะเลือกใช้สมุนไพรให้ถูกกับต้นจริง ๆ
  2. ใช้ให้ถูกส่วน พืชสมุนไพรแต่ละชนิดไม่ว่าจะเป็นลำต้น ใบ ราก ดอก หัว เปลือกต้น ผล จะมีฤทธิ์ในการรักษาโรคแตกต่างกัน จึงต้องใช้ให้ถูกส่วน
  3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรหากใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผล ใช้มากไปก็อาจเกิดอันตรายได้
  4. ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรใช้ได้ทั้งแบบสด แห้ง ดองกับเหล้า หรือทำเป็นชาชง จึงควรใช้ให้ถูกวิธี เพื่อจะทำให้ได้ผลการรักษาดีขึ้น
  5. ใช้ให้ถูกกับโรค เพื่อให้ผลการรักษาได้ดีและมีประสิทธิภาพ

 

ภาพประกอบจาก: www.freepik.com

ความรู้สมุนไพร

คู่มือพื้นฐานความรู้สุขภาพสุ่เศรษฐกิจพอเพียง | โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข | บรรณาธิการ : นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ | ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ดร.ทรงพรรณ สิงห์แก้ว • นางสาวนัยนา แสงวณิช • นางอัญชลี มุละดา | ผู้เรียบเรียง : แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ • นางสาววัชรีพร คงวิลาด • นางสาวศรีวรรณ์ สังขวิราม • นางสาวพิชาดา คำสุมาลี • นางสาวสุจิรัตน์ มาทองแดง • นางสาวทศพร อยู่ฤทธิ์ • นางสาวรัตติการ วิเคียน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก