ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ขิงใช้รักษาโรคท้องอืดได้หรือไม่

ขิงใช้รักษาโรคท้องอืดได้หรือไม่

ขิง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zingiber officinale Rsc. จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ตามสรรพคุณยาไทย สามารถใช้รักษาโรคท้องอืดได้ เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยที่ประกอบด้วยสารเคมีต่าง ๆ คือ Citral, methol, bomeol, zingiberine, fenchone, 6-shogoal และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน แก้ลมจุกเสียด นอกจากนี้ สารที่มีรสเผ็ด ได้แก่ 6-shogoal และ 6-gingerol ทำให้ลำไส้เพิ่มการเคลื่อนไหว จึงบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง

 

วิธีการใช้

ให้นำเหง้าขิงสดขนาดเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม แต่มีข้อควรระวัง คือ การได้รับน้ำสกัดจากขิงที่เข้มข้นมาก ๆ จะให้ผลตรงข้าม คือ จะไประงับการบีบตัวของลำไส้จนทำให้ลำไส้หยุดการบีบตัว ดังนั้น การดื่มน้ำขิงไม่ควรให้ความเข้มข้นมากเกินไป เพราะจะทำให้ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ สำหรับโรคท้องอืดนั้น สาเหตุเกิดมาจาก

  1. ระบบการย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ อาหารจึงไม่ย่อย หรือรับประทานอาหารมากเกินความต้องการ เคี้ยวไม่ละเอียด มีปัญหาในช่องปาก อาหารย่อยยาก ทำให้เกิดลมในท้องมาก
  2. ท้องผูก เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากการที่มีก้อนอุจจาระแข็งอุดตันอยู่ในลำไส้ใหญ่
  3. แบคทีเรียในลำไส้มีมากเกินไป ปกติลำไส้จะมีแบคทีเรียทั้งดีและไม่ดีอาศัยอยู่ แต่ถ้าแบคทีเรียไม่ดีอาศัยอยู่มาก เช่น อีโคไล หรือคลอสตริเดียมมีมากเกินไป จะทำให้การสร้างแก๊ส ทำให้ท้องอืด มักพบในผู้ที่นิยมบริโภคเนื้อ นม ไข่ มากเกินไป
  4. ความเครียด เมื่อเกิดอาการเครียดระบบการทำงานของซิมปาเทติก และพาราซิมปาเทติก จะไม่มีความสมดุลกัน จึงเกิดการหลั่งน้ำย่อยออกมาน้อยลง และบางครั้งลำไส้ก็เคลื่อนไหวน้อย ทำให้ลมถูกกักอยู่ในท้อง กรณีนี้มักพบในคนทำงานที่ต้องใช้สมอง และนั่งอยู่กับโต๊ะนาน ๆ
  5. การใส่สเตย์รัดหน้าท้อง หรือใส่เสื้อผ้ารัดรูปเกินไป เป็นการเอาสิ่งของไปกดหน้าท้อง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวไม่ได้ตามธรรมชาติ

 

วิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง

  1. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง รสจัด เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
  2. ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ
  3. รับประทานสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลม เช่น กะเพรา กระเทียม ชะพลู ดีปลี กานพลู ว่านน้ำ จันทน์เทศ พริกไทย ข่า

นอกเหนือจากการรักษาอาการท้องอืดได้แล้ว ขิงยังสามารถรักษาอาการไอ มีเสมหะได้ โดยการใช้เหง้าขิงแก่ผสมกับน้ำมะนาว หรือเหง้าขิงสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำผสมเกลือนิดหน่อย ใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อย ๆ และยังมีการศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดของขิงป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน เมารถ เมาเรือได้ดี จึงจะมีการพัฒนาเป็นยาแก้คลื่นไส้อาเจียนของหญิงมีครรภ์

 

ภาพประกอบจาก: www.lovepik.com

ความรู้สมุนไพร

คู่มือพื้นฐานความรู้สุขภาพสุ่เศรษฐกิจพอเพียง | โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข | บรรณาธิการ : นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ | ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ดร.ทรงพรรณ สิงห์แก้ว • นางสาวนัยนา แสงวณิช • นางอัญชลี มุละดา | ผู้เรียบเรียง : แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ • นางสาววัชรีพร คงวิลาด • นางสาวศรีวรรณ์ สังขวิราม • นางสาวพิชาดา คำสุมาลี • นางสาวสุจิรัตน์ มาทองแดง • นางสาวทศพร อยู่ฤทธิ์ • นางสาวรัตติการ วิเคียน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก