ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ว่านหางจระเข้ รับประทานได้หรือไม่

ว่านหางจระเข้รับประทานได้หรือไม่

ว่านหางจระเข้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aloe vera (L.) Burm.f. จัดอยู่ในวงศ์ Asphodelaceae นอกจากจะใช้เป็นสมุนไพรรักษาอาการภายนอกต่าง ๆ เช่น ดับพิษร้อนจากการโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวกแล้ว ว่านหางจระเข้สามารถรับประทานได้ แต่การรับประทานว่านหางจระเข้นั้นต้องรู้จักกรรมวิธีในการทำ เพราะว่านหางจระเข้มียางสีเหลืองบริเวณเปลือก จะมีสาร Anthraquinone มีฤทธิ์ขับถ่าย เวลาจะรับประทานจึงต้องล้างยางสีเหลืองออกให้หมด

 

การรับประทานว่านหางจระเข้

สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดและนำไปแปรรูป เช่น

  1. การรับประทานเพื่อลดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ให้รับประทานวุ้นจากใบสดที่ล้างยางออกจนสะอาดแล้ว ประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร ก่อนอาหารเช้า – เย็น ทุกวันจนอาการดีขึ้น หรือหาย จึงหยุดรับประทาน
  2. การรับประทานเป็นขนมหวาน ให้นำวุ้นจากใบสดล้างยางออกให้หมด หั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หรือเป็นเส้น ๆ ตามต้องการ ต้มน้ำเชื่อมเมื่อเดือดใส่วุ้นว่านหางจระเข้ลงไป ต้มต่อไปประมาณ 5 – 7 นาทียกลง ปล่อยไว้ให้เย็น รับประทานกับน้ำแข็ง มีฤทธิ์ลดความร้อนในร่างกาย ลดคอเลสเตอรอล

นอกจากการรับประทานแล้ว ว่านหางจระเข้ยังมีผู้นิยมนำมาทำเป็นเครื่องสำอาง เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณบำรุงผิว ป้องกันสิว ฝ้า รักษาสิว โดยใช้สารสกัดจากว่านหางจระเข้ผสมลงไป หรืออาจทำเองง่าย ๆ โดยการล้างทำความสะอาดวุ้นให้ยางสีเหลืองออกให้หมด แล้วหั่นชิ้นบาง ๆ พอกหน้า หรือคั้นน้ำแล้วทาทั่วหน้า ทิ้งไว้ประมาณ  15 นาที แล้วล้างออก จะรักษาสิว ทำให้หน้าไม่มัน บำรุงผิวหน้า ป้องกันแสงแดดได้เป็นอย่างดี จึงมีผู้นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ผสมกับไข่แดง และน้ำมันมะกอก อัตราส่วน 1:1:1 ใส่น้ำเล็กน้อยปั่นให้เข้ากันนำไปหมักผม ทิ้งไว้ 30 นาที แล้วล้างออก สัปดาห์ละครั้ง จะรักษาอาการผมเสีย แตกปลาย

 

ข้อควรระวัง

  1. ก่อนใช้ว่านหางจระเข้ ทดสอบดูว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านในถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้
  2. ควรล้างยางสีเหลืองที่อาจติดมากับวุ้นออกให้หมด เพราะจะเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้

 

ภาพประกอบจาก: www.pixabay.com

ความรู้สมุนไพร

คู่มือพื้นฐานความรู้สุขภาพสุ่เศรษฐกิจพอเพียง | โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข | บรรณาธิการ : นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ | ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ดร.ทรงพรรณ สิงห์แก้ว • นางสาวนัยนา แสงวณิช • นางอัญชลี มุละดา | ผู้เรียบเรียง : แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ • นางสาววัชรีพร คงวิลาด • นางสาวศรีวรรณ์ สังขวิราม • นางสาวพิชาดา คำสุมาลี • นางสาวสุจิรัตน์ มาทองแดง • นางสาวทศพร อยู่ฤทธิ์ • นางสาวรัตติการ วิเคียน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก