ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

มะกล่ำตาหนู มีประโยชน์และสรรพคุณอย่างไร

มะกล่ำตาหนู มีประโยชน์และสรรพคุณอย่างไร

มะกล่ำตาหนู (Abrus precatorius L.) หรือเรียกชื่ออื่น ๆ ว่า กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำเครือ มะแค็ก ไม้ไฟ มะกล่ำแดง เกมกรอม ชะเอมเทศ ตากล่ำ มะขามเถา จัดอยู่ในวงศ์ Papilionaceae มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ เป็นพืชเดียวกับตระกูลถั่ว มีผลเป็นฝัก คล้ายถั่วลันเตา ภายในฝักมี 3 – 5 เมล็ด เมล็ดกลมรียาวขนาด 6 – 8 มม. เมล็ดมีเปลือกแข็ง สีแดงสดเป็นมัน มีสีดำตรงขั้วประมาณ 1 ใน 3 ของเมล็ด

 

มะกล่ำตาหนูมีประโยชน์และสรรพคุณ คือ

  • ใบ ต้มดื่มแก้เจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ตับอักเสบ กระตุ้นน้ำลาย ขับปัสสาวะ แก้ปวดบวมตามข้อ ปวดตามแนวเส้นประสาท ตำพอกแก้ปวดบวม แก้อักเสบ แก้จุดด่างดำบนใบหน้า
  • เถาและราก ต้มดื่มแก้เจ็บคอ แก้หืด แก้ไอแห้ง แก้หลอดลมอักเสบ กัดเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้ดีซ่าน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ
  • เมล็ด มีส่วนประกอบสำคัญที่เป็นพิษสูง จึงควรใช้เป็นยาภายนอก โดยการบดผสมกับน้ำมันพืช ทาแก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิผิวหนัง แผลมีหนอง บวมอักเสบ และใช้เป็นยาฆ่าแมลง

การใช้ประโยชน์ของมะกล่ำตาหนู ควรระมัดระวังในส่วนของการใช้เมล็ด เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง ห้ามใช้เป็นยาภายใน หรือกินเข้าไปเด็ดขาด แค่ปริมาณการกิน 1 – 2 เมล็ด หรือขนาด 0.01 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ก็ทำให้เสียชีวิต และหากเข้าตาก็สามารถทำให้ตาบอดได้ หรือถ้าโดนผิวหนังก็จะทำให้เกิดอาการผื่นคัน เพราะมีสารสำคัญที่มีอยู่ในเมล็ด คือ abrin สารดังกล่าวถ้าอยู่ข้างนอกจะสลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อน แต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีความคงทนในระบบทางเดินอาหาร เมื่อรายใดที่มีการกินเมล็ดเข้าไปแล้ว สารพิษจะเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ ในร่างกาย คือ

    • ระบบหลอดเลือด ทำให้เกิดการช็อก ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นเร็ว
    • ระบบเลือด มีผลต่อเม็ดเลือดแดงโดยตรง ทำให้โลหิตตกตะกอนและสลายตัว
    • ระบบทางเดินหายใจ ทำให้ขาดออกซิเจนและเกิดอาการขาดเลือด ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเขียว
    • ระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการชักกระตุก ประสาทหลอนและมือสั่น
    • ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดอาการอักเสบที่ลำไส้และกระเพาะอาหารอย่างรุนแรง
    • ระบบปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเลย เกิดจากไตหรือท่อปัสสาวะถูกทำลาย
    • ระบบตา คอ หู จมูก ตับ มีเลือดออกที่เรตินา เกิดการระคายเคืองที่ตา
    • ระบบเมตาบอลิซึม เกิดอาการอาเจียน ท้องเสีย มีเลือดออก ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ความรุนแรงอาจเกิดขึ้นมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ขนาดที่รับประทาน สภาวะร่างกาย และอายุขัยของผู้รับพิษ ดังนั้น เมื่อพบผู้ป่วยต้องรีบนำส่งแพทย์ทันที

 

ภาพประกอบจาก : en.wikipedia.org

ความรู้สมุนไพร

คู่มือพื้นฐานความรู้สุขภาพสุ่เศรษฐกิจพอเพียง | โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข | บรรณาธิการ : นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ | ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ดร.ทรงพรรณ สิงห์แก้ว • นางสาวนัยนา แสงวณิช • นางอัญชลี มุละดา | ผู้เรียบเรียง : แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ • นางสาววัชรีพร คงวิลาด • นางสาวศรีวรรณ์ สังขวิราม • นางสาวพิชาดา คำสุมาลี • นางสาวสุจิรัตน์ มาทองแดง • นางสาวทศพร อยู่ฤทธิ์ • นางสาวรัตติการ วิเคียน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก